เปิดงานวิจัยมาบตาพุด ความล้มเหลวของการเติบโตอย่างยั่งยืน (1) ข่าวใหญ่กรณีระงับการลงทุน 76 โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเมื่อปี 2552 ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับนักลงทุนเป็นอย่างมาก ขณะนี้แม้จะคลี่คลายไปแล้ว แต่การเยียวยาปัญหามาบตาพุดยังคงไม่รู้จบ ที่ผ่านมากลุ่มเพื่อนชุมชนนำโดย 5 องค์กรยักษ์ใหญ่ซึ่งลงทุนในมาบตาพุดอาสาเข้าไปดูแลชุมชน ล่าสุด ศ.ดร.ฉวีวรรณ สายบัว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถอดบทเรียนมาบตาพุด ในหัวข้อ การกำหนดและการดำเนินนโยบายเพื่อสาธารณประโยชน์:กรณีนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมมาบตาพุด เสนอต่อศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2554 งานวิจัยชิ้นนี้ทำขึ้นหลังจากชมรมสิ่งแวดล้อม สภาทนายความ สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนและสมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มาบตาพุดได้ยื่นฟ้อง 8 หน่วยงานของรัฐ ว่าดำเนินการไม่ชอบด้วยกฏหมายมาตรา 67 วรรค 2 แห่งรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2550 ต่อศาลปกครอง ให้รับผิดชอบต่อผลกระทบอย่างรุนแรงทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพอนามัย ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่มาบตาพุดและพื้นที่ใกล้เคียง ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเมื่อ 29 กันยายน 2552 ให้หน่วยงานของรัฐระงับโครงการลงทุน76โครงการชั่วคราวจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2552 ระงับ 65 โครงการ มูลค่าการลงทุน ขณะที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น แก้ปัญหา ด้วยการตั้งคณะกรรมการ 4 ฝ่าย(ตัวแทนจากภาคราชการ ภาคเอกชน ผู้ทรงคุณวุฒิและภาคประชาชน) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2552 โดยมีนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเพื่อหาทางออก แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีคำตอบสำหรับชาวมาบตาพุดและชาวระยองต่อการแก้ปัญหามลพิษ ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม การแย่งชิงน้ำ รวมทั้งผังเมืองที่มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้ประโยชน์ไปให้ภาคอุตสาหกรรมแต่อย่างใด บริหารผิด-จัดสรรทรัพยากรผิด ทั้งนี้ได้ชี้ให้เห็นถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยที่เป็นมาจนถึงปัจจุบัน ชี้ให้เห็นถึงรากของปัญหา ดังนั้นเพื่อความเข้าใจปัญหามาบตาพุด จึงต้องเข้าใจรากของปัญหาโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ดร.ฉวีวรรณได้ชี้ให้เห็นว่าระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจเสรีหรือระบบเศรษฐกิจตลาด แต่ในทางความเป็นจริงปัญหาโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจไทยเป็นโครงสร้างแบบผูกขาดมากกว่า กล่าวคือกลไกตลาดหรือพลังตลาดไม่ทำงาน เพราะมีการบิดเบือนตลาดเกิดขึ้นมาก ปัจจัยหลักมาจากความมั่งคั่งและการกระจายความมั่งคั่งที่กระจุกตัวอยู่ในมือของคนข้างบนซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อยของประเทศ และการที่เศรษฐกิจเติบโตมามากแล้วแต่ไม่ได้ทำให้ประชาชนคนไทยธรรมดาโดยทั่วไปได้อยู่ได้กินอะไรกันมากนัก คนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงยากจนอยู่เช่นเดิม ภาครัฐ-ราชการตัวถ่วงเศรษฐกิจ พร้อมกันนี้เมื่อเผชิญปัญหาข้อติดขัดและความขัดแย้งทางความคิดหรือผลประโยชน์ก็ใช้วิธีบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น ไม่หักด้ามพร้าด้วยเข่าหรือไม่หักหาญน้ำใจกัน ทำให้ไม่สามารถยกระดับคุณภาพการบริการให้ทันกับความต้องการตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทั้งภายในและภายนอก ประกอบกับระบบราชการไทยเป็นระบบที่ยึดหน่วยงานมากกว่าตัวงานหรือผลงานที่ต้องรับผิดชอบ ขาดการบูรณาการในการทำงานร่วมกันเพื่อสาธารณประโยชน์ ดังนั้นกรณีปัญหามาบตาพุด การดำเนินการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านต่างๆที่เกิดขึ้นภาครัฐมุ่งเน้นไปแก้ปัญหามลพิษและอุบัติภัยซึ่งเป็นปัจจัยกำหนดทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้ตระหนักอย่างเพียงพอถึงผลได้และผลเสียที่จะเกิดขึ้นแก่ ประชาชน แต่ละกลุ่มแต่คนละเหล่า รวมทั้งขาดการตระหนักและเรียนรู้ถึงบทเรียนและประสบการณ์ของประเทศอุตสาห กรรมพัฒนาแล้ว ว่าการเติบโตของอุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดปัญหามลพิษและผลกระทบในทางลบอื่นๆ ตามมาอย่างไร เพื่อที่จะได้เตรียมการในการมียุทธศาสตร์และการวางนโยบายอย่างไรที่จะป้องกันปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นหรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด แม้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องดูเหมือนจะแสดงออกมาด้วยคำพูดและด้วยการเขียนออกมาเป็นนโยบายวางเอาไว้ในการให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ตามมาจากการมีอุตสาหกรรม แต่ปัญหาคือมันมักจะไม่ได้แปลงเป็นนโยบายมาสู่การปฏิบัติ และแม้จะปฏิบัติบ้างแต่ก็มักจะมีปัญหาความมีประสิทธิภาพและความมีประสิทธิผลของการดำเนินการในทุกระดับทุกส่วน โดยมาจากปัญหาระดับรากฐานที่ดำรงอยู่มานานโดยตลอดในระบบราชการ อันได้แก่
ประเด็นปัญหาที่สำคัญที่สุดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่มาบตาพุด 24-25 ปีก่อนมีการวางแผนสร้างมาบตาพุดโดยออกแบบแปลนของโครงการถูก ออกมาค่อนข้างดี มีการแบ่งชัดเจนว่าตรงไหนจะเป็นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม ตรงไหนเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยของชุมชน และในระหว่างพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมและพื้นที่อยู่อาศัย จัดวางเอาไว้เป็นพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่เขตกันชน (buffer zone) แต่เมื่อถึงขั้นปฏิบัติกลับไม่เป็นไปตามที่วางแผนเอาไว้ มีการขยายโรงงานใหม่และสร้างโครงการและกิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ๆเข้าไปโดยบุกรุกพื้นที่ที่เคยทำเป็นเขตกันชน (ตามเกณฑ์ต้องห่างกันไม่ต่ำกว่า 1 กิโลเมตร )และยังรุกล้ำไปยังเขตสาธารณะ พื้นที่เกษตร และเข้าไปสู่พื้นที่ที่อยู่อาศัยของชุมชน ปัจจุบันพื้นที่กันชนแทบจะไม่มีแล้ว ซึ่งการเปลี่ยนแปลงผังเมืองใหม่ทำได้ด้วยความเห็นชอบหรือด้วยการสมรู้ร่วมคิดของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นบ้าง เจ้าหน้าที่รัฐบาลกลางบ้าง ในด้านสังคมก็มุ่งเน้นที่การบริการสาธารณสุข กับการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนา ขณะที่ปัญหาอันเกิดจากแรงงานอพยพ ประชากรแฝง โครงสร้างชุมชนความขัดแย้งจากการพัฒนา ไม่มีแนวทางการแก้ปัญหากำหนดเอาไว้ โดยเฉพาะปัญหาผลกระทบในแง่ลบทางด้านเศรษฐกิจและแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่จะทำให้คนไทย บริษัทไทย และอุตสาหกรรมไทยพึ่งพาตนเองได้มากขึ้นและลดการพึ่งพาต่างประเทศลงได้เรื่อยๆ ในทุกด้านในที่สุด ความเป็นมนุษย์ถดถอย งานวิจัยระบุว่าแม้รายได้ต่อหัวของจังหวัดระยองจะสูงสุดที่สุดของประเทศ แต่เมื่อเปรียบเทียบดัชนีความก้าวหน้าของมนุษย์ที่จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานสหประชาชาติพบว่าคนในจังหวัดระยองไม่ได้มีการพัฒนาในมิติอื่นๆ ดีขึ้น เป็นต้นว่าภาระหนี้สินของครัวเรือน สัดส่วนคนยากจน อัตราการว่างงาน อัตราผู้ป่วยเอดส์รายใหม่สูงมาก คิดเป็น 15.3 คนต่อประชา กร 1 แสนคน สูงเป็นอันดับ 5 ของประเทศ คดีประทุษร้าย เด็กถูกทอดทิ้ง คดียาเสพติด สัดส่วนประชากรที่ได้รับการศึกษา และอัตราครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่ได้ช่วยให้คุณภาพชีวิตผู้คนดีขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ที่มาบตาพุดและจังหวัดระยอง ได้สร้างผลกระทบ ผลในทางที่เสียหาย หรือต้นทุนตกอยู่กับคนในพื้นที่ระยองอย่างมหันต์ รายได้ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมไม่ได้มาช่วยเยียวยาปัญหาและผลกระทบเลย ดังรายได้ของจังหวัด ในปี 2549 มีรายได้รวม 438,638 ล้านบาท จัดเก็บภาษีได้ 83,494 ล้านบาท หรือ 19% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัด และส่วนใหญ่เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีน้ำมันถึง 82.1% ของภาษีทั้งหมด (68,546 ล้านบาท) ขณะที่ภาษีทางตรงเก็บได้น้อยมาก 1.06% สาเหตุน่าจะมาจากการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดระยองได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกว่า 80% ของบริษัทที่มาลงทุนจดทะเบียนที่กรุงเทพมหานคร ภาษีจึงจ่ายที่กรุงเทพฯ ขณะที่ปี 2549 จังหวัดระยองได้งบประมาณรายจ่ายจากภาครัฐ 11,870 ล้านบาท เท่ากับ 14.22% ของภาษีที่จังหวัดเก็บได้และเท่ากับ 2.71% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในจังหวัดเท่านั้น นี่คือข้อเท็จจริงของจังหวัดที่รายได้ต่อหัวสูงสุดของประเทศไทยและเป็นศูนย์อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของประเทศ ขอบคุณที่มา : ไทยพับลิก้า, www.thaipublica.org |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ชีวิตและทะเล | ||
![]() |
||
ภาพชีวิตคนอันดามัน: oนอกเหนือความสวยงามของธรรมชาติ ยังมีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ |
||
View All ![]() |
ดาวลดา | ||
![]() |
||
ดาวลดา งานเพลงรำลึกทัศนีย์ รุ่งเรือง - เพื่อนที่แสนดีของพี่น้องจะนะ สงขลา |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |