เก็บภาพไว้นานหลายเดือนแล้วสำหรับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน และภาพจำลองจิตรกรรมเวียงต้า ที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ จังหวัดแพร่ อดที่จะนำเสนอให้ชาวโอเคเนชั่นได้ชมกันมิได้ ทั้ง 2 สถานที่ ผมไปได้เห็นมาสวยสายตาตัวเอง แม้มิได้เป็นสายตาอันสูงส่ง ด้วยแต่ก็ยังรับรู้ได้ว่า เป็นศิลปะที่ทรงคุณค่า มีความงดงาม มีความประณีต อันไม่สามารถประเมินราคาค่างวดได้ มีโอกาสไปเมืองเนิบช้าแห่งล้านนาตะวันออก หลายครั้ง มี 2-3 ครั้งที่แวะไปเข้าในเมืองน่าน เพื่อชมภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังอันลือชื่อจากเมืองแพร่แดนถิ่นรักพระลอ ผมมีโอกาสชมเพียงครั้งเดียว คราไปเยี่ยม พิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ เมื่อต้นปี 2558 ผมไม่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมหรือวิถีพื้นถิ่นสมัยอดีตกาล ได้แต่นำภาพที่บันทึกไว้มาให้ชมกัน ผ้าซิ่นตีนจกโบราณในภาพจิตรกรรม มีการลอกแบบไปถักทอขายกันเป็นจำนวนมาก ตามพงศาวดารของเมืองน่านนั้น วัดภูมินทร์สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2139 โดยพระเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ เจ้าผู้ครอง เมืองน่าน ส่วนจิตรกรรมฝาผนังในวิหารหลวงที่ได้รับการกล่าวขวัญถึง เขียนขึ้นในเวลาต่อมา ในช่วงที่วัดภูมินทร์ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดช เมื่อ พ.ศ. 2410 (ปลายสมัยรัชกาลที่ 4) ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวัดภูมินทร์ เล่าเรื่องชาดกในพุทธศาสนา และเรื่องราวของวิถีชีวิตของคนเมืองน่านในอดีต และชนเผ่าพื้นเมือง จากข้อมูลที่พบมีการระบุว่า ภาพชุดนี้เป็นผลงานของ "หนานบัวผัน" จิตรกรพื้นถิ่นเชื้อสายไทลื้อ ในบรรดาภาพจิตรกรรมที่วัดแห่งนี้ ภาพ"ปู่ม่าน ย่าม่าน" ซึ่งเป็นคำเรียกผู้ชาย-ผู้หญิงชาวไทลื้อในสมัยโบราณ กระซิบกระซาบสนทนากัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพศิลปะที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกของวัดภูมินทร์ ถือเป็นภาพที่สมบูรณ์แบบทั้งด้านองค์ประกอบและอารมณ์ กลายเป็นมรดกชิ้นเอกของชาวน่าน จนเป็นที่มาของชื่อ "กระซิบรักบันลือโลก" ตอนหลังในสมัยปัจจุบันมีการบัญญัติคำเรียกใหม่เป็นเสมือนตัวแทนสัญลักษณ์ของจังหวัด คือ "กระซิบรักจากเมืองน่าน" อีกหนึ่งในภาพจิตรกรรมฝาผนังของวัดภูมินทร์ ที่งดงามและดึงดูดสายตายิ่ง จนอดที่จะนำมากล่าวถึงมิได้ หลายท่านบอกว่าภาพนี้ได้สมญาว่าเป็นภาพ "โมนาลิซ่าเมืองน่าน" @ใครมาเที่ยวน่าน ก็ต้องมาชมภาพจิตรกรรมเหล่านี้ ใครไม่ว่าชม ถือมาไม่ถึงเมืองน่าน ประมาณนั้น สำหรับภาพจิตรกรรมด้านล่างนี้ จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ อ.ลอง จ.แพร่ เป็นภาพที่จำลองมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังของจริง เรียกว่า "จิตรกรรมเวียงต้า" เป็นภาพเขียนสีฝุ่นบนแผ่นไม้สักประกบกันหลายแผ่น จัดวางเป็นผืนเป็นตอน กลบเกลื่อนรอยต่อของแผ่นกระดานด้วยภาพแนวตั้ง เรียงต่อติดกันเป็นผนังวิหาร ลักษณะของภาพเขียนเป็นรูปแบบงานจิตรกรรมของสกุลช่างศิลป์เมืองน่าน แสดงถึงการแต่งกายของสตรีเมืองลองดั้งเดิม มีอายุรุ่นเดียวกับจิตกรรมที่วัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน ซิ่นเมืองลองในจิตรกรรมฝาผนัง วัดเวียงต้าม่อน อาจารย์โกมล พานิชพันธ์ นักสะสมผ้าโบราณชาวอำเภอลอง ซึ่งเป็นเจ้าของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ด้วย บอกว่า ภาพที่แสดงในพิพิธภัณฑ์นี้เป็นภาพถ่ายจำลองมาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังที่ วิหารไม้สักทอง วัดต้าม่อน อันเป็นวัดโบราณคู่เมืองลอง ภายในวัดมีวิหารไม้ที่มีการเขียนจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ รวมถึงวิถีชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี และการแต่งกายแบบล้านนา คุณพ่อของอาจารย์โกมล เป็นผู้ถ่ายสไลด์จากภาพจิตรกรรมของจริง และนำมาพิมพ์ลงบนแผ่นไม้โดยการใช้เทคนิคสมัยใหม่ จนได้ภาพจิตรกรรมจำลองที่คมชัดเหมือนจริง สำหรับวัดต้าม่อนนั้น ผมพยายามหาข้อมูลว่าสร้างในสมัยไหนปีใด ก็ไม่พบ แต่เว็บไซต์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแพร่ เขต 2 ให้ข้อมูลว่า เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติการสร้างจากช่างชาวพม่า มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามล้ำค่า เป็นภาพของนิทานชาดกเรื่อง "ก่ำก๋าดา" และเรื่อง "สองเมืองหลงถ้ำ" เว็บไซต์จังหวัดแพร่ ระบุว่า ภาพจิตรกรรมในวิหารวัดต้าม่อน วาดเมื่อ พ.ศ. 2427 ขณะที่อาจารย์โกมล เล่าให้ฟังว่า ในปี พ.ศ. 2532 วิหารไม้สักดังกล่าวชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมากและขาดแคลนทุนซ่อมแซม ดังนั้น ไร่แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จึงขอผาติกรรมไปเก็บไว้ที่หอคำน้อย ในเฟสบุ๊คของกลุ่มคนสร้างศิลป์เมืองแป้ ระบุว่า หญิงสาวในภาพนี้ ชื่อว่า "แม่นางสีเหว่ย" เป็นภาพที่ได้รับการกล่าวขานถึงว่า นี่คือ ภาพที่ถ่ายทอดความงามแบบล้านนาของ สาวงามชาวเวียงต้า ได้เป็นเอกลักษณ์ที่ชัดเจนที่สุด จนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ภาพโมนาลิซ่าแห่งเมืองแพร่" อาจารย์โกมล บอกว่า ภาพเขียนนี้ มีชื่อว่า นางสีเหว่ยทัดดอกสลิด (ดอกแก้ว) ป.ล. หลายท่านใช้คำเรียกว่า "นางสีเว่ย" เมื่อพิจารณาแล้วลักษณะลายเส้น สีสัน รูปทรง องค์ประกอบ ของภาพจิตรกรรมทั้ง 2 ชุด มีความคล้ายคลึงกันมาก บางท่านก็บอกว่า ช่างแต้มในสมัยนั้นอาจเป็นสายสกุลช่างเดียวกัน หรือได้รับอิทธิพลจากศิลปะสายสกุลน่าน ผู้รู้บางท่านชี้ว่า จิตรกรรมผนังวัดต้าม่อนนั้น เป็นฝีมือช่างชุดเดียวกันกับวัดภูมินทร์ จังหวัดน่าน คือ เป็นผลงานที่วาดโดย "หนานบัวผัน" ผมไม่มีความรู้ด้านนี้ แต่เห็นว่าภาพจิตรกรรมทั้ง 2 ชุด มีความงามล้ำค่าเหมือนๆกันทั้งคู่ครับ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
เพลงในอัลบั้มป่าตะโกน | ||
![]() |
||
เพลงในอัลบั้มป่าตะโกน ขอขอบคุณศิลปินรักษ์ผืนป่าตะวันตก |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |