เร่งสร้างสำนึก“คัดแยกขยะ” โดย สิทธิชัย นครวิลัย ปัญหา “ขยะไฮเทค” หรือขยะอิเล็กทรอนิกส์ ถูกจัดให้เป็น “วาระแห่งชาติ” ที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข โดยหนึ่งในมาตรการที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวคือการตรากฎหมายเพื่อเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งเอกชน และประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบ ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบผ่าน ร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์และซากผลิตภัณฑ์อื่น พ.ศ. .... ตามที่ กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ทำให้กระบวนการพิจารณามีความคืบหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง แต่เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงอันตรายจากขยะอิเล็กทรอนิกส์และความสำคัญของร่างกฎหมายดังกล่าว เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมควบคุมมลพิษ จึงจัดเสวนาวิชาการ“ขยะอิเล็กทรอนิกส์ จัดการอย่างไรให้ปลอดภัย” เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ นางสาวสุจิตรา วาสนาดำรงดี นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ สถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ทุกวันนี้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ มีราคาถูกและยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อสร้างความสะดวกสบายในชีวิตประจำวัน ทำให้ผู้บริโภคซื้อหามาใช้สอยได้ง่าย ประกอบกับกลยุทธ์การตลาดที่ต้องการให้ขายสินค้าได้มาก ทำให้ราคาสินค้าถูก พฤติกรรมการบริโภคจึงเปลี่ยนไป จากที่เคยพยายามซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้าจนกว่าจะใช้การไม่ได้จริงๆ จึงจะเปลี่ยน กลับกลายเป็นพฤติกรรมเลือกซื้อของใหม่มาแทนของเดิมที่ชำรุด เพราะค่าซ่อมไม่คุ้มเท่ากับซื้อของใหม่ เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงถูกทิ้งกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น แต่จากข้อมูลการวิจัยของสถาบันฯ พบว่า การกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ไม่ถูกต้องและก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพและสภาวะแวดล้อม อาจารย์สุจิตรา บอกว่า พ่อค้ารับซื้อของเก่า คือ “คนกลาง” ระหว่างต้นทางที่เป็นขยะจากครัวเรือนและปลายทางที่จะส่งต่อให้โรงงานรีไซเคิล รวมถึงยังเป็นผู้ที่ถอดชิ้นส่วน คัดแยกนำวัสดุที่มีค่ามาขายต่ออีกทอดให้กับโรงงานรีไซเคิล นอกจากนี้ยังพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าเมื่อชำรุดหรือใช้การไม่ได้แล้วคนไทยส่วนใหญ่จะบริจาคให้วัดหรือมูลนิธิเพื่อการกุศล โดยไม่พยายามซ่อมแซม และเมื่อวัดหรือมูลนิธิต่างๆ ไม่สามารถซ่อมแซมสิ่งของเหล่านี้ให้ใช้งานได้ก็จะนำของที่รับบริจาคมาส่งขายต่อให้กับพ่อค้ารับซื้อของเก่า “การคัดแยกชิ้นส่วนขยะอิเล็กทรอนิกส์ของพ่อค้ารับซื้อของเก่านั้นไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดมลพิษจากสารโลหะหนักที่รั่วไหล ตกค้างในสิ่งแวดล้อมแล้วหมุนเวียนอยู่ในห่วงโซ่อาหาร และทำให้คนไม่สามารถหลีกเลี่ยงสารพิษเข้าสู่ร่างกายได้” จากปัญหาที่เกิดขึ้นจึงนำแนวคิด “ความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นของผู้ผลิต” (Extended Producer Responsibility: EPR) มาใช้เป็นหลักการทางนโยบายที่ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตให้ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ “หลักอีพีอาร์นี้มุ่งไปที่การรับคืน การรีไซเคิล และการกำจัดซากผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ผลิตสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ และมีระบบการกระจายสินค้าที่เอื้ออำนวยต่อการนำทรัพยากรกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้มากขึ้น” นักวิชาการผู้นี้ ระบุว่า สถิติของสถาบันสภาวะแวดล้อมฯ พบว่า ในปี 2557 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมีน้ำหนักกว่า 42 ล้านตัน ในจำนวนนี้ เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ประเภทอุปกรณ์ขนาดเล็ก น้ำหนักมากถึง 13 ล้านตัน เช่น ไดร์เป่าผม เตารีด พัดลม รองลงมาเป็นอุปกรณ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องถ่ายเอกสาร ส่วนในทวีปเอเชีย มีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 16 ล้านตัน หรือประมาณ 4 กิโลกรัมต่อคน แต่เมื่อเทียบน้ำหนักขยะต่อประชากรกับทางยุโรปซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 15 กิโลกรัมต่อคนแล้วก็ถือว่าน้อยกว่า ทว่าที่น่ากังวลคือ ในอนาคตกลุ่มประเทศกำลังพัฒนากำลังจะมีปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์แซงหน้าประเทศที่พัฒนา โดยในปีนี้พบซากคอมพิวเตอร์ในประเทศที่พัฒนาแล้วมีอัตราการทิ้งสูงกว่าประเทศกำลังพัฒนา แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้า คาดว่าประเทศพัฒนาแล้วมีซากคอมพิวเตอร์ประมาณ 200 ล้านเครื่องในอัตราการทิ้งคงที่ เนื่องจากการแข่งขันธุรกิจเกิดภาวะอิ่มตัวของตลาด ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะไล่ตามทันและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ “ในอีก 15 ปีข้างหน้า (ปี 2573) คาดว่า ปริมาณซากคอมพิวเตอร์ในประเทศกำลังพัฒนาจะมีประมาณมากถึง 400 ล้านเครื่อง ซึ่งมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วถึง 2 เท่า” ปริมาณขยะไฮเทคที่คาดว่าจะพุ่งขึ้นอีกหลายเท่าตัวว่าน่าเป็นห่วงแล้ว แต่ถ้ามองต้นตอของปัญหาแล้วกลับทำให้เกิดความหวั่นวิตกมากขึ้น นายสินชัย เทียนศิริ เลขาธิการสมาคมสร้างสรรค์ไทย เห็นว่า พฤติกรรมการซื้อ ส่วนใหญ่ใช้เหตุผลของการชอบโดยขาดความรับผิดชอบ จะด้วยฟังก์ชั่นที่สะดวกรวดเร็วขึ้น รูปลักษณ์ทันสมัยขึ้น แต่ไม่นึกถึงว่า สมาร์ทโฟนเครื่องเก่าเมื่อไม่ใช้แล้ว จะทิ้งอย่างไรให้ปลอดภัย “เรายังสามารถสร้างจิตสำนึกได้ เห็นได้จากการใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อรณรงค์ให้คนไทยทิ้งขยะลงถัง ในโครงการตาวิเศษ จนทำให้พฤติกรรมของคนไทยไม่ทิ้งขยะเกลื่อนกลาด” เขาบอกว่า ประเทศไทยมีถังแยกประเภทขยะให้เลือกทิ้งแล้ว และใช่ว่าคนไทยจะทิ้งขยะลงถังถูกประเภท เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกเขตในจ.ภูเก็ต มีถังขยะทุกประเภท แต่เมื่อคว่ำถังขยะแห้งจะเจอแต่ขยะเปียก ถังขยะประเภทแก้วจะมีเปลือกผลไม้ เศษถุงพลาสติก อีกข้อสังเกตคือ สีของถังขยะแต่ละประเภทในแต่ละท้องที่ก็ไม่เหมือนกัน นั่นเป็นเพราะคนไทยยังไม่เข้าใจข้อมูลพื้นฐานการคัดแยกขยะ ด้าน นายเพิ่มพงษ์ พุ่มวิเศษ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครนนทบุรี บอกว่า การจัดการขยะอันตรายของเมืองนนทบุรีส่วนใหญ่เป็นหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์ แม้ว่าจะมีสัดส่วนเพียง 0.2% เมื่อเทียบกับสัดส่วนปริมาณขยะทั้งหมดแต่ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2553-2557) เทศบาลนครนนทบุรีก็ต้องจ่ายค่ากำจัดขยะไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท นอกจากนี้ยังมีปัญหาติดขัดในข้อกฎหมายบางประการ “ทุกโรงงานพร้อมให้ความร่วมมือในการร่วมจัดการขยะ แต่เทศบาลไม่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรอง ตามที่โรงงานร้องขอ เพื่อนำไปแสดงยืนยันตามข้อบังคับของกรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ระบุว่า โรงงานต้องรายงานจำนวนของเสียที่ทิ้งออกไป นับเป็นความซ้ำซ้อนในข้อกฎหมายประการหนึ่ง” ส่วนภาคเอกชน อยากให้มีการชี้แจงกระบวนการรีไซเคิล รวมทั้งรูปแบบการนำซาเล้งเข้าเป็นเครือข่ายในกระบวนการรีไซเคิลให้มีความชัดเจนมากกว่านี้ ซึ่งประเด็นข้อเสนอต่างๆ เหล่านี้กรมควบคุมมลพิษได้รับไปพิจารณาต่อไปฃ ..........ll.......... ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 6 ก.ค.2558 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เขี้ยวเล็บใหม่! ปราบจลาจล | ||
![]() |
||
4 เม.ย.55 - กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน กองบัญชาการตำรวจนครบาล สาธิตประกอบกำลังร่วมกับรถควบคุมฝูงชนคันเดียวในประเทศไทย ที่ลานเสาธงกองบังคับการปราบปราม โดยมี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ ผบ.ตร.มาเ |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |