Biodegradable Plastic for New Wave Industries พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ อุตสาหกรรมเพื่ออนาคต
ผู้จัดการโครงการ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ (ฺbiobased biodegradable plastic) เป็นวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อมที่กำลังได้รับความสนใจจากกระแสความต้องการของโลกด้านการอนุรักษ์ ซึ่งพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ หรือพลาสติกชีวภาพนั้นส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ด้านวัตถุดิบที่ผลิตจากพืชที่สามารถปลูกขึ้นทดแทนได้ กระบวนการผลิตที่ใช้พลังงานต่ำ จนถึงกระบวนการกำจัดที่สามารถย่อยสลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ ได้ด้วยจุลินทรีย์ในธรรมชาติ ภายหลังจากการใช้งาน โดยพลาสติกชีวภาพนั้นจะมีคุณสมบัติในการใช้งานได้เทียบเท่าพลาสติกจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบดั้งเดิมบางชนิดได้ เมื่อพิจารณาประเทศหรือกลุ่มประเทศธุรกิจหลักแล้ว จะเห็นได้ว่าการตื่นตัวด้านพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพชีวภาพทั้งด้านนโยบาย การวิจัยและพัฒนา อุตสาหกรรม และการสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อเร่งรัดให้เกิดการทดแทนพลาสติกทั่วไปนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็ว และมีขั้นตอนที่เป็นชี้ทิศทางอย่างชัดเจน อาทิ ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำด้านวิทยาการและเทคโนโลยีด้านต่างๆ ได้ก้าวเป็นผู้นำการผลิตพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ โดยเริ่มตั้งแต่การประสบความสำเร็จในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ในระดับอุตสาหกรรม เช่น บริษัท CargillDow หรือ Natureworks ได้ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตกรดแลคติกและพอลีแลคติคแอซิด (Polylactic Acid หรือ PLA) ในขณะที่บริษัท Metabolix Inc. เป็นผู้นำด้านการผลิตพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ชนิดพอลีไฮดรอกซีอัลคาโนเอท (Polyhydroxyalkanoates หรือ PHAs) สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ประเทศเยอรมนี ได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กที่เติบโตอย่างรวดเร็วจากการพัฒนาเทคโนโลยีการผสมเม็ดพลาสติกชีวภาพกับสารเติมแต่งอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติทั้งทางเคมีและทางกายภาพตามที่ต้องการ (compounding technology) รวมถึงมีการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้จากวัตถุดิบปิโตรเลียม และองค์กรของรัฐทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติได้ออกมาตรการด้านภาษีสำหรับพลาสติกที่ไม่ย่อยสลายเพื่อให้มีราคาที่สูงขึ้นอันจะเป็นการเอื้อให้พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้มีโอกาสแข่งขันได้ในตลาด ในประเทศญี่ปุ่นการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมและความพร้อมของเทคโนโลยีในการผลิต ทั้งนี้บริษัทส่วนใหญ่ได้มุ่งเน้นที่การพัฒนาคอมปาวด์จากพลาสติกชีวภาพชนิด PLA เป็นหลัก และมีบริษัทโตโยต้าที่ได้พัฒนาในส่วนของการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด PLA ในระดับต้นน้ำ และในส่วนของภาครัฐนั้นประเทศญี่ปุ่นได้ให้การสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพโดยผ่าน 2 กระทรวง คือกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ที่ได้ให้ความสำคัญด้านพลาสติกชีวภาพ ผ่านทางกลุ่มสมาคมที่เรียกว่า Japan BioPlastics Association (JBPA) (เดิมชื่อ Biodegradable Plastics Society, BPS) และในปัจจุบันกระทรวงเกษตร ป่าไม้และประมง (Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries) ได้ให้ความสำคัญด้านพลาสติกชีวภาพ โดยผ่านทางฝ่ายนโยบายสิ่งแวดล้อม และกำลังอยู่ในกระบวนการจัดตั้งสมาคมที่เกี่ยวข้องขึ้นอีก 1 แห่ง จากข้อมูลของ JBPA พบว่าญี่ปุ่นมีความต้องการการบริโภคพลาสติกชีวภาพในปี 2005 ที่ 30,000 ตันต่อปี และคาดว่าจะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นเป็น 100,000 200,000 ตันต่อปีในปี 2010 ซึ่งข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับภาพรวมของตลาดยุโรปที่มีความต้องการพลาสติกชีวภาพในปี 2005 ที่ 50,000 ตันต่อปีและจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 800,000 ตันต่อปีในปี 2010 (ที่มา: European Bioplastics) ทั้งนี้ปัจจัยหลักสำคัญที่เป็นตัวกำหนดทิศทางของตลาดพลาสติกชีวภาพได้แก่วัตถุดิบซึ่งในปัจจุบันพลาสติกชีวภาพที่มาจากพืช มีผู้ผลิตเพื่อจำหน่ายในเชิงพาณิชย์เพียง 1 รายในโลกคือบริษัท Natureworks ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีกำลังการผลิต PLA เรซิ่นในปัจจุบันที่ประมาณ 80,000 ตันต่อปี ประกอบกับความต้องการของประเทศสหรัฐอเมริกาเองมีการเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปีที่ผ่านมาจากการที่ บริษัทวอลมาร์ท ร้านค้าปลีกที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ ได้ประกาศนโยบายการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วชนิด PLA ในวอลมาร์ททุกสาขา ปัจจุบันพลาสติกตลาดของพลาสติกชีวภาพได้มุ่งเน้นไปยังพลาสติกสำหรับบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากเป็นการใช้งานที่ก่อให้เกิดขยะมากที่สุด หากสามารถเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นให้ผลิตจากพลาสติกชีวภาพ จะทำให้ปัญหาขยะลดลงได้ โดยบริษัทอิออน ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทที่มีเครือข่ายธุรกิจซุปเปอร์มาเก็ต ร้านขายยา และสถาบันการเงิน อันดับหนึ่งของเอเชีย มีความสนใจในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการเริ่มต้นใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในซุปเปอร์มาร์เก็ต โดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อสร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมในกลุ่มผู้บริโภค ซึางปัจจุบันมีการใช้พลาสติกชีวภาพเพื่อเป็นบรรจุภัณฑ์อยู่ 23 ชนิด อาทิ ถุงใส่ผลไม้ กล่องใส่ไข่ ฟิล์มหุ้มบรรจุภัณฑ์เต้าหู้ ฟิล์มรัดฝาขวดซอส โดยมีปริมาณการใช้พลาสติกชีวภาพ 500 ตันต่อปี นอกจากนี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ เช่น โซนี่ เอ็นอีซี พานาโซนิค โตชิบา และฟูจิตสึ ต่างพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ อาทิ วัสดุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ แผ่นบันทึกข้อมูล รวมถึงบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ โดยมีฉลากระบุให้ผู้บริโภคทราบ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีในการมีส่วนร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ในปัจจุบันการพัฒนาตลาดยังเป็นไปได้ช้าเนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบ PLA ในการนำมาผลิต สำหรับประเทศไทย ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ด้านชีวมวล (biomass) และมีวัตถุดิบที่มีศักยภาพในการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ได้แก่ มันสำปะหลัง และอ้อย ทั้งนี้ในปัจจุบันประเทศไทยผลิตหัวมันสดเป็นอันดับ 3 ของโลก และส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก โดยในปี 2548 มีพื้นที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 6.6 ล้านไร่ และมีการผลิตหัวมันสดได้กว่า 17 ล้านตัน นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีอุตสาหกรรมรองรับในการพัฒนาพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ โดยมุ่งเป้าไปที่อุตสาหกรรมพลาสติก โดยผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ ถุง กระสอบพลาสติก และแผ่นฟิล์ม ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมเป็นมูลค่ากว่า 200,000 ล้านบาท จึงเป็นประเทศที่ถูกจับตามองว่าน่าจะมีโอกาสเป็นศูนย์กลางการผลิตพลาสติกชีวภาพแห่งใหม่ของโลก ปัจจุบันสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ตระหนักความสำคัญและความต้องการของพลาสติกชีวภาพในตลาดการค้าโลกซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม และได้เริ่มพัฒนาโครงการนวัตกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพชนิดย่อยสลายได้ในประเทศไทยขึ้น เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมผลิตพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ ซึ่งสอดรับกับแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเพื่ออนาคต (New Wave Industries) ในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยจะได้สัมผัสกับวัสดุอัจฉริยะ ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ กระบวนการผลิต จนถึงการกำจัดภายหลังการใช้งาน ที่เรียกว่า พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มิถุนายน 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |