ชี้เป้าแก้ปัญหาประเทศ กับโอกาสไปต่อธุรกิจเกษตรที่ส่งผลดีต่อเกษตรกรโดย "ศุภชัย เจียรวนนท์"
จากมุมมองของ "ศุภชัย เจียรวนนท์" ประเทศไทยจะไปต่อได้อย่างไร มีมุมมองที่น่าสนใจ ในด้านการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของประเทศ เช่น เรื่องแก้ปัญหาความยากจน ความเลื่อมล้ำ ยกระดับสู่เกษตร 4.0 นั้น มองเห็นว่า ภาคการเกษตรยังต้องช่วยตัวเองเยอะวิธีการปรับตัวให้เร็วที่สุด คือ ทำเรื่องน้ำ เพราะไม่มีประเทศไหนในโลกที่น้ำท่วมและภัยแล้งในประเทศเดียวกัน มีเพียงไทย ถ้าจัดการเรื่องของน้ำให้ดี เราจะพลิกระบบเกษตรกรรมให้พัฒนาต่อไป ควรใช้จังหวะนี้เร่งปฏิรูประบบเกษตรจาก 1.0 เป็น 4.0 โดยลงทุนเรื่อง “น้ำ” ถ้าบริหารจัดการ “น้ำ” ได้จะทำให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3 เท่า 5 เท่า หรือเป็น 10 เท่าก็ได้ คล้ายระบบไฟที่มี “สตอเรจ” สะสมไฟไว้ใช้ในช่วงพีก “น้ำ” ก็ไม่ต่างกันต้องมีพื้นที่กักเก็บ ถ้าพื้นที่เพาะปลูก 100 ไร่ ต้องมีพื้นที่เก็บน้ำ 6-10% หรือ 6-10 ไร่ โดยสร้างอ่างเก็บน้ำแล้วต่อท่อออกไปจะทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นแล้วมีองค์กรขึ้นมาบริหาร โดยเชื่อมโยงกับการตลาด มีสหกรณ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “เซอร์วิสฟาร์มมิ่ง” “นำศักยภาพการบริหาร นำเทคโนโลยีมาใช้ บริหารผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เกษตรกรก็จะมีรายได้ไปสร้างโครงสร้างพื้นฐานระดับชุมชมน ทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนดีขึ้น มีความมั่นคงในชีวิต ไม่ต้องเป็นหนี้เป็นสิน ส่งลูกหลานเรียนจนจบได้”
ในส่วนของโอกาสของภาคธุรกิจการเกษตร พบว่า จากรายงานประจำปี Winning in maturing markets ของ PwC ระบุว่า อุตสาหกรรมการเกษตรมีความสำคัญต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก โดยมากกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดของประเทศ ล้วนเป็นแรงงานที่มาจากภาคการเกษตร เปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ที่มีแรงงานในกลุ่มนี้เพียง 1-2% เท่านั้น
เหตุใดทำไม "ศุภชัย เจียรวนนท์" ถึงแนะให้พัฒนาแหล่งน้ำ และนำเทคโนโลยีมาใช้กับภาคเกษตรกรรมไทย ก็เพราะว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านเกษตรกรรมของไทยยังคงไม่เพียงพอที่จะรองรับการเติบโตในอนาคตได้ เพราะไทยมีระบบชลประทานเพียง 40% ของพื้นที่การเกษตรทั้งหมด ในขณะที่ผลผลิตธัญพืชมีปริมาณเพียง 3,600 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ ซึ่งน้อยกว่าผลผลิตโดยเฉลี่ยของโลกที่ราว 3,886 กิโลกรัมต่อเฮกตาร์ และปัจจุบันการนำ “เทคโนโลยี” เข้ามาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตร กลายเป็นแนวทางหนึ่งที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจ เห็นได้จากเม็ดเงินลงทุนในสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้นในปี 2558 ยกตัวอย่าง เช่น สหรัฐอเมริกา ที่มีเม็ดเงินลงทุนในด้านนี้สูงถึง 4,600 ล้านดอลล่าร์ เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2557 ตามด้วย ประเทศในเอเชียที่น่าจับตาอย่างจีน ในอันดับที่ 2 และอินเดีย ในอันดับที่ 8 เป็นต้น
จึงทำให้โอกาสในภาคธุรกิจการเกษตรไทย หากมีความเชี่ยวชาญ หรือมีศักยภาพด้านเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาคุณภาพต่างๆ สามารถเข้าไปเจาะตลาด อุตสาหกรรมการเกษตรได้ ตัวอย่าง เทคโนโลยีด้านเกษตรกรรม อย่างเช่น MVAS คือ การเป็น ‘ตัวเชื่อม’ เกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล และยังมีโครงสร้างพื้นฐานไม่เพียงพอ ให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่จำเป็น เช่น ข้อมูลสภาพอากาศ ข้อมูลของผู้ซื้อ และราคาในแบบเรียลไทม์
ซึ่งไม่เพียงแต่จะทำให้เกษตรกรสามารถปรับปรุงกระบวนการเพาะปลูกเท่านั้น แต่ยังเป็นการลดการพึ่งพา ‘พ่อค้าคนกลาง’ ในการกระจายสินค้าอีกด้วย นอกจากนี้ MVAS ยังรองรับกระบวนการกำจัดของเสีย ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรจัดการกระบวนการกำจัดของเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านบริการระบบการติดตาม (Tracking) และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)
จากตัวอย่างเบื้องต้นของเทคโนโลยี น่าจะฉายภาพให้ผู้อ่านเห็นถึง ‘โอกาสทางธุรกิจที่แฝงอยู่ในอุตสาหกรรมการเกษตรไทย’ ได้ชัดขึ้น สุดท้ายแล้ว หากมีกิจกรรม องค์ความรู้ที่ช่วยสนับสนุน ไม่ว่าจะมาจากรัฐบาล ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน หรือท่านใดสามารถเรียนรู้ ปรับตัว นำโอกาสในการนำเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้สนับสนุนองค์ความรู้กับเกษตรกรไทย แน่นอนว่าโอกาสของแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐานของประเทศก็จะเกิดขึ้นได้ เพื่อให้ทันในยุคของการแข่งขันบนโลกดิจิทัลหมุนเร็วเฉกเช่นทุกวันนี้
--------------------------------------------- |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | เมษายน 2021 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |