http://vod.msu.ac.th/ardc/king/002/001_2.htm
มู ล นิ ธิ อ า นั น ท ม หิ ด ล หนึ่งในพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อสนับสนุนนักเรียนไทยที่มีศักยภาพทางวิชาการดีเด่น และมีคุณธรรม ให้มีโอกาสไปศึกษายังต่างประเทศจนถึงขั้นสูงสุด และนำความรู้กลับมาทำคุณประโยชน์เพื่อประเทศชาติต่อไป ๑ บันทึกกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว๒ เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๓๓ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณว่า มูลนิธิอานันทมหิดล เมื่อแรกตั้งขึ้นมาก็มุ่งเลือกเฟ้นเอายอดของนิสิตนักศึกษาของมหาวิทยาลัยในไทยออกไปศึกษา ณ ต่างประเทศ เพื่อกลับมาเป็นอาจารย์สอนวิชานั้นๆ หรือทำประโยชน์อย่างอื่นใดต่อไป ฉะนั้นจึงเลือกเฟ้นเอาผู้ที่ได้คะแนนสูงในการสอบปีสุดท้าย และตรวจสอบเห็นว่ามีความรู้สึกนึกคิดสูง มีความประพฤติดี มู ล นิ ธิ อ า นั น ท ม หิ ด ล ๓ ก ำ เ นิ ด ทุ น มู ล นิ ธิ อ า นั น ท ม หิ ด ล มูลนิธิอานันทมหิดลนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งขึ้น ด้วยทรงสนพระราชหฤทัยพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ของประชาชน ทรงเข้าพระราชหฤทัยดีว่า ในการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญวิชาการขั้นสูงสาขาต่างๆ วิธีการหนึ่งที่จะสร้างผู้เชี่ยวชาญคือ การส่งผู้มีความสามารถออกไปศึกษาหาความรู้ ณ ประเทศ ที่เป็นแหล่งวิทยาการแขนงต่างๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ จึงทรงพระราชดำริที่จะส่งเสริม และสนับสนุนให้นักศึกษา ผู้แสดงความสามารถยอดเยี่ยม ได้มีโอกาสไปศึกษาวิชาความรู้ ให้ถึงขั้นสูงสุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว ด้วยทรงพระราชดำริว่าเมื่อได้ศึกษาถึงขั้นสูงสุดแล้ว จะเห็นว่าศาสตร์ต่างๆ นั้น มีความสัมพันธ์กัน และสามารถนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ แก่เพื่อนมนุษย์และประเทศชาติได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งทุนเพื่อการนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ พระราชทานนามทุนว่า "อานันทมหิดล" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ ในสมเด็จพระบรม เชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระ ปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร วั ต ถุ ป ร ะ ส ง ค์ ข อ ง มู ล นิ ธิ อ า นั น ท ม หิ ด ล มูลนิธิอานันทมหิดล มีวัตถุประสงค์หลัก ๔ ข้อคือ ๑. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาขั้นสูงด้วยการพระราชทานทุนให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในประเทศไทยผู้มีคุณสมบัติดีเด่นทั้งด้านวิชาการและคุณธรรมไปศึกษาต่อในสาขาวิชาอันจะเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการจนถึงขั้นสูงสุด ณ ต่างประเทศ แล้วนำความรู้กลับมาถ่ายทอดแก่ชนรุ่นหลัง ตลอดจนช่วยในการพัฒนาประเทศ ๒. เพื่อพระราชทุนช่วยเหลือในการประกอบอาชีพหรือเพื่อค้นคว้าแก่ผู้ได้รับพระราชทานทุนที่สำเร็จการศึกษากลับมาทำงานในประเทศไทย ที่มีความสามารถดีเยี่ยม มีคุณธรรม และความประพฤติดีเป็นกรณี ๆ ไป ๓. จัดตั้งสถาบันค้นคว้าทางวิชาการ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับพระราชทานทุนที่สำเร็จการ ศึกษาและกลับมาทำงานในประเทศไทย ได้ทำการค้นคว้าทางวิชาการต่อไป และ ๔. ร่วมมือกับสถาบันอื่นที่มีวัตถุประสงค์คล้ายคลึงกัน เพื่อให้การสนับสนุนทางวิชาการ กว้างขวางทั่วถึงยิ่งขึ้น นอกจากวัตถุประสงค์หลัก ๔ ข้อแล้ว มูลนิธิยังมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์และพัฒนาศักยภาพของอาจารย์แพทย์ จึงได้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมบัณฑิตให้แก่ อาจารย์แพทย์ที่อุทิศตนปฏิบัติงานเพื่อส่วนรวมอีกด้วย พระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดยิ่งต่อประชาชนชาวไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักดีว่า การพัฒนาการศึกษาของเยาวชนนั้น เป็นพื้นฐานอันสำคัญของประเทศชาติ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์จัดตั้ง มูลนิธิอานันทมหิดล ให้เป็นทุนสำหรับการศึกษาในแขนงวิชาต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้มีทุนออกไปศึกษา หาความรู้ต่อในวิชาการชั้นสูงในประเทศต่างๆ โ ด ย ไ ม่ มี เ งื่ อ น ไ ข ข้ อ ผู ก พั น แ ต่ ป ร ะ ก า ร ใ ด เพื่อที่จะได้นำความรู้นั้นๆ กลับมาใช้พัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป ๔ ทุนอานันทมหิดลนี้ไม่ได้กำหนดระยะเวลาเรียน ผู้ได้รับทุนสามารถเรียนถึงขึ้นสูงสุดตามความสามารถ และ ไ ม่ มี สั ญ ญ า ผู ก มั ด ว่ า ผู้ ไ ด้ รั บ พ ร ะ ร า ช ท า น ทุ น จ ะ ต้ อ ง ก ลั บ ม า ป ฏิ บั ติ ง า น อ ย่ า ง ใ ด อ ย่ า ง ห นึ่ ง ต า ม เ ว ล า ที่ กำ ห น ด เช่นทุนอื่น ๆ เพราะมีพระราชประสงค์จะให้ผู้รับทุนได้เกิดความสำนึกรับผิดชอบเอง แต่ปรากฏว่าผู้ที่ได้รับพระราชทานทุนทุกรายต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้วก็กลับมาปฏิบัติงานรับใช้บ้านเมืองเพื่อสนองพระเดชพระคุณตามรอยเบื้องพระยุคลบาท สร้างสรรค์ประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของตนสมพระราชประสงค์ด้วยดี ๕ ทุ น ที่ ไ ม่ มี ข้ อ ผู ก มั ด ใ ด ๆ ที่ส่งคนไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ รวมทั้งวิชากฎหมายด้วย ที่สำคัญอีกทุนหนึ่ง "ทุนมูลนิธิทุนอานันทมหิดล" หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า "ทุนอานันทมหิดล" ทุนอานันทมหิดลนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ได้รับทุนนำความรู้มาพัฒนาประเทศไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม เกี่ยวกับทุนนี้ เราได้รับฟังกันทางวิทยุบ่อยๆ และเสียงของผู้ที่พูดเกี่ยวกับทุนอานันทมหิดลท่านหนึ่ง น่าจะเป็นเสียงของนายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา และเท่าที่ทราบ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ก็เป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ได้กล่าวทางวิทยุความว่า สำหรับการรับทุนอานันทมหิดลนั้น ก็ได้มีการนำเสนอในเรื่องสัญญาต่อในหลวงเช่นกัน แต่ในหลวงทรงรับสั่งว่าไม่ต้องมีสัญญาใดๆ การตัดสินใจเลือกผู้ใดของคณะกรรมการมูลนิธินั้นเป็นสัญญาอย่างยิ่งแล้ว ๖ นักศึกษาในโครงการ พสวท. ที่ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิ "อานันทมหิดล" คณะกรรมการกำหนดนโยบายฯ มีมติให้พ้นสภาพการเป็นนักศึกษาในโครงการ พสวท. โดยไม่ต้องชดใช้ทุนการศึกษา ทั้งนี้ เนื่องจากทุนมูลนิธิ "อานันทมหิดล" เป็นทุนพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีหลักเกณฑ์ค่อนข้างเข้มและมีมาตรฐานสูงในการคัดเลือก บุคคลเข้ารับทุนนี้ แม้จะ ไ ม่ มี เ งื่ อ น ไ ข ข้ อ ผู ก พั น ใ ด ๆ แต่ผู้ที่ได้รับพระราชทานมูลนิธิ "อานันทมหิดล" เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ทุกคนได้กลับมาปฏิบัติงานในประเทศไทย เพื่อเป็น ประโยชน์แก่ส่วนรวมต่อไป ๗ การดำเนินการบริหารของมูลนิธิ ๘ บริหารในรูปของคณะกรรมการ ซึ่งชุดแรกประกอบด้วย สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงเป็นประธาน และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเป็นกรรมการอยู่ด้วย และทรงอยู่ในคณะกรรมการชุดปัจจุบันด้วย ซึ่งตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร โดยทรงร่วมพิจารณาคัดเลือก และติดตามผลการศึกษาของผู้ได้รับพระราชทานทุนอย่างใกล้ชิด ร่วมกับองคมนตรีผู้เป็นคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ เมื่อปี ๒๕๔๔ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า ๙ มูลนิธิอานันทมหิดลมีเป้าหมายในการพัฒนา เป็นการสร้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อความก้าวหน้าของส่วนรวม คนที่คัดเลือกมารับพระราชทานทุน ต้องเป็นผู้มีศักยภาพเป็นนักวิชาการที่เด่นที่สุดในสาขาวิชาต่าง ๆ แต่ละสาขา มูลนิธิต้องมีหลายสาขา เพราะชีวิตมนุษย์ที่เราต้องการพัฒนานั้นมีหลายด้าน หลายแง่ หลายมุม หลายระบบมารวมกัน จึงจะทำให้คนมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้
นักเรียนทุน . . . รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ๑๐ ได้กล่าวหลังจากที่ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปรากฏในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันเสาร์ที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ ว่า "การได้เข้ามาทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ถือเป็นโอกาสดีที่ผมจะตอบแทนประเทศอีกทางหนึ่ง เพราะผมเคยเป็นนักเรียนทุนไปเรียนต่อต่างประเทศ ซึ่งเงินที่ส่งไปเรียนก็เป็นเงินจากภาษีประชาชน...ฯลฯ... ในระยะเวลาทำงานที่ยังเหลืออีกเพียง ๙ เดือนข้างหน้านี้ผมจะทำงานอย่างเต็มที่ ๑๐๐% ผมถือว่าในเวลา ๙ เดือนข้างหน้า เป็นโอกาสที่ท้าทายผม เป็นโอกาส ใ ช้ ห นี้ ท า ง ใ จ ที่ผมเคยได้รับทุนจากเงินภาษีประชาชน เพราะเงินที่ส่งผมไปเรียน อาจจะใช้สร้างโรงพยาบาลเล็กๆ ได้แห่งหนึ่งเลยทีเดียว การทำงานในตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการ ศธ. ถือเป็นการทำงานเพื่อรับใช้สังคมตาม ภ า ร ะ ผู ก พั น ท า ง ใ จ จริงๆ ไม่ใช่แค่พูดให้ดูเก๋ๆ แต่เป็นความรู้สึกจริงๆ..." ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ ๑๑ อดีตนักเรียนทุนผู้ทุ่มเทต่องานหลวง ผมเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา สิ่งเอื้ออำนวยทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวอย่างภาคภูมิใจ ถึงการรับราชการ มากระทั่งอายุ ๕๕ ปี โดยไม่เปลี่ยนไปทำงานกับภาคเอกชน แม้ลูกศิษย์ที่สอนสั่ง เพียงเรียนจบปริญญาตรี เงินเดือนขั้นต้นที่รับก็ตก ๑๕,๐๐๐ บาท และเมื่อทำงานไป ๒-๓ ปีก็มีเงินเดือนเพิ่มเป็น ๒๕,๐๐๐๓๐,๐๐๐ บาท ดร. สุทธิพล ทวีชัยการ ๑๒ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล ตนเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล ไปเรียนต่างประเทศ จึงได้ตั้งปณิธานว่ากลับมาต้องตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน โดยตั้งใจเข้ามาทำงาน โดยยึดหลัก กู้ศรัทธา ชูคุณธรรม นำพัฒนา เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งตนมองว่าภาพลักษณ์การทำงานของ กกต. เป็นเรื่องสำคัญ เพราะที่ผ่านมาองค์กรนี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก รวมถึงปัญหาคุณภาพของคนและยังมีคนล้นงาน ดังนั้นหากเข้ามาเป็น กกต. จึงต้องปัดกวาดสำนักงาน บำบัดคนเลวที่บำบัดได้ และบอยคอตคนเลวที่บำบัดไม่ได้ รวมทั้งสร้างความรู้ความสามารถให้กับพนักงานด้วย และใช้หลักแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่างเข้ามาทำงานนอกจากนี้ การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรยังต้องประชาสัมพันธ์เชิงรุกด้วย โดยนอกจากทำความเข้าใจกับคนในประเทศแล้วยังต้องทำความเข้าใจกับต่างชาติด้วย ดร. กิริฎา เภาพิจิตร ๑๓ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล เธอวางแผนไว้ว่า หากไม่ได้ทำงานที่ธนาคารโลกแล้ว เธอคงจะไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะในวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนา ที่ปัจจุบันเธอก็สอนอยู่ในฐานะอาจารย์พิเศษให้กับนักศึกษาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดร.กิริฎา ทิ้งท้ายให้ฟังว่าการสอนหนังสือให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่นั้น เธอจะพยายามแนะนำนักศึกษาให้มีความคิดว่า ในทุกการเรียนทุกสาขาสามารถนำแนวความคิดด้านการพัฒนาไปปรับใช้เพื่อการพัฒนาประเทศชาติได้ทั้งสิ้น ซึ่งในฐานะครูคนหนึ่งเธอก็เห็นว่าหากสามารถทำให้นักศึกษาสักเพียง ๑-๒ คน หันมาสนใจศึกษาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา เพื่อนำไปใช้พัฒนาประเทศได้อย่างที่เธอทำ ก็น่าจะเป็นความภูมิใจของนักพัฒนาอย่างเธอแล้ว ดร. กฤตินี ณัฏฐวุฒิสิทธิ์ ๑๔ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล ตอนที่สัมภาษณ์ทุนฯ ถูกถามว่าจะกลับมารับใช้ประเทศชาติได้อย่างไร เราก็บอกว่าอยากจะมาเป็นอาจารย์ ตอนเรียน อ.กิตติ เป็นอาจารย์ที่เราชื่นชมมาก ท่านเป็นต้นแบบที่เราอยากเอาอย่าง ก็บอกทางคณะกรรมการว่า อยากเป็นอาจารย์เพราะได้ทำงานในสิ่งที่ชอบคือด้านการตลาด ได้สอนคน ได้ถ่ายทอดความรู้ งานอาจารย์เป็นการให้กลับสู่สังคม และมีคุณค่า นอกจากกระตุ้นความคิดในเชิงวิชาการแล้ว ยังมีเชิงจริยธรรมด้วย เรื่องค่าตอบแทนไม่กังวล ดร.อภินิติ โชติสังกาศ ๑๕ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล "การเป็นนักเรียนทุนอานันทมหิดล สำหรับผมไม่เคยรู้สึกเครียดหรือกดดันเลย แต่กลับรู้สึกว่าเป็นแรงกระตุ้น และบางทียังถือเป็นกำลังใจเสียด้วยซ้ำว่า เรามีหน้าที่ เรามาเพื่ออะไรบางอย่าง"
คุณค่าและคุณประโยชน์มหาศาลต่อแผ่นดินไทย นายแพทย์วิจารณ์ พานิช บันทึกถึง นพ. ปรีดา มาลาสิทธิ์ อดีตนักเรียนทุนอานันทมหิดล ใน ชีวิตที่พอเพียง : ๘๖. ปรีดา มาลาสิทธิ์ กัลยาณมิตรของผม ๑๖ เมื่อ สวทช. - สกว. - WHO/TDR ร่วมกันจัดตั้งโครงการ T-2 (Thailand Tropical Disease Research Program) ขึ้น ปรีดาก็ได้ร่วมเป็นกรรมการ และเป็นผู้รับทุนด้วยในเวลาเดียวกัน เป็นกรณีที่เรียกว่ามี COI (Conflict of Interest) ทำให้เราต้องจัดระบบระมัดระวังข้อครหา แต่เมื่อผลงานด้านไข้เลือดออกได้รับการตีพิมพ์ จดสิทธิบัตร และมีการเจรจาธุรกิจนำผลวิจัยสู่ตลาด ก็เป็นข้อพิสูจน์โดยตรงว่า Potential COI นี้ไม่ได้ก่อผลเสีย แต่กลับก่อผลดี ผมมองว่าผลงานเหล่านั้นยังก่อผลกระทบน้อยกว่าผลดีด้านการสร้างคน กล่าวได้ว่า ความเข้มแข็งด้านการวิจัยของศิริราช ที่เด่นขึ้นมากในช่วง ๑๐ ปีหลัง มีปรีดาเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบด้วยคนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเชื่อมโยงระหว่าง Basic Research กับ Clinical Data การพัฒนาระบบ Clinical Data / Information ของโรคไข้เลือดออกของประเทศ เพื่อหนุนการวิจัยพื้นฐาน สร้างความรู้ใหม่เกี่ยวกับการเกิดอาการ ช็อก ในผู้ป่วยไข้เลือดออก เป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของปรีดาและทีมงาน เรื่อง พระไตรปิฎกบนอินเทอร์เนต ๑๗ ของ ดร.ศุภชัย ตั้งวงศ์ศานต์ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้เคยสร้างผลงานชิ้นเยี่ยมที่เป็นการบุญการกุศลยิ่งคือ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพระราชวโรกาสรัชมังคลาภิเษก ๒๕๓๑ และต่อมาอีก ๓ ปี พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ให้พัฒนาออกไปเพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก และอรรถกถาตามพระราชดำริ ทำให้พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ได้แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในแวดวงพระพุทธศาสนา ทั้งในประเทศและต่างประเทศกว่า ๑๔ ปี และบัดนี้ได้จัดข้อมูลพระไตรปิฎก ทั้งฉบับภาษาไทย ๔๕ เล่ม ฉบับบาลีอักษรไทย ๔๕ เล่ม และชุดอรรถกถาฉบับบาลีอักษรไทย ๗๐ เล่ม ฉบับบาลีอักษรโรมัน ๗๐ เล่ม พร้อมโปรแกรมสืบค้น Budsir ขึ้นบน Internet ผู้ใช้บริการที่สนใจศึกษาเรื่องพระพุทธศาสนาอย่างละเอียดสามารถเปิดเข้าสู่ Website ที่ http:/www.mahidol.ac.th./budsir/ ดร.ศุภชัยเขียนไว้ว่า นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่มหาวิทยาลัย รวมทั้งวงการพระพุทธศาสนา ซึ่งจักหาสมเด็จพระธรรมิกราช ที่ทรงสนพระราชหฤทัยในวงการพระพุทธศาสนาเพียงนี้ไม่ได้อีกแล้ว รายการ "หนี่งในโครงการพระราชดำริ มูลนิธิอานันทมหิดล"๑๘ ชมรมมูลนิธิอานันทมหิดลร่วมกับสถานีโทรทัศน์ ช่อง ๙ อ.ส.ม.ท จัดรายการโทรทัศน์ "หนี่งในโครงการพระราชดำริ มูลนิธิอานันทมหิดล" ออกอากาศทุกวันเสาร์ เวลา ๒๐.๓๐ น. เป็นเวลาประมาณ ๓๐ นาที ลักษณะรายการเป็นการสนทนา ให้ความรู้ทางวิชาการแก่ประชาชน โดยกลุ่มนักเรียนทุนมูลนิธิฯ รายการนี้ได้เริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรก เป็นรายการพิเศษเฉลิมพระเกียรติ ในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๐ โดยองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานสัมภาษณ์เรื่องเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ และมีสมาชิกชมรมอีกสามท่านคือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์จรัส สุวรรณเวลา ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี และอธิบดีปราโมทย์ ไม้กลัด ได้ร่วมเล่าถึงชีวประวัติและพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานทุนฯ ตลอดจนงานที่ท่านเหล่านี้ได้ทำประโยชน์ไว้ให้ประเทศชาติ มีคุณบดินทร์ ลิมประพัฒน์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ข้อความดังต่อไปนี้ เป็นเพียงบางส่วนของ รายการ "หนี่งในโครงการพระราชดำริ มูลนิธิอานันทมหิดล" ที่บอกเล่าถึงผลงานของ อดีตนักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ที่มีคุณค่ายิ่งต่อสังคมไทย ๑๙ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกแพทยศาสตร์ ปีพ.ศ. ๒๕๐๒ - บัญชียาหลักแห่งชาติ หมายถึงรายการยาที่ผ่านการคัดเลือกและกลั่นกรอกจากคณะแพทย์และเภสัชกรที่เชี่ยวชาญแต่ละสาขา ครอบคลุมการป้องกันและรักษาปัญหาสุขภาพของคนไทยในระดับจำเป็น ได้อย่างคุ้มค่า เพื่อเป็นเครื่องมือให้แพทย์ เภสัชกรจ่ายยาแก่คนไข้อย่างเป็นขั้นตอน สมเหตุผล มีประสิทธิภาพ และ เราคนไทยจะสามารถใช้ยารักษาโรค ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ปลอดภัยยิ่งขึ้น - ดร.เชาวน์ดิศ อัศวกุล ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ปีพ.ศ.๒๕๓๘ - ระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะนี้มิได้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาจราจรติดขัดแต่อย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงการนำเทคโนโลยี ICT มาช่วยในการขนส่งเช่นการขนส่งสินค้า หรือการขนส่งมวลชน และรวมไปถึงความอัจฉริยะที่ใส่เข้าไปในโครงสร้างพื้นฐานด้านการจราจรและตัวยานพาหนะเองอีกด้วย นอกจากนี้ ITS ยังส่งผลทางอ้อมต่อการลดและป้องกันอุบัติเหตุ การลดปัญหามลภาวะ และการประหยัดพลังงาน - ดร. ปัจฉา ฉัตราภรณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิทยาศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ - หากเราจะก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งการพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีอย่างสมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างและพัฒนาบุคลากรในสาขานี้ โดยเฉพาะเยาวชนไทย ที่ถือเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต รวมถึงเราทุกคนที่ต้องให้ความสำคัญกับความรู้วิทยาศาสตร์พื้นฐาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันสังคมไปสู่ความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน - ดร.อติวงศ์ สุชาโต ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมสาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ด้วยความช่วยเหลือจาก ดร. อติวงศ์ สุชาโต คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนักเรียนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกวิศวกรรมศาสตรก่อให้เกิดขอเล่นที่มีความสามารถในการรู้จำเสียงคำสั่งได้ ซึ่งจากแนวคิดดังกล่าว สามารถพัฒนาไปเป็นอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อช่วยเหลือผู้พิการและสร้างประโยชน์อย่างมากมายให้สังคม - ผศ.น.สพ. ดร. นริศ เต็งชัยศรี คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกเกษตรศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ - ธนาคารเลือดแมวไม่เพียงช่วยต่อลมหายใจของแมวที่ป่วยได้เท่านั้น ผลจากการศึกษาเรื่องเลือดแมวของผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดอกเตอร์ นริศ เต็งชัยศรี ได้ต่อยอดเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่มีผลโดยตรงต่อชีวิตพวกมัน และองค์ความรู้เดียวกันนี้ยังเป็นประโยชน์นำไปสู่การมีส่วนช่วยอนุรักษ์สัตว์ป่า เช่น เสือ ซึ่งกำลังสูญพันธุ์ไปจากแผ่นดินไทยได้อีกทางหนึ่ง - ดร.โสมสุดา ลียะวณิช รองอธิบดีกรมศิลปากร นักเรียนทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกอักษรศาสตร์ ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ - น่าแปลกใจ เที่มื่อเอ่ยถึง พิพิธภัณฑ์ คนส่วนใหญ่ในบ้านเรามักไม่นิยมเข้าไปสักเท่าไร แต่เวลาไปต่างประเทศ เป็นที่น่าแปลกว่า สถานที่ที่เราหรือนักท่องเที่ยวไปเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปี กลับกลายเป็น พิพิธภัณฑ์ ทั้งๆที่ต้องเสียเงินค่าเข้าชมไม่ใช่ราคาถูกๆ แล้วทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ???? และแทบไม่น่าเชื่อประเทศไทยมีพิพิธภัณฑ์เกือบ 900 แห่ง เป็นประเทศที่มีพิพิธภัณฑ์มากเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา แต่น่าตกใจกว่านั้นคือคนไทยไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้เลย - และ ๑๙ หนึ่งในพระราชดำริ แผลในช่องปาก หนึ่งในพระราชดำริ ดินถล่ม ความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สิน หนึ่งในพระราชดำริ โบราณคดีกับวิทยาศาสตร์ หนึ่งในพระราชดำริ ไฟป่า หนึ่งในพระราชดำริ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ หนึ่งในพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงกับผู้ประสบภัยสึนามิ หนึ่งในพระราชดำริ รัก...สตรอเบอรี่ หนึ่งในพระราชดำริ พลาสติกย่อยสลาย หนึ่งในพระราชดำริ หุ่นยนต์สายพันธุ์ไทย หนึ่งในพระราชดำริ เอราวัณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หนึ่งในพระราชดำริ หุ่นยนต์กับชีวิตประจำวัน หนึ่งในพระราชดำริ ไทรอยด์ ต่อมนั้นสำคัญไฉน ? หนึ่งในพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงในโลกธุรกิจ หนึ่งในพระราชดำริ เพื่อความเข้าใจ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งในพระราชดำริ โรงเรียนของในหลวง เป็นต้น มูลนิธิอานันทมหิดล หนึ่งในพระราชดำริ เพื่อพัฒนาคน พัฒนาชาติ ๑ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ
ในด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล หากในทุกๆ การกระทำ เป็นการกระทำที่เปี่ยมล้นด้วยความรู้สึก เต็มใจทำ willing to do willing to learn แล้วนั้น ย่อมก่อให้เกิดสิ่งที่เปี่ยมล้นในการทำงานที่ เต็มใจทำ willing to do willing to work ซึ่งล้วนแต่ก่อให้เกิดคุณค่าและคุณประโยชน์มหาศาลต่อแผ่นดิน ดั่งที่เหล่าอดีตนักเรียนทุนผู้มีโอกาสได้พระราชทานทุนอันเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงสุดในชีวิต แล้วได้กลับมาทำหน้าที่ดียิ่งแล้วต่อประชาชนชาวไทย แม้ ไ ม่ มี เ งื่ อ น ไ ข ข้ อ ผู ก พั น แ ต่ ป ร ะ ก า ร ใ ด ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูง สำหรับทุกข้อมูล ทุกตัวอักษรที่ต้องขอนำมาบันทึกไว้ใน ณ ที่นี่ ทั้งนี้การกระทำดังกล่าวล้วนเต็มไปด้วยด้วยความเคารพและความซาบซึ้งใจต่อเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง ๑ ถ้อยคำในรายการ หนึ่งในพระราชดำริ modern nine TV : http://hiptv.mcot.net/ . ๓ . . http://www.anandamahidolfoundation.or.th/index.php ๔ . . http://www.iloveking.net/Activities.aspx ๕ . . http://web.ku.ac.th/king72/2542-08/main4.htm ๖ . . http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q2/2007april20p3.htm ๗ . . http://www.ipst.ac.th/dpst/practice/unit4.html ๑๐ . . http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2007q2/2007april20p3.htm ๑๑ . . http://www.bangkokbiznews.com/scitech/2003/0320/index.php?news=p6.html ๑๒ . . http://thaiinsider.info/portal/content/view/469/12/ ๑๓ tp://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q4/2006november27p11.htm ๑๔http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=30933&menu=magazine,atwork ๑๖ . . http://gotoknow.org/blog/thaikm/44240 ๑๘ . . http://www.anandamahidolfoundation.or.th/index.php ๑๙ . . http://www.panoramaworldwide.com/program/theone/index.php และ http://hiptv.mcot.net/ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | ธันวาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |