“ศูนย์เด็กเล็ก-ร.ร.อนุบาล” โดย : ธนิสา ตันติเจริญ เป็นความหวังต่อการคุ้มครองสุขภาพเด็กและเยาวชนขึ้นมาทันที หลังจากที่คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้จัดทำร่างมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อควบคุมปริมาณสารตะกั่วใน “สีน้ำมัน” เสร็จสิ้นแล้ว (มอก.2625-2557) โดยจำกัดปริมาณโลหะหนักอันตราย 4 ชนิดในผลิตภัณฑ์สีน้ำมัน ได้แก่ ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และโครเมียมเฮกซะวาเลนต์ เหตุที่มีความสำคัญเนื่องจาก ก่อนหน้านี้มีการตรวจพบสีน้ำมันที่ใช้ทาภายในอาคาร รวมทั้งเครื่องเล่นสนามของสถานเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลหลายพื้นที่ของประเทศมีสาร “โลหะหนัก” เกินมาตรฐาน โดยเฉพาะ “ตะกั่ว” ซึ่งสามารถหลุดร่อนเป็น “ฝุ่นตะกั่ว” เมื่อเด็กซึ่งทางกายภาพไวต่อการดูดซับสารพิษเหล่านี้อยู่แล้วจึงเสี่ยงได้รับผลกระทบต่อสุขภาพและสติปัญญาในระยะยาว แต่ท่ามกลางความหวังก็ยังมีความวิตกกังวลจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องว่าหากประกาศกฎควบคุมดังกล่าวออกมาแล้ว บรรดาสถานเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลต่างๆ ที่มี “สีปนเปื้อน” อยู่นั้นจะมีมาตรการเยียวยาแก้ไขอย่างไร นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ ในงานแถลงข่าว “สีปลอดสารตะกั่วใกล้เป็นจริง” ซึ่งจัดโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศและเครือข่ายว่า มีความจำเป็นต้องมีการควบคุมสารตะกั่วในสีที่นำไปสู่ของเล่นและเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีสารตะกั่วสูง จึงมีความจำเป็นต้องควบคุมเพื่อลดความเสี่ยง “เราเจอสารตะกั่วในศูนย์เลี้ยงเด็กแห่งหนึ่ง แต่หากจะแก้ไขปัญหาทำได้ยากมาก เพราะต้องเอาเด็กออก ทาสีใหม่ จึงต้องมีการควบคุมตั้งแต่ต้นทางเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก” เขาบอกว่า ทั้ง สมอ.และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) อยู่ระหว่างการประกาศใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับฉลากที่ผู้ผลิตต้องระบุข้อมูลปริมาณสารตะกั่วด้วย แต่หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนการปฏิบัติอีกมากมายที่จะนำไปสู่การรักษาสุขภาพของเด็ก รวมทั้งสีน้ำมันที่ทาไปแล้ว อย่างตามศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลทั้งหลายที่กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขจะต้องเข้ามาดูแลหรือมีบทบาทอะไรที่จะร่วมกับวิศวกรและสถาปนิกที่จะแก้ไขกับสิ่งที่ดำรงอยู่และมีผลต่อเด็ก ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่เราจะรีบออกกฎหมาย เพื่อที่จะได้วางมาตรการในการจัดการเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น นพ.อดิศักดิ์ ย้ำว่า สารตะกั่วแม้จะเข้าสู่ร่างกายเพียงเล็กน้อยแต่จะผลต่อร่างกายในปริมาณที่สูงและมีอาการเฉียบพลันก่อให้เกิดภาวะชัก สมองบวม หยุดหายใจได้ ซึ่งเหตุการณ์เช่นนั้นจะไม่เกิดในชีวิตประจำวัน แต่เกิดจากการสะสมเป็นเวลานาน โดยเฉพาะเด็กหากมีการดูดซึมสารตะกั่ว จากสีทาบ้าน สีเครื่องเล่นในสนามเด็กเล่น ที่อาจจะมีการสัมผัสโดยมือและก็จะไปหยิบจับอาหารต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย แม้จะเข้าไปเพียงเล็กน้อยก็จะมีผลต่อสมองและไอคิวของเด็ก นางสาวเพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ บอกว่า คำถามคือถ้าตรวจเจอสารตะกั่วสูงจะทำอย่างไร การรื้อสีเก่าก็เป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร เท่าที่ออกไปตรวจตามศูนย์เด็กเล็กพบว่า สีทาภายในอาคารมีสารตะกั่วน้อยลงแล้วหรือแทบไม่มีเลย แต่ที่เป็นปัญหาใหญ่คือ “สนามเด็กเล่น” มีจำนวนมาก ก็ให้คำแนะนำเบื้องต้นไปว่า เมื่อเด็กเล่นเสร็จก็ให้ล้างมือ ส่วนเรื่องการรื้อสีนั้นเป็นเรื่องทางวิศวกรรมที่จะต้องมีงบประมาณในการดำเนินการเชื่อว่าจะยังเป็นปัญหาในระยะยาว เพราะเรายังมีสีที่มีสารตะกั่วสูง และบริษัทสีเหล่านี้ก็จะอยู่ในตลาดไปอีกนาน จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคจะต้องตระหนัก “การให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจก่อนที่จะเลือกบริโภคได้ ตราบใดที่ผู้บริโภคไม่มีข้อมูลข่าวสาร ก็จะไม่สามารถที่จะตัดสินใจได้เลยว่าสีที่ดีมีอยู่ในยี่ห้อไหนบ้าง เพราะข้อมูลบนฉลากนั้นยังมีข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ดังนั้นการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเป็นสิ่งสำคัญที่เป็นการให้อำนาจกับผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกซื้อของได้ปลอดภัย” ขณะเดียวกันข้อมูลข่าวสารไม่ใช่เฉพาะผู้บริโภคเท่านั้นที่ต้องการ กลุ่มเอสเอ็มอี เกือบ 100% ต้องการข้อมูลตรงนี้ ซึ่งข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยหรือพิษภัยอันตราย บางทีบริษัทก็ไม่ทราบเหมือนกัน รวมทั้งเรื่อง “สารทดแทน” จะหาสารทดแทนได้ที่ไหน และสารทดแทนแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะต้องเป็นผู้ให้กับผู้ประกอบการโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี หรือจะต้องมีการจัดการแลกเปลี่ยนให้ข้อมูลความรู้ระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่และรายย่อยได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันเพื่อให้ เป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยให้มีความสามารถที่จะเปลี่ยนไปใช้กระบวนการผลิตและวัตถุดิบที่ปลอดภัยมากขึ้น “ขอฝากกระทรวงอุตสาหกรรมว่าจะต้องทำหน้าที่ตรงนี้เพราะผู้ประกอบการเกือบ 90% ยินดีที่จะปฏิบัติตามกฎหมาย และกว่า 80% มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตาม อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจนและมีมาตรการช่วยเหลือกำหนดเป็นกรอบเวลาที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องไปคิดโดยเร็ว” นายสุปรีดิ์ วงศ์ดีพร้อม อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสริมว่า ผลวิจัยสีน้ำมันที่มีการนำสารตะกั่วมาเป็นส่วนประกอบนั้นพบว่า การนำสารตะกั่วมาใช้หรือไม่ได้นำมาใช้ก็มีต้นทุนไม่ต่างกัน ซึ่งจะสังเกตว่า ในบริษัทขนาดใหญ่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแล้ว ส่วนบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก ทำไมถึงต้องใช้สิ่งที่อันตราย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีเทคโนโลยีไม่ถึง เมื่อเทคโนโลยีไม่ถึงก็ทำให้ต้นทุนแพง การแข่งขันสู้ไม่ได้ จึงอยากเสนอให้ภาครัฐเข้าไปดูแลและช่วยเหลือในภาคอุตสากรรมขนาดกลางและเล็กด้วย “การที่จะทำอะไรสักอย่างให้ตอบโจทย์หรือได้ประโยชน์กันทุกกลุ่มเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ได้หมายถึงปล่อยปะละเลยสิ่งที่ดีที่สุด คือ ต้นทางที่ภาครัฐจะต้องทบทวนและแก้ไข รวมทั้งสร้างจูงใจให้ผู้บริโภค แอนตี้ธุรกิจที่ใช้สารอันตรายนั้นๆ เพื่อให้ธุรกิจดังกล่าวหายไปเชื่อว่า สีที่ปลอดสารตะกั่วจะเห็นในเร็ววัน” จากนี้คงต้องติดตามต่อไปว่า ร่างมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อควบคุมปริมาณสารตะกั่วในสีน้ำมันซึ่งทำเสร็จมานานแล้วนั้นจะได้ฤกษ์เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อไร ..........ll.......... ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มิ.ย.2558 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เขี้ยวเล็บใหม่! ปราบจลาจล | ||
![]() |
||
4 เม.ย.55 - กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สาธิตประกอบกำลังร่วมกับรถควบคุมฝูงชนคันเดียวในประเทศไทย ที่ลานเสาธงกองบังคับการปราบปราม โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.มาเ |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |