เปิดงานวิจัย มาบตาพุด ระยองรองรับมลพิษไม่ไหวแล้ว (2) แม้ความเป็นจริงที่ว่าการที่เราจะมีอยู่มีกิน หรือการที่เราจะมีกินมากขึ้น ก็ต้องหากินจากอุตสาหกรรม เพราะอุตสาหกรรมสามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม นำไปสู่ระดับที่สูงขึ้นของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่การขยายการเติบโตของอุตสาหกรรมก่อให้เกิดผลกระทบข้างเคียงในทางลบด้วย จากงานวิจัย รศ.ดร.ฉวีวรรณ สายบัว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ถอดบทเรียนมาบตาพุด ในหัวข้อ การกำหนดและการดำเนินนโยบายเพื่อสาธารณประโยชน์ : กรณีนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมมาบตาพุด เสนอต่อศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2554 รายงานวิจัยระบุว่าหลังจากนิคมอุตสาหกรรมมาบพุดได้ถูกตั้งขึ้นเพียงไม่กี่ปี หลังจากนั้น (ปี 2531) ทุกหน้าแล้งชาวมาบตาพุดพากันเดือดร้อนเพราะโรงงานแย่งน้ำใช้ ผลตรวจสอบของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าแหล่งน้ำจืด ลำคลอง และน้ำบาดาลในระยองปนเปื้อน บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งเอาขยะพิษ ถังเคมีอันตรายโยนทิ้งข้างถนน หรือไม่ก็เอา ชาวบ้านมาบตาพุดเกิดอาการเจ็บป่วยด้วยโรคใหม่ๆ ที่มากับโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น สถิติผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกชนิดในอำเภอเมืองจังหวัดระยองที่มีโรงงานอุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่อย่าง ในงานวิจัยได้ตั้งคำถามว่าทำไมปัญหาความเดือดร้อน ความทุกข์ของประชาชนไม่ค่อยได้รับการไข ดังนั้นการเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้านชุมชนในพื้นที่มาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียงที่มองเห็นว่าขนาดของพื้นที่ และศักยภาพของพื้นที่ในการรองรับมลพิษแทบจะเต็มแล้ว ปัจจุบันมีโรงงานกว่า 300 โรงในนิคมมาบตาพุด เพราะฉะนั้นหากในพื้นที่หนึ่งๆ มีโรงงานจำนวนมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ และมีการปล่อยมลพิษ แม้จำนวนมลพิษที่ปล่อยออกมาจะได้มาตรฐานการปล่อยมลพิษก็ตาม แต่เมื่อมารวมกันในพื้นที่หนึ่งๆ อาจจะเกินกำลังความสามารถของธรรมชาติที่จะรองรับได้ในพื้นที่นั้นๆ และทำให้ระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตเลวลง นี่คือประเด็นปัญหาที่ไม่มีใครพูดถึงว่า ทำไมถึงปล่อยให้มีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมากเกินกว่าพื้นที่จะรองรับได้ และจะแก้ปัญหากันอย่างไร ภาพจากเนชั่นกรุ๊ป น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 4 มีนาคม 2552
จากเอกสารอ้างอิง เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์หรือ MSDS พบว่าในบรรยากาศของมาบตาพุดมีสารอินทรีย์ระเหยง่าย อย่างน้อย 55 ตัว และในจำนวนนี้มีสาร 45 ตัวที่มีอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกายเช่น ตับ ไต การทำงานของหัวใจ ระบบประสาท และพบว่าสารที่เป็นอันตรายต่ออวัยวะในร่างกายของคนมากที่สุดคือคลอโรเบนซิน จะส่งผลกระทบต่อไต ตับ ปอด ไขกระดูก อัณฑะ ต่อมไทมัสและม้าม ยิ่งไปกว่านั้นสารวีโอซีบางชนิดได้รับการยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วนก๊าซพิษ มาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง พบว่าโรงงานและโรงไฟฟ้า 4-5 โรงในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และพื้นที่ใกล้เคียง เป็นผู้ก่อมลพิษประเภทนี้มากที่สุด โดยรวมกันแล้วคิดเป็นสัดส่วนถึง 70-80% ของการปล่อยมลพิษของโรงงานทั้งหมดตามที่ได้รับอนุญาตในรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามจากการตรวจวัดตั้งแต่เดือนกันยายน 2549 ถึงเดือนธันวาคม 2553 กรมควบคุมมลพิษ แม่น้ำระยองรับเต็มๆ ส่วนคลองรับน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณของแข็งละลาย (total dissolved solids) หรือ TDS สูงมาก เช่น คลองซากหมาก 5,149-10,917 มิลลิกรัมต่อลิตร คลองบางเปิด 11,035 มิลลิกรัมต่อลิตร และคลองบางกระพรุน 2,480 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้งนี้ค่ามาตรฐานปริมาณของแข็งละลายน้ำรวมอยู่ทึ่ 3,000 มิลลิกรัมต่อลิตร อุบัติภัยสารเคมี ขณะที่ขีดความสามารถในการจัดการสารเคมี และวัตถุมีพิษภายนอกโรงงานกลับต่ำกว่ามาตรฐานมาก พบว่ามีแหล่งรองรับและบำบัดกากของเสียเหล่านี้ค่อนข้างจำกัดและขาดประสิทธิภาพที่เพียงพอ ในทางปฏิบัติจึงมักพบว่ามีการลักลอบขนขยะพิษ หรือสารเคมีอันตรายไปทิ้งตามที่สาธารณะเป็นประจำ ส่งผลให้พื้นที่มาบตาพุดกลายเป็นพื้นที่เสี่ยงกับอุบัติภัยสารเคมี และเป็นที่ลักลอบทิ้งของเสียอยู่เสมอ ตัวอย่างของอุบัติภัยจากสารเคมี เช่นในช่วงปลายปี 2550 ถึงต้นปี 2551 พบว่าเกิดอุบัติเหตุจากสารเคมีในโรงงานมาบตาพุดที่เป็นข่าว 4 ครั้ง ครั้งที่1 ที่โรงงานบริษัทแพรกซ์แอร์ (Praxair) เป็นโรงงานผลิตน้ำแข็งแห้ง ตั้งอยู่หลังปั๊มปตท. ตำบลมาบตาพุด เกิดเหตุท่อและถังแก๊สแอมโมเนียระเบิด เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2550 ครั้งที่ 2 โรงงานไทยออร์แกนนิกเคมิคัลส์ ในเครือบริษัทอดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลล์ ตั้งอยู่ในนิคมเหมราชตะวันออก เกิดเหตุก๊าซคลอลีนรั่วไหลเมื่อวันที่ 27 ก.พ. 2551 ทางนิคมฯ ไม่มีการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ชุมชนใกล้เคียงทราบ ครั้งที่ 3 โรงงานพีทีที ฟีนอลในเครือปตท. อยู่ในนิคมเหมราชตะวันออกเกิดเหตุสารคิวมีนรั่ว ไหลใน ครั้งที่ 4 โรงงานพีทีที ฟีนอลในเครือปตท.ได้เกิดเหตุระเบิดทำให้มีสารเคมีรั่วไหลเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2551 เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ได้มีการรายงานข่าวแต่อย่างใด นอกจากนี้ 6 มีนาคม 2544 รถบรรทุกบริษัทเซออนเคมีคอล ซึ่งบรรทุกสาร Butadiene lafinate จำนวน 16 ตัน พลิกคว่ำที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เจ้าหน้าที่ต้องปิดกั้นถนน แต่เนื่องจากสารเคมีไม่เกิดการรั่วไหลออกจากภาชนะจึงไม่เกิดความเสียหาย 27 ส.ค.2550 มีการลักลอบทิ้งกากของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม บริเวณป่าริมถนนสายบายพาส 36 ระหว่างหลักกิโลเมตร 35-36 เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงไปทั่วบริเวณ 6 ก.พ. 2551 มีการลักลอบทิ้งสารเคมีไม่ทราบชนิดจำนวนมาก มีลักษณะสีขาวข้นในซอยกอไผ่ ต.เนินพระ เขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด ชาวบ้านเจ็บป่วย 4 รายมีอาการเจ็บคอ หายใจไม่สะดวก เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย มีผื่นขึ้นตามตัวและแสบผิวหนัง สถิติในปี 2546 และปัจจุบันระบุว่าจังหวัดระยองเป็นจังหวัดที่มีปริมาณของเสียอันตรายมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ชายหาดบริเวณนิคมมาบตาพุดที่ถูกกัดเซาะ ภาพจาก oknation.net
ทั้งนี้มีการฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เรียกร้องสิทธิในระบบนิเวศน์ที่สูญเสียไปจากการถมทะเล ศาลปกครองจังหวัดระยองได้พิพากษาให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ต้องชำระค่าตอบแทนการปลูกสิ่งก่อสร้างล่วงล้ำลำน้ำ(พื้นที่ถมทะเล)ของโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมค่าปรับตั้งแต่ปี 2537-2550 รวมเป็นเงินกว่า 400 ล้านบาท ให้กับเทศบาลเมืองมาบตาพุด สะท้อนถึงความเป็นจริงแห่งการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปัจจุบันมีภาคเอกชนจำนวน 10 ราย ตั้งอยู่ในพื้นที่ถมทะเล คือ 1.บริษัทไทยพรอสเพอริตี้เทอมินอล ในรายงานระบุว่าผลจากการทำลายทรัพยากร ภาครัฐแก้ปัญหาโดยการฟื้นฟูและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ คลองสาธารณะในพื้นที่เป้าหมาย การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และการพัฒนาชายป่าชายเลน การพัฒนาแหล่งน้ำในลักษณะแก้มลิง แต่ปัญหาของนิคมมาบตาพุดยังคงอยู่ ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เข้าไปเยียวยา อาทิ กลุ่มเพื่อนชุมชน ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของ 5 บริษัทใหญ่เป็นต้น นี่คือผลที่ระยองได้รับจากการพัฒนาเป็นเมืองอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาล ขอบคุณที่มา : ไทยพับลิก้า, www.thaipublica.org |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ชีวิตและทะเล | ||
![]() |
||
ภาพชีวิตคนอันดามัน: oนอกเหนือความสวยงามของธรรมชาติ ยังมีชีวิตผู้คนที่อาศัยอยู่ ณ ที่แห่งนี้ |
||
View All ![]() |
ดาวลดา | ||
![]() |
||
ดาวลดา งานเพลงรำลึกทัศนีย์ รุ่งเรือง - เพื่อนที่แสนดีของพี่น้องจะนะ สงขลา |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |