*/
Oh What A Night | ||
![]() |
||
เพลงจาก Jersey Boys,West End, London |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
Dublin เมืองหลวงของไอร์แลนด์ อยู่ขอบเกาะด้านตะวันออกที่มีเพียง Irish Sea ขวางกั้นกับเกรทบริเทน เมืองเล็กแห่งนี้ ผ่านกาลเวลาแห่งการต่อสู้ จลาจล การนองเลือด และสงครามกลางเมือง ความช่างจดช่างจำอันเป็นลักษณะประจำชาติทำให้บันทึกของอดีตมีอยู่ทุกรูปแบบ เป็นงานประพันธ์ บทกวี ร้อยแก้ว เพลง บทละคร และประติมากรรม ที่ต่างสะท้อนหลากอารมณ์ความรู้สึก ทั้งปลุกเร้า ท้อแท้ เสียดสี ขบขัน ชิงชัง พื้นที่ขนาดแค่ไม่ถึงหนึ่งในสิบของกรุงเทพมหานคร ดูคับแคบไปด้วยร่องรอยความเป็นมาของชาติ ยากต่อคนไอริชจะชี้ชัดว่าผลงานใดคือที่มาของรางวัลเกียรติยศ City of Literature จะเป็นความศิวิไลซ์ในจารึกของ Book of Kells เมื่อหนึ่งพันปีเศษ หรือโนเบิลไพรซ์สาขาวรรณกรรมชิ้นแรกเมื่อเกือบหนึ่งร้อยปีก่อน จนมาถึง 4 รางวัลในวันนี้ เพราะความสามารถในการขีดเขียนของคนไอริชนั้นโยงใยอยู่ในทุกส่วนชีวิตของผู้คน กระทั่งในความนิ่งของสายน้ำ Liffey ฉากหลังที่สงบเยือกเย็นของดับลิน กว่าจะก้าวสู่ฐานะเมืองแห่งวรรณกรรมโลก จึงมีนักคิด นักปรัชญา นักประวัติศาสตร์ และนักต่อสู้จำนวนมาก ร่วมกันจดและจัดแต่งมรดกทางวัฒนธรรมไว้ให้แก่ชาติ สร้างสามัญสำนึกที่หวงแหนเสรีภาพและความเป็นชาติ แก่ประชาชน เกิดเป็น Open book เล่มโตให้โลกได้อิ่มเอมในอรรถรสของงานประพันธ์ทรงคุณค่า และศึกษาหาประโยชน์จากประสบการณ์ของผู้ผ่านวิกฤติในชาติมาแล้ว ทั่วดับลิน จึงมีมุมสงบให้บุคคลเหล่านี้เฝ้ามองโลกที่หมุนเวียนเปลี่ยนไป และให้ผู้ผ่านมาแวะทักทาย จาก Trinity College Dublin Oliver Goldsmith (พ.ศ. 2273 - 2317) และ Edmund Burke (พ.ศ. 2272-2340) มา Trinity College Dublin ปีเดียวกัน ต่อมาก็ข้ามไปอยู่เกรทบริเทนเหมือนกัน แต่ Goldsmith ทิ้งสิ่งที่เรียนด้านศาสนา กฎหมายและแพทย์ มาเป็นนักเขียน ส่วน Burke เป็นทั้งนักคิด นักเขียน และนักการเมือง ผู้วางรากฐานการเมืองแนวอนุรักษ์นิยมควบกับการเป็นตัวแทนเสรีนิยม สร้างงานเด่นให้คนจำได้ดี ที่ไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อเขียนบันทึก Reflections on the Revolution in France ก็เป็นหนังสือขายดีที่สุดทันทีที่ออกวางขายแม้ราคาจะสูงกว่าหนังสือการเมืองอื่นในยุคนั้น ยิ่งฉบับภาษาฝรั่งเศสขายหมดทันที 2,500 เล่มในวันเดียว ต้องพิมพ์เพิ่มอีกถึงสิบครั้งตั้งแต่ช่วงการปฏิวัติยังไม่จบสิ้น ก็คงไม่น่าแปลกใจ หากได้ยินคำคมของ Burke ว่า You may have subverted Monarchy, but not recover'd freedom... จะล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไปได้ ก็ใช่ว่าจะทำให้เสรีภาพและความรุ่งเรืองเกิดขึ้นได้ตามที่คาดหวัง George Salmon (พ.ศ. 2362 2447) ใช้ชีวิตที่ Trinity College Dublin ตั้งแต่เรียนจนทำงานเป็นถึงอธิการบดี Provost เขียนบทความ (Treatise) ทางคณิตศาสตร์เป็นตำราโด่งดังที่ถูกแปลเป็นภาษาเยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาเลี่ยน และยังรู้ลึกซึ้งด้านศาสนา แต่ด้วยความคิดแบบอนุรักษ์นิยม ได้ค้านการให้สตรีเข้าร่วมเรียนหนังสือมาตลอด จนยอมอ่อนข้อเอาไม่กี่ปีก่อนสิ้นชีวิตใน พ.ศ. 2447 เมื่อนั้น จึงเป็นยุคแรกของการรับนักศึกษาหญิง William Lecky (พ.ศ. 2381 2446) ที่นั่งอยู่ไม่ห่าง ศึกษาด้านศาสนา ครั้นเมื่อขยับความสนใจมาสู่เรื่องประวัติศาสตร์ ได้สร้างงานสำคัญ คือ ประวัติศาสตร์ของอังกฤษ และไอร์แลนด์ในศตวรรษที่ 18 และรวมถึงบันทึกประวัติของ Jonathan Swift และ Daniel OConnell ชื่อของ Swift อาจไม่ติดหูเท่าเรื่อง การเดินทางของกัลลิเวอร์ ที่ Jonathan Swift ชาวไอริชเขียน Gullivers Travels ไว้ตั้งแต่ พ.ศ.2269 Daniel OConnell (พ.ศ. 2318 - 2390) มีบทบาทสำคัญถึงที่สุดด้านการเมืองของไอร์แลนด์ช่วงต้นศตวรรษ 19 ในฐานะ The Emancipator ผู้ต่อสู้เพื่อให้แคทอลิคมีสิทธิ์และเสียงเท่าเทียมใน Westminster Parliament สภาผู้ปกครองบริเทนและไอร์แลนด์
ที่สำคัญ OConnell คือผู้ล้มล้าง Act of Union ที่มัดไอร์แลนด์ไว้กับเกรทบริเทนในเวลานั้น ปรัชญาในการปฏิบัติและต่อสู้ของ OConnell จุดประกายให้ผู้นำระดับโลกรุ่นต่อมาอีกจำนวนมาก อย่าง Mahatma Gandhi และ Martin Luther King หลังยุคของ OConnell ความเคลื่อนไหวในการปกครองยังไม่หมดสิ้น มีนักต่อสู้ไอริชตามมาอีกหลายรุ่น เช่น James Larkin (พ.ศ. 2419 2490) ที่ฝ่าฟันเรื่องสหภาพแรงงาน แนวคิดสังคมนิยม ชื่อของ Larkin จึงปรากฏในงานกวี งานประพันธ์ และเพลงของนักเขียนรุ่นหลังในฐานะวีรชน ในเวลาเดียวกันของกลางศตวรรษที่ 19 ก็เริ่มเป็นยุคกำเนิดของนักประพันธ์ที่มีผลงานที่โลกปัจจุบันคุ้นหู หากย้อนดูนักประพันธ์สมัยศตวรรษที่ 18 จะพบปัจจัยร่วมตรงกันในพื้นฐานความรู้ Theology เรื่องศาสนา ที่แนวการเรียนรู้วางกรอบให้ความคิดเกิดขึ้นเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ถี่ถ้วน เพราะ Theology สอนให้ยึดหลักปรัชญา ประวัติศาสตร์ การค้นคว้าเรียนรู้อย่างลึกซึ้งเรื่องเผ่าพันธุ์มนุษย์ Ethnography และจิตวิญญาณ มาใช้ทำความเข้าใจ อธิบายต่อ วิจารณ์ โต้แย้งประเด็นทางศาสนาทั้งของตนเองและศาสนาอื่นได้ถ่องแท้ บันทึกของคนสมัยโบราณจึงมาจากต่างมุมกับนักประพันธ์ของศตวรรษที่ 19 ซึ่งประสบการณ์จากการต่อสู้ การบีบบังคับด้วยกฎเกณฑ์ของ Roman Catholic Church และการใช้ชีวิตต่างแดนของนักเขียนจำนวนมาก ทำให้วิธีคิดและการแสดงออกพลิกผันอย่างสิ้นเชิง Dublin Writers Museum ได้รวมรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่เกี่ยวข้องกับชีวิตไอริชที่มีบทบาทกับวรรณกรรมของชาติ ทั้งเก้าอี้ เครื่องพิมพ์ดีด ปากกา หนังสือ จดหมาย กระทั่งลายมือบนเศษเสี้ยวกระดาษ ใช้มุมมองของดับลินเชื่อมรอยต่อให้คนรุ่นปัจจุบันผ่านเข้าสู่ความเป็นมาของงานเขียนสมัยร้อยกว่าปีที่แล้ว ..งานที่เป็น Living literature ที่ยังอ่านกันอยู่จนบัดนี้ ที่นี่ จึงมีเกร็ดชีวิตของนักเขียนหลายคนให้ศึกษา Oscar Wilde (พ.ศ. 2397 2443) มีบทบาทอย่างยิ่งในแนวคิด Aestheticism และ Decadent Movement อันเกี่ยวกับสุนทรียภาพในบทประพันธ์และงานศิลปะ ที่ไม่ต้องการเหตุและผล หรือประโยชน์ใช้สอยประกอบ เพื่อแก้ต่างความสวยสะอาง All art is quite useless. - Oscar Wilde งานของ Wilde เป็นเลิศเรื่องความงดงามของภาษา ภาพชีวิตหรูหราในบทละคร สำนวนตวัดคมกริบที่นิยมอ้างถึง มากกว่าเรื่องการต่อสู้โดยเฉพาะเมื่อเจ้าตัวไม่ได้ใช้ชีวิตในไอร์แลนด์ เมื่อ Wilde ประสบชะตากรรมอันเกิดจากความพึงใจในบุรุษเพศด้วยกันซึ่งผิดต่อทั้งศาสนาและกฎหมาย และปิดฉากชีวิตที่เต็มไปด้วยสีสันหลังจากพ้นครุโทษไม่นาน ความเคลื่อนไหวของงานแห่งสุนทรีภาพก็พลอยหยุดนิ่งลงด้วย คนไอริชจึงจับ Wilde มาพักในมุมสบาย มองบ้านที่ตัวเองเคยอยู่ยามเยาว์ที่ Merrion Square William Butler Yeats (พ.ศ. 2408 - 2482) กวี, Playwright ไอริชคนแรกที่ได้รับโนเบิลไพรซ์สาขาวรรณกรรม ในพ.ศ. 2466 ช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่เพิ่งประกาศเอกราช เกิดเป็น Irish Free State Yeats เห็นรางวัลเป็นเครื่องสะท้อนการยอมรับชาติไอร์แลนด์จากยุโรป และถือว่างานของตนเองเป็นเพียงตัวแทนวรรณกรรมไอริชทุกชิ้น Yeats มีชีวิตส่วนตัวที่น่าสนใจจากพื้นเพครอบครัว Protestant ผ่านช่วงเวลาที่แบ่งแยกจน Catholic มีอิทธิพลมากขึ้น มีผลกระทบถึงความรักต่อสตรีที่มีความเชื่อแตกต่าง หลังได้รับรางวัลโนเบิล บทกวีของ Yeats ทรงพลังมากขึ้นเรื่อยๆ งานที่นับเป็นกวีนิพนธ์ชั้นเยี่ยมแห่งศตวรรษที่ 20 คือ The Tower, The Winding Stair และ New Poems George Bernard Shaw (พ.ศ. 2399 - 2493) เกิดรุ่นใกล้กับ Oscar Wilde สไตล์เขียนเหน็บแนมเจ็บแสบไม่ต่างกัน เป็นไอริชคนที่สองที่รับโนเบิลไพรซ์สาขาวรรณกรรม พ.ศ. 2468 อย่างไม่ยี่หระนัก และยังปฏิเสธเงินรางวัลโดยยกให้เป็นทุนเพื่อการแปลงานภาษาสวีดิชเป็นอังกฤษแทน สิบกว่าปีต่อมา Bernard Shaw ได้รางวัล Oscar จากบทประพันธ์ Pygmalion ด้วย ไอร์แลนด์ยังคงผลิตนักเขียนมารับโนเบิลไพรซ์อีกสองรางวัล พ.ศ. 2512 จากงานของ Samuel Beckett (พ.ศ. 2449 2532) ผู้ใช้ชีวิตส่วนมากนอกประเทศ โดยส่วนใหญ่อยู่ฝรั่งเศส จึงมีงานจำนวนมากในภาษาฝรั่งเศส พ.ศ. 2538 Seamus Heaney (พ.ศ. 2482 - ) เป็นรายล่าสุด คนไอริชถือรางวัลเป็นเครื่องชูใจ รู้ดีว่างานประพันธ์เป็นส่วนหนึ่งของจิตวิญญาณคนในชาติ และยังมีผลงานอีกจำนวนมากรอการค้นพบ อย่าง Brendan Behan (พ.ศ. 2466 2507) ออกจากโรงเรียนเมื่ออายุแค่ 13 ไปร่วมขบวนการ IRA (Irish Republican Army) เริ่มเขียนบทละครและเรื่องสั้นเมื่อต้องโทษจำคุก มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูง โดยเฉพาะBorstal Boy อัตชีวประวัติที่ถูกนำไปทำละครและภาพยนตร์ หรือ James Joyce (พ.ศ. 2425 - 2484) ผู้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในนักเขียนที่มีอิทธิพลต่อวรรณกรรมต้นศตวรรษที่ 20 อย่างยิ่ง มี 3 ผลงานตระหง่านในทำเนียบ 100 Best English Language Novels of the 20th Century คือ อันดับหนึ่ง Ulysses อันดับสาม A Portrait of the Artist as a Young Man อันดับเจ็ดสิบเจ็ด Finnegans Wake Joyce อพยพไปอยู่นอกไอร์แลนด์ตั้งแต่อายุยี่สิบเศษ แต่เรื่องราวและตัวละครของ Joyce ไม่ได้ออกพ้น Dublin เลย ทั้งด้วยความคำนึงถึงและกระทบกระเทียบ เห็นได้ชัดในเรื่อง Dubliners หากจะเข้าถึงและเข้าใจบทประพันธ์ ก็ต้องรู้พื้นฐานการต่อต้าน Catholic Church ของ Joyce ซึ่งไม่แตกต่างจาก Samuel Beckett ผู้ซึ่งทั้งมีความรู้สึกร่วม และรับอิทธิพลจากผลงานของ Joyce เต็มที่ Wake เรื่องสุดท้ายในชีวิตของ Joyce ยังไม่ผ่านสายตาสาธารณชนส่วนใหญ่ ด้วยความลึกซึ้งของลำดับความคิดที่ผ่านเวลากลั่นกรองของผู้ประพันธ์ถึง 17 ปี คนไอริชจึงยังเชื่อว่า ประวัติศาสตร์ในอดีตที่เกี่ยวร้อยอยู่กับงานประพันธ์ของนักเขียนสัญชาติไอริชทั้งหลาย มีทั้งบทเรียนแฝงไว้กั้นความผิดพลาดกลับมาย้อนรอย และบทใหม่ที่รอการค้นเจอและวิพากษ์ ความเป็น City of Literature เมืองแห่งวรรณกรรม จึงยิ่งแจ่มชัดพร้อมกับกาลเวลาที่ผ่านไป ก็เมื่อ Dublin มีบทสนทนาที่ไม่เคยจบสิ้น ประเด็นแปลกใหม่ไม่เคยขาดแคลน การประลองคารมเป็นอาหารสมอง การเสวนาเป็นประสบการณ์และเหตุผลของการมีชีวิต เมืองเล็กแห่งนี้ เปิดเผยไม่ซับซ้อน แต่ทิ้งหลืบมุมให้ค้นหาไม่จบสิ้น ดั่งโค้งของ River Liffey ที่เป็นเส้นสายนำวัฒนธรรมแห่งไอริชไหลเอื่อยลงสู่ Irish sea เพื่อเชื่อมกับโลกกว้างภายนอก * * * * * * * *
Finnegans Wake - The Irish Rovers Uploaded by CArghlhoavp Ireland บทก่อนหน้า กรุ่นกลิ่นหนังสือเก่า ที่ The Long Room Claddagh Ring แหวนแห่งรักและภักดี ดูรูปเพิ่มเติมที่ Gallery
Remarks & references: ในวงเล็บหลังชื่อ เป็นปีเกิด-เสียชีวิต ในพุทธศักราช ให้เทียบเหตุการณ์กับสมัยของประเทศไทย เรื่องของ Oscar Wilde http://www.oknation.net/blog/SW19/2011/01/21/entry-1 Finnegans Wake: อ่านยากแค่ไหน ไอริชก็เอามาแต่งเพลงปนเปื้อนกลิ่นวิสกี้ เกือบทุกวงไอริชร้อง กันสนุกสนาน |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |