วันเสาร์ ที่ 1 มีนาคม 2551
Posted by
WebmasterMBBI
,
ผู้อ่าน : 2885
, 08:52:23 น.
หมวด : ทั่วไป
พิมพ์หน้านี้
โหวต
0 คน
วันนี้ (๑๔ กพ ๒๕๕๑) เวลา ๑๐.๐๐ น. สมาคมฯและบริหารความปลอดภัย ได้รับความกรุณาจากท่านรองผู้อำนวยการสำนักการโยธา (คุณจุมพล) เข้าพบพร้อมกับคณะผู้บริหาร กองควบคุมอาคาร กรุงเทพมหานคร เพื่อร่วมประชุมหารือร่วมกันเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคาร การออกใบ ร๑ และกิจกรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์การตรวจสอบอาคาร เพื่อประโยชน์ของผู้ใช้อาคาร เจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร และผู้ตรวจสอบอาคาร และกรอบการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างเสริมมาตรฐานการตรวจสอบอาคารเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของกฎหมาย
ซึ่งสรุปประเด็นสำคัญๆ เพื่อจะเป็นห้วข้อทำงานร่วมกันในลำดับต่อไป ดังนี้ ๑) สมาคมฯ ประสานกับ กทม เพื่อรับทราบเกณฑ์ในการพิจารณาออก ร๑ สำหรับการตรวจสอบใหญ่ประจำปี ๒๕๕๐ และเป็นตัวกลางในการประสานงานให้สมาชิกผู้ตรวจสอบอาคารทราบและสามารถปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน ๒) พัฒนาคู่มือการตรวจสอบอาคาร แต่ละประเภท สำหรับอาคารทั้ง ๙ ประเภท เพื่อพัฒนาแนวทางการตรวจสอบให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันและมีคุณภาพเดียวกัน และเพื่อตัวกลางระหว่างเจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร และเจ้าพนักงานท้องถิ่น ในแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย (ซึ่งท่านนายกสมาคมฯ ได้ใช้โอกาสนี้มอบหนังสือมาตรฐานการตรจสอบอาคาร สำหรับอาคารสูง ให้กับทาง ท่านรองผอฯ) ๓) เสนอเพื่อพิจารณา การจัดโครงการประกวดอาคารดีเด่น เพื่อเสริมสร้างเกียรติคุณให้กับอาคาร เจ้าของอาคาร ผู้ตรวจสอบอาคาร ที่ตั้งใจ ดูแลให้มีการตรวจอาคารเพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีความมั่นใจในสมรรถนะความปลอดภัยของอาคาร ตามเกณฑ์กฎหมาย
เรื่อง: แนวทางในการพิจารณาออกใบ ร๑
-------------------------------------------------------------------------------- วันนี้ (๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐) เวลา ๑๓.๐๐ น. ท่านนายก ตปอ พร้อมคณะ ได้เข้าเรียนพบ ท่านธนู ศรีคช รองผู้อำนวยการสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร เพื่อหารือแนวทางการพิจารณาออกใบ ร๑ ซึ่งได้หารือแนวทางพิจารณาที่เป็นไปได้ดังนี้
กรณีที่ ๑ ผู้ตรวจสอบอาคารมีความเห็น อาคารที่ตรวจสอบ มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้ กทม จะพิจารณาดำเนินการออกใบ ร๑ ตามขั้นตอน
กรณีที่ ๒ ผู้ตรวจสอบอาคาร มีความเห็น อาคารที่ตรวจสอบ มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่มีข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข โดยที่ข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข นั้น มีความปลอดภัยดียิ่งขึ้น และสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้ ให้ผู้ตรวจสอบอาคาร ทำหนังสือชี้แจงเพิ่มเติม โดยลงความเห็นว่า "อาคารที่ตรวจสอบ มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบมีข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม เพื่อความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้น และสูงกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด" ในกรณีนี้ กทม จะพิจารณาดำเนินการออกใบ ร๑ ตามขั้นตอน
กรณีที่ ๓ ผู้ตรวจสอบอาคาร มีความเห็น ในเรื่องข้อเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไข เพื่อให้อาคารมีความปลอดภัยเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้ ยังแบ่งได้เป็นอีก ๒ กรณีย่อย ดังนี้
กรณี ๓.๑ กรณีที่การปรับปรุง แก้ไข ตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบ ดำเนินการได้โดยไม่ยุ่งยาก และไม่ใช้เวลาในการแก้ไขยาวนานนัก ให้เจ้าของอาคาร หรือผู้ดูแลอาคารเร่งทำการแก้ไขให้แล้วเสร็จ และให้ผู้ตรวจสอบอาคาร มีหนังสือรับรองการแก้ไขที่แล้วเสร็จ พร้อมลงความเห็น อาคารที่ตรวจสอบ มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้ กทม จะพิจารณาดำเนินการออกใบ ร๑ ตามขั้นตอน
กรณี ๓.๒ กรณีที่การปรับปรุง แก้ไข ตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบ ต้องใช้งบประมาณ และระยะเวลา ให้เจ้าของอาคารจัดทำแผนการดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ตรวจสอบอาคาร และระยะเวลาที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จ ในระยะเวลาที่พอเหมาะและสมควร พร้อมทั้งให้ผู้ตรวจสอบรับรองเห็นชอบกับแผนการปรับปรุงแก้ไข ในกรณีนี้ กทม จะมีหนังสือสั่งให้เจ้าของอาคาร ดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ตามแผนงานและระยะเวลาแล้วเสร็จ ตามแผนที่เสนอโดยเจ้าของอาคาร รับรองโดยผู้ตรวจสอบอาคาร จากนั้นเมื่อดำเนินการตามแผนแล้วเสร็จ ให้ผู้ตรวจสอบอาคาร มีหนังสือรับรองการแก้ไขที่แล้วเสร็จ พร้อมลงความเห็น อาคารที่ตรวจสอบ มีความปลอดภัยตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ในกรณีนี้ กทม จะพิจารณาดำเนินการออกใบ ร๑ ตามขั้นตอน
ทั้งกรณีที่ ๓.๑ และกรณีที่ ๓.๒ จะไม่ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เนื่องจากเจ้าของอาคารได้มีนำส่งรายงานการตรวจสอบใหญ่ ภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้วคือ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐ และระหว่างที่อยู่ในการแก้ไขปรับปรุงตามแผนงานนั้น จะยังไม่ได้รับใบ ร๑ จนกว่าจะมีการแก้ไขให้แล้วเสร็จ ซึ่งระหว่างการปรับปรุงแก้ไข และรอรับใบ ร๑ นั้น อาคารยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ
ทั้งนี้ ในกรณีที่ ๑ และกรณีที่ ๒ ข้างต้น หากรายงานการตรวจสอบอาคารของผู้ตรวจสอบอาคาร ไม่ได้ระบุว่า "อาคารมีความปลอดภัยเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด" ก็ให้ผู้ตรวจสอบอาคารทำหนังสือรับรองเพิ่มเติมให้กับเจ้าของอาคารเพื่อนำส่งให้กับกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาออกใบ ร๑ ตามขั้นตอน
ท้ายนี้ หากผู้ตรวจสอบอาคารพบว่าอาคารใดมีความปลอดภัยสูงกว่าเกณฑ์กฎหมายกำหนด ขอให้ผู้ตรวจสอบลงความเห็นเพิ่มเติมในประเด็นความปลอดภัยต่างๆ ที่เจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร ทำได้ดีกว่าเกณฑ์กฎหมายด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีของอาคารที่ปลอดภัย และเป็นขวัญกำลังใจให้เจ้าของอาคาร ผู้ดูแลอาคาร ดำเนินการให้ดียิ่งยิ่งขึ้น
เรื่อง: หลักฐานที่เจ้าของอาคารต้องแนบกับรายงานการตรวจสอบอาคาร
-------------------------------------------------------------------------------- เอกสารที่ใช้แนบรายงานการตรวจสอบอาคาร หลักฐานส่วนของเจ้าของอาคาร 1. สำเนาเอกสารแสดงการเป็นเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน 2. สำเนาเอกสารรับรองการจดทะเบียน วัตถุประสงค์ และผู้มีอำนาจลงชื่อแทนนิติบุคคลผู้จัดการส่งรายงาน ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดส่งรายงาน) 3. หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นผู้ดำเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้จัดส่งรายงาน) 4. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง/ดัดแปลง (แบบ อ.1) ใบรับแจ้งความประสงค์จะก่อสร้าง/ดัดแปลง อาคาร (แบบ กทม.6) ใบรับรองการก่อสร้าง/ดัดแปลงอาคาร (แบบ อ.6) ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาได้ ให้เจ้าของอาคารทำหนังสือชี้แจงเหตุผลแนบ หลักฐานส่วนของผู้ตรวจสอบอาคาร 1 สำเนาเอกสารแสดงการเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร ทะเบียนบ้าน บัตรประจำตัวประชาชน 2 สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนวัตถุประสงค์และผู้มีอำนาจลงชื่อแทน ผู้ตรวจสอบอาคารประเภทนิติบุคคล ที่ออกให้ไม่เกินหกเดือน (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร) 3. หนังสือแสดงว่าเป็นผู้จัดการหรือผู้แทนซึ่งเป็นดำเนินกิจการของนิติบุคคล (กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ตรวจสอบ) 4. ลงลายมือชื่อเพื่อรับรองเอกสารในรายงานการตรวจสอบอาคารทุกหน้าที่เป็นสาระสำคัญ http://www.thaibuildinginspector.net/forum/ ติดต่อเรา mamema co., ltd. ผู้ตรวจสอบอาคารนิติบุคคล รับตรวจสอบอาคารและป้ายโฆษณา ตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 ; 081-491-8668 , 086-308-1455 ; rattikorn.thosawet@gmail.com
|