" พุทธมณฑล ไปงัย ไปกันถูกมั๊ย เราไปดูนกกันที่พุทธมณฑลกันเถอะ " พอเริ่มได้เพื่อนดูนกเพิ่ม ฉันก็เริ่มชวนออกภาคสนาม ถามเจ้าป้อม กะว่าจะพึ่งพา สถานที่ที่เลือก ก็พุทธมณฑล ดินแดนที่ฉันยังไม่เคยเหยียบย่ำ จากกิตติศัพท์ที่ร่ำลือขจรไกลสำหรับนักดูนกและถ่ายภาพนก เจ้าตัวน้อยสารพัดไม่ต่ำกว่า 180 ชนิดที่เป็นตัวเลขไม่ใช่น้อย พากันแวะเวียน บ้างก็อยู่ประจำ บ้างก็ไปเช้าเย็นกลับ บ้างก็พักพิงแค่อาทิตย์สองอาทิตย์ให้สบายใจหายเหนื่อยแล้วเดินทางต่อไป ไปๆ มาๆ ก็ตามกันไป 3 คัน เจ้าป้อม ไปรับเจ้าโอ กะโย ฉันตามเก็นวันศุกร์ กับพี่อัง นัดพี่เต็งพ้ง กะพี่เกียรติไว้ลานจอดรถหน้าองค์พระ กลัวไม่เจอนกเด็ดๆ ก็โทรนัดเสือจุ่น เอาราชรถไปเกยตื้นถึงหน้าบ้านย่านพุทธมณฑลสาย3 เท่านั้นยังไม่พอ เรียนเชิญเกจิ ผู้ชำนาญรู้ทะลุปรุโปร่ง พี่อุลตร้าแมน แห่งกระดานเพื่อนกันวันดูนก TrekkingThai.com ไปชี้เป้า อย่างน้อย ขอเห็นนกฮูก ซัก 2 ตัว ก็พอ ( แต่แอบหวังว่าจะได้เห็นนกกระแตตัวแพง กะเค้ามั่ง ) เจอพี่อุลตร้าแมนก่อนที่ลานจอดรถ เคลื่อนขบวนไปหาพี่เต็งพ้งที่ลานหน้าองค์พระ ตามหาพี่เกียรติที่ลานจอดถ มือขวาขององค์พระ บริเวณศาลา มองหานกเค้าจุด ตรงศาลา .. วันนี้เอะอะ มีเปิดเพลงเต้นออกกำลังกายของกลุ่มผู้สูงอายุ ใกล้ๆ " อดเห็นแน่นอนแบบนี้ " พี่อุลตร้าแมน ก็พาวนไปวนมา แล้วมาจอดหน้าบึง เดินเข้าพงต้นไม้รกๆ " มองอะไรกันเหรอ เห็นแล้วเหรอ " กว่าจะเดินมาถึง เพื่อนๆก็ตั้งกล้อง คลิ๊กกันไปเยอะแล้ว เจ้านกเค้ากู่ หรือ นกฮูกตาโต เกาะกิ่ง ก้มมอง เหมือนว่าเค้าจะคุ้นกับพวกเรากันแล้วนะเนี่ย " ทุกคนถ่ายกันหมดรึยางงงง " มองไปรอบๆ " ง้าน .. เอ้ย! .. ทางนี้ ยิ้วว์ๆ " เมื่อทุกคนเงียบ ก็ตีความว่า เก็บภาพกันได้หมดทุกคนแล้ว คราวนี้ฉันก็ตะโกนเรียก นายแบบที่ยืนเหนือหัว ให้เราคลิ๊กได้แค่พุง ก้มลงมามองกันมั่ง ได้ผล เจ้าตัวน้อยก้มลงมองกล้อง .. อิอิ น่ารัก นี่อีกตัว คลิ๊กผ่านดงไม้ เบลอซะ .. " แป๋ม อยากดูตบยุงมั๊ย มาทางนี้ เดินมาทางขอบบ่อนะ เค้าตัดหญ้าแล้วเดินง่าย ไม่รก เดินตามเสือจุ่นมาก็ได้ บอกเสือจุ่น " เสียงพี่อุลตร้าแมนที่เดินไปหานกข้างในสวนลึกส่งมาตามสาย ฉันก็บอกเสือจุ่นตามที่พี่อุลตร้าแมนบอก เดินตาม .. เจ้าตบยุงเล็กก็เกาะนิ่งเมาแดดอยู่บนกิ่งไม้ พี่อุลตร้าฯ ก็ทิ้งพวกเราให้เพลิดเพลินกันการ คืบคลาน เข้าใกล้วัตถุทีละนิดๆ .. " แป๋มมมม มีหัวขวาน กับกินเปรี้ยว ตรงนี้ดูมั๊ย " เสียงตามสายมาอีกแระ มองหาพี่อุลตร้าฯส่งเสียงจากทางไหน รีบพละจากเจ้าบยุง มุ่งตรงไปอีกจุดทันที เจ้าหัวขวานด่างอกลายจุด เกาะต้นไม้ด้านหน้า หามุมถ่ายไม่ได้ ก็ได้แค่มองแล้วเรียกพลพรรคให้วิ่งมาดูเร็วๆ นกพญาไฟเล็กก็ โฉบไปมา เจ้านกกินเปรี้ยว ก็วนเวียนเกาะกิ่งไม้เตี้ยๆ แถวบึงรก " อูวว์ เต็มไปหมด .. คลิ๊กตัวไหนก่อนดี " ยังไม่ทันให้ตัดสินใจ เจ้าหัวขวานก็ข้ามหัวไปลิบ มองหานกพญาไฟ ตัวเมื่อกี้ ก็ไม่เห็นซะแระ ง้านอีกตัวที่เหลือเจ้านกกินเปรี้ยว .. อ้าว! หายไปเหมือนกัน .. สรุปว่า " เลือกนักมักไม่ได้อะไรเลย .. " เคลื่อนขบวนผ่านดงไผ่ วนไปวนมาจนงง มาจอดที่ร่มๆก่อนขึ้นสะพาน เดินผ่านกลุ่มต้นอะไรจำชื่อไม่ได้ เจ้ากินปลีคอสีน้ำตาล โฉบฉายลิ้มเกสรดอกนู้นดอกนี้ไม่มีหยุด " เดี๋ยวช่วงเดือน ตุลาฯ นะ มาอีกครั้ง ดอกของต้นนี้จะสะพรั่ง เจ้ากินปลีก็จะแห่กันมาเยอะ ถ้าจะเก็บภาพ ช่วงนั้นมาตั้งกล้องตรงนี้ได้เลย " พี่อุลตร้าฯ อธิบาย .. อื่ม! มากับเกจิพุทธมณฑล ก็ดียั่งงี้นี้ล่ะน้า โดดข้ามทางน้ใหญ่ เจ้านกกระจิบหญ้าสีเรียบก็ร้องทักทายส่งเสียงดังแสบแก้วหู ชวนให้เก็บภาพยิ่งนัก แต่ด้วยคุณภาพเลนส์ที่ใส่อยู่กะเจ้าหนอนน้อย เอานกกระจิบหญ้าตัวเท่าที่เห็นก็แล้วกัน ( พยายามดูนะคะ ว่าอยู่ตรงไหน ) พี่ Ultraman นำเราดูนก ชี้เป้าได้แค่ 8 โมงเช้า ก็ต้องไปปฏิบัติภาระกิจ ทิ้งนายเสือจุ่นให้นำดูนกแทน .. แวะเวียนไปตามสถานที่ต่างๆ จนรอบ .. แต่ก็เงียบ " เราไปไหนต่อกันดี พี่อังสะดวกไปได้ทุกที่ " " ไปหารัยกินกันก่อนดีมั๊ย เวลานี้ เอาก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาดี หรือว่าก๋วยเตี๋ยวเป็ด " นายเสือจุ่นเปิดคำถามเชิงแนะนำ ใช้เวลาแค่ครึ่งวัน สบายๆ บ่ายๆลิ้มเตี๋ยวเป็ดแสนอร่อย ... ... ... ขากลับ ก็หลงอีกเช่นเคย เมื่อไหร่น้อ .. เธอจะมากับฉัน โรคหลงทางจะได้หายซะที .. .. ขออนุญาต พี่ Ultraman แห่งกระดาน เพื่อนกันวันดูนก Trekkingthai.com นำข้อมูลรายชื่อนกที่พบที่บริเวณพุทธมณฑลมาเผยแพร่ค่ะ รายชื่อนกที่เคยพบในพุทธมณฑล 1.ไก่ป่า (Red JungleFowl) ไม่รู้ว่าใครเอามาปล่อยพบครั้งแรกเมื่อตอนปี 50 ในเวฬุวัน 2.เป็ดแดง Lesser Whistling Duck เป็ดแดงจะหลบนอนอยู่บนกิ่งไผ่ในเวฬุวัน 3.คุ่มอกลาย Barred Buttonquai 4.หัวขวานด่างอกลายจุด Fulvous-breasted Woodpeckerอยู่ไม่ค่อยเป็นหลักแหล่ง แถวสวนกองทัพอากาศใกล้ๆ ที่พบนกเค้ากู่ 5.โพระดกธรรมดา Lineated Barbetพบได้ทั่วไป 6.ตีทอง Coppersmith Barbet 7.หัวขวานสีตาล Rufous Woodpecker 8.กะรางหัวขวาน Common Hoopoe 9.ตะขาบทุ่ง Indian Roller 10.ตะขาบดง Dollarbird เจออยู่ฝั่งวัดญาณฯ ใกล้ๆ กับ แท้งค์น้ำเหลืองๆ ใหญ่ๆ ที่เคยเจอ Hooded Pitta เป็นครั้งแรก 11.กะเต็นน้อยธรรมดา Common Kingfisher พบอยุ่ในเวฬุวัน 12.กะเต็นน้อยหลังสีน้ำเงิน Blue-eared KingFisher 13. กะเต็นใหญ่ธรรมดา Stork-billed Kingfisher เพิ่งเจอล่าสุดเมื่อวันนี้ 1 ก.ค. เวลาเที่ยงๆ แถวสวนสมุนไพร 14.กะเต็นแดง Ruddy Kingfisher เป็นนกอพยพ 15.กะเต็นอกขาว White-throated Kingfisher ปกติจะพบอยู่ในเวฬุวัน แต่บางครั้งก้อหายไป เหมือนอพยพย้ายถิ่นระยะใกล้ๆ 16. กะเต็นหัวดำ Black-capped Kingfisherเป็นนกอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ที่นี่เป็นประจำ พบได้ง่ายมาก มีอยู่ทั่วไป 17.กินเปี้ยว Collared Kingfisher น่าจะเป็นนกอพยพในประเทศ เพราะส่วนใหญ่จะพบประมาณ เมษา-พฤษภา เข้ามาทำรับเลี้ยงลูก แล้วประมาณเดือนกันยา จะหายไป กลายเป็นกะเต็นหัวดำเข้ามาแทน 18.จาบคาเล็ก Green Bee-eater 19.จาบคาหัวเขียว Blue-tailed Bee-eater เป็นนกอพยพ มักพบเกาะอยู่ตามสายไฟริมน้ำที่อยู่ล้อมรอบพุทธมณฑล 20.คัคคูหงอน Chestnut-winged Cuckoo เป็นนกอพยพผ่าน พบได้ทั้งขาไปและกลับ แต่ละครั้งที่มาแวะจะอยู่เกือบเดือน เคยเจอทั้งในเวฬุวันและสวนสมุนไพร 21.คัคคูเหยี่ยวใหญ่ Large Hawk Cuckoo เป็นนกอพยพผ่าน พบได้ทั้งขาไปและกลับ แต่ละครั้งจะพบอยู่ไม่นานประมาณ 1-2 อาทิตย์ พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล 22.คัคคูเหยี่ยวอกแดง Hodgson's Hawk Cuckoo เป็นนกอพยพในประเทศ เพิ่งพบครั้งแรกที่นี่ เมื่อประมาณเดือนเมษาปีนี้เอง 23.คัคคูพันธุ์หิมาลัย Oriental Cuckoo เป็นนกอพยพผ่านเช่นกัน แวะมาแป๊บเดียว เจอแค่ไม่กี่วันแล้วหายไป แต่ปีนี้เจอหลายตัว มีทั้งตัวผู้ 24.อีวาบตั๊กแตน Plaintive Cuckoo เป็นนกที่พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล ถึงไม่เห็นตัวแต่ก้อต้องได้ยินเสียงร้องแน่นอนโดยเฉพาะช่วงเดือนพฤษภา จะได้ยินเสียงร้องตลอด 25.คัคคูมรกต Asian Emerald Cuckoo เป็นนกอพยพ มักพบอยู่ตามต้นที่มีหนอนเยอะๆ เช่น ต้นมะขามเทศ พบได้ประจำในช่วงหน้าหนาว แต่หาตัวยากหน่อย เนื่องจากสีตัวกลมกลืนกับใบไม้ เพศผู้สีจะสวยกว่าเพศเมีย 26.คัคคูสีม่วง Violet Cuckoo เป็นนกอพยพเช่นกัน แต่ตัวนี้เห็นได้ยากกว่าคัคคูมรกต ส่วนใหญ่ชอบอยู่บนยอดไม้สูงๆ 27.คัคคูแซงแซว Drongo Cuckoo เป็นนกอพยพในประเทศ พบได้ตั้งแต่เดือน กันยา-ตุลา แล้วอยู่ยาวมาจนพฤษภาถึงหายไป 28.กาเหว่า Asian Koel 29.บั้งรอกใหญ่ Green-billed Malkoha 30.กะปูดใหญ่ Great Coucal 31.แอ่นตาล Asian Palm Swift 32.แอ่นบ้าน House Swift 33.นกแสก Barn Owl 34.นกฮูกหรือเค้ากู่ Collared Scops-owl ช่วงหลังๆ นี้ ถ้าใครได้ไปพุทธมณฑลน่าจะได้เห็นตัวนี้กันทุกคน 35.เค้าแคระ Collared Owlet 36.เค้าโมง Asian Barred Owlet ตัวนี้นานๆ เห็นที ส่วนใหญ่จะเห็นอยู่ตรงสวนด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามวัดญาณฯ แต่เมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา ทางพุทธมณฑล มีการปรับปรุงสวนทางด้านนั้น ก้อเลยไม่ค่อยเจอตัวอีกมีมาเจออีกครั้ง ประมาณเดือนพฤษภาที่ผ่านมา ตรงที่เจอ Fairy Pitta 37.เค้าจุด Spotted Owlet เป็นนกเค้าที่เจอได้บ่อยที่สุดในพุทธมณฑล พบได้ทั้งในสวนสมุนไพร และ ข้างองค์พระ 38.ตบยุงหางยาว Large-tailed Nightjar 39.ตบยุงเล็ก Indian Nighjar 40.พิราบป่า Rock Pigeon 41.นกเขาใหญ่ หรือ นกเขาหลวง Spotted Dove 42.นกเขาไฟ Red Collared Dove มักเห็นเกาะอยู่ตามริมน้ำ หรือสายไฟด้านนอกๆ 43.เขาชวา Peaceful Dove มีให้เห็นทั่วไปเช่นกัน 44.เขาเปล้า Thick-billed Pigeon มักจะเจออยู่ในสวนสมุนไพร ตอนช่วงที่มีลูกไทรสุกจะเห็นได้เป็นประจำ 45.อัญชันป่าขาแดง Red-legged Crake เป็นนกอพยพผ่าน 46.นกกวัก White-breasted Waterhen โดยเฉพาะช่วงเดือน เมษา-พฤษภา ที่ผ่านมา ช่วงจับคู่ทำรัง เดินกันให้ขวักไปหมด 47.ปากซ่อมหางเข็ม Pintail Snipe เจอเมื่อประมาณ เดือนสิงหาหรือกันยา ปีที่แล้ว แถวด้านในสวนกองทัพอากาศ ด้านหลังต้นที่มีเค้ากู่อยู่ จะเป็นทุ่งหญ้า ตอนนั้นยังมีน้ำแฉะๆอยู่ 48.กระแตหาด River Lapwing ตัวนี้น่าจะเริ่มเจอเมื่อปลายปี 48 หรือต้นปี 49 นี่แหละ มีอยู่ตัวเดียวโดดๆ มักอยู่รวมกลุ่มกับกระแตแต้แว้ด อยู่แถวริมน้ำที่ตรงข้ามกับ สังเวชนียสถาน 4 ที่เป็นที่ตรัสรู้ หรือ ปรินิพพาน 49.กระแตหัวเทา Grey-headed Lapwing คงจะมีคนเคยเห็นเมื่อนานมาแล้ว เพราะรอบๆ พุทธมณฑลเป็นทุ่งนา 50.กระแตแต้แว้ด Red-wattled Lapwing 51.เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ Black Baza ตัวนี้พบเป็นประจำทุกปี เป็นนกอพยพ 52.เหยี่ยวผึ้ง Oriental-Honey Buzzard มักพบว่าอาศัยอยู่ในช่วงอพยพเช่นกัน 53.เหยี่ยวขาว Black-shoulded Kite ส่วนใหญ่จะพบเห็นตอนบินผ่าน ไม่ค่อยพบว่าเกาะอยู่ในพุทธมณฑล แต่ด้านนอกมีโอกาสพบมากกว่าเพราะเป็นทุ่งนา 54.เหยี่ยวดำ Black Kite 55.เหยี่ยวรุ้ง Crested Serpent Eagleเพิ่งพบว่า อพยพผ่านเข้ามาในพุทธมณฑลปีนี้เป็นครั้งแรก ช่วงประมาณปลายเดือนกุมภา 56.เหยี่ยวนกเขาชิครา Shikra ตัวนี้เป็นนกที่พบอยู่ประจำ พบได้บริเวณรอยต่อของเวฬุวันกับสวนสมุนไพร แต่ 1-2 ปีนี้ไม่ค่อยเจอตัวถี่เหมือนเมื่อก่อนแล้ว 57.เหยี่ยวนกเขาพันธุ์จีน Chinese SparrowHawk เป็นเหยี่ยวอพยพ ไม่แน่ใจว่าอพยพผ่าน หรือ เข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงอพยพ 58.เหยี่ยวนกเขาพันธุ์ญี่ปุ่น Japanese Sparrowhawk เป็นเหยี่ยวอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในพุทธมณฑล เพราะจะพบได้บ่อยมาก บริเวณที่ไม่ค่อยมีคน พบได้ทั้ง ตัวเต็มวัย ในรูปเป็นเพศผู้ 59.เหยี่ยวหน้าเทา Grey-faced Buzzard เป็นเหยี่ยวอพยพ น่าจะใช้เส้นทางอพยพคล้ายๆ กับเหยี่ยวรุ้ง คือ ไปทางตะวันตก เพราะช่วงอพยพทั้งเหยี่ยวหน้าเทาและเหยี่ยวรุ้ง 60.เหยี่ยวเพเรกริน Peregrine Falcon 61.เป็ดผีเล็ก Little Grebe 62.กาน้ำเล็ก Little Cormorant เมื่อก่อนเจอบ่อย แต่ปีนี้พบน้อยลง ยังพอเห็นได้ที่ บ่อน้ำที่อยู่ระหว่าง เวฬุวัน-สวนสมุนไพร กับหอพระไตรปิฎกหินอ่อน 63.ยางเปีย Little Egret เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ตรงไหนมีน้ำ ตรงนั้นสามารถดูบรรดานกน้ำได้ ทั้งยางโทนใหญ่ ยางโทนน้อย ยางเปีย นกแขวก ยางกรอก แต่หลังๆ มานี้ น้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เรียกว่า ต้องหาเหมือนกัน ถึงจะได้เจอ 64.กระสานวล Grey Heron กระสานวล เป็นนกอพยพ พบได้ทุกปี ปีนี้เห็นอยู่ 2-3 ตัว ไม่ค่อยจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งประจำ แต่ที่แน่ๆ ถ้าใกล้น้ำก้อมีโอกาสเจอ 65.ยางโทนใหญ่ Great Egret 66.ยางโทนน้อย Intermediate Egret 67.ยางควาย Cattle Egret อยู่แถวๆ หลังองค์พระเลย มักจะอยู่ตรงสนามหญ้าแถวสวนมะม่วงเป็นประจำ 68.ยางกรอกพันธุ์จีน Chinese Pond Heron พบได้ตามคูน้ำ ตั้งแต่เข้าประตูพุทธมณฑลไป 69.ยางกรอกพันธุ์ชวา Javan Pond Heron 70.ยางเขียว Little Heron พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล ชอบหลบมุมอยู่ตามขอบริมน้ำ 71.นกแขวก Night Heron เป็นอีกชนิดหนึ่งที่พบได้ทั่วไป 72.ยางลายเสือ Malayan Night Heron 73.ยางไฟหัวดำ Yellow Bittern น่าจะอยู่ด้านนอกพุทธมณฑลเป็นหลัก แต่บางครั้งอาจจะเข้ามาอาศัยในพุทธมณฑลเป็นบางโอกาส หรือพบเห็นได้ตามริมน้ำรอบพุทธมณฑล 74.ยางไฟธรรมดา Cinnamon Bittern น่าจะพบตามริมน้ำด้านที่ติดกับด้านนอกของพุทธมณฑล 75.ยางดำ Black Bittern 76.นกกระทุง Spot-billed Pelican เคยเห็นตอนบินอพยพผ่านเหนือพุทธมณฑลเป็นฝูง 77.ปากห่าง Asian Openbill 78.แต้วแล้วอกเขียว Hooded Pitta เป็นนกอพยพ พบเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2549 เวลาประมาณบ่าย 3 แถวๆ สวนที่มีแท้งค์น้ำสีเหลืองใหญ่ๆ น่าจะอยู่ตรงนี้ประมาณเกือบอาทิตย์ หลังจากปี 49 ก้อพบว่า Hooded จะเข้ามาที่เวฬุวันทุกปีจนเดี๋ยวนี้ กลายเป็นนกประจำพุทธมณฑลไปแล้ว เคยมีปีนึงกว่าจะกลับตั้งต้นเดือนมิถุนา 79.แต้วแล้วธรรมดา Blue-winged Pitta เป็นนกอพยพผ่านเช่นกัน มักจะแวะพักไม่กี่วันก้อไป แต่ปีนี้มีมาให้เห็นหลายตัว และหลายวันหน่อย 80.เขียวคราม Asian Fairy Bluebird 81.อีเสือลายเสีอ Tiger Shrike ตัวนี้เป็นนกอพยพผ่านที่พบได้เป็นประจำเช่นกัน ทั้งขาไป ขากลับ แต่จะแวะพักเพียงแค่ 1-2 วันเท่านั้น เคยพบทั้งในสวนสมุนไพร เวฬุวัน และด้านหน้าทางเข้า แถวลานจอดรถ 82.อีเสือสีน้ำตาล Brown Shrike 83.อีเสือหัวดำ Long-tailed Shrike 84.อีเสือหลังเทา Grey-backed Shrike เป็นนกอพยพ เข้ามาอยู่ในเวฬุวัน เป็นประจำ พบมา 2 ปีแล้ว 85.หัวขวานเขียวป่าไผ่ Laced Woodpecker ( คุณplains-wanderer พบแถวโรงอาหาร เมื่อ 1 มกรา 2551 ) 86.กาบบัว Painted Stork ( คุณ plains-wanderer พบบินผ่านแถวสวนไผ่ เดือนเมษา ปี 51 ) 87.คอพัน Eurasian Wryneck เป็นนกอพยพ คุณสมิทธิ์พบเมื่อหลายปีมาแล้ว แถวป้ายกองทัพอากาศ 88.เค้าเหยี่ยว Brown Hawk Owl เป็นนกอพยพ คุณสมิทธิ์พบที่ดงไผ่ด้านขวามือก่อนเข้าเวฬุวัน 89.กระแตผีเล็ก Eurasian Thick-knee เป็นนกอพยพ เป็นตัวที่พบล่าสุดในพุทธมณฑล คุณกุมารทองพบเมื่อวันที่ 17 มิถุนา แถวๆสะพานหน้าสวนสมุนไพร 90.แต้วแล้วพันธุ์จีน Fairy Pitta นอกจากจะเป็นนกใหม่ของพุทธมณฑลในปีนี้ แล้วยังมีดีกรีเป็นนกใหม่ของประเทศไทยด้วย ปกติเป็นนกอพยพที่ไม่เคยมีเส้นทางผ่านทางประเทศไทย 91.แอ่นทุ่งใหญ่ Oriental Pratincole 92.นางนวลแกลบเคราขาว Whiskered Tern เป็นนกอพยพ ชอบหากินอยู่แถวหนองน้ำ หรือตามแม่น้ำ คุณ plains-wanderer เป็นผู้พบว่าบินผ่านพุทธมณฑล 93.เหยี่ยวเคสเตรล Common Krestel ไม่แน่ใจว่าก่อนหน้านี้จะมีคนเคยพบหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ มีผู้พบล่าสุดคือ นายปานกับพี่ Pan แห่ง Discoverythai พบเมื่อช่วงเช้าวันที่ 4 เมษา 94.กระสาแดง Purple Heron คุณ plains-wanderer พบบินผ่านพุทธมณฑล 95.นกขุนแผน Red-billed Blue Magpie เห็นอยู่แถวสวนที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะสุนัข และบางครั้งก้อพบตรงแถบที่เผาขยะ แต่ตอนนี้พบได้ตั้งแต่ต้นไทรแถวป้ายกองทัพอากาศ ไล่ไปในเวฬุวัน จนถึงสวนสมุนไพรได้เลย 96.กะลิงเขียด Rufous Treepie 97.กาแวน Rachet-tailed Treepie พบได้ในเวฬุวัน อาศัยอยู่ประจำ 98.อีกา Large-billed Crow พบมากในพุทธมณฑล แต่ส่วนใหญ่จะอยู่แถวๆ รอบเกาะสุนัข 99.แอ่นพง Ashy Woodswallow มักพบบินอยู่ตามริมน้ำ รอบพุทธมณฑล กับลานด้านหน้าแถวองค์พระ 100.ขมิ้นท้ายทอยดำ Black-naped Oriole เป็นนกอพยพ พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล 101.เฉี่ยวบุ้งใหญ่ Black-winged Cuckooshrike เป็นนกอพยพเข้ามาในหน้าหนาว มักพบอยู่กับเวฟของนกพญาไฟ พบได้ทั่วไปเช่นกัน 102.พญาไฟสีกุหลาบ Rosy Minivet เป็นนกอพยพ ชอบอยู่ตามยอดไม้ พบไม่ค่อยบ่อย ส่วนใหญ่ที่พบจะพบอยู่ใน เวฬุวัน หรือตามริมน้ำ 103.พญาไฟตะโพกสีน้ำตาล Brown-rumped Minivet เป็นนกอพยพ พบได้ยากกว่า พญาไฟสีกุหลาบ 104.พญาไฟสีเทา Ashy Minivet เป็นนกอพยพเช่นกัน พบบ่อย ดูง่าย 105.พญาไฟเล็ก Small Minivet เป็นนกประจำถิ่นในพุทธมณฑล พบได้ตลอดปี 106.อีแพรดแถบอกดำ Pie Fantail 107.แซงแซวหางปลา Black Drongo 108.แซงแซวสีเทา Ashy Drongo ตัวที่พบบ่อยจะเป็น ชนิดอพยพ ที่เป็นสีเทาอ่อน พบได้ทั่วไป 109.แซงแซวปากกา Crow-billed Drongo พบอยู่ในเวฬุวัน ทั้งขาไปและกลับ 110.แซงแซวหางบ่วงเล็ก Lesser Racket-tailed Drongo 111.แซงแซวหงอนขน Spangled Drongo ตัวที่พบมักเป็นนกอพยพ พบในหน้าหนาว บนต้นไม้ที่มีดอกเพื่อกินน้ำหวาน พบได้ทั่วไป 112.แซงแซวหางบ่วงใหญ่ Greater Racket-tailed Drongo เป็นนกที่อาศัยอยู่ในพุทธมณฑลเป็นประจำ พบได้ทั่วไป 113.จับแมลงจุกดำ Black-naped Monarch เป็นนกอพยพ พบได้ในช่วงหน้าหนาว พบแถวๆ เวฬุวัน-สวนสมุนไพร 114.แซวสวรรค์ Asian Paradise-Flycatcher เป็นนกอพยพ พบได้ทุกปี แถวสวนเวฬุวัน-สวนสมุนไพร 115.ขมิ้นน้อยธรรมดา Common Iora เป็นนกประจำถิ่น พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล 116.กระเบื้องคอขาว White-throated Rock-Thrush เป็นนกอพยพ พบอยู่หลังสวนไผ่ด้านซ้ายที่ลงมาจากสะพานเข้าเวฬุวัน 117.กระเบื้องผา Blue Rock-Thrush เป็นนกอพยพ 118.เอี้ยงถ้ำ Blue Whistling-Thrush ปกติเป็นนกที่อาศัยอยู่ในป่า ใกล้ๆ น้ำกับแถวถ้ำ แต่มีบางส่วนเป็นนกอพยพ ตัวที่พบเป็นปกติ ปากจะมีสีเหลือง ส่วนตัวที่เป็นนกอพยพจะเป็นชนิดย่อย caeruleus ชนิดนี้ปากจะเป็นสีดำ 119.เดินดงหัวสีส้ม Orange-headed Thrush เป็นนกอพยพโดยพบอยู่ในเวฬุวันแต่อยู่ตรงข้ามวัดญาณฯ ใกล้กับประตูทางออกอีกด้าน 120.เดินดงสีเทาดำ Siberian Thrush เป็นนกอพยพผ่าน พบครั้งแรกโดยคุณ me_prosod ในเวฬุวัน ครั้งที่ 2 ultraman พบอยู่ตรง กอไผ่ด้านขวา หลังจากลงสะพานเข้าเวฬุวันมา 121. เดินดงสีคล้ำ Eyebrowed Thrush เป็นนกอพยพผ่าน น่าจะพบครั้งแรกโดยคุณ me_prosod ครั้งที่ 2 นี่แน่นอน ultraman พบพร้อมกับพี่พินิจ พบอยู่ในเวฬุวัน 122.จับแมลงสีคล้ำ Dark-sided Flycatcher กลุ่มนกจับแมลงเป็นกลุ่มที่เห็นได้ง่ายในช่วงหน้าหนาวที่เป็นหน้าอพยพ แต่ตัวนี้กลับพบไม่ค่อยบ่อย แต่ก้อมีมาให้เห็นเป็นประจำทุกปี 123.จับแมลงสีน้ำตาล Asian Brown Flycatcher ตัวนี้พบได้บ่อยที่สุด มีให้เห็นทั่วไป 124.จับแมลงสีน้ำตาลแดง Ferruginous Flycatcher พบไม่บ่อย 125.จับแมลงตะโพกเหลือง Yellow-rumped Flycatcher เป็นนกอพยพผ่าน 126.จับแมลงคิ้วเหลือง Narcissus Flycatcher คุณหมอกร รัตนเสถียร หรือ Trex พบใต้ต้นมะขามเทศ ข้างศาลาที่อยู่ด้านซ้ายของสะพานเข้าเวฬุวัน 127.จับแมลงหลังเขียว Green-backed Flycatcherนกใหม่อีกตัวของพุทธมณฑล คุณชำนาญ พบเมื่อ 7 เมษา 52 นี้เองน่าจะเป็นบริเวณเดียวกันกับที่พบ Narcissus ครั้งแรกกับครั้งที่ 2 เป็นนกอพยพผ่านเช่นกัน เลยมาให้เห็นแค่วันเดียว แต่มาพร้อมกัน 2 ตัว 128.จับแมลงดำอกสีส้ม Mugimaki Flycatcher เป็นนกใหม่ของพุทธมณฑลอีกตัว พบครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 เมษา อยู่ใต้ต้นมะขามเทศ ก่อนจะเข้าเวฬุวัน ตัวที่พบเป็นตัวผู้วัยเด็ก พบอยู่แค่วันเดียว ครั้งที่ 2 ที่พบเป็นตัวผู้เต็มวัย ครั้งนี้พบกันประมาณ 10 กว่าคน พบวันที่ 11 เมษา ซึ่งเป็นวันเดียวกันกับที่พบ Fairy Pitta เป็นครั้งแรก ครั้งนี้เห็นอยู่แค่วันเดียวเช่นกัน 129.จับแมลงคอแดง Red-throated Flycatcher เป็นจับแมลงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในหน้าหนาวถึงหน้าร้อน พบมากและบ่อยพอๆ กับจับแมลงสีน้ำตาล 130.จับแมลงสีฟ้าท้องขาว Blue-and-White Flycatcherนกใหม่ของพุทธมณฑลอีกตัว เป็นนกอพยพผ่าน วันเดียวจริงๆ พี่พินิจถ่ายได้ตรงแถวศาลาข้างสะพาน วันที่ 5 หรือ 6 เมษา 131.จับแมลงสีฟ้า Verditer Flycatcherเป็นนกอพยพผ่าน พบได้ทุกปี ปีละครั้งหรือ 2 ครั้ง แวะอยู่ไม่นาน ส่วนใหญ่ชอบอยู่บนยอดไม้ บางครั้งพบพักอยู่แถวกอไผ่ 132.จับแมลงคอน้ำตาลแดง Hill Blue Flycatcher เป็นนกอพยพ ส่วนใหญ่จะพบว่าแวะพักอยู่ระยะสั้นๆ พบได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย แต่จะพบอยู่แถวเวฬุวัน หรือสวนสมุนไพร 133.นกจับแมลงคอสีน้ำเงินเข้ม Blue-throated Flycatcher 134.จับแมลงพันธุ์จีน Chinese Blue Flycatcher พบว่า มีจับแมลงพันธุ์จีนเข้ามาแวะพักทุกปี ทั้งขาไปและกลับ ครั้งละนานๆ แต่พบอยู่แต่ในสวนเวฬุวัน ทั้งเพศผู้และเมีย 135.จับแมลงอกส้มท้องขาว Tickell's Blue Flycatcher 136.จับแมลงอกสีฟ้า Hainan Blue Flycatcher ในสวนสมุนไพร 137.จับแมลงหัวเทา เป็นนกอพยพผ่าน พบได้ทุกปีแถวๆ สวนเวฬุวัน ปีละ 1-2 ครั้งๆ ละไม่นานบางครั้งพบอยู่ตัวเดียวโดดๆ บางครั้งพบร่วมอยู่กับเวฟนก หลายชนิด 138.นกคอทับทิม Siberian Rubythroat เป็นนกอพยพ 139.เขนน้อยไซบีเรีย Siberian Blue Robin เป็นนกอพยพผ่าน แวะเข้ามาพักไม่นาน แต่ปีหลังๆ เริ่มพบบ่อยขึ้นหลายตัวเลย พบตรงด้านหน้าแถวๆ ลานจอดรถ เป็นเพศผู้ พอปีถัดมาก้อมีคนพบในเวฬุวัน 140.กางเขนบ้าน Oriental Magpie Robin 141.กางเขนดง White-rumped Shama ตรงแถวศาลาด้านซ้ายที่ลงมาจากสะพานเข้าเวฬุวัน 142.ยอดหญ้าหัวดำ Siberian Stonechat เป็นนกอพยพ พบอยู่แถวดงต้นเข็มที่อยู่ตรงลานหญ้าด้านหน้าสุดของพุทธมณฑล หน้าประตูทางเข้า แล้วหลังจากนั้นไม่นาน คนสวนก้อตัดต้นเข็มทั้งหมดทิ้งไป เลยไม่เห็นนกยอดหญ้าอีก 143.เอี้ยงด่าง Asian Pied Starling 144.กิ้งโครงคอดำ Black-collared Starling 145.นกเอี้ยงสาริกา Common Myna 146.เอี้ยงหงอน White-vented Myna 147.นกนางแอ่นบ้าน Barn Swallow นกอพยพ พบได้ในหน้าหนาว 148.ปรอดหัวโขน Red-whiskered Bulbul พบอยู่ในเวฬุวัน บนยอดไผ่ 149.ปรอดหัวสีเขม่า Sooty-headed Bulbul พบอยู่เป็นประจำ แถวๆ องค์พระ กับด้านหน้าๆ ของพุทธมณฑล 150.ปรอดหน้านวล Yellow-vented Bulbul ตัวนี้พบบ้างในพุทธมณฑล แต่ไม่ได้พบประจำ 151.ปรอดสวน Streak-eared Bulbul เป็นปรอดตัวที่พบบ่อยที่สุด พบได้ทั่วไป 152.นกยอดข้าวหางแพนลาย Zitting Cisticola 153.กระจิบหญ้าสีข้างแดง Rufescent Prinia 154.กระจิบหญ้าอกเทา Grey-breasted Prinia 155.กระจิบหญ้าท้องเหลือง Yellow-bellied Prinia 156.กระจิบหญ้าสีเรียบ Plain Prinia มีอยู่ในพุทธมณฑลเพียบ โดยเฉพาะตามแถบริมๆ น้ำ 157.พงตั๊กแตนอกลาย Lanceolated Warbler เป็นนกอพยพผ่าน พบอยู่วันเดียว 158.พงใหญ่พันธุ์ญี่ปุ่น Oriental Reed Warbler เป็นนกอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในช่วงหน้าหนาว มักพบอยู่ในสวนเวฬุวัน 159.กระจิบธรรมดา Common Tailorbird เป็นนกที่พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล พบได้ตลอดปี 160.กระจิบคอดำ Dark-necked Tailorbird 161.กระจิ๊ดสีคล้ำ Dusky Warbler 162.กระจิ๊ดปากหนา Radde's Warbler 163.กระจิ๊ดธรรมดา Yellow-browed Warbler 164.กระจิ๊ดขั้วโลกเหนือ Arctic Warbler 165.กระจิ๊ดหัวมงกุฎ Eastern Crowned Warbler 166.กะรางหัวหงอก White-crested Laughingthrush (น่าจะเป็นนกปล่อย ) 167.กะรางสร้อยคอเล็ก Lesser Necklaced Laughingthrush (น่าจะเป็นนกปล่อย ) 168.กะรางสร้อยคอใหญ่ Greater Necklaced Laughingthrush (น่าจะเป็นนกปล่อย ) 169.กะรางคอดำหรือซอฮู้ Black-throated Laughingthrush (น่าจะเป็นนกปล่อย ) 170.สีชมพูสวน Scaly-backed Flowerpecker พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล 171.กินปลีคอสีน้ำตาล Brown-throated Sunbird พบได้ทั่วไปในพุทธมณฑล โดยเฉพาะในสวนสมุนไพรจะมีให้เห็นมากเป็นพิเศษ 172.กินปลีอกเหลือง Olive-backed Sunbird พบได้ทั่วไปเหมือนกินปลีคอสีน้ำตาล พบมากในสวนสมุนไพร 173.กระจอกตาล Plain-backed Sparrow 174.กระจอกบ้าน Eurasian Tree Sparrow 175.เด้าลมดง Forest Wagtail เป็นนกอพยพเข้ามาในหน้าหนาว พบได้ทุกปี ส่วนใหญ่จะพบในเวฬุวันและสวนสมุนไพร 176.เด้าดินทุ่งเล็ก Paddyfield Pipit พบช่วงอพยพ มักพบอยู่ตรงสนามหญ้าตรงหน้าทางเข้าพุทธมณฑล และรอบๆ องค์พระ 177.เด้าดินสวน Olive-backed Pipit เป็นนกอพยพ มักพบเป็นฝูงอยู่ในสวนสมุนไพร 178.กระติ๊ดตะโพกขาว White-rumped Munia มักพบเป็นฝูงอยู่ในเวฬุวัน พบบ่อยช่วงที่ดอกไผ่บาน นกจะรวมฝูงกันเข้ามากินดอกไผ่ 179.กระติ๊ดขี้หมู Scaly-breasted Munia 180.อีเสือหลังแดง Burmese Shrike 181.กระจิ๊ดขาสีเนื้อ Pale-legged Leaf Warbler 182.กิ้งโครงแกลบหัวเทา Chestnut-tailed Starling 183.กระจาบทอง Golden Weaver 184.แว่นตาเหลืองคิ้วสั้น Plain-tailed Warbler 185.นกนางแอ่นตะโพกแดง Red-rumped Swallow 186.พงปากหนา Thick-billed Warbler 187.เด้าลมเหลือง Yellow Wagtail รู้เห็น .. แจ้งเบาะแส .. http://1000eyesnetwork.net .. .. |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว | ||
![]() |
||
ดูนกสบายๆ |
||
View All ![]() |
เยือนภู ดูเหยี่ยว เที่ยวชมทะเลหมอก | ||
![]() |
||
แหล่งท่องเที่ยวสบายๆ เขาดินสอ อ.ปะทิว จ.ชุมพร |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |