ความหมายภารกิจเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย เป็นผู้แสวงหาความรู้ (ใฝ่ศึกษา ค้นคว้า อบรม) ๑. เข้าฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น หลักสูตร ๕ วัน หรือ ๒. หลักสูตรการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น(ผู้ปฏิบัติงานด้านการศึกษา) หลักสูตร ๕ วัน ๓. ฝึกอบรมเพื่อจัดตั้งเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น หลักสูตร ๓ วัน ๔. ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาและเพิ่มทักษะตามหลักสูตรสร้างเครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น หลักสูตร ๑ สัปดาห์ ระหว่างปี ๒๕๕๐-๒๕๕๓ ๕. ฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยชั้นสูงในอนาคต ๖. ฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวินัยซึ่งทางราชการจัดขึ้น เช่น หลักสูตรนิติกร ๑ เดือน หลักสูตรกฎหมายมหาชน เป็นต้น ๗. ศึกษาค้นคว้าจากตำราต่างๆ อาทิ คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น คู่มือเกี่ยวกับวินัยข้าราชการพลเรือน เอกสารประกอบการบรรยาย มติ ก.กลาง หนังสือสั่งการ แนวทางการลงโทษทางวินัยของข้าราชการพลเรือน ฯลฯ ๘. ต้องเปิดตำราศึกษาหาความรู้ในเรื่องที่ต้องการทราบเสียก่อน เมื่อไม่ได้คำตอบเป็นที่พอใจ ให้ประสานความรู้ระหว่างกรมฯ ทันที เป็นผู้ทรงความรู้ (ผสมผสานความรู้ควบคู่การวิเคราะห์อย่างมีระบบ) ๑.นำความรู้ที่ได้รับจากการค้นคว้า ศึกษา อบรม มาเปรียบเทียบความเป็นธรรม เช่น วินัยของพนักงานส่วนท้องถิ่นที่มีส่วนแตกต่างจากวินัยของข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นแม่แบบในแง่ใด แตกต่างอย่างไร เพราะเหตุใด ๒.นำการศึกษาวิเคราะห์ที่ได้รับมาใช้ประโยชน์ต่อกระบวนการทางวินัยที่ไม่ขัดแย้งกับมาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ของ ก.จังหวัด ๓.นำเสนอผลการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางวินัยที่ผดุงความเป็นธรรมยิ่งกว่า เป็นผู้ประสานความรู้ (เชื่อมความรู้ระหว่างกัน ประสานความรู้ระหว่างกรม) *หน้าที่หลักของเครือข่ายฯ ๑.ต้องประสานความรู้กันเองระหว่างเครือข่ายฯ ของจังหวัด โดยให้ผู้แทนหรือข่ายฯ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานความรู้ในกระบวนการทางวินัยทั้งมวล แทนการประสานไปยังกรมฯ โดยตรง เพื่อให้เกิดทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาาอันเกิดแต่กระบวนการทางวินัย สำหรับนำไปสู่ความเป็นนักวินัย "มืออาชีพ" ๒.กรณีไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ให้ผู้แทนเครือข่ายฯ เป็นผู้ประสานไปยังกรมฯ เพื่อขอคำชี้แนะในการแก้ปัญหา ๓.ให้ผู้แทนเครือข่ายฯ ปรึกษาผู้แทนกรมฯ เพื่อหารือแนวทางเกี่ยวกับกระบวนการทางวินัย ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขได้ตลอดเวลา ๔.เครือข่ายฯ ในแต่ละจังหวัดควรมีการประชุมปรึกษาหารือกันตามความเหมาะสม เพื่อเป็นการระดมสมองและเสนอแนะแนวทางการทำงานของเครือข่ายฯ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ๕.ให้เครือข่ายฯ โดยประธานเครือข่ายฯ หรือผู้แทนเครือข่ายฯ ทีได้รับมอบหมายรายงานกิจกรรม/ผลงาน และความคืบหน้าในการปฏิบัติงานให้กรมฯ ทราบทุก ๔ เดือน (แบบ คสว.๑) หรือรายงานทุกครั้งที่มีความจำเป็น พร้อมทั้งสำเนารายงานให้ ก.จังหวัดทราบด้วย เป็นผู้เผยแพร่ความรู้ (แนะนำ ปรึกษา เป็นวิทยากรฝึกอบรม) *หน้าที่หลักของเครือข่ายฯ ๑.เครือข่ายฯ ต้องคอยให้คำแนะนำ ปรึกษา แก่พนักงานส่วนท้องถิ่น และคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง แทนการสอบถามไปยังกรมฯ โดยตรง ๒.เครือข่ายฯ ต้องประสานระหว่างกันเองเพื่อให้มีการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางวินัยแก่พนักงานส่วนท้องถิ่นที่ยังไม่เคยผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการ ทางวินัย โดยประสานขยายการฝึกอบรมภายในเขตจังหวัดและร่วมกันเป็นวิทยากรให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง ๓.จัดทำทะเบียนเครือข่ายฯ ภายในเขตจังหวัดที่เพิ่มขึ้น และเปลี่ยนแปลง โดยแจ้งไปยังกรมฯ เพื่อแก้ไขบัญชีเครือข่ายฯ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ สำหรับใช้ประโยชน์ในการประสานงานได้ทันที ๔.เครือข่ายฯ ทีมีการโอน(ย้าย) เปลี่ยนแปลงสังกัด ต้องแจ้งให้ผู้แทนเครือข่ายฯ ทราบทุกครั้ง สำหรับเครือข่ายฯ ที่โอน(ย้าย) ไปอยู่นอกเขตจังหวัด ให้แจ้งทั้งผู้แทนเครือข่ายฯ เดิมและใหม่ ๕.สถานะของการเป็นเครือข่ายฯ คงอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะอยู่จังหวัดใด ยกเว้น (๑) ตาย (๒) แจ้งความประสงค์ไม่เป็นเครือข่ายฯ (๓) โอน(ย้าย) ออกจากการเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น (๔) เกษียณอายุราชการ เป็นผู้ผดุงความยุติธรรม (ทำหน้าที่กรรมการสอบสวนที่ทรงประสิทธิภาพ) *หน้าที่หลักของเครือข่ายฯ ๑.กรณีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยทั้งร้ายแรง และไม่ร้ายแรง หากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาหารือระหว่างกันเสียก่อน ๒.กรณีไม่สามารถหาคำตอบที่ถูกต้องในการเป็นคณะกรรมการสอบสวนได้ให้ประสานไปยังกรมฯ ทันที ๓.อย่าปฏิบัติทั้งที่ยังมีข้อกังขา เพราะจะนำมาซึ่งความเสียหายต่อกระบวนการทางวินัยและอื่นๆ อีกมากมาย
เป็นผู้ช่วยดับทุกข์ (อนุเคราะห์ผู้ถูกวินัยให้เข้าใจกระบวนการที่ถูกต้องและเป็นธรรม) ๑.ให้ความอนุเคราะห์แก่ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยตามควร โดยชี้แนะถึงวิธีการขั้นตอนที่ถูกต้อง ๒.ช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้เท่าที่ไม่ขัดกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นผู้ชี้ทางสว่าง (ชี้ช่องให้ผู้ถูกรังแกโดยไม่เป็นธรรม...ชี้นำความถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่) ๑.ชี้ช่องทางต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม (กรณีที่เห็นว่าพนักงานส่วนท้องถิ่นถูกกลั่นแกล้งโดยไม่เป็นธรรม) ๒.กรณีที่เห็นว่าเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการสอบสวน หรือผู้บริหารท้องถิ่น ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ควรให้คำชี้แนะที่ถูกต้องเพื่อป้องกันความผิดพลาด เป็นผู้ผนึกกำลัง (เพื่อความมั่นคงในชีวิตราชการ...ของทุกคน) รักษาความสามัคคีด้วยการผนึกกำลังในหมู่พนักงานส่วนท้องถิ่น ทั้งที่เป็นและไม่เป็นเครือข่ายฯ เพื่อนำเอาความรู้ความสามารถที่ถูกต้อง มาใช้ในกระบวนการทางวินัย โดยมีเป้าหมายคือความมั่นคงในหน้าที่ราชการ เป็นเสนาธิการฯ (ช่วยเหลือนายก/อนุวินัย อนุอุทธรณ์ และ ก.จังหวัด) ให้คำปรึกษาแก่ผู้บังคับบัญชา ผู้บริหารท้องถิ่น อนุวินัยฯ อนุอุทธรณ์ และ ก.จังหวัด ในกระบวนการทางวินัยที่ถูกต้องและเป็นธรรม อันจะนำไปสู่ประสิทธิภาพขององค์กรโดยรวมต่อไป |