*/
Oh What A Night | ||
![]() |
||
เพลงจาก Jersey Boys,West End, London |
||
View All ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 |
ปัญหาภายในชาติของอียิปต์ที่ประทุขึ้นช่วงปลายเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ดูห่างไกลจากประเทศนอกเขตทะเลเมดิเตอเรเนียนที่ได้แต่ร่วมภาวนาให้ความสงบของอียิปต์กลับคืนมาโดยเร็ว คนที่ผ่านเหตุการณ์ไม่สงบในชาติตัวเองมา ย่อมอดคิดไม่ได้ว่าชนวนของเหตุการณ์อาจมาจากการแบ่งแยกทางความเห็นเรื่องการปกครองประเทศ ... หรือสาวลึกไปถึงความเหลื่อมล้ำ การทุจริต เรื่องในบ้านที่จัดการได้เบ็ดเสร็จจากภายใน ทว่าเรื่อง ในบ้าน ของแต่ละชาติไม่ได้จบลงสวยงามเสมอไป ไม่ว่าจะเป็นความวุ่นวายในอิหร่าน (พ.ศ.2521-2522) Tiananmen Square (พ.ศ.2532) หรือรัสเซีย (พ.ศ.2534) การวิเคราะห์ของบางสำนักข่าวต่างชาติจึงเปิดประเด็นว่าความไม่สงบครั้งนี้มีโอกาสนำไปสู่สงครามในโลกอาหรับ โอกาสและความเป็นไปได้มีมากเพียงไหนคงต้องติดตามต่อไป แต่การประมวลเหตุการณ์ในอดีตได้ข้อสังเกตที่น่าสนใจ อันอาจส่งผลตามมาที่น่าสนใจยิ่งกว่า จุดเริ่มต้น ณ เวลาปัจจุบัน ที่สะเทือน Arab World Tunisia: ความไม่สงบเริ่มขึ้นประมาณสัปดาห์แรกของปี พอวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดี Zine al-Abidine Ben Ali ปิดฉากการครองประเทศตั้งแต่พ.ศ. 2530 ด้วยการลี้ภัยออกนอกประเทศ Day of Revolt: 25 มกราคม พ.ศ.2554 ประชาชนอียิปต์รวมตัวชุมนุมต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ Hosni Mubarak ซึ่งครองอำนาจมาตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เหตุการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นตัวชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เปลี่ยนแล้วจะนำประเทศไปในทางไหนเป็นเรื่องเกินการคาดเดา Jordan: 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 King Abdullah ประกาศล้มรัฐบาลและให้นายกรัฐมนตรีคนใหม่เตรียมจัดการปฏิรูปการปกครอง ก่อนที่จะมีการประท้วงใดๆ มุสลิมฝ่ายตรงข้ามไม่ต่อต้านคิงอับดุลลาห์ แต่อยากได้นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้ง Yemen: 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดี Ali Abdullah Saleh ประกาศลงจากตำแหน่ง โดยไม่มีการผ่องถ่ายอำนาจสู่รุ่นลูกชาย ด้วยวลีง่ายๆ ว่า ไม่ต่อเวลา...ไม่สืบทอด...ไม่ปรับใหม่ Algeria: ประเทศตกอยู่ภายใต้ภาวะฉุกเฉินที่ห้ามการชุมนุมในเมืองหลวงมาตั้งแต่ พ.ศ. 2535 ความเคลื่อนไหวจึงกรุ่นอยู่รอบนอกในเรื่องของปากท้องเป็นหลัก รัฐบาลนี้อยู่ในอำนาจมาตั้งแต่ พ.ศ. 2542 Morocco: มีปัญหาภายในมากพอกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะเรื่องของการทุจริต แต่ใช้นโยบายคุมเข้มการแสดงออกของประชาชนแบบเดียวกับอียิปต์และอัลจีเรีย จึงยังคุมสถานการณ์ความเคลื่อนไหวของประชาชนได้ เรื่องราวในอดีต เรื่องราวของประเทศบนชายฝั่งเมดิเตอเรเนียนมีที่มาซับซ้อนในแง่ภูมิศาสตร์ ศาสนา และอิทธิพลของประเทศมหาอำนาจ และต้องย้อนเวลากว่าครึ่งศตวรรษไปตั้งต้น เรื่องยุ่งยากอยู่แล้ว เล่าอย่างง่ายให้เห็นภาพน่าจะเหมาะที่สุด ตะวันออกกลางจุดนี้ เป็นยิว(Jewish) อยู่ชาติเดียวคืออิสราเอล ซึ่งมีชายแดนฝั่งซ้ายติดกับอียิปต์ และฝั่งขวาเป็นแนวกับจอร์แดน ด้านเหนือชนกับเลบานอนและบางส่วนของซีเรีย ประเทศเพื่อนบ้านของอิสราเอลได้รับอิทธิพลจากสองชาติยุโรป ฝ่ายแรกคือ อียิปต์ จอร์แดน และซาอุดิอาเรเบีย (ซึ่งติดกับจอร์แดน) อยู่ภายใต้การควบคุมของอังกฤษอยู่นาน อีกฝ่ายคือเลบานอนและซีเรียเป็นฝรั่งเศส ที่ตั้งของอิสราเอลนั้น เดิมถือเป็น Holy Land พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของผู้นับถือศาสนาที่สืบเนื่องมาจาก Abraham อันได้แก่ Judaism (ยิว), Christianity, Islam และ Baháí มีชื่อตามไบเบิ้ลว่า Canaan และยังรู้จักกันในอีกหลายชื่อทั้ง Palestine และ Kingdom of Jerusalem ผู้คนที่อยู่อาศัยมีหลากหลายเป็นลักษณะชนเผ่า คำว่า Palestinian ปัจจุบันนี้สื่อความหมายถึงชาวมุสลิมที่อยู่ในบริเวณเดิมที่เรียกว่า ปาเลสไทน์ แต่ในคนรุ่นบรรพบุรุษมีทั้งมุสลิมและยิว บริเวณที่เรียกว่า West Bank รูปร่างก้อนหัวใจคร่อมตอนเหนือของทั้งอิสราเอลและจอร์แดนเอาไว้คือ ดินแดนปาเลสไทน์ (Palestine area) บริเวณปฐมเหตุแห่งการพิพาทอันยาวนาน เพราะขณะที่ไบเบิ้ล (Bible) ระบุว่าเป็นพื้นที่ของยิว พระคัมภีร์โกราน (Koran) ก็บอกว่าเป็นดินแดนของมุสลิมด้วย หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อสนธิสัญญาในการดูแลปาเลสไทน์ของบริเทนจบลง ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นอิสระแก่ตนเองของชาติอาหรับ หลายชาติยังอยากคงความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านความมั่นคงอยู่ เพราะความขัดแย้งระหว่างยิวและอาหรับไม่เคยหมดสิ้น จนกรณีพิพาทลามไปเป็นสงครามกลางเมือง (Arab-Israeli War 1948) ที่วันหนึ่ง สหรัฐอเมริกาก็เข้ามาแทรกแซง และสุดท้ายกำหนดพื้นที่นี้ว่าเป็น State of Israel แนวพรมแดนของอียิปต์และอิสราเอล มีพื้นที่เส้นยาวเลียบทะเลเรียกว่า Gaza Strip เดิมทีเมื่ออิสราเอลกลายเป็น ยิว พวกมุสลิมก็ขยับมาอยู่กันตรงนี้ อียิปต์ก็ถือครองพื้นที่ไปเรื่อยเพราะเป็นที่ชุมชนของคนมุสลิม และออกจะหวงแหนในฐานะที่เป็นท่าเรือใหญ่ ไม่เช่นนั้น ไล่ไปฝั่งซ้ายอียิปต์จะไม่มีท่าเรือใช้ไปอีกไกล จนปี พ.ศ.2510 เกิดสงครามหกวันระหว่างอิสราเอลและอียิปต์ อิสราเอลชนะ ได้ถือครอง Gaza Strip ภายหลังเมื่อเกิดสันติภาพระหว่างอิสราเอลและอียิปต์ อิสราเอลจึงให้อียิปต์ใช้พื้นที่ Gaza Strip ด้วยเงื่อนไขที่อียิปต์ต้องคุมรอยต่อช่วงสั้นของชายแดนระหว่างกันตรงนั้นให้ เพราะศัตรูถาวรของอิสราเอลคือ PLO (Palestinian Liberation Organization) และ Hamas (ซึ่งหลายชาติกำหนดให้เป็นขบวนการก่อการร้าย) ใช้พื้นที่ตรงนั้นเป็นฐานเพื่อลักลอบขนอาวุธเข้า Gaza มานานแล้ว ทั้งตรงรอยต่อบนพื้นดินและบางครั้งขุดอุโมงค์ด้วยซ้ำ อิสราเอลป้องกันตัวเองจากการลักลอบทางน้ำและทางอากาศได้ดีแล้ว เมื่ออียิปต์ตกลงด้วย จึงตรึงความปลอดภัยทางพื้นดินไว้ได้อีกหนึ่งด้าน อิสราเอลนั้นมีภาระต้องกันศึกจากรอบด้าน ก้อนดวงใจตรง West Bank ก็ไม่ไกลจากเมืองหลวง Tel Aviv ถ้าซีเรียที่โผล่มาจากสุดปลายตะวันออกเฉียงเหนือตั้งขีปนาวุธขึ้นเมื่อไหร่ ก็ยิงตรงเข้าถล่มได้ทันที เมื่ออียิปต์ประสบวิกฤติทางการเมืองอยู่ ณ ขณะนี้ อิสราเอลจึงออกโรงสนับสนุนมูบารัก เพราะถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในอียิปต์ขึ้น ข้อตกลงซึ่งสร้างความปลอดภัยให้หนึ่งด้านชายแดนย่อมกระทบไปด้วย หากสถานการณ์ในอียิปต์เลวร้ายลงไปเรื่อย ปฏิกิริยาของ al-Ikhwan al-Muslimun หรือ Muslim Brotherhood องค์กรมุสลิมที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดของอียิปต์ ซึ่งอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับมูบารักย่อมถูกจับตา Muslim Brotherhood นี้เคารพระบอบประชาธิปไตย ปฏิเสธความรุนแรง มุ่งมั่นในการสร้างสาธารณกุศล แต่ขณะเดียวกันก็ยึดมั่นในหลักการที่สำคัญยิ่ง คือการสร้างรัฐที่มีการปกครองโดยใช้กฎหมายแห่งอิสลาม หรือ Sharia Law และมีคำขวัญที่เป็นที่รู้กันทั่วโลกว่า Islam is the solution. การเปลี่ยนแปลงทางใดก็ตามของอียิปต์ย่อมส่งผลต่อสมดุลและความมั่นคงของโลกอาหรับและมุสลิม จึงเป็นเหตุให้ทุกฝ่ายเฝ้าดูเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอิสราเอลที่มีความพร้อมในการสร้างปฏิกิริยาโต้ตอบเพื่อเสถียรภาพความมั่นคงของตนเอง ความเดือดร้อนของอิสราเอลก็ถูกจับตาโดยสหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกาจำเป็นต้องเฝ้าดูและช่วยเหลืออิสราเอลอย่างภักดี เพราะชาวยิว ที่ต้องร่อนเร่หาแผ่นดินเป็นของตัวเองมานานนับศตวรรษนั้น ไปปักหลักปักฐานอยู่เป็นจำนวนมากในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกอย่างเมืองนิวยอร์ค ทุกวันนี้ชาวอเมริกันเชื้อสายยิวจำนวนไม่น้อยกลายมาเป็นผู้มั่งคั่งและมีอิทธิพลในวงธุรกิจ สังคมและการเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา ความไม่สงบในวันนี้ของอียิปต์ที่เริ่มต้นดูจะเป็นเพียงแค่ความวุ่นวายภายในของหนึ่งประเทศในโลกอาหรับ ได้กลายมาเป็นปัญหาใหญ่พอที่จะดึงประเทศมหาอำนาจทั้งหลายให้เกาะติดความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด จึงเป็นเรื่องยากที่คนทั่วไปจะเลี่ยงผลกระทบอันอาจเกิดขึ้น และคงต้องร่วมวงติดตามเหตุการณ์ต่อไป * * * * * * * * * * * * อ่านเพิ่ม BBC, Telegraph, Guardian Map: Collins WORLDATLAS |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |