โหวต
ตลอด 10 กว่าปีที่ผ่านมาของศาลรัฐธรรมนูญก็จะพบว่ามีทั้งผลงาน และความผิดพลาด แต่ประเด็นที่เป็น 'ตราบาป' และตามหลอกหลอนศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งคนไทยทั้งประเทศมาถึงวันนี้เห็นทีจะหนีไม่พ้นคำตัดสินใน 'คดีซุกหุ้นภาค 1' ซึ่งทำให้ 'ทักษิณ ชินวัตร' บุคคลที่ได้รับการจัดอันดับให้เห็น 1 ใน 5 ผู้นำ 'เลว' ของโลกขึ้นมาผงาดในเวทีการเมืองไทย และใช้อำนาจโกงกิน บ่อนทำลายทุกองค์กรทุกสถาบันที่ขัดขวางการ 'กินรวบ' ประเทศของเขา โดยครั้งนั้นศาลรัฐธรรมนูญใช้วาทกรรม 'บกพร่องโดยสุจริต' มาเป็นข้ออ้างในการวินิจฉัยว่าทักษิณไม่มีความผิดในกรณีซุกหุ้น ทั้งนี้เพราะมีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคนที่ไม่ยึดหลักกฎหมาย แต่ตัดสินตามกระแสของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศที่สนับสนุนทักษิณ ต้องการให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยรักไทยต่อไป ไม่อยากให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองด้วยข้อหายื่นบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ เพราะเชื่อว่าทักษิณคือนักธุรกิจเลือดใหม่ที่อยากจะเข้ามาทำงานรับใช้ประเทศชาติและประชาชนจริงๆ อีกทั้งหลงเชื่อในคำหวานของทักษิณที่นั่งยันนอนยันว่า 'รวยแล้วไม่โกง' !!
กรณีซุกหุ้นภาค 1 ศาลรัฐธรรมนูญนำคะแนนเสียงที่ไม่วินิจฉัย 2 เสียงไปรวมกับ อีก 6 เสียงที่วินิจฉัยว่า ทักษิณไม่ได้กระทำผิด จึงทำให้ทักษิณรอดพ้นความผิด ทักษิณจึงชนะคดีไปด้วยคะแนน 8 ต่อ 7 ทั้งๆที่ตามหลักการแล้ว ควรจะเป็น คะแนน 7 ต่อ 6
และต่อมาปลายปี พ.ศ.2544 พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และคณะจำนวน 71 คน (พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ เป็นลำดับที่ 33 )ในฐานะผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อได้มาแสดงตนต่อประธานวุฒิสภา พลตรี มนูญกฤต รูปขจร เพื่อขอถอดถอน 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คือ นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ ออกจากตำแหน่ง ตามมาตรา 60 วรรค 3 ของกฎหมาย ป.ป.ช. ที่บัญญัติว่า “ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อต้องไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาก่อนเริ่มรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอ”
หลังจากนั้นสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีหนังสือรวมสองฉบับ ถึงเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบ รายชื่อผู้ริเริ่มว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒสภาหรือไม่ซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 60 วรรค 2 ที่บัญญัติว่า “ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อและผู้เข้าชื่อ ต้องเป็นผู้มี่สิทธิเลือกตั้ง ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา” ถึงผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ขอให้ดำเนินการตรวจสอบรายการทางทะเบียนราษฎรของผู้ริเริ่มทั้ง 71 คน
นอกจากทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจะตรวจสอบว่าผู้ริเริ่มทั้ง 71 คนเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือไม่แล้วในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 ยังได้มีหนังสือถืงอธิบดีกรมการปกครอง ขอให้ตรวจสอบและยืนยันว่าผู้ริเริ่มทั้ง 71 คน นั้น เป็นผู้เสียสิทธิเข้าชื่อเพื่อขอให้วุฒิสภามีมติถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 23 (7) ของ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ ส.ว. ว่า “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งผู้ใดไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และมิได้แจ้งเหตุการณ์ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง..................ผู้นั้นเสียสิทธิดังต่อไปนี้ซึ่งใน (7) บัญญัติว่า “สิทธิการเข้าชื่อร้องขอเพื่อให้วุฒิสภามีมติถอดถอนบุคคล ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต”
“กรมการปกครองได้ตอบและแจ้งผลการตรวจสอบพร้อมส่งแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียน (ทร.14/1) ของผู้ริเริ่มจำนวน 71 ฉบับ โดยชี้แจงว่าเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวน 70 คน และไม่พบข้อมูลจำนวน 1 คน ซึ่งคนไม่พบข้อมูลคือนายนิวัฒน์ ก่งอุบล เพราะนามสกุลจริงๆ ในทะเบียนราษ คือ ก๋งอุบล ทำให้ในฐานข้อมูลไม่มี นอกจากนั้นยังแจ้งผลว่าในจำนวน 71 คนนี้ ปรกกฎว่า มีผู้เสียสิทธิตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และส.ว. จำนวน 2 คน คือ นายจิระศักดิ์ บุญวิริยะ และพันเอกพีรพงษ์ สรรพพากย์พิสุทธิ์
เมื่อข้อเท็จจริงเป็นดังนี้ ทางสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาจึงได้แจ้งผลการตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งและการเสียสิทธิในการเข้าชื่อฯ ของพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และคณะโดยถือว่าบุคคลที่ได้แสดงตนต่อประธานวุฒิสภามีจำนวน 69 คน ที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ริเริ่มตามที่กฎหมายกำหนดเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งต่อมา พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ได้มีหนังสือกราบเรียนประธานวุฒิสภาว่า ขอให้ตัดชื่อผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อจำนวน 10 คน ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ริเริ่ม ทำให้ผู้ริเริ่มที่ถูกต้องมีจำนวน 59 คน
นับตั้งแต่วันแสดงตนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2544 พลตรี สนั่นและคณะในฐานะผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อต้องทำคำร้องขอถอดถอนและรวบรวมรายชื่อผู้เข้าชื่อให้ครบ 50,000 คน โดยยื่นให้ประธานวุฒิสภาภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อไปแสดงตนต่อประธานวุฒิสภา ตามมาตรา 61 กฎหมาย ป.ป.ช. ซึ่งปรากฏว่า พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์และคณะผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อจำนวน 59 คน ได้มายื่นคำร้องขอถอดถอน นายกระมล ทองธรรมชาติ นายจุมพล ณ สงขลา นายผัน จันทรปาน และนายศักดิ์ เตชาชาญ ตุลาการศาลรัฐธรรมรนูญ รวม 4 คน ออกจากตำแหน่งตามมาตรา 304 ของรัฐธรรมนูญ พร้อมทั้งลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวน 60 ,000 คน ต่อประธานวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 304 และกฎหมาย ป.ป.ช มาตรา60 วรรคแรกซึ่งบัญญัติว่า “กรณีประชาชนร้องขอให้ถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 58 (กฎหมาย ป.ป.ช.) ออกจากตำแหน่งต้องมีผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อจำนวนไม่เกิน 100 คน เพื่อดำเนินการจัดทำคำร้องและรับรอบลายมือชื่อ ของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน ซึ่งพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ได้ยื่นต่อประธานวุฒิสภา เมื่อ 15 มีนาคม พ.ศ.2544
เมื่อประธานวุฒิสภา พลตรีมนูญกฤต รูปขจร ได้รับคำร้องขอของ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และคณะพร้อมคำร้องของประชาชนจำนวน 60,000 คน แล้วได้สั่งการให้ สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักงานเลขาวุฒิสภา เพื่อดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่า คำร้องขอถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรา 61 ของกฎหมาย ป.ป.ช. หรือไม่ ซึ่งมาตรา 61 บัญญัติว่า “การร้องขอให้ถอดถอนออกจากตำแหน่งตามมาตรา 59 และมาตรา 60 ต้องทำเป็นหนังสือ ระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน บัตรประจำตัวประชาชนที่หมดอายุ หรือบัตรหรือหลักฐานอื่นใดของทางราชการที่มีรูปถ่าย สามารถแสดงตนได้ และลงลายมือชื่อให้ชัดเจน และต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งตามมาตรา 58 เป็นข้อๆ................................และต้องระบุพยานหลักฐานหรือเบาะแสตามสมควรและเพียงพอที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. จะดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้ และให้ยื่นคำร้องขอดังกล่าวต่อประธานวุฒิสภาภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ผู้ริเริ่มรวบรวมรายชื่อไปแสดงตนต่อวุฒิสภา”
ดังนั้นหน้าที่ของประธานวุฒิสภา จึงต้องตรวจสอบและพิจารณาว่าคำร้องถูกต้องตามมาตรา 59,60 และ 61 หรือไม่ ซึ่งเราจะพบว่า ต้องตรวจสอบ และพิจารณาทั้งกระบวนการคือ
1. ผู้ริเริ่มที่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งและไม่เสียสิทธิตามกฎหมายเลือกตั้งมาตรา 23 (7) หรือไม่ ซึ่งจากการแสดงตนและตรวจสอบไปยังสำนักบริหารการทะเบียนกรมการปกครองและสำนักงานเลขาธิการ ก.ก.ต. ปรากฏว่า ผู้ริเริ่มเดิม 71 คน หลังจากการตรวจสอบมีผู้ขาดคุณสมบัติ 2 คน เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 60 วรรค 2)
2. ผู้ริเริ่มมาแสดงตนต่อประธานวุฒิสภาตามบทบัญญัติมาตรา 60 วรรคสุดท้ายและสามารถรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอ ซึ่งได้มาแสดงตนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2542 เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 60 วรรค 3)
3. ผู้ริเริ่มดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอถอดถอน 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญให้ได้ครบจำนวน 50,000 คน ภายใน 180 วัน เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา61)
4. คำร้องต้องทำเป็นหนังสือ ระบุชื่อ อายุ ที่อยู่ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน..................สามารถแสดงตนได้ และลงลายมือชื่อผู้ร้องขอ โดยระบุวัน เดือนปี ที่ลงลายมือชื่อให้ชัดเจน ซึ่งเจ้าหน้าที่ของสำนักกำกับและตรวจสอบสำนักงานเลขาวุฒิสภา ได้ดำเนินการตรวจสอบปรากฏว่ามีคำร้องของประชาชนที่เข้าชื่อร้องขอ ซึ่งไม่ถูกต้องและไม่ครบถ้วน เช่น อายุต่ำกว่า 18 ปี ไม่ลงลายมือชื่อ เลขบัตรประจำตัวประชาชนไม่ตรงกับในบัตร จำนวน 1,622 คน ดังนั้น เหลือคำร้องของประชาชนที่เข้าชื่อถูกต้อง จำนวน 58,378 คน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 61
เมื่อประธานวุฒิสภา พลตรี มนูญกฤต รูปขจร ได้ดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่าคำร้องขอถูกต้องและครบถ้วนตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมาตรา 304 บัญญัติว่า“ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา เพื่อให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 307 ให้ถอดถอนบุคคลตามมาตรา 303 ออกจากตำแหน่งได้ คำร้องขอดังกล่าวต้องระบุพฤติการณ์ที่กล่าวหาผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำความผิดเป็นข้อๆ ให้ชัดเจน” ซึ่งในการตรวจสอบ ประชาชนทุกคน จำนวน 58,378 คน มีอายุเกิน 18 ปี และเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
ขณะเดียวกันประธานวุฒิสภาก็ต้องดำเนินการตรวจสอบและพิจารณาว่า คำร้องของประชาชนที่เข้าชื่อจำนวน 58,378 คน ถูกต้องตามมาตรา 61 หรือไม่ ซึ่งจากการตรวจสอบและพิจารณาพบว่า คำร้องถูกต้องตามบทบัญญัติมาตรา 61 กฎหมาย ป.ป.ช.
หลังจากตรวจสอบว่าถูกต้องครบถ้วนตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญมาตรา 61 แล้ว มาตรา 63 กฎหมาย ป.ป.ช. บัญญัติว่า“ให้ประธานวุฒิสภาส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อดำเนินการตามหมวด 4 การไต่สวนข้อเท็จจริง โดยเร็ว .............” ดังนั้น เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2544 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาส่งเรื่องคำร้องขอให้ถอดถอนตุลาการทั้ง 4 คน ไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. และมีหนังสือแจ้งให้สมาชิกวุฒิสภาเพื่อทราบเรื่องดังกล่าวด้วย
ผลการยื่นถอดถอน ผู้ริเริ่ม 59 คน โดน 4 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ฟ้องกลับ ทั้งคดีแพ่งและอาญา ในคดีอาญาได้ยกฟ้องไปแล้ว ส่วนกรณีคดีแพ่ง ศาลชั้นต้น พิจารณาแล้ว ผู้ริเริ่มถือว่าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ศาลอุทรพิพากษาตามศาลชั้นต้น ตอนนี้คดีอยู่ที่ศาลฎีกา
สรุปข้อมูลจาก ผู้จัดการฯและคณะนิติศาสตร์ ม.รังสิต โดย พลเอก กิตติศักดิ์ รัฐประเสริฐ 22 มีนาคม 57
|