แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ ประเทศมาเลเซีย مليسيا จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี คำขวัญ : Bersekutu Bertambah Mutu ("ความเป็นเอกภาพคือพลัง") กัวลาลัมเปอร์ เมืองใหญ่สุด กัวลาลัมเปอร์ สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ผู้ปกครองสูงสุด (ยังดีเปอร์ตวนอากง) สมเด็จพระราชาธิบดีสุลตาน มีซาน ไซนัล อาบิดีน จาก อังกฤษ (เฉพาะมลายา) การสร้างชาติ รวม ซาบาห์ ซาราวัก และสิงคโปร์ 16 กันยายน พ.ศ. 2506 -ทั้งหมด 329,758 กม.(ลำดับที่ 66) -พื้นน้ำ (%) 0.3 พ.ศ.2549 ประมาณ 26,920,000 (อันดับที่ 44) พ.ศ. 2543 สำรวจ 23,953,136 คน 82/กม.(อันดับที่ 109) 2549 ประมาณ $180.7 พันล้าน (ธนาคารโลก) (อันดับที่ 36)ต่อประชากร12,700 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 61) (2549) 0.805 (สูง) (อันดับที่ 61) (RM) (MYR) (UTC+8)ฤดูร้อน (DST) Not observed (UTC+8) รหัสโทรศัพท์ +602 ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน คำว่ามาเลเซียเคยถูใช้เรียกหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาก่อน ชื่อของประเทศมาเลเซียถูกตั้งขึ้นเมือ พ.ศ. 2506 โดยมีความหมายรวมเอาสหพันธรัฐมาลายา สิงค์โปร์ ซาบาห์ ซาราวัก และบรูไนเข้าด้วยกัน คำว่า มาเลเซียนี้เดิมเคยถูกใช้เป็นชื่อเรียกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในส่วนที่เป็นหมู่เกาะมาก่อน ซึ่งปรากฏหลังฐานจากแผนที่ที่ตีพิมพ์ในชิคาโกเมื่อปีพ.ศ. 2457 ในการตั้งชื่อประเทศมาเลเซียนั้นมีการนำเสนอชื่ออื่นๆ มากมายก่อนที่จะได้ผลสรุปให้ใช้ชื่อมาเลเซีย หนึ่งในนั้นคือลังกาสุกะ ซึ่งเคยเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองบนแผ่นดินมาเลเซียมาก่อน ปัจจุบันประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐและปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบการปกครองคล้ายอังกฤษกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประมุขแห่งรัฐมีตำแหน่งเป็นพระราชาธิบดี มาเลเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 รัฐ (states - negeri-negeri) และ 3 ดินแดนสหพันธ์* (federal territories - wilayah-wilayah persekutuan) เป็นดินแดนที่รัฐบาลกลางปกครอง เขตการปกครองต่าง ๆ และชื่อเมืองหลวง (ในวงเล็บ) ได้แก่ มาเลเซียตะวันตก (คาบสมุทรมลายู) · เกดะห์ (ไทรบุรี) (อลอร์สตาร์) · เนกรีเซมบีลัน (สเรมบัน) · ปีนัง (จอร์จทาวน์) · ยะโฮร์ (ยะโฮร์บาห์รู) มาเลเซียตะวันออก (เกาะบอร์เนียวตอนเหนือ) · ซาบาห์ (โกตากินะบะลู) มาเลเซียตะวันตก · กัวลาลัมเปอร์ (กัวลาลัมเปอร์) · ปุตราจายา (ปุตราจายา) มาเลเซียตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศ 1. มาเลเซียตะวันตก มีภูเขาทอดยาวทางตอนกลางเกือบตลอด เป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม ทำให้มีที่ราบ 2 ด้าน ที่ราบด้านตะวันตกกว้างกว่า เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ เขตปลูกยางพารา และขุดแร่ดีบุก 2. มาเลเซียตะวันออก ส่วนใหญ่เป็นภูเขา ที่ราบสูงอยู่ทางตอนใน มีที่ราบย่อม ๆ อยู่ตามชายฝั่งทะเล · ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุม 1. เกษตรกรรม ผลิตยางพาราที่สำคัญของโลก และข้าวเจ้าปลูกมากบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำทั้ง 2 ด้าน 2. การทำเหมืองแร่ แร่ที่สำคัญ ได้แก่ แร่ดีบุกส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลกแร่เหล็ก น้ำมัน และแก๊สธรรมชาติ 3. การทำป่าไม้ ส่วนใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็ง ส่งไม้ออกเป็นอันดับ 2 ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย 4. อุตสาหกรรม ได้ชื่อว่าเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชีย (NICs) ประเทศมาเลเซียมีปัญหาประชากรหลากหลายเชื้อชาติ ในอดีตเคยเกิดสงครามกลางเมืองเนื่องจากการกีดกันทางเชื้อชาติ ประเทศมาเลเซียประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมลายูร้อยละ 50.4 เป็นชาวภูมิบุตร (Bumiputra) คือบุตรแห่งแผ่นดิน รวมไปถึงชนดั้งเดิมของประเทศอีกส่วนหนึ่ง ได้แก่กลุ่มชนเผ่าในรัฐซาราวัก และรัฐซาบาห์มีอยู่ร้อยละ 11[1] ซึ่งตามรัฐธรรมนูญของมาเลเซียนั้น ชาวมลายูนั้นคือมุสลิม และอยู่ในกรอบวัฒนธรรมมลายู แต่ชาวภูมิบุตรที่ไม่ใช่ชาวมลายูนั้น มีจำนวนกว่าครึ่งของประชากรในรัฐซาราวัก (ได้แก่ชาวอิบัน ร้อยละ 30) และร้อยละ 60 ของประชากรรัฐซาบาห์ (ได้แก่ชาวกาดาซัน-ดูซุน ร้อยละ 18 และชาวบาเจา ร้อยละ 17)[1] นอกจากนี้ยังมีชนพื้นเมืองดั้งเดิมของคาบสมุทรมลายูอีกกลุ่มหนึ่ง คือ โอรัง อัสลี ประชากรกลุ่มใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวภูมิบุตรหรือชนดั้งเดิมเป็นพวกที่เข้ามาใหม่ โดยเป็นชาวมาเลเซียเชื้อสายจีน มีอยู่ร้อยละ 23.7 ซึ่งมีประจายอยู่ทั่วประเทศ มีชาวมาเลเซียเชื้อสายอินเดีย อีกร้อยละ 7.1 ของประชากร[1] ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวทมิฬ แต่ยังมีชาวอินเดียกลุ่มอื่น อย่างเกรละ, ปัญจาบ, คุชรัต และปาร์ซี นอกจากนี้ยังมีกลุ่มชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย โดยอาศัยอยู่ในรัฐทางตอนเหนือของประเทศ มีคนเชื้อสายชวา และมินังกะเบาในรัฐทางตอนใต้ของคาบสมุทรอย่าง รัฐยะโฮร์ ชุมชนลูกครึ่งคริสตัง (โปรตุเกส-มลายู) ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และชุมชนลูกครึ่งอื่นๆอย่าง ฮอลันดา และอังกฤษส่วนมากอาศัยในรัฐมะละกา ส่วนลูกครึ่งเปอรานากัน หรือชาวจีนช่องแคบ (จีน-มลายู) ส่วนมากอาศัยอยู่ในรัฐมะละกา และมีชุมชนอยู่ในรัฐปีนัง มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทางภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร" 1. ^ 1.0 1.1 1.2 CIA World Factbook - Based on 2004 estimate [1]
ธงชาติมาเลเซีย Jalur Gemilang ธงพลเรือน ธงราชการ และ ธงเรือรัฐบาล สัดส่วนธง 1:2 และ 2:3
ธงชาติมาเลเซีย หรือเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า "Jalur Gemilang" (แปลว่า ธงริ้วแห่งความรุ่งเรือง) มีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 1 ส่วน ยาว 2 ส่วน พื้นสีแดงสลับสีขาวรวม 14 แถบ แต่ละแถบมีความกว้างเท่ากัน ที่มุมธงด้านคันธงมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินกว้าง 8 ใน 14 ส่วนของผืนธงด้านกว้าง และยาวกึ่งหนึ่งของผืนธงด้านยาว ภายในบรรจุเครื่องหมายพระจันทร์เสี้ยวและดาว 14 แฉก ที่มีชื่อว่า "Bintang Persekutuan" หรือ "ดาราแห่งสหพันธ์"[1] แถบริ้วสีแดงและสีขาวทั้ง 14 แถบ หมายถึงรัฐในสหพันธ์รัฐมาเลเซียทั้ง 13 รัฐ และรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ รัศมีดาวทั้ง 14 แฉกหมายถึงความเป็นเอกภาพในหมู่รัฐดังกล่าวทั้งหมด พระจันทร์เสี้ยวหมายถึงศาสนาอิสลามอันเป็นศาสนาประจำชาติ สีเหลืองในพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์คือสีแห่งยังดี เปอร์ตวน อากง ผู้เป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐ ส่วนสีน้ำเงินนั้นหมายถึงความสามัคคีของชาวมาเลเซีย ซึ่งแต่เดิมสีนี้ใช้แทนความเชื่อมโยงระหว่างสหพันธรัฐมาเลเซียกับเครือจักรภพอังกฤษ แต่คำนิยามดังกล่าวนี้ได้ถูกลดความสำคัญลง และได้มีการนิยามความหมายของสีนี้ใหม่ดังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน[2] โดยรวมแล้วแม้ธงนี้จะคล้ายกันกับธงชาติสหรัฐอเมริกาและธงประจำบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษก็ตาม แต่ธงนี้ก็ไม่มีความเชื่องโยงกับทั้งสองธงข้างต้นแต่อย่างใด[3]
ประเทศมาเลเซียได้มีการกำหนดธงอื่นๆ ที่มีความความถึงชาติใช้เพิ่มเติมอีกหลายชนิด โดยได้รับอิทธิพลมาจากรูปแบบของธงเดินเรือต่างๆ ของสหราชอาณาจักร (Red Ensign, Blue Ensign และ White Ensign) ซึ่งเป็นประเทศเจ้าอาณานิคมเดิมมาก่อน ซึ่งรวมถึงวิธีการใช้ธงด้วยเช่นกัน โดยธงเดินเรือเอกชนของมาเลเซียใช้ธงพื้นสีแดง มีรูปธงชาติมาเลเซียขนาดกว้างยาวกึ่งหนึ่งของธงใหญ่ล้อมด้วยกรอบสีน้ำเงินอยู่ที่มุมธงบนด้านคันธง ส่วนเรือในสังกัดของรัฐบาลมาเลเซียนั้นใช้ธงลักษณะอย่างเดียวกันพื้นสีน้ำเงินและใช้ธงชาติเป็นธงราชการด้วย ธงราชนาวีมาเลเซีย มีลักษณะเป็นธงพื้นสีขาว มีรูปธงชาติมาเลเซียขนาดกว้างยาวกึ่งหนึ่งของธงใหญ่ล้อมด้วยกรอบสีแดง ที่ปลายธงตอนล่างนั้น มีรูปสมอซ้อนทับด้วยกริชไขว้ 2 เล่ม โดยเอาปลายกริชชี้ขึ้นทางด้านบน รูปสัญลักษณ์เหล่านี้เป็นสีน้ำเงิน นอกจากธงราชนาวีมาเลเซียแล้ว ยังได้มีการกำหนดธงสำหรับเหล่าทัพต่างๆ ดังนี้ · ธงประจำกองทัพบกมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายธงราชนาวีมาเลเซีย แต่เปลี่ยนพื้นธงจากสีขาวเป็นสีแดง ที่ด้านปลายธงตอนล่างมีเครื่องหมายราชการของกองทัพบกมาเลเซีย · ธงประจำกองทัพอากาศมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายธงราชนาวีมาเลเซีย แต่เปลี่ยนพื้นธงจากสีขาวเป็นสีฟ้า ที่ด้านปลายธงตอนล่างมีรูปดาราแห่งสหพันธ์ 14 แฉกสีเหลือง · ธงประจำหน่วยป้องกันชายฝั่งของมาเลเซีย มีลักษณะคล้ายธงประจำกองทัพอากาศมาเลเซีย แต่เปลี่ยนพื้นธงจากสีฟ้าเป็นสีน้ำเงินเข้ม ธงประจำพระองค์ยังดี เปอร์ตวน อากง แห่งมาเลเซียเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าพื้นสีเหลือง กลางธงมีรูปตราแผ่นดินของมาเลเซียอยู่ในช่อรวงข้าว ธงพระอิสริยยศสำหรับประไหมสุหรี (พระมเหสี) มีลักษณะคล้ายกับธงยังดี เปอร์ตวน อากง แต่เปลี่ยนพื้นธงจากสีเหลืองเป็นสีเขียวแทน ส่วนธงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น จะใช้ธงตราแผ่นดินมาเลเซียพื้นสีเหลืองกับสีฟ้า ซึ่งแบ่งครึ่งตามแนวนอนของธง ธงชาติมาเลเซียแบบแรกสุดคือธงชาติสหพันธ์รัฐมาลายา ลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีแถบสี 4 สีขนาดเท่ากันเรียงจากบนลงล่าง คือ สีขาว สีแดง สีเหลือง และดำ ตรงกลางผืนธงมีตราเสือเผ่นบนพื้นวงกลมสีขาว เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2439 โดยธงนี้จะต้องชักคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2493 ได้มีการเปลี่ยนธงชาติสหพันธ์รัฐมาเลเซียมาเป็นธงริ้วแดงสลับขาว 11 แถบ ประกอบด้วยพระจันทร์เสี้ยวและดาราแห่งสหพันธ์ 11 แฉกในพื้นสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน เพื่อแทนรัฐทั้ง 11 รัฐ คือ ปะลิส ไทรบุรี เประ กลันตัน ตรังกานู ปะหัง เนกรีเซมบิลัน สลังงอร์ ปีนัง ยะโฮร์ และมะละกา ธงนี้ได้ชักขึ้นเป็นครั้งแรกคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ที่หน้าพระราชวังสลังงอร์ (Istana Selangor) และได้ชักขึ้นเป็นธงรัฐเอกราชครั้งแรกที่หน้าจตุรัสเอกราช (Merdeka Square) ในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2500 ในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการปรับแก้แบบธงชาติให้เป็นแบบที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน โดยเพิ่มแถบแดงสลับขาวเป็น 14 แถบ และรัศมีดาราแห่งสหพันธ์เป็น 14 แฉกเพื่อแทนรัฐในสหพันธ์ทั้ง 14 รัฐ เนื่องจากมาเลเซียได้รับเอารัฐซาบาห์ รัฐซาราวัก และรัฐสิงคโปร์เข้าร่วมสหพันธ์ด้วย แม้ต่อมาสิงคโปร์จะแยกตัวเป็นเอกราชในปี พ.ศ. 2508 ก็ตาม แต่ริ้วธงและรัศมีของดาราแห่งสหพันธ์ยังคงมีจำนวนอยู่เท่าเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนความหมายของรัฐสุดท้ายจากรัฐสิงคโปร์เป็นรัฐบาลกลางที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศ ดูเพิ่ม อ้างอิง 1. ^ Flags Of The World Malaysia: Description 2. ^ Flags Of The World Malaysia: Origins 3. ^ Flags Of The World Malaysia: Origins คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: · ธงชาติมาเลเซีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2010 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 |