การประกาศใช้กฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ.2548 พร้อมกับกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ.2548 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้วันที่ 29 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ย่อมส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อวงการอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในส่วนของเจ้าของอาคาร ผู้พัฒนาโครงการ และรวมไปถึงบุคลากรวิชาชีพในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นสถาปนิกหรือวิศวกร ที่มาของกฎกระทรวง แต่เดิมกรมโยธาธิการและผังเมืองมีเครื่องมือในการควบคุมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แค่เพียงขั้นตอนการออกแบบและก่อสร้างเท่านั้น ภายหลังการเกิดเหตุการณ์ไม่ถึงประสงค์จากการใช้อาคาร เช่น ไฟไหม้และตึกถล่ม จึงผลักดันให้มีการออกกฎกระทรวงฉบับใหม่เพื่อสร้างระบบตรวจสอบและดูแลในการใช้อาคารให้มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้อาคารและสาธารณชนมากขึ้น ข้อดีของกฎหมายตรวจสอบอาคาร กฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับข้างต้นมีข้อดีทั้งในทางตรงและทางอ้อมดังตัวอย่างต่อไปนี้ - เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของทั้งเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคาร และสาธารณชน - เพิ่มความสะดวกในการดูแลรักษา หรือซ่อมแซมอาคาร และอุปกรณ์ประกอบ - ยืดอายุการใช้งานของอาคาร และอุปกรณ์ประกอบให้ยาวนานขึ้น - เจ้าของอาคารมีหลักฐานที่ชัดเจนไปแสดงต่อบริษัทประกันภัย เพื่อขอลดหย่อนเบี้ยประกันภัย - เพิ่มความน่าเชื่อถือ ในกรณีใช้อาคารเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันสินเชื่อต่อสถาบันการเงิน - ช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการแข่งขันทางธุรกิจ - เพิ่มมูลค่าของอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการว่าจ้างผู้ตรวจสอบอาคารปัจจุบันอัตราค่าตรวจสอบขึ้นอยู่กับชนิดและความซับซ้อนของการตรวจและข้อตกลงระหว่างเจ้าของอาคารกับผู้ตรวจโดยมีราคาอยู่ในช่วง 1-10 บาทต่อตารางเมตร กรณีตัวอย่างอาคารอสังหาริมทรัพย์ขนาดพื้นที่ 30,000 ตารางเมตร จะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 บาทต่อ 1 รอบของการตรวจ (ใช้ราคาเฉลี่ย 10 บาทต่อตารางเมตร) คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 1% ของค่าใช้จ่ายในการบริหารอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น กำหนดการของการตรวจ การตรวจนั้นจะแบ่งเป็นการตรวจใหญ่และการตรวจย่อย โดยการตรวจใหญ่ กฎหมายกำหนดให้ตรวจในครั้งแรก และทำการตรวจทุกๆ 5 ปี และระหว่าง 5 ปีนั้นๆ ให้ทำการตรวจย่อย ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารต้องจัดทำคู่มือการตรวจให้เจ้าของอาคารสำหรับการตรวจย่อยนั้นๆ เองได้ คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบอาคาร กฎกระทรวงระบุคุณสมบัติของผู้ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบอาคารไว้หลายประการ โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้ - ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุม - ผ่านการสอบขึ้นทะเบียนการเป็นผู้ตรวจสอบอาคารจากคณะกรรมการควบคุมอาคารกรมโยธาธิการและผังเมือง รายการที่จะต้องตรวจสอบ ตามกฎหมายได้กำหนดให้มีการตรวจสอบอย่างน้อย 4 รายการหลักๆ คือ - ความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร - ระบบและอุปกรณ์ประกอบอาคาร - ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร - ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร บทลงโทษตามกฎหมาย บทลงโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ผู้ใดไม่ส่งรายงานตรวจสอบอาคาร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากนี้ ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง และยังมีผลกระทบในกรณีที่ต้องใช้ใบรับรองอาคารประกอบในเอกสารขออนุญาตอื่น เช่น ใบอนุญาตประกอบการโรงงาน และใบอนุญาตประกอบการโรงแรม เป็นต้น สิ่งที่ควรทำสำหรับเจ้าของอาคาร เจ้าของอาคาร/อสังหาริมทรัพย์ ควรทำการตรวจสอบว่าอาคารของตนจัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องตรวจสอบหรือไม่ โดยอาศัยข้อมูลในเว็บไซต์ http://www.dpt.go.th/48_law/,law_building/contents_bd.html หรือตรวจสอบไปยังท้องที่ที่อาคารของท่านขึ้นทะเบียนอยู่ ซึ่งถ้าอาคารของท่านอยู่ในข่ายที่จะต้องตรวจสอบนั้น ท่านจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบดำเนินการให้ทันตามกำหนด ทั้งนี้ ควรระลึกอยู่เสมอว่า กฎหมายนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งกับตัวท่านเองและไม่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อประโยชน์เพียงแค่ลดค่าใช้จ่าย แต่สุดท้ายเมื่อเกิดเหตุร้ายขึ้นตัวท่านเองจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบและจะได้ไม่คุ้มเสียกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไป สิ่งที่ควรทำสำหรับผู้ใช้อาคาร สำหรับผู้อยู่อาศัยหรือผู้ใช้อาคารเหล่านั้นควรมีส่วนร่วมในการสอดส่องตรวจตราแทนภาครัฐอีกทางหนึ่ง ถ้าอาคารที่ท่านเกี่ยวข้องเข้าข่ายที่ต้องตรวจสอบแล้ว ควรสอบถามไปยังเจ้าของอาคารถึงใบอนุญาตการที่ได้รับการรับรองการตรวจสอบอาคาร และใช้สิทธิที่พึงควรในการกระตุ้นให้มีการดำเนินการให้เรียบร้อยโดยเร็ว ทั้งนี้ ก็เพื่อประโยชน์ต่อตัวท่านและครอบครัวอันเป็นที่รักของท่านเอง บทสรุป การตรวจสอบอาคารเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการให้อยู่ในวิสัยปกติของทุกอาคารเพื่อประโยชน์ต่อทั้งเจ้าของอาคาร ผู้ใช้อาคาร และสาธารณชนอยู่แล้ว เพียงแต่ภาครัฐได้นำมาเรียบเรียงในรูปกฎหมายเพื่อบังคับใช้อันเป็นแนวทางที่จะทำให้เกิดมาตรฐานที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และภาคประชาชนควรให้ความสนใจและดำเนินการตามที่กำหนด ส่วนภาครัฐจะต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ แน่นอนว่าการเริ่มกระทำการใดๆ เป็นครั้งแรกย่อมมีข้อบกพร่อง ซึ่งทุกฝ่ายควรเร่งร่วมมือกันหาทางแก้ไข โดยไม่ปล่อยปละละเลยจนทำให้ข้อดีของกฎหมายเหล่านั้นกลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ จนต่อไปเมื่อเกิดมาตรการใหม่ๆ ที่จะช่วยให้การพัฒนาและดูแลอสังหาริมทรัพย์มีคุณภาพยิ่งขึ้น มาตรการเหล่านั้นก็จะไม่เกิดความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป โดย ดำรงศักดิ์ รินชุมภู สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่มา : นสพ.มติชน วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ฉบับที่ 10911 หน้า 6 |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มกราคม 2008 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |