*/
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
เจ็ดวันในรัฐฉาน (๒)..รักฉาน..รู้จักฉาน แต่พอสังเขป
ในช่วงระยะเวลาสิบปีที่ฉันเดินทางเข้า-ออกไปเที่ยวประเทศเมียนมา(ปี ๒๕๔๗-๒๕๕๗) ฉันเคยไปรัฐฉานมาแล้วสามครั้ง แต่ทุกครั้งจะไปทางเครื่องบิน โดยบินจากสนามบินย่างกุ้ง ไปแวะสนามบินมัณฑะเลย์ และบินต่อไปยังสนามบินเฮโฮ ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งของรัฐฉาน ก่อนจะเดินทางต่อไปยังเมืองยองเฉว่ ทะเลสาบอินเล และเมืองต่องจี ทุกครั้งระหว่างที่เครื่องบินออกจากสนามบินมัณฑะเลย์ไปยังสนามบินเฮโฮในรัฐฉานใช้เวลาบินประมาณครึ่งชั่วโมง ฉันชอบนั่งมองทางหน้าต่างเครื่องบินลงไปด้านล่าง..เห็นเทือกเขามหึมาสลับซับซ้อนไปมาและเห็นป่าหนาทึบอันกว้างใหญ่ไพศาล ช่างน่าตื่นตาตื่นใจกับทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของรัฐฉานยิ่งนัก..ฉันอยากรู้มานานแล้วว่า..เบื้องล่างนั้น มีการเดินทางโดยรถยนต์หรือไม่ เพราะเป็นเขาสูงเช่นนั้น บางแห่งก็เห็นมีเส้นทางรถไฟ...อยากรู้จริง กระทั่ง..เมื่อได้ร่วมเดินทางทริปสำรวจเส้นทางในรัฐฉานไปถึงเมืองตองจีครั้งนี้..ฉันจึงได้รู้จักรัฐฉานมากขึ้นว่า..รัฐฉาน..ที่เห็นเป็นเทือกเขาสูงนั้น มีทางรถยนต์แล่นด้วย และในเจ็ดวันที่เราเดินทาง โดยใช้ทางหลวงหมายเลข AH 4 (ASEAN Highway 4) เราจะผ่านไปตามเมืองต่างๆ ที่ไม่รู้จักมาก่อน..ค่ำไหนนอนนั่น.. หิวที่ไหน กินที่นั่น..ปวดท้องจะเข้าห้องน้ำที่ไหน..หากไม่มีห้องน้ำ..ผู้หญิงก็เข้าไปเด็ดดอกไม้ในพุ่มไม้ ส่วนผู้ชายก็ยิงกระต่ายข้างทาง.. พวกเราทั้งคันรถรวมกัน ๑๖ คน เป็นชาวไทย ๑๑ คน เป็นชาวเมียนมา ๕ คน ยังไม่มีใครสักคนเคยเดินทางมาตามเส้นทางนี้มาก่อน ไม่ว่าจะเป็นคุณอาร์ตหัวหน้าทัวร์ไทย โกต้าหัวหน้าทัวร์เมียนมา หรือแม้แต่โกนาย คนขับรถทัวร์ (แต่โชคดีที่โกต้าและโกนายขับรถมาจากเมืองต่องจี เพื่อมารับพวกเราที่ท่าชิเหล็กจึงได้เห็นเส้นทางมาแล้วเที่ยวหนึ่ง) ส่วนพวกเราลูกทัวร์ทุกคนก็ไม่มีใครเคยมาพม่า จึงนับว่าเป็นการเดินทางที่น่าตื่นเต้นไม่น้อย ส่วนจะผจญภัยหรือไม่นั้น...ค่อยๆ อ่านตามมาเรื่อยๆ นะคะ มีอะไรขาย ก็กินเช่นนั้น แวะทานอาหารเที่ยงมื้อแรก ระหว่างทางจากท่าชิเหล็กไปเชียงตุง เห็นชาวบ้านกินแล้วน่าเอร็ดอร่อย อา..เจอแล้ว..แกงเป็นหม้อๆ กินข้าวราดแกงดีกว่าเรา เอาแกงไก่กับข้าวเปล่า..นี่แหละ..ง่ายดี แถมผักเหนาะ และน้ำแกงซุปใบกระเจี๊ยบด้วย เส้นทางหลวงอาเซียนไฮเวย์หมายเลข ๔ (AH 4) เพื่อนร่วมเดินทาง เจอวิวนาข้าวสวยๆ ตลอดทาง มีน้ำไหลจากแปลงที่สูง สู่แปลงที่ต่ำ ร่องน้ำตก ..สวยดี ชอบมาก น้ำในลำห้วย สีเหมือนชาใส่นมของพม่าเลย เห็นบ้านสวยๆ แค่นี้ก็สบายใจแล้ว จะแวะถ่ายรูป ชมวิว หรือ ยิงกระต่าย ก็ได้ค่ะ แวะตรงจุดจอดพักรถ ต้องฉีดน้ำสายยางบริการฟรี ฉีดล้อรถทั้งสี่..เพราะขับขึ้นเขาตลอด รถร้อนมาก..พักคน ด้วย ใกล้ถึงเชียงตุงหรือยังก็ไม่รู้.. ไม่สนใจ เดินเล่นกันดีกว่า มีของขายเป็นผักและผลไม้.. อ้วนดีจัง รากเนี่ย เรียกว่า "จูหมิต" กินอร่อยดี ฉุนๆ ขึ้นจมูก..เมืองไทยไม่มี ต้องไปกินที่พม่า รถที่แล่นแถบนี้ เรียกไม่ถูกว่า สามล้อ หรือมอเตอร์ไซด์ คันนี้ เป็นเจ้าถนนสายนี้แน่นอน น้ำมันขายใส่ขวด สำหรับรถนะคะ นมสด ..สำหรับคนกิน พี่โบเดียสนใจรังต่อมากกว่าสิ่งใด แกบอกว่าหากอยู่ที่บ้าน จะซื้อไปนึ่งกิน โอ้..อร่อยมาก หนุ่มๆ สนใจเขาวัวป่า แต่ไม่มีใครกล้าซื้อ กลัวถูกสวมเขา ฮาๆ รถเก๋งส่วนตัวก็แล่นผ่านเส้นทางนี้ น่าจะมาจากเมืองเชียงตุงกระมัง ลูกเขียวๆ ในถุงนั่น ปาหัวหมา..แตก..ฟันอาจหักได้ ส่วนกล้วย..ใหญ่อ้วนดี
ก่อนมาทริปนี้..ตอนที่ฉันเรียนภาษาพม่าที่กรุงเทพฯ กับอาจารย์ซึ่งเป็นคนไทใหญ่ อาจารย์บอกว่า รู้ไหม คำว่า “ฉาน” กับคำว่า “สยาม”เป็นคำคำเดียวกับ..โอ๊ะ.. ช่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เป็นไปได้อย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น..ก่อนเดินทางพี่โบเดีย หัวเราะร่าบอกฉันว่า “ฮ่า ฮ่า พี่เจ้าหญิงไปทริปนี้ไม่ได้พูดภาษาพม่าหรอก ที่เชียงตุงเขาไม่พูดภาษาพม่า เสียใจด้วย ฮ่าๆ” แล้วพี่โบเดียก็ไม่บอกว่าเพราะอะไร..ปล่อยให้ฉันงงเป็นไก่แก่ตาแตก ทำไมคำว่า “ฉาน” เป็นคำเดียวกับ “สยาม”.. ทำไมพี่โบเดียบอกว่า..ฉันจะไม่ได้พูดภาษาพม่าที่รัฐฉาน ..คุณอยากรู้ไหม เอ็นทรีนี้ ฉันขอนำเพื่อนๆ มารู้จักกับรัฐฉานและไทใหญ่ก่อนพอสังเขป นะคะ รักฉาน..รู้จักฉาน..ก่อน เอ็นทรีหน้าค่อยไปเที่ยวในเมืองเชียงตุงกัน มาเรียนวิชาประวัติศาสตร์กันเล็กน้อย แล้วคุณจะหลงใหลในประวัติศาสตร์ไทยกับฉาน รัฐฉาน (Shan State) รัฐฉานตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของสหภาพเมียนมา ทิศเหนือติดกับมณฑลสะกาย รัฐกะฉิ่นและประเทศจีน ทิศตะวันออกติดกับประเทศจีนและลาว ทิศใต้ติดกับไทย (ที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน) และรัฐคะยา ทิศตะวันตกติดกับมณฑลมัณฑะเลย์ รัฐฉานมีพื้นที่ 60,155 ตารางไมล์ ลักษณะภูมิประเทศของรัฐฉานเต็มไปด้วยภูเขาสูงและผืนป่า พื้นที่เต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่า สินค้าส่งออกที่สำคัญของรัฐฉานจึงเป็นจำพวกแร่ธาตุและไม้ชนิดต่าง ๆ รัฐฉานมีประชากรกว่า 4.7 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่เป็นไทใหญ่ อาศัยในที่ราบลุ่มน้ำและตามหุบเขา นอกจากนี้ ยังมีชนเผ่า ดนุ ต่องโย อีงตา และชาวพม่า อาศัยอยู่ทางด้านตะวันตก ชาวเผ่าปะหล่อง ลีซอและกะฉิ่นอาศัยทางด้านเหนือ ชาวปะโออาศัยแถวด้านใต้ ชาวว้าที่เมืองโฮบัง ด้านตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน โกกั้งในเขตปกครองโกกั้ง และอีก้อกับมูเซออาศัยแถบเมืองเชียงตุง การแต่งกายของชนเผ่า..กะย่า ไทลื้อ อ่าข่า ไทลูแว ไทโหล่ง ชาวว้า ที่เมืองโฮบัง ชนเผ่าขุ่น ว้าว..ชุดกะฉิ่น..ชอบมาก ชอบมาก เสื้อกะฉิ่น..เคยไปถามหาจะซื้อสักตัว ที่ในย่างกุ้ง แพงมาก น่าว่าต้องไปซื้อที่รัฐกะฉิ่นซะแล้ว แต่งกายชุดกะฉิ่น เรียนภาษาพม่าควบคู่กับเรียนวัฒนธรรมการแต่งกายด้วย ชนเผ่าไหนกันบ้างเนี่ย..กะยา..พม่า..กะฉิ่น..ฉาน.. ชุดพม่า ชาวยะไข่หรือระไข่ เผ่าล่าฮู ชาวมอญ..ผ้าซิ่นสีแดงเป็นเอกลักษณ์ ชาวเผ่าปะหล่อง บนเส้นทางที่เราเดินทางผ่านหมู่บ้านพวกเขา คิดถึงพวกเขาจัง เมื่อไหร่จะได้เจออีก เป็นนางแบบให้เรา ชนเผ่าปะโอ ที่ตลาดอินเต่ง ทะเลสาบอินเลโพกผ้าต่างสี มีความหมายต่างกัน น่ารักมาก สาวปะโอ..กลางเมืองตองจี..กับสาวพม่า ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และมีจำนวนมากเป็นมุสลิม คริสต์และฮินดู ภาษา กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยในประเทศเมียนมาทั้งหมด จำแนกตามกลุ่มภาษาได้ 3 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มภาษาธิเบต-พม่า กลุ่มภาษาไท และกลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งกลุ่มภาษาไท ได้แก่ ไทใหญ่ ไทเขิน ไทลื้อ ไทยอง ไทคำตี่ ไทมะริด ชาวไทใหญ่ในรัฐฉานเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของพม่า ส่วนใหญ่พูดภาษาพม่าเป็นภาษากลาง ตามภาษาของไทใหญ่ จะเรียกตัวเอง ไต หรือ ไท (ตามสำเนียงไทย) มีหลายกลุ่ม เช่น ไตขืน ไตแหลง ไตลื้อ ฯลฯ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ “ไตโหลง” หรือ “ไทหลวง” ซึ่งคนไทยเรียก “ไทใหญ่” ด้วยเหตุนี้ จะเห็นได้ว่าภาษาไต และภาษาไทย คล้ายกันบ้าง แต่ไม่เหมือนกัน รัฐฉานแบ่งพื้นที่การปกครองเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ ต่องจี (Taung gyi) ลอยลีง (Loi lem) ลาโช (La shio) มูแซ (Mu se) เจ้าก์แม (Kyauk me) กุนลง (Kun long) เล่าก์ก่าย (Lauk kai) ไจ้ก์โตง หรือเชียงตุง (Keng tung)มายซัต (Mong hsat) มาย-พยัต (Mong hpayak) และ ตาชีเละหรือท่าขี้เหล็ก (Tachilek) ทั้งรัฐมี 54 ตำบล กับ 193 หมู่บ้าน (จะมีเมืองที่ทริปเราจะผ่านไป ได้แก่ ตาชีเละ มายพยัต เชียงตุง ลอยลิง และต่องจี ...ว้าว) กลางเมืองต่องจี มองจากยอดเขาจุดชมวิวสูงสุด ..ในวันที่ฟ้าเปิด สามารถมองได้ไกลไปถึงทะเลอินเล
เมืองหลวงของรัฐฉาน คือ เมืองต่องจี มีประชากรประมาณ 150,000 คน ส่วนเมืองสำคัญอื่นๆ ได้แก่ สีป้อ ลาโช เชียงตุง และท่าขี้เหล็ก ชาวไทใหญ่ถือวันที่ 7 กุมภาพันธ์ เป็นวันชาติ ปัจจุบัน คนไทใหญ่ในประเทศเมียนมามีประมาณ 3 หรือ 4 ล้านคน แต่มีไทใหญ่หลายแสนคน ที่ได้อพยพเข้าสู่ประเทศไทยเพื่อหนีปัญหาทางการเมืองและการหางานทำ ขอขอบคุณข้อมูล จากหนังสือ “เรียนรู้สังคมวัฒนธรรมพม่า” โดย อ. วิรัช-อรนุช นิยมธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร และข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ได้แก่ วิกิพีเดีย ข้อมูลของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้าน และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
อยากให้เพื่อนๆ รู้ประวัติของไทใหญ่..ต่ออีกสักนิดนะคะ ประวัติของไทใหญ่ ไทใหญ่เกิดขึ้น 96 ปี ก่อนคริสต์ศักราชในพ.ศ. 448 รัฐฉาน ในอดีตกาลมีชื่อเรียกว่า "ไต" หรือที่เรียกกันว่า "เมิงไต" ในสำเนียงไต หรือ "เมืองไต" ในสำเนียงไทย มีประชากรหลายชนชาติและอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข โดยมีชนชาติไทใหญ่อาศัยอยู่มากที่สุด เมืองไตเคยมีเอกราชในการปกครองตนเองมาเป็นเวลาหลายพันปี ก่อนที่อังกฤษจะขยายอิทธิพลเข้ามาถึง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเมืองไตกับพม่าในอดีตนั้น จัดเป็นอิสระต่อกันหรือกล่าวได้ว่าเป็นคนละอาณาจักรกัน เหมือนดั่งอาณาจักรอยุธยากับอาณาจักรเขมร อาณาเขตของเมืองไตประกอบด้วยเมืองรวมทั้งหมด 33 เมืองแต่ละเมือง ปกครองด้วยระบบเจ้าฟ้าสืบต่อเนื่องกันมาตั้งแต่อดีต และถึงแม้จะมีเจ้าฟ้าปกครองหลายเมือง แต่ทุกเมืองก็รวมกันเป็นแผ่นดินชนชาติไต เนื่องจากที่ตั้งของเมืองไตอยู่ใกล้กับประเทศพม่า เมืองไตกับประเทศพม่ามีการติดต่อค้าขายช่วยเหลือ และให้ความเคารพซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เห็นได้จากในช่วงที่เจ้าฟ้าเมืองไตปกครองประเทศพม่าประมาณเกือบ 300 ปีไม่เคยมีการสู้รบกันเกิดขึ้น และยังมีการติดต่อค้าขายยังดำเนินไปอย่างสันติสุขเช่นกัน "จะเด็ด" จนกระทั่งมาถึงสมัยบุเรงนอง ได้มีการสู้รบกันระหว่างเจ้าฟ้าเมืองไตกับกษัตริย์พม่าเกิดขึ้น โดยฝ่ายเจ้าฟ้าเมืองไตเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ จึงทำให้ราชวงศ์เจ้าฟ้าบางเมือง ต้องจบสิ้นไป ดังเช่นราชวงศ์เจ้าฟ้าเมืองนาย ซึ่งเป็นราชวงศ์ของกษัตริย์มังราย นอกจากนี้ยังมีอีกหลายราชวงศ์ที่ต้องสูญสิ้น ไปเพราะการสู้รบ อนุสาวรีย์พระยามังราย จ. เชียงราย พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนาของไทย พระเจ้าอลองพญา พ.ศ. 2305 ในสมัยพระเจ้าอลองพญาของพม่า รัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ซึ่งได้จากกรุงศรีอยุธยา (รัฐฉานเคยอยู่ภายใต้การปกครองของกรุงศรีอยุธยา) กษัตริย์พม่าได้ทำการปราบปรามราชวงศ์ เจ้าฟ้าไทใหญ่จนหมดสิ้นไปเป็นจำนวนมาก วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2428 อังกฤษได้ทำการจับกุมและยึดอำนาจกษัตริย์พม่า และขยายอาณาเขตไปยังเมืองเชียงตุงทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองไต พ.ศ. 2433 อังกฤษได้ประกาศว่า "อังกฤษได้ยึดเอาเมืองไตเรียบร้อยแล้ว" ...เนื่องจากประเทศพม่าซึ่งตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่ม และเมืองไต ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขา ไม่ใช่ประเทศเดียวกัน อังกฤษจึงไม่ได้เข้ายึดพร้อมกัน และถึงแม้อังกฤษจะยึดทั้งสองเมืองเป็นเมืองขึ้นของตน แต่ก็ไม่ได้ปกครองทั้งสองเมืองในลักษณะเดียวกัน หากแบ่งการปกครองออกเป็นสองลักษณะ คือประเทศพม่าเป็นเมืองใต้อาณานิคม ส่วนเมืองไตเป็นเมืองใต้การอารักขา อังกฤษยังได้จับกุมกษัตริย์พม่าและกำจัดราชวงศ์ทั้งหมดของกษัตริย์พม่า ส่วนเมืองไตอังกฤษไม่ได้ทำลายราชวงศ์เจ้าฟ้า อีกทั้งยังสนับสนุนให้เจ้าฟ้าแต่ละเมือง มีอำนาจปกครองบ้านเมืองของตนเอง และได้สถาปนาให้เมืองทั้งหมดเป็นสหพันธรัฐฉาน ขึ้นกับอังกฤษ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของพม่าแต่อย่างใด 25 มกราคม พ.ศ. 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นขอให้ไทยในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ยกกำลังทหารยึดรัฐฉาน เชียงตุง ในประเทศพม่า จากทหารจีนก๊กมินตั๋ง ของจอมพลเจียงไคเช็ค ญี่ปุ่นได้ส่งมอบให้ไทย ผนวกเป็นสหรัฐไทยเดิม เป็นจังหวัดไทใหญ่ (ไทยปกครองเชียงตุงได้ 3 ปี) 1 มกราคม พ.ศ. 2489 รัฐฉานกลับมาสู่อิสรภาพ ครั้งนี้อังกฤษได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของพม่า พ.ศ. 2490 ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางการพม่าพยายามโน้มน้าวเหล่าบรรดาเจ้าฟ้าไต ให้เข้าร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ เจ้าฟ้าไตจึงได้ร่วมลงนามในสนธิสัญญาปางโหลง (สนธิสัญญาปางหลวง) กับชาวพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อขอเอกราชจากอังกฤษ โดยสัญญาดังกล่าวได้นำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งระบุให้ชนชาติที่ร่วมลงนามในสัญญา สามารถแยกตัวเป็นอิสระได้หลังจากอยู่ร่วมกันครบสิบปี พ.ศ. 2491 อังกฤษได้ให้เอกราชกับพม่าและไต รัฐบาลกลางพม่าไม่ยอมทำตามสัญญา และพยายามรวมดินแดนให้เป็นของประเทศพม่า เหตุนี้จึงทำให้ชาวไตหรือไทใหญ่ จึงก่อตั้งกองกำลังกู้ชาติของตนเองขึ้น พระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงที่ถูกพม่าทุบทำลายลงอย่างน่าเสียดาย ปัจจุบันพม่าสร้างโรงแรม ณ ตรงจุดนี้ ทางรัฐบาลทหารพม่าได้ใช้ระบอบเผด็จการทหารกับชาวไต อีกทั้งยังได้ทำลายพระราชวังของไทใหญ่ในเมืองเชียงตุงและอีกหลายเมือง และเข้ามาจัดการศึกษาเกี่ยวกับพม่าให้แก่เด็กในพื้นที่ รัฐบาลทหารพม่าได้บังคับให้ประชาชนกว่า 3 แสนคนย้ายที่อยู่ ประชาชนมักถูกเกณฑ์ไปบังคับใช้แรงงาน ทั้งโครงการก่อสร้างและเป็นลูกหาบอาวุธให้ทหาร ทำให้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหนีเข้ามายังประเทศไทย ปัจจุบัน สถานการณ์ภายในรัฐฉานก็ยังไม่มีเสถียรภาพทางความมั่นคงเท่าใดนัก และก็ยังมีกองกำลังกู้ชาติของตนเองอยู่ พ.ศ. 2552 ได้มีการจัดตั้งสภารัฐฉาน เอ็นทรีหน้า..พบกับ..เมืองเชียงตุง นะคะ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |