สิทธิและหน้าที่ ส่วนกลางของลูกบ้าน เจ้าของร่วมคอนโดจะเลือกซื้อบ้าน คอนโด นอกจากขนาดพื้นที่ ราคา สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่ส่วนกลางของโครงการเป็นอีกส่วนในการตัดสินใจซื้อ ทั้งโครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์โฮม คอนโด ที่มักมาพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายในพื้นที่ส่วนกลาง ให้การใช้ชีวิตเป็นเรื่องง่ายขึ้น เป็นสิทธิของลูกบ้านในการใช้พื้นที่ส่วนกลาง และความสะดวกสบายต่างๆ ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่าย หน้าที่และความรับผิดชอบส่วนกลางร่วมกัน เราลองมาทำความเข้าใจสิทธิในพื้นที่ส่วนกลางไปพร้อมๆกันดีกว่า ความสำคัญของส่วนกลางเมื่อพูดถึงส่วนกลางนั้นแล้วบางคนอาจนึกถึงสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ล็อบบี้ ห้องสมุด สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามาเพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตได้มากขึ้นภายในโครงการ ซึ่งไม่ใช่สิ่งจำเป็นชนิดที่ไม่สามารถขาดได้ แต่ความจริงแล้วในทางกฎหมายนั้นแบ่งทรัพย์สินของอาคารชุดออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ทรัพย์ส่วนบุคคลและทรัพย์ส่วนกลาง โดยทรัพย์ส่วนบุคคลนั้นคือ พื้นที่ในห้องชุดอย่างที่ทุกคนเข้าใจ และยังรวมไปถึงสิ่งปลูกสร้างหรือที่ดินซึ่งจัดไว้ให้เป็นของเจ้าของแต่ละราย ส่วนทรัพย์ส่วนกลางนั้นก็คือพื้นที่ทั้งหมดนอกเหนือจากทรัพย์ส่วนบุคคล ดังนั้นเพียงแค่ก้าวเท่าออกจากประตูห้องชุดมาที่ทางเดินหน้าห้องก็คือพื้นที่ส่วนกลางแล้ว นอกจากนั้นลิฟท์และที่จอดรถก็จัดอยู่ในพื้นที่ส่วนกลางเช่นกัน รวมไปถึงระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ ก็จัดเป็นพื้นที่ส่วนกลางอีกด้วย จะเห็นว่าแท้จริงแล้วส่วนกลางนั้นเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นมากสำหรับการอยู่อาศัยในคอนโดทุกคน พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 นิยามความหมายของทรัพย์ส่วนกลางเอาไว้ดังนี้
ทรัพย์สินต่อไปนี้ถือว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลาง1. ที่ดินที่ตั้งอาคารชุด 2. ที่ดินที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 3. โครงสร้าง และสิ่งก่อสร้างเพื่อความมั่นคง และเพื่อการป้องกันความเสียหายต่เอตัวอาคารชุด 4. อาคารหรือส่วนของอาคารและเครื่องอุปกรณ์ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 5. เครื่องมือและเครื่องใช้ที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน 6. สถานที่ที่มีไว้เพื่อบริการส่วนรวมแก่อาคารชุด 7. ทรัพย์สินอื่นที่มีไว้เพื่อใช้หรือเพื่อประโยชน์ร่วมกัน
หน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าของร่วมต่อทรัพย์สินส่วนกลาง นอกจากลูกบ้านจะมีสิทธิในฐานะเจ้าของร่วมที่จะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลางแล้ว ก็ต้องมีหน้าที่ร่วมกันเพื่อรับผิดชอบในพื้นที่ส่วนกลางดังนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งความสมบูรณ์และพร้อมใช้งานของพื้นที่ส่วนกลาง และมีบริการต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนกลาง และเงินอื่นๆเจ้าของร่วมมีหน้าที่ต้องร่วมกันออกค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในส่วนกลาง ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้มาจากการให้บริการส่วนรวม เช่น การจ้างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย พนักงานรักษาความสะอาดส่วนหลาง และช่างซ่อมบำรุงส่วนกลาง เป็นต้น นอกจากนี้คือค่าใช้จ่ายจากการดูแลรักษาส่วนกลาง เช่น ซ่อมแซมอาคาร อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น ลิฟท์ เครื่องเล่นฟิตเนส เฟอร์นิเจอร์ในล็อบบี้ สุขภัณฑ์ในห้องน้ำ เป็นต้น เจ้าของร่วมแต่ละคนนั้นมีหน้าที่รับผิดชอบจ่ายค่าใช้จ่ายตามอัตราส่วนที่เจ้าของร่วมแต่ละคนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ส่วนกลาง โดยจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ของห้องชุดที่เจ้าของร่วมเป็นเจ้าของ เช่น คอนโดแห่งหนึ่งกำหนดเรียกเก็บค่าส่วนกลาง ตารางเมตรละ 35 บาทต่อเดือน เจ้าของห้องชุดพื้นที่ 60 ตารางเมตร จะต้องชำระค่าส่วนกลาง 2,100 บาทต่อเดือน ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่าเจ้าของร่วมที่เป็น เจ้าของร่วมที่เป็นเจ้าของห้องชุด 40 ตารางเมตรซึ่งจะต้องชำระค่าส่วนกลาง 1,400 บาทต่อเดือน นอกจากเงินค่าใช้จ่ายแล้ว ยังมีเงินทุนและเงินอื่นเพื่อดำเนินกิจการตามมติของที่ประชุมใหญ่ ภายใต้เงื่อนไขที่ที่ประชุมใหญ่อำหนดอีกด้วย ติดตาม ตรวจสอบการทำงานของนิติบุคคลอาคารชุดหลังจากที่โครงการสร้างแล้วเสร็จจะมีการนำอาคารเข้าจดทะเบียนอาคารชุด ซึ่งอาคารชุดที่จดทะเบียนจะมีนิติบุคคลอาคารชุดเป็นผู้ดูแลทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดดังกล่าว ซึ่งในนิติบุคคลของอาคารชุดนั้นเองจะมีผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดทำหน้าที่เป็นตัวแทนของนิติบุคคลอาคารชุดในการบริหารจัดการทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ดำเนินการออกกฎระเบียบข้อบังคับและนโยบายต่างๆ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากเจ้าของร่วม บริหารเงินกองทุนส่วนกลางที่เจ้าของร่วมจ่ายล่วงหน้า นำเงินต่างๆ ไปใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์ส่วนกลาง จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ และจัดจ้างบุคคลเข้ามาให้บริการต่างๆ ในส่วนกลาง ซึ่งการทำงานของผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดนั้นจะได้รับการตรวจสอบโดยคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด โดยเจ้าของของร่วมมีบทบาทในการติดตามและตรวจสอบการทำงานของนิติบุคคลอาคารชุด ดังนี้ 1. เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเพื่อลงมติแต่งตั้งผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งจะต้องได้รับคะแนนเสียงมากกว่า ¾ ของคะแนนเสียงของเจ้าของร่วมทั้งหมด 2. เข้าร่วมประชุมใหญ่เจ้าของร่วมเพื่อจัดตั้งคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด 3. มอบฉันทะทำเป็นหนังสือให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนในการประชุมได้ 4. อนุมัติรายงานงบการเงินประจำปีของนิติบุคคลอาคารชุด ซึ่งจะต้องจัดให้มีการแถลงทุกๆ 12 เดือน 5. พิจารณารายงานประจำปีของนิติบุคคล 6. ลงมติจัดต้องผู้ตรวจสอบบัญชี 7. เข้าชื่อกันให้ได้คะแนนเสียง 1 ใน 4 ของคะแนนเสียงทั้งหมดของเจ้าของร่วม เพื่อให้ผู้จัดการและคณะกรรมการนิติบุคคลเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ มีส่วนร่วมตัดสินใจประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้น และกระทบต่อส่วนรวมเจ้าของร่วมมีบทบาทตัดสินใจประเด็นต่างๆ ที่กระทบต่อการอยู่อาศัยของเจ้าของร่วมในโครงการ ด้วยการลงมติในที่ประชุม ในประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้ 1. การขออนุญาตก่อสร้างหรือต่อเติมที่มีผลต่อทรัพย์ส่วนกลางหรือลักษณะภายนอกของอาคารโดยเจ้าของร่วมคนใดคนหนึ่ง 2. การแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด 3. การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนค่าใช้จ่ายที่เจ้าของร่วมต้องจ่ายร่วมกัน 4. การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบข้อบังคับ 5. จัดตั้งกองทุนเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนกลางภายใต้กฎระเบียบและมติของที่ประชุม 6. การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือรับให้อสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีภาระติดพันเป็นทรัพย์สินส่วนกลาง 7. การก่อสร้างที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือปรับปรุงส่วนกลางนอกเหนือจากข้อบังคับ 8. การจำหน่ายทรัพย์สินส่วนกลาง 9. การซ่อมแซมหรือก่อสร้างในกรณีที่อาคารชุดได้รับความเสียหาย 10. การหาผลประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลาง 11. การยกเลิกอาคารชุด
เมื่อทราบสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ ในฐานะเจ้าของร่วมแล้ว เจ้าของร่วมทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมในการจัดการส่วนกลางคอนโดของตนเองได้ เพื่อให้นิติบุคคลอาคารชุดสามารถดำเนินงานต่อไปได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส
รายการอ้างอิง: พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติอาคารชุด (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
ขอขอบคุณบทความจาก ddproperty |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 |