*/
Oh What A Night | ||
![]() |
||
เพลงจาก Jersey Boys,West End, London |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2012 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในเกรทบริเทนช่วง พ.ศ. 2293 2393 ที่ถูกนับเป็นครั้งแรกของโลกด้วยนั้น นำมาซึ่งการเปลี่ยนโฉมครั้งสำคัญของชาติ อันก่อให้เกิดชนชั้นกลาง ขยายการศึกษา แปรสภาพตลาดแรงงาน รูปแบบการใช้ชีวิตในสังคมและวัฒนธรรม สิ่งที่ผลักดันให้การก้าวสู่ Industrial Revolution สมบูรณ์ได้คือการเริ่มอุตสาหกรรมทอผ้า เครื่องจักรไอน้ำ และเหล็กหล่อ ที่เชื่อกันว่าเป็นผลสืบเนื่องอีกทอดจากการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ได้แก่ เครื่องทอผ้า และการนำพลังไอน้ำมาพัฒนาใช้ในเหมืองถ่านหิน ถลุงโลหะ ที่นำมาสู่การผลิตเหล็กกล้า เกิดเป็นครั้งแรกที่มนุษยชาติไม่ต้องอาศัยแต่แรงงานของตนเองหรือสัตว์ แรงน้ำหรือแรงลมเพียงอย่างเดียวเพื่อผลิตสิ่งของเครื่องใช้และการขนส่ง ที่ก่อนหน้าใช้แรงม้าเดินอยู่บนฝั่งเพื่อลากเรือบรรทุกล่องไปใน Canal คลองที่ขุดด้วยมือมนุษย์ เมื่อการค้นพบอำนวยประโยชน์ได้สอดคล้องกัน จึงขยายผลสู่การสร้างทางรถไฟ และขบวนรถจักรไอน้ำในเวลาเพียง 20 ปี * * ระบบการเดินรถไฟแห่งแรกของโลกจึงถือกำเนิดในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2368 เมื่อรถไฟเครื่องจักรไอน้ำเริ่มขับเคลื่อนที่เกรทบริเทน * ช่วงต้นทศวรรษแห่ง พ.ศ. 2383 ทางรถไฟมีอย่างจำกัดและกระจัดกระจาย แต่เพียงเวลาแค่สิบปี เครือข่ายการเดินรถไฟได้ครอบคลุมถึงเมืองเล็กเมืองน้อยในชนบท เป็นผลสืบเนื่องจาก Railway Mania ตัวอย่างของการเก็งกำไรในตลาดหุ้นยุคแรกของโลก แม้ว่า Queen Elizabeth I จะทรงเปิด Royal Exchange อันเป็นรากฐานของ Stock Exchange ตั้งแต่ พ.ศ. 2114 แต่การค้าและแลกเปลี่ยนทำกันเฉพาะกับ Stock ที่มาจาก stock of supplies ซึ่งหมายถึงผลผลิตจำพวก เกลือ ถ่านหิน ล่วงมาถึงต้นศตวรรษที่ 18 Stock เพิ่งแปรสภาพสู่คำว่า Capital stock ที่เป็นตราสาร ณ เวลานั้น Bank of England เกิดขึ้นได้ไม่นาน และได้รับการคุ้มครองมิให้มีการตั้งสถาบันการเงินอื่น การระดมทุนต้องอาศัย Joint-stock company บริษัทที่มีผู้ค้ามารวมกันไม่เกินห้าราย จึงเป็นครั้งแรกในเกรทบริเทนที่มีการออกตราสารหรือ หุ้น มาแลกเปลี่ยนทุน กระบวนการนี้เฟื่องฟู เมื่อมีบริษัทลักษณะที่เรียกชื่อเล่นกันว่า Bubbles นี้มากขึ้น มาปั่นตลาดด้วยแผนประหลาดพิสดารให้คนสนใจลงทุน เป็นต้นกำเนิดให้คำว่า ฟองสบู่ เข้ามาปรากฏในเรื่องเศรษฐกิจ Bubbles เพิ่งเริ่มเริงร่า รัฐสภาก็ออก Bubble Act 1720 มาควบคุมกันการแตกกระจายอยู่ร้อยปีเศษ ถึง พ.ศ. 2368 Bubble Act ถูกยกเลิก การออมเงินกับพันธบัตรรัฐบาลอยู่ในช่วงซบเซาเพราะ Bank of England ลดอัตราดอกเบี้ย แต่ประจวบเหมาะกับที่รถไฟเริ่มเดินฝีจักร หุ้นของกิจการรถไฟงอกงาม ดูไร้ความเสี่ยง และเมื่อไม่มีแรงปรารถนาใดทรงพลังเกินกว่าความโลภของมนุษย์ ก็เกิด Railway Mania คนจำนวนมากวิ่งเข้าสู่กิจการรถไฟ ทั้งขออนุญาตสร้างทางและแค่เอาเงินลงทุนหวังผลกำไร มีโครงการที่ดีจริงและเกินจริง ไม่นานนักกิจการที่ทำไม่ได้ตามคำชวนเชื่อก็ปรากฏ คนจำนวนมากสูญสิ้นเงินเก็บจนหมดตัว กระแสตูมตามในการลงทุนค่อยจางลง เหลือแต่บริษัทใหญ่ที่คงอยู่ได้จริงตามเก็บซากของรายเล็กเพื่อขยายเครือข่ายของตนเองต่อไป ถึงกระนั้นก็ตาม การเดินรถไฟในเกรทบริเทนก็ได้ก้าวไปข้างหน้าแล้ว ที่กรุงลอนดอน London Bridge เป็นสถานีเก่าแก่อันดับสอง เปิดใช้ปลาย พ.ศ. 2379 รองจาก Spa Road สถานีเล็กๆ ที่เปิดก่อนตอนต้นปีและปิดไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง จากนั้นมามีสถานีใหม่เกิดขึ้นแทบทุกปี ภายในเกือบ 20 ปี มี 6 สถานีจ่ออยู่ขอบวงในของกรุงลอนดอน การเดินทางเข้าสู่ศูนย์กลางที่เรียกว่า Square Mile ของเมืองจึงคับคั่งจอแจ จนต้องเริ่มดูลู่ทางความเป็นไปได้ในการสร้างทางรถไฟใต้ระดับผิวถนน เมื่อ London Underground เริ่มวิ่งใน พ.ศ. 2406 จึงกลายเป็นระบบการเดินรถไฟใต้ดินแรกของโลก ในวันนี้ Tube ชื่อที่ลอนดอนเนอร์สติดปากเรียกรถไฟใต้ดิน จึงมีหน้าตาล้าสมัยและจำเป็นต้องปรับปรุงโฉมอีกมาก ไม่ต่างจากการเดินรถไฟที่อายุใกล้สองร้อยปี จนความล้าหลังของระบบและการบริหารสร้างความขายหน้าได้มากกว่าความภูมิใจที่เป็นชาติผู้ให้กำเนิดการเดินรถไฟเสียแล้ว สถานีหลายแห่งในกรุงลอนดอน ยังคงความสง่างามของสถาปัตยกรรมที่สะท้อนความรุ่งเรืองและวัฒนธรรมในยุควิคทอเรียน แม้จะผ่านกาลเวลาร้อยกว่าปีตั้งแต่เริ่มสร้างบนที่ตั้งและโครงสร้างดั้งเดิม St Pancras ไม่ใช่สถานีที่เกิดขึ้นในยุคแรก แต่เนื่องจากเส้นทางรถไฟสู่ลอนดอนไม่เพียงพอต่อความต้องการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะถ่านหิน เมื่อ Midland Railway ได้ทำเลเพื่อสร้างเส้นทางเดินรถของตัวเองแล้ว ก็เปิดให้มีการประกวดแบบก่อสร้าง ที่จำเป็นต้องมีเอกลักษณ์ชัดเจนและรูปลักษณ์ล้ำหน้ากว่าสถานีที่มีอยู่แล้ว อย่าง Kings Cross, Paddington และ Charing Cross สมัยก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม ประเทศชาติดำรงอยู่แบบมัธยัสถ์ ในเวลาที่อุตสาหกรรมนำมาซึ่งการสร้างงานและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เครื่องจักรกลและโรงงานก็ลดทอนความประณีตในชีวิตและคุณค่าของ Christian values การอบรมอันดีงามทางศาสนา ไปพร้อมกันด้วย แบบการก่อสร้างสถานีรถไฟเซนท์แพนครัส จึงดูพิเศษกว่าสถานีอื่นก่อนหน้า * * * * และสามารถสะท้อนความวิจิตรของยุคสมัยลักษณะ Victorian Gothic ได้อย่างลงตัว ให้รายละเอียดยิบย่อยแต่ดูตระการตา สื่อความหมายถึงความขลัง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่โยงใยถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และความเป็นอนุรักษ์นิยม เฉกเช่นเดียวกับการออกแบบ Palace of Westminster รัฐสภาของเกรทบริเทน ณ เวลาที่สร้างเสร็จ หลังคาโค้งครอบชานชาลาทั้งหมดมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกของโครงสร้างลักษณะนี้ แม้การก่อสร้างจะยังไม่ครบสมบูรณ์ พิธีเปิดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2411 ก็ทำให้รถด่วนขบวนสู่ Manchester เป็นขบวนแรกของโลกที่วิ่งโดยไม่หยุดแวะได้ยาวที่สุดถึง 97 ไมล์ * * เกือบห้าปีต่อมา Midland Grand Hotel ด้านหน้า ถึงเปิดให้บริการ ด้วยความล่าช้าของการก่อสร้างจากแบบที่ซับซ้อนและเงินทุนสูงลิบ * การบูรณะรักษาสถานีไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่การผสานความเป็นไปของโลกในศตวรรษที่ 21 กับการอนุรักษ์โครงสร้างดั้งเดิม แต่ยังขยายการเดินรถไปสู่นานาชาติ เป็นช่องทางสู่ยุโรปผ่าน Channel Tunnel แม้วันนี้ Eurostar นำคนเดินทางไปมาได้เพียงสู่ Paris Gare du Nord และ Brussel แต่การขยายสู่ Amsterdam และ Germany อยู่ในขั้นเตรียมการแล้ว * * * * * เมื่อ St Pancras ถูกแปลงโฉม เสริมส่วนของ ปัจจุบัน เข้าไปเพื่อหวังจับอารมณ์ร่วมของคนเดินทาง ทั้งพบเจอ และพรากจาก ให้เห็นเด่นเต็มหน้า * * * *
ชิ้นงานรูปเหล็กหล่อ The Meeting Place สูง 20เมตร ก็ยังถูกวิจารณ์ว่าไร้ซึ่งรสนิยม * * * * * * * * * * * * * * The Meeting Place จึงมีเพียงขนาดใหญ่โตที่ดึงดูดความสนใจของคนได้ แต่ความยิ่งใหญ่ที่แท้จริงของชิ้นงาน Public art ที่ St Pancras กลับเป็นรูปขนาดแค่ 2 เมตรของ John Betjeman เมื่อสิ้นรัชสมัย Queen Victoria ไม่นาน เกรทบริเทนก็เข้าสู่สงครามโลก กว่าสงครามโลกทั้งสองครั้งจะจบลง ประเทศก็จนกรอบแทบไม่มีการสร้างอะไรใหม่ กว่าจะกลับมาฟื้นตัวเริ่มมีเงินอีกครั้งก็ยุค 60s มีกระแสความต้องการสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ตามมา แม้ประชาชนและนักประวัติศาสตร์จำนวนมาก เชื่อมั่นว่าการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างจากVictorian Era ไม่เพียงแค่เป็นการเก็บของเก่า หากเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมของยุคสมัยที่สำคัญยิ่ง แต่ด้วยพื้นที่จำกัดของกรุงลอนดอน การสร้างใหม่ต้องมีการรื้อของเก่าทิ้ง ให้ความงดงามของอาคารบ้านเรือนเป็นนิรันดร์อยู่แค่ฉากในเรื่องราวของ Charles Dickens เพราะเป้าหมายใหญ่ของการทุบทิ้ง คือ อาคารเก่ายุควิคทอเรียน ที่รวม St Pancras ด้วย * * * Sir John หลงรักความงดงามของสถาปัตยกรรมจากยุค Victorian Era และเป็นหนึ่งใน 30 สมาชิกผู้ก่อตั้ง Victorian Society ที่มีเป้าหมายในการอนุรักษ์อาคารและสวนจากยุค Victorian และ Edwardian ช่วยให้หลายตึกสวยแห่งศตวรรษที่ 19 คงรอดอยู่ได้ถึงปัจจุบัน Sir John Betjeman ดำรงตำแหน่ง Poet Laureate กวีประจำรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีได้คราวละคนเดียว เป็นคนที่ 2 ในจำนวน 5 ถึงปัจจุบันแห่งรัชสมัย Queen Elizabeth II มีหนึ่งในผลงานเขียนหนังสือชื่อ London's Historic Railway Stations (1972) ด้วย Sir John เสียชีวิตใน พ.ศ. 2527 แต่เมื่อสถานี St Pancras ถูกปรับปรุงและมาเปิดใหม่ใน พ.ศ. 2550 มีจุดเชื่อมต่อวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ประสานรอยต่อของวัฒนธรรมในยุคสมัยร้อยกว่าปีก่อนหน้าไว้อย่างงดงามและกลมกลืน * จึงเหมาะสมที่จะจัดที่ให้ Sir John ได้ยืนอยู่ในอาคารสวยงามที่เจ้าตัวรัก และรักษาไว้ให้คนรุ่นหลังได้ร่วมชื่นชม * * อย่างสมฐานะ Cathedral of the Railway station ตามสมญาของ St Pancras ********* Land of Hope and Glory (from Elgar's Coronation Ode) - choir of King's College, Cambridge, 1977 Band of the Royal Military School of Music Uploaded by neil1uk1 Reference: Land of Hope and Glory เป็นเพลงปลุกชาติ มีความหมาย ก็ตามชื่อเพลงของแผ่นดินแห่งความหวังและรุ่งเรือง เคยถูกพิจารณาให้เป็นเพลงชาติของประเทศอังกฤษ - ซึ่งไม่เคยมี ทั้งที่ประเทศ Wales และประเทศ Scotland ที่อยู่ร่วมใน United Kingdom มีเพลงชาติของตนเอง ปัจจุบันประเทศอังกฤษยังใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี อันเป็นเพลงชาติของ United Kingdom เป็นเพลงชาติของตนเองด้วย * |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |