*/
<< | ธันวาคม 2017 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ตามรอยพ่อหลวง (8) จากเนินทรงงาน..ไปฐานปฏิบัติการบ้านนอแล (ต่อจากเอ็นทรีที่แล้ว) เมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว ตอนที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 เสด็จมาดอยอ่างขางโดยเฮลิคอปเตอร์ ชินุก ในสมัยนั้นพื้นที่บนดอยอ่างขางนอกจากจะมีชาวเขาเผ่าต่างๆ แล้ว ยังมีทหารกองพลก๊กมินตั๋ง คอมมิวนิสต์ กลุ่มชนว้าซึ่งมีขุนส่าอยู่ที่ห้วยไสกังเป็นหัวหน้าค้าเฮโรฮีนอาศัยอยู่ พระองค์ต้องเผชิญหน้ากับบุคคลเหล่านี้ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถจึงเข้าถึงบุคคลเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย เครดิตภาพจากอินเตอร์เน็ต เดิมอ่างขางเต็มไปด้วยไร่ฝิ่น นอกจากนี้ เกิดปัญหาจากเหตุการณ์สู้รบของชนกลุ่มน้อยในฝั่งประเทศเมียนมาที่บริเวณชายแดนซึ่งอยู่ติดกับประเทศไทยที่บ้านนอแล มีชนเผ่าปะหล่องซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ของประเทศเมียนมาได้อพยพหนีภัยสงครามมาตั้งถิ่นฐานฝั่งไทยตรงบ้านนอแลพระองค์ทรงเห็นว่าประเทศย้ายไม่ได้ แต่ผู้คนย้ายถิ่นฐานไปมาได้ จึงให้สร้างรั้วที่มีชีวิตด้วยการสร้างสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจให้คนอยู่ร่วมกันโดยไม่ต้องมีรั้วคอนกรีต ดังนั้น เมื่อชาวปะหล่องถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ในปี พ.ศ.2527 เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จทรงงานที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง พระองค์จึงมีพระราชดำรัสให้ชนเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ที่บ้านนอแล จวบจนกระทั่งปัจจุบัน และทรงมีรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือชาวปะหล่องโดยส่งเสริมให้มีการทำอาชีพหัตถกรรม เช่น ทอผ้า และทำการเกษตร นับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่ทรงให้ความช่วยเหลือแก่ชาวปะหล่อง ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่คนไทยแท้ พระองค์ทรงทำงานอย่างหนักเพื่อประชาชน สังคม เศรษฐกิจ และควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ป่าไม้ ต้นน้ำลำธารเพื่อให้ มีสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย ปัจจุบันพื้นที่ดอยอ่างขางที่เคยปลูกฝิ่นได้กลายเป็นแปลงผัก ชา สตรอเบอรี สวนไม้ดอก สวนผลไม้เมืองหนาว และป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จอดเฮลิคอปเตอร์ แล้ว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเสด็จพระราชดำเนินจากเนินที่จอดเฮลิคอปเตอร์ไปยังอีกเนิน พ่อหลวงเสด็จมายังพื้นที่รอบๆ อ่างขาง ถึง 20 ครั้งใน 10 ปี เฉพาะเสด็จมาอ่างขางอย่างเดียวที่บ้านคุ้ม ขอบด้ง 7 ครั้ง ซึ่งเมื่อเสด็จมาโดยเฮลิคอปเตอร์แล้ว บางครั้งจะทรงขี่ม้า หรือบางครั้งพระองค์จะเสด็จพระราชดำเนินจากหมู่บ้านขอบด้งไปยังบ้านนอแล และเสด็จไปบ้านหลวงแล้วมาอ่างขาง 6 ครั้ง บางเดือน พ่อหลวงเสด็จมา 2 ครั้ง ในครั้งนี้ คณะของเรามีโอกาสไปเยี่ยมชมและศึกษาดูงานที่ฐานปฏิบัติการบ้านนอแลด้วยในช่วงบ่าย เสร็จแล้วเราจะไปเดินตามรอยเท้าพ่อที่เนินทรงงานไปยังบ้านมูเซอดำด้วย ฉันจะขอนำเพื่อนๆ เยี่ยมชมสถานีเกษตรหลวงอ่างขางตามโปรแกรมของเราสำหรับวันนี้ ต่อจากเอ็นทรีที่แล้วนะคะ เมื่อออกจากอาคารคัดบรรจุ ผัก ผลไม้ และ ดอกไม้แล้ว เราก็มาขึ้นรถรางเพื่อชมพื้นที่แปลงสาธิตและทดลองปลูกพืชผลไม้เมืองหนาวต่างๆ อาทิ ต้นท้อหรือพีช พลัม พลับ แพร์ สาลี่ และกีวี โดยมีคุณมณพัฒ ยานนท์ นักประชาสัมพันธ์สถานีเกษตรหลวงอ่างขางเป็นผู้บรรยายและนำชม จากนั้น เรามาแวะที่ร้านกาแฟของสถานีเกษตรหลวงฯ เพื่อรับประทานอาหารว่างและน้ำชา โดยทางสถานีฯ ได้จัดอาหารว่างไว้ให้เป็นปอเปี๊ยะกล้วยหอมทอด และบอกว่าเลือกทำเมนูนี้ให้คณะเราชิม เพราะกล้วยหอมทอดนี้เป็นเมนูอาหารว่างที่สมเด็จพระนางสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ทรงโปรดเสวยกับสุธารสชา จะมีรับสั่งให้ทำถวายทุกครั้งที่เสด็จมาอ่างขาง คณะของเราดีใจมากที่ได้ลิ้มชิมรสกล้วยหอมทอดซึ่งมีที่มาจากการเป็นของโปรดของ “แม่หลวง” และอร่อยมากจริงๆ ด้วย พวกเรานั่งพักรับประทานอาหารเบรกเช้านี้ในบรรยากาศเย็นของลมภูเขาภายในร้านกาแฟสไตล์เก๋ไก๋ แลมองไปฝั่งตรงข้ามจะเห็นทิวทัศน์ของทุ่งหญ้าเขียวขจีในแปลงสาธิตปลูก สาลี่ และลูกพีชที่พ่อหลวงสร้างไว้ ดอกไม้จีนที่กินได้เวลาที่ต้มจืด เป็นอย่างนี้เอง สวยสีสดใสมาก คุณมณพัฒฯ บอกว่า สมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงให้นำมาปลูกที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เมื่อเสร็จจากเบรกรับประทานอาหารว่างและน้ำชาแล้ว เราเดินไปแวะที่ร้านค้าของโครงการหลวงซึ่งอยู่ใกล้ๆ กันกับร้านกาแฟ เพื่อเลือกชมและเลือกซื้อของ ฉันได้หมวกชาวเขาถูกใจเป็นที่ระลึก 1 ใบ และน้ำผลไม้กล่องซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของโครงการหลวงภายใต้แบรนด์ “ดอยคำ” ซึ่งเป็นน้ำผลไม้ที่ฉันเลือกดื่มทุกวัน เพราะคุณภาพที่ควรคู่คุณ และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ “พ่อหลวง” สร้างไว้ให้พวกเรา (จะได้อ่านในเอ็นทรีต่อไป) นอกจากนี้ ที่ร้านค้าโครงการหลวงยังมีลูกพีชและผลไม้อื่นๆ วางจำหน่ายด้วย ลูกพีชสด คุณมณพัฒฯ ก็นำพวกเราข้ามถนนมาฝั่งตรงข้าม เพื่อชมสวนพรรณไม้นานาพันธุ์ และบอกว่า ทุกครั้งที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เสด็จมาอ่างขาง ก็จะทรงโปรดที่จะมาเดินชมพันธุ์ไม้ในสวนที่ตรงนี้เสมอ
ที่ตรงนี้ จะมีแปลงลาเวนเดอ ที่ “แม่หลวง” ทรงโปรด ต้นลาเว็นเดอร์ ยังไม่มีดอก มีโดมอนุรักษ์และจัดแสดงพืชภูเขาเขตร้อน มีโดมจัดแสดงพันธุ์พืชทนแล้ว ซึ่งน่าสนใจและสวยงามมาก ทำให้นึกถึงสวนการ์เด็นส์บายเดอะเบย์ (Gardens by the bay) ของสิงคโปร์ขึ้นมาทันที อันที่จริงเมืองไทยเราที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขางก็มีอะไรดีๆ ไม่แพ้สิงคโปร์เหมือนกัน นอกจากนี้ ยังมีสวนบอนไซด้วย ซึ่งมีการนำต้นไม้จากต่างประเทศมาทำเป็นบอนไซ เช่น ต้นเมเปิล เราได้ใช้เวลาศึกษาชมพันธุ์ไม้ต่างๆ ภายในสถานีเกษตรฯ กระทั่งใกล้เที่ยง จึงขึ้นรถตู้เพื่อไปรับประทานอาหารกลางวัน ที่สโมสรอ่างขาง ซึ่งมีอาหารอร่อยทุกเมนูทำจากพืชผักโครงการหลวงที่ปลูกบนดอยอ่างขาง ไม่ว่าจะสลัดผักสด แกง และยังมีเมนูปลาสเตอเจียนที่นำมาจากโครงการหลวงดอยอินทนนท์ซึ่งทางสโมสรอ่างขางเตรียมไว้ให้คณะของเราลิ้มชิม ก่อนจะถึงหน้าห้องอาหาร เจอชาวเขามานั่งขายหญ้าอิบูแค ลายสวยเก๋อย่างนี้ ใครจะอดใจได้ ขอเลือกซื้อก่อนไปกินข้าว อันละ 10 บาท ผมเอาอันนี้ เท่าไหร่ จะเอาไปฝากครอบครัวที่บังคลาเทศ ขอแนะนำเพื่อนๆ ว่า หากท่านมาเที่ยวที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ขอให้มาลองลิ้มชิมอาหารที่สโมสรอ่างขางในบรรยากาศที่ร่มรื่นท่ามกลางขุนเขาแมกไม้ที่สุดยอดมาก ในราคาที่ไม่แพง แต่จะได้รับประทานอาหารที่สด อร่อยทุกอย่างจากโครงการหลวง หลังรับประทานอาหารเที่ยงแล้ว เวลา 13.30 น. เรามีโปรแกรมไปศึกษาดูงานที่ฐานปฏิบัติการทหารบ้านนอแล ซึ่งที่นี่เราได้ทราบถึงพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ที่อนุญาตให้ชาวเขาเผ่าปะหล่อง หรือเรียกตัวเองว่า “ดาระอัง” ได้อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินไทยที่บ้านนอแล ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่รอบๆ ฐานปฏิบัติการทหารบ้านนอแลเปรียบเสมือนรั้วที่มีชีวิตที่พระองค์ท่านทรงเล็งเห็นการไกลที่จะให้ประชาชนของสองประเทศ คือ ไทยกับเมียนมาอยู่กันได้อย่างสันติสุขเป็นการสร้างรั้วโดย สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เราขึ้นรถตู้เดินทางจากสโมสรอ่างขาง ขึ้นไปทางเหนือของสถานีฯประมาณ 4.5 ก.ม. ตามเส้นทางเล็กๆ ไต่ระดับขึ้นเนินมีทิวสนสองข้างทาง ผ่านหมู่บ้านขอบด้งไป และที่สุดเขตบริเวณชายแดนแห่งนี้มีพี่ๆ ทหารไทยค่อยเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อยปกป้องแนวชายแดน ขอบคุณเครดิตภาพจากอินเตอร์เน็ต เมื่อเราผ่านเข้าประตูรั้วเข้ามา ที่ใกล้กับประตูทางเข้าภายในฐานปฏิบัติการทหารมีอนุสาวรีย์ภาพปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฉันและคณะจึงจุดธูปกราบสักการะองค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะเดิน่ผ่านลานจอดเฮลิคอปเตอร์ไปยังชายแดน เราเดินมาที่ตรงชายแดนซึ่งมีป้อมบังเกอร์สำหรับหลบวิถีกระสุน และไกลออกนอกรั้วไม้ไผ่ที่ชายแดนราว 1 กม. ก็จะเห็นป้อมของฝั่งเมียนมาตั้งอยู่บนเนินสูง มองลงก็จะเห็นฝั่งไทยอย่างชัดเจน พี่ทหารอธิบายให้ฟังว่า ปัจจุบันเรามีความสัมพันธ์อันดีกับฝ่ายทหารเมียนมา มีการปรึกษากันในการปราบปรามยาเสพติด และการลักลอบเข้าเมือง นอกจากนี้ มีการจัดแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่วัดนอแลเป็นประจำเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ที่หมู่บ้านนอแลจะมีชาวเขาเผ่าปะหล่องของสองประเทศอยู่ในพื้นที่ติดกัน ฝั่งขวาเป็นชาวเขาที่อยู่ฝั่งไทยและฝั่งซ้ายเป็นชาวเขาที่เป็นชาวเมียนมา ประชาชนทั้งสองฝั่งถนนก็จะไปมาหาสู่กัน เรามารู้จักความเป็นมาของฐานปฏิบัติการทหารบ้านนอแลว่า มีที่มาอย่างไร ประวัติความเป็นมาของฐานปฏิบัติการบ้านนอแล หมู่บ้านนอแลเป็นส่วนหนึ่งของดอยอ่างขาง มีพื้นที่ติดแนวชายแดนไทย-เมียนมา มีการอพยพของชนกลุ่มน้อยตลอดเวลา เช่น กลุ่มขุนส่า ว้า ไทยใหญ่ และชนเผ่าปะหล่อง ชนเผ่าปะหล่องเป็นชนกลุ่มน้อยที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งโดยการถวายฎีกาแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช เมื่อครั้งที่เสด็จทรงงานที่สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ใน พ.ศ. 2527 พระองค์จึงมีพระราชดำรัสให้ชนเผ่าปะหล่องอาศัยอยู่ที่บ้านนอแล ส่วนฐานปฏิบัติการบ้านนอแลนั้น เริ่มแรกเป็นที่ตั้งของวัดปะหล่องและมีห้องเรียนเคลื่อนที่ โดยเจ้าหน้าที่จากสถานีเกษตรหลวงอ่างขางทำหน้าที่เป็นครูสอนประจำที่โรงเรียนบ้านขอบด้ง และมีครูมาสอนบางครั้ง แต่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2528-2530 เกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งบริเวณชายแดนระหว่างกลุ่มขุนส่า กลุ่มว้า และไทยใหญ่ โดยมีกลุ่มว้าตั้งฐานปฏิบัติการใหญ่อยู่ที่เดียวกับวัดปะหล่อง และห้องเรียนเคลื่อนที่ในตอนนั้น และในปี พ.ศ. 2530 ได้เกิดเหตุการณ์ต่อสู้กันอย่างรุนแรงที่บริเวณพื้นที่ตั้งของวัดปะหล่องและห้องเรียนเคลื่อนที่ โดยกลุ่มว้ายึดครองพื้นที่ที่นั่นไว้ แล้วเกิดการต่อสู้อย่างรุนแรงกับทหารเมียนมา จนในที่สุดทหารเมียนมาก็สามารถยึดครองพื้นที่ไว้ได้ และสามารถเชิญธงชาติเมียนมาขึ้นคู่กับธงชาติไทยที่มีอยู่แล้วของห้องเรียนเคลื่อนที่ ในขณะนั้น ศปก.ทภ. 3 ได้ส่งกำลังทหารมาปฏิบัติงานที่บ้านขอบด้ง โดยตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่บ้านขอบด้ง เมื่อเกิดปัญหาอย่างรุนแรงที่บ้านนอแล และมีการยึดพื้นที่โดยทหารเมียนมา ทางกองกำลังทหารไทยจึงได้ไปเจรจากับทหารเมียนมาจนเป็นที่เข้าใจ เมื่อทหารเมียนมาถอนกำลังออกจากพื้นที่บริเวณวัดปะหล่องแล้ว จึงตั้งเป็นฐานปฏิบัติการบ้านนอแล ในปี พ.ศ. 2530 จนถึงทุกวันนี้ ได้มีการเสด็จเยี่ยมฐานปฏิบัติการบ้านนอแลของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 พระราชทานสิ่งของแก่เหล่าทหาร และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้ง ในปี พ.ศ. 2542 และได้มีการเสด็จเยี่ยมของพระราชวงศ์ต่อมา (ข้อมูลจากแผ่นป้าย) ชาวปะหล่อง จะเรียกตัวเองว่า ‘ดาระอัง’ ส่วนคำว่าปะหล่องนั้นเป็นภาษาไทยใหญ่ที่ใช้เรียกชนกลุ่มนี้ หมายถึง คนดอย หรือคนภูเขา ชาวปะหล่องที่บ้านนอแลมีวิถีชีวิตเรียบง่าย ทำไร่สตอเบอรี่ ไร่ขั้นบันได ถนอมอาหาร และทอผ้าแต่คณะของเรามีเวลาจำกัดต้องไปอีกหลายแห่ง จึงไม่ได้มีโอกาสลงเดินชมสินค้าของชาวเขาเผ่าปะหล่องที่ทอผ้าขายที่หมู่บ้านนอแล ที่บ้านนอแลเปิดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวได้ ซึ่งจะมีชาวปะหล่องนำสินค้ามาวางขายด้วย ราวบ่ายสองโมง ท่ามกลางแดดที่ร้อนจ้า เราเดินทางจากฐานปฏิบัติการทหารบ้านนอแลมายังแปลงผักอินทรีย์ ศึกษาดูงานส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์แก่เกษตกรเผ่าดาราอั้ง หมู่บ้านนอแล และที่แปลงผักเรามีกิจกรรมปลูกผักด้วย คนซ้ายมือเป็นเจ้าหน้าที่ของสถานีที่คอยดูแลการปลูกผักที่แปลงให้กับชาวเขา ชาวปะหล่องกำลังตัดหญ้าแฝกที่ปลูกไว้ระหว่างร่องผักเพื่อให้ดินอุ้มน้ำ ปลูกหญ้าแฝก "ศาสตร์พระราชา" เพื่อกันดินพื้นที่ภูเขาพังทลาย อีกทั้งช่วยทำให้ดินชุ่มชื้น จะเห็นว่า มีการปลูกหญ้าแฝกเป็นขั้นบันได ทุกแห่ง ชาวเขาและเจ้าหน้าที่กำลังเตรียมดินก่อนที่จะปลูกต้นกล้าผัก ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ลงไปในหลุมก่อนจะปลูกผัก สาธิตให้ดูการปลูกผัก และปลูกเสร็จรดน้ำด้วยฝักบัว เตรียมดินไว้ให้เราปลูก ทุกคนถือเสียบในมือพร้อม และนี่คือ ต้นกล้าผักสำหรับคณะของเรา ได้ลงมือปลูกกันจริงๆ ลุย เลย แดดก็ร้อนเปรี้ยงๆ ช่วยกันปลูกคนละสองสามต้น แป๊บเดียวก็เสร็จ ชมโรงเพาะเมล็ดพันธุ์ผัก เมื่อเพาะงอกเป็นต้นอ่อนแล้ว ต้องแยก วิธีเพาะต้องเอาดินที่เตรียมมาใส่ในช่องกระถางเล็ก แล้วหยอดเมล็ดพันธุ์ผักลงไป เมล็ดเล็กมากๆ ต้นผักที่งอกโตขึ้นมานิดหนึ่งแล้ว กระบะที่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อเสร็จจากการเยี่ยมชมการปลูกผักและการเพาะเมล็ดพันธุ์ผักแล้ว คณะของเราได้เดินทางไปชมโรงงานอบใบชา และชมไร่ชา ของเผ่าดาราอั้ง ที่หมู่บ้านนอแล โรงอบใบชาอยู่ด้านบนเนินยอดเขานี้ เราเดินลงมาด้านล่าง ชมไร่ชาอินทรีย์ ขอบคุณเครดิตภาพนี้จากอินเตอร์เน็ต ปลูกชาเป็นขั้นบันได สลับกับร่องหญ้าแฝก ระหว่างทาง มีร้านค้าของชาวเขาเผ่าปะหล่อง ฟังการบรรยายเกี่ยวกับการทรงงานของพ่อหลวง และการปลูกชาจากคุณมณพัฒน์ฯ ณ ตรงนี้ ท่ามกลางขุนเขาและไร่ชาที่สวยงาม ขอบคุณเครดิตภาพจากอินเตอร์เน็ต กระทั่งเวลาสี่โมงเย็น คณะเราเดินทางโดยรถตู้มายังหมู่บ้านขอบด้ง และลงเดินเพื่อเยี่ยมชมแปลงส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรเผ่าลาหู่ ซึ่งมีแปลงปลูกสตรอเบอรีและผักกาด ผักกะหล่ำปลี กอใหญ่งามมาก กะหล่ำปลีสีม่วง บนเนินดินกลมๆ ด้านบนซ้ายของภาพนี้ คือ เนินทรงงานของพ่อหลวง จากนั้น เราเดินตามรอยพ่อหลวงมายังเนินที่เรียกว่า “เนินแห่งความจงรักภัคดี” ซึ่งเป็นเนินที่พ่อหลวงทรงเสด็จโดยเฮลิคอปเตอร์และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงงาน ณ บนเนินแห่งนี้ เมื่อเวลาผ่านไป แม้พระองค์จะไม่ได้เสด็จมาอีก แต่ชาวเขาทุกคนทุกเผ่ารักพระองค์ดุจดัง “พ่อหลวง” และยังคงรักษาเนินทรงงานนี้เอาไว้เป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึง “พ่อหลวง” ที่หลายๆครั้งในอดีตเสด็จมาทรงงานที่ตรงนี้ โดยจะเสด็จมาทางเฮลิคอปเตอร์และจอดที่หน้าโรงเรียนขอบด้ง จากนั้นจะเสด็จพระราชดำเนินมาที่นี่ เดิน และขี่ม้าไปไร่ชา ที่บนเนินแห่งนี้บนเนินเคยเป็นที่ประทับเพื่อทรงงานของพ่อหลวง ชาวบ้านไม่ทำอะไร เพื่อเป็นที่รำลึกถึงที่ทรงงานของพ่อ และรอบๆ เนินถึงจะปลูกกะหล่ำปลี มีเจ้าหน้าที่ซึ่งดูแลการปลูกกะหล่ำปลีให้แก่ชาวเขาได้บรรยายและนำชมการปลูกผักกะหล่ำปลีรูปหัวใจ โดยให้พวกเราลงมือตัดกะหล่ำปลี ซึ่งเป็นผักอินทรีย์ที่สามารถตัดแล้วกินสดๆ ได้เลย โดยไม่ต้องล้าง ภูเขาด้านหลังเนินทรงงานแห่งนี้ จะเป็นป่าไม้ซึ่งเป็นป่าปลูกมา 40 ปีแล้ว จากเขาหัวโล้นดังในภาพที่โชว์ กระทั่งมีสภาพเขียวดังที่เห็นทุกวันนี้ และมีป่าที่ให้ชาวบ้านเข้าไปเก็บของป่าเป็นอาหารได้ด้วย เช่น เห็ด นี่คือ งานที่พระองค์ทรงสร้างสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนมา ผ่ากินได้เลย โดยไม่ต้องล้าง เพราะสะอาดและปราศจากสารเคมีใดๆ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เมื่อเสร็จจากการตัดกะหล่ำปลี คณะของเรายังมีเวลาที่จะเดินตามรอยพ่อจากเนินทรงงานผ่านลูกเขาที่พระองค์เคยเสด็จพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้านชาวเขาเผ่ามูเซอดำ เพื่อชมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมูเซอดำ บนเส้นทางที่แคบๆ ริมเขา เราถอดรองเท้าแล้วเดินขึ้นบันได้ไม้ที่ใช้ไม้ทั้งต้นแล้วบากเป็นขั้นๆ ขึ้นมาบนบ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอดำหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของไม่อยู่บ้าน และประตูไม่ได้ล็อค แต่คุณมณพัฒฯ บอกว่าเป็นบ้านมูเซอดำ เข้าไปชมได้ เพราะรู้จักดี เมื่อเปิดประตูไม้เข้ามาภายในตัวบ้านไม้ไผ่ฟากซึ่งมีห้องกว้างๆ ห้องเดียว มุมหนึ่งมีที่ทำครัวหุงอาหารมีเตาไฟก่อด้วยดินเหนียวอยู่บนบ้าน มีกระทะสีดำใส่อาหารที่ต้มโดยใช้ไม้ฟืน เห็นเขม่าควันดำจับเพดานหลังคามุงจาก และถัดไปอีกด้านหนึ่งเป็นที่นอนพับม้วนไว้ซึ่งก็อยู่ในบริเวณห้องเดียวกัน ทว่า ตรงข้างฝาไม้ไผ่ขัดแตะที่หัวนอนฉันเห็นภาพขนาดโปสการ์ดรูป “พ่อหลวง” ที่แจกในงานกราบถวายบังคมพระบรมศพที่ในพระบรมมหาราชวังเสียบอยู่ ฉันพูดกับคุณมณพัฒฯ ว่า “นี่ ภาพในหลวงที่แจกในงานกราบพระบรมศพที่ในวัง ใช่ไหมคะ” “ใช่ครับ ชาวเขาที่ดอยอ่างขางเพิ่งไปถวายความอาลัยกราบพระบรมศพในหลวง รัชกาลที่ 9 เมื่อสามวันก่อนมานี้เอง ครับ” คุณมณพัฒฯ ตอบ ฉันรู้สึกซาบซึ้งใจในความจงรักภักดีเทิดทูนบูชาเหนือสิ่งอื่นใดที่ชาวเขามีให้แด่พ่อหลวงอันเป็นที่รักยิ่งของพสกนิกรชาวไทยทุกคน แม้บ้านชาวเขามูเซอดำเป็นเพียงกระต๊อบไม้ไผ่หลังคามุงจาก แต่เขาก็มีภาพของพ่อหลวงไว้กราบไหว้บูชาที่หัวนอน พ่อหลวงผู้ให้ชีวิตกับชาวเขาบนดอยอ่างขางทุกคนได้อยู่ดีกินดีอย่างยั่งยืน สักพักหนึ่งขณะที่เรายังยืนอยู่ที่นอกชานหน้าบ้านของมูเซอดำ หญิงชราชาวเขาเผ่ามูเซอดำเจ้าของบ้านกลับมาพอดี เธอดีใจที่เห็นมีแขกมาเยือนถึงบ้าน เธอรีบเอากำไลหญ้า “อิบูแค” ออกมาวางกองให้พวกเราเลือกทันที พวกเราก็เลยช่วยกันอุดหนุนอีกคนละหลายๆ อัน ตะวันพลบใกล้ค่ำแล้ว ฉันลงจากบ้านชาวเผ่ามูเซอ ใจคิดจะก้าวเดินต่อไปอีกสักหน่อยยังหมู่บ้านด้านล่างลงเนินไป แต่ได้ยินเพื่อนตะโกนบอกว่า “รถตู้มารับแล้ว ตอนนี้หกโมงครึ่ง ทุ่มหนึ่งรับประทานอาหารเย็นที่โรงแรม” เราทั้งหมดจึงขึ้นรถกลับที่พัก เพราะคืนนี้หลังอาหารเย็นเรายังต้องสรุปจัดทำรายงานเพื่อที่จะนำเสนอในวันพรุ่งนี้อีกด้วย ขอขอบคุณนะคะ โปรดติดตามเรื่องราว ต่อไปนะคะ ตามรอยเท้าพ่อหลวง ยังมีต่อค่ะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |