กฎบัตรแมกนา คาร์ตา หมายเหตุ : บทความชิ้นนี้เป็นของนายมาร์ค เคนท์ เอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เรียบเรียงจากรายงานที่ผู้เขียนเสนอในหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง สถาบันพระปกเกล้า วันนี้เป็นวันครบรอบ 800 ปีของการลงนามใน กฎบัตรแมกนา คาร์ตา ที่ รันนีมีด (Runnymede) ทางตอนล่างของอังกฤษ แมกนา คาร์ตาเป็นข้อตกลงระหว่างกลุ่มขุนนางและกษัตริย์ว่ากษัตริย์และข้าราชบริพารของพระองค์จะปกครองประเทศอย่างไร กฎบัตรนี้ได้กลายเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมการเมืองและกฎหมายของสหราชอาณาจักรและอีกหลาย ๆ ประเทศ และเป็นแรงบันดาลใจให้กับรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาด้วย แมกนา คาร์ตา ถูกร่างขึ้นเพื่อแก้วิกฤติระหว่างพระเจ้าจอห์นและขุนนางของพระองค์เมื่อปี ค.ศ.1215 กฎบัตรนี้ร่างขึ้นโดยคณะบาทหลวง ขุนนาง และพลเมืองชั้นนำ โดยได้ขัดเกลาแก้ไขในปี ค.ศ.1216 และอีกครั้งในปี ค.ศ.1225 ปัจจุบันเนื้อหาส่วนมากได้ถูกแก้ไขใหม่แทบทั้งหมด แต่หลักการสำคัญบางประการยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้ เช่น ใน มาตรา 39 ที่เขียนว่า “เสรีชนจะถูกจับกุมคุมขังไม่ได้ ยกเว้นโดยการตัดสินตามกฎหมายโดยคณะลูกขุนหรือตามกฎหมายแห่งรัฐ” และในมาตรา 40“ห้ามขาย ห้ามปฏิเสธ หรือถ่วงสิทธิ์ส่วนบุคคลหรือความยุติธรรม” การปกครองประเทศอังกฤษของพระเจ้าจอห์นไม่เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากจนทำให้กลุ่มผู้มีอิทธิพลที่สุดสองกลุ่ม คือ กลุ่มขุนนาง และกลุ่มนักบวชได้รวมกันต่อต้านพระองค์ ในยุคศักดินาของอังกฤษ การกบฏต่อต้านการปกครองที่ไม่ชอบของกษัตริย์จะเป็นในลักษณะการสนับสนุนให้คู่แข่งในราชบัลลังก์ขึ้นครองราชย์แทน แต่ เดวิด สตาร์คีย์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ ชี้ว่าในช่วงนั้นพระเจ้าจอห์นไม่มีคู่แข่ง ฝ่ายกบฏจึงได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน คือ พวกเขาไม่ได้กบฏเพื่อสนับสนุนตัวบุคคล แต่เพื่อแนวความคิดนั่นคือ เพื่อปฏิรูปกฎหมายและการปกครองให้อยู่ในรูปแบบของคำปฏิญาณหรือกฎบัตร ความสำคัญของกฎบัตรแมกนา คาร์ตามีด้วยกันสองประการ ประการแรก กฎบัตรนี้ได้สร้าง หลักนิติธรรมขึ้นในอังกฤษ กฎบัตรแมกนา คาร์ตากำหนดว่ากษัตริย์และขุนนางไม่สามารถประพฤติตนตามอำเภอใจได้ เช่น การขึ้นอัตราภาษีตามใจชอบ นอกจากนี้ยังได้กำหนดว่าเสรีชนทุกคนจะต้องได้รับความยุติธรรมและมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเสรี ประการที่สอง แมกนา คาร์ตา เป็นจุดเริ่มต้นของวิวัฒนาการสู่การปกครองระบอบ รัฐสภา และ ประชาธิปไตย ตัวกฎบัตรแมกนา คาร์ตาเองไม่ได้ก่อตั้งประชาธิปไตย แต่ กระบวนการการมีส่วนร่วม ที่ทำให้เกิดข้อตกลงนี้ รวมทั้งสมมุติฐานที่ว่าทุกคนต้องได้รับความยุติธรรมและความเสมอภาคตามกฎหมายได้เป็นตัวกำหนดแนวทาง วัฒนธรรมทางการเมืองของอังกฤษตลอด 800 ปีหลังจากนั้น นั่นคือ แนวโน้มที่จะทุกฝ่ายจะประนีประนอมเพื่อ พบกันครึ่งทางอย่างให้เกียรติซึ่งกันและกัน หลักการเหล่านี้เป็นรากฐานของการพัฒนาไปสู่ระบอบรัฐสภาที่มีบทบาทมั่นคงและเป็นที่ยอมรับในโครงสร้างการปกครองของประเทศ เมื่อการพัฒนาด้านสังคมและเศรษฐกิจก้าวไป (เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรม) องค์ประกอบของสภาก็ขยายมากขึ้นจนมีรูปแบบปัจจุบัน คือ มีสภาล่างหรือสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป และบทบาทของสถาบันกษัตริย์ รัฐบาลและ รัฐสภาก็ชัดเจนขึ้นจากธรรมเนียมปฎิบัติและระเบียบแบบแผน ปัจจุบันนี้เนื่องจากสหราชอาณาจักรมีการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่สมเด็จพระราชินีนาถทรงพระราชทานพระราชอำนาจให้รัฐบาลของพระองค์ใช้ในการปกครองประเทศ หลักการแมกนา คาร์ตาจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจการบริหารมากกว่าตัวองค์กษัตริย์หรือพระราชินี การที่แมกนา คาร์ตาทำให้เกิดหลักนิติธรรมเป็นการวางรากฐานให้การพัฒนาประชาธิปไตยในระบอบรัฐสภาในอังกฤษและบริเตนใหญ่ ลักษณะวิวัฒนาการของกระบวนการนี้เป็นสิ่งสำคัญ ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการไว้ในหนังสือ “กำเนิดสปีชีส์ (On the Origin of the Species)” ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สิ่งมีชีวิตที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในขณะที่สภาพแวดล้อมก็วิวัฒนาการไปด้วย ระบบการเมืองก็เช่นกัน ระบบการเมืองควรจะสะท้อนความเชื่อมโยงกับสังคม และวิวัฒนาการไปเรื่อย ๆ จากการอภิปรายอย่างมีข้อมูลและสม่ำเสมอในสังคมโดยรวม ลักษณะเช่นนี้ยังคงสืบเนื่องมาถึงการเมืองปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากการลงคะแนนเสียงประชามติเรื่องการแยกตัวเป็นเอกราชของสกอตแลนด์ และประชามติที่กำลังจะมีขึ้นเรื่องสมาชิกภาพของอังกฤษในสหภาพยุโรป สำหรับประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษโดยมากแล้ว ระบบการปกครองได้ค่อยๆ วิวัฒนาการมาเรื่อยๆ โดยผ่านการเจรจาและความขัดแย้งซึ่งนำไปสู่ฉันทามติและธรรมเนียมปฏิบัติของผู้มีบทบาท แม้จะมีบางช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และการปฏิวัติ แต่ก็จะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ซึ่งก็นำไปสู่การประนีประนอมเพื่อพบกันครึ่งทาง ขณะเดียวกันก็ยังคงทำให้เกิดวิวัฒนาการขึ้น กระบวนการแมกนา คาร์ตาเองเป็นตัวอย่างที่ดี กฎบัตรนี้เสนอโดยกลุ่มกบฏ ได้รับการแก้ไขและเสนอใหม่โดยผู้สนับสนุนกษัตริย์ ก่อนที่กษัตริย์จะนำมาบังคับใช้ด้วยพระองค์เอง ซึ่งหมายความว่าทุกฝ่ายมีส่วนเป็นเจ้าของกฎบัตรนี้ในทางการเมือง และผลที่ได้ก็คือกษัตริย์และชนชั้นผู้มีสิทธิทางการเมืองได้เห็นตรงกันว่าประเทศควรมีการปกครองตามหลักการบางประการ วิวัฒนาการอีกแบบหนึ่งซึ่งแตกต่างจากที่กล่าวถึงข้างต้น คือ การเปลี่ยนแปลงจากบนสู่ล่าง เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เป็นระยะๆ ซึ่งเชื่อว่าเป็นอุปสรรคต่อการสร้างฉันทามติในสังคม และต่อการสร้างความปรองดองโดยผ่านการอภิปราย ถ้ามีการนำระบบการเมืองใหม่ๆ มาใช้โดยคนกลุ่มเล็กๆ อยู่บ่อยครั้ง ประชาชนในวงกว้างก็ย่อมปราศจากแรงจูงใจที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการอภิปรายและในกระบวนการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม การปฏิรูปที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมซึ่งเป็นผลมาจากการอภิปรายแสดงความคิดเห็นจะมีทางประสบความสำเร็จมากกว่า และสะท้อนให้เห็นความสนใจที่หลากหลายของสังคม ระบบการเมืองไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่จะต้องมีการนำระบบมาใช้โดยผนวกกับการปฏิบัติทางการเมือง จารีตประเพณี และวัฒนธรรม เป็นไปไม่ได้ที่รัฐธรรมนูญจะครอบคลุมเหตุการณ์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นเพื่อควบคุมผู้มีบทบาททางการเมือง และในทางปฏิบัติก็จะมีการหาทางลบข้อจำกัดต่างๆ จึงเป็นการดีกว่าถ้าเราจะใช้เวลาปลูกฝังการศึกษาทางการเมือง และสร้างความเข้าใจในหน้าที่ของพลเมือง หน้าที่ทางการเมือง และวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อหลักการประชาธิปไตยและหลักนิติธรรม อิทธิพลของแมกนา คาร์ตาไม่ได้จำกัดอยู่ในอังกฤษและสหราชอาณาจักรเท่านั้น ในสหรัฐอเมริกาเองแนวคิดเกี่ยวกับแมกนา คาร์ตาก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อ คำประกาศอิสรภาพ และ บัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) บรรดาผู้พิพากษาในศาลฎีกาของสหรัฐอเมริกาได้อ้างแมกนา คาร์ตาในคำพิพากษากว่า 400 ครั้ง ภาษาที่ใช้ในแมกนา คาร์ตายังได้ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนปี ค.ศ.1948 และนางเอลินอร์ รูสเวลท์ได้อ้างถึงแมกนา คาร์ตาอย่างชัดเจนในการประกาศใช้ปฏิญญาสากลนั้น จึงเชื่อว่าหลักการที่ระบุอยู่ในแมกนา คาร์ตา เป็นหลักการสากลอย่างแท้จริง โดยสรุป แมกนา คาร์ตาวางแนวคิดเกี่ยวกับหลักนิติธรรม และกระบวนการซึ่งได้พัฒนาเป็นระบบรัฐสภา และในเวลาต่อมาเป็นระบบประชาธิปไตยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม กล่าวง่าย ๆ ก็คือ สังคมที่มั่นคงและประสบความสำเร็จที่สุดคือ สังคมที่ปฏิบัติต่อพลเมืองอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมกัน (หลักนิติธรรม) และคือสังคมที่ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วม หรือมีผู้แทนร่วมในการปกครองประเทศ หลักการของแมกนา คาร์ตายังคงเหมาะสมต่อสังคมปัจจุบัน ไม่ใช่เฉพาะในอังกฤษ และในสหราชอาณาจักร แต่ในทุกประเทศที่ต้องการมีประชาธิปไตยอย่างแท้จริงภายใต้หลักนิติธรรม ..........ll.......... |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เขี้ยวเล็บใหม่! ปราบจลาจล | ||
![]() |
||
4 เม.ย.55 - กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สาธิตประกอบกำลังร่วมกับรถควบคุมฝูงชนคันเดียวในประเทศไทย ที่ลานเสาธงกองบังคับการปราบปราม โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.มาเ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |