5 ธันวาคม 2556 เป็นวันที่คณะกรรมการกิจการกกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กำหนดให้สถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัลออกอากาศพร้อมๆ กัน มากถึง 30 ช่อง น่าจะถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเปลี่ยนผ่านระบบออกอากาศโทรทัศน์จาก "อนาล็อกสู่ดิจิทัล" ( Analog Switch Off:ASO) ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดในรอบ 50 ปี ของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทย อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของธุรกิจโทรทัศน์ในประเทศไทย แม้ว่าการมาของดิจิทัลทีวีในประเทศไทยในปีนี้จะถูกปรามาสว่า "สายเกินไป, ช้าเกินไป" ด้วยเหตุผลพอรับฟังได้ว่าครัวเรือนประเทศไทยได้รับชมโทรทัศน์ผ่านจานดาวเทียม และเคเบิลทีวีไปมากกว่า 60-70% ของครัวเรือน 22 ล้านคน ใครจะเปลี่ยนมาดูดิจิทัลทีวี ความเชื่อนี้ไม่น่าจะถูกต้องสักทีเดียวแต่ถ้าไม่มีดิจิทัลทีวีก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในอุตสาหกรรมนี้ เพราะโทรทัศน์ในระบบอนาล็อก 6 ช่องที่สามารถเข้าถึงคนไทยเกือบทุกครัวเรือนจะยังคงอยู่ไป เรื่อยๆ ไม่มีกำหนดยกเลิก และคนไทยก็จะไม่เลิกดู นั่นหมายความสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และ ช่อง 7 ยังสามารถยึดครองสัดส่วนคนดูหรือ EYEBALL ลูกตาคนดูรวมกันได้มากกว่า 70-80% ของคนดูทั้งหมดเท่าๆ กับส่วนแบ่งงบโฆษณาประมาณ 70-80% เช่นเดียวกัน แม้ว่าสัดส่วนคนดูฟรีทีวีลดลงจาก 100% เหลือ 65% แล้วมีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอีกประมาณ 200 ช่อง ที่มีส่วนแบ่งคนดูรวมกันประมาณ 35% แต่ส่วนแบ่งเงิน โฆษณาของทีวีดาวเทียมยังมีเพียงประมาณ 12-13% ของภาพรวมงบโฆษณาโทรทัศน์ทั้งหมด ที่มีอยู่ประมาณ 60,000 ล้านบาทต่อปี (ข้อมูลของบริษัทเนลสัน)ที่เหลือ 85% เป็นของฟรีทีวีแบบอนาล็อก 6 ช่อง ซึ่งในความเป็นจริงมีเพียงช่อง 3 กับช่อง 7 ที่ได้งบโฆษณาไปช่องละประมาณ 35-40% ของงบโฆษณาฟรีทีวี รวมกันกว่า 75-80% ของก้อนเค้กโฆษณาก้อนใหญ่ที่สุด ถ้าระบบโทรทัศน์ของประเทศไทยยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ อย่าหวังว่างบโฆษณาจะเกลี่ยเข้าไปสู่สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมมากขึ้น เพราะช่องฟรีทีวี 6 ช่อง ยังไปอยู่ในทุกแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้น จานดาวทียมกับเคเบิลทีวีขยายไปมากเท่าไหร่ ช่องฟรีทีวีทั้ง 6 ช่อง จะยิ่งมีคนดูเพิ่มมากยิ่งขึ้น การเกิดขึ้นของดิจิทัลทีวีจะเป็นการไปทดแทนโทรทัศน์แบบอนาล็อกในอีกประมาณ 5 ปี เปรียบเสมือน "ตลาดเก่า" ที่มีอยู่ 6 แผง(ช่อง) เปิดมานานร่วม 50 ปี แล้ว มีกำหนดเวลายกเลิกการเช่าตลาดที่แน่นอนแล้ว แต่ ทีวีดาวเทียมเสมือน "แผงลอย" ที่เปิดเกลื่อนวางเกะกระตามฟุตบาททางเท้า กสท. เพิ่งได้รับมอบหมายจากทางการให้เข้าจัดระเบียบด้วยการสั่งให้ "จดทะเบียน" เพื่อขอเก็บค่าธรรมเนียม 4% จากรายได้ หากใครไม่ยอมไปจดทะเบียนก็จะกลายเป็นแผงลอยเถื่อนจะถูกสั่งห้ามขายของได้ แล้วอีกสักพักเชื่อว่าเมื่อเกิดตลาดใหม่ดิจิทัลทีวีขึ้นมา ช่องทีวีดาวเทียมจะถูกเข้มงวดมากยิ่งขึ้น ไม่ให้วางขายเกะกระตามทางเท้า การจำกัดจำนวนนาทีโฆษณาลง ฯลฯ เพราะ กสท. กำลังสร้าง"ตลาดใหม่"ที่แบ่งเป็น 24 ร้านค้า (ช่องรายการเชิงธุรกิจ) แล้วกันพื้นที่ไว้ 12 ช่อง สำหรับช่องบริการธุรกิจที่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ และเผื่อไว้สำหรับแผงย่อยๆ สำหรับช่องชุมชนที่กำหนดให้เป็นสินค้าชุมชนอีกมุมละ 12 แผงย่อย ตลาดใหม่ดิจิทัลทีวี 24 ช่องกำลังจะเปิดประมูลในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า กสท. ยังมีการบ้านที่ยังไม่ได้ทำ (ยังไม่มีเวลาลงมือทำมากกว่า) อีกหลายข้อเพื่อช่วยทำให้ ECOSYSTEM ของการเกิดขึ้นของดิจิทัลทีวีในประเทศไทย เกิดประโยชน์กับประเทศจริงๆ ระบบเรตติ้งวัดความนิยมคนดูเป็นโจทย์ใหญ่ที่ กสท. ยังไม่มีเวลาเข้ามาศึกษาอย่างจริงจังว่า ควรจะเป็นอย่างไร จึงอยากให้ลองศึกษากรณีประเทศออสเตรเลีย ที่มี ระบบวัดเรทติ้งคนดูโทรทัศน์ที่น่าสนใจ OZTAM เป็นบริษัทที่เกิดขึ้นมา เพื่อปฏิรูประบบการวัดความนิยมของผู้ชมโทรทัศน์ที่มีปัญหาความไม่น่าเชื่อถือมาเป็นเวลานานช่วงก่อนปี 1999 มาจากการรวมตัวกัน "ลงขัน" ของเครือข่ายโทรทัศน์รายใหญ่ของออสเตรเลียคือ Seven Network, Nine Network, Network Ten, ABC, CBS ที่เป็นทั้งโทรทัศน์แบบ Free to Air และบอกรับสมาชิก โดยมีตัวแทนจากสมาคมวิชาชีพด้านมีเดีย ของออสเตรเลีย 3 สมาคมเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในคณะกรรมการของ OZTAM เพื่อรับรองความถูกต้องน่าเชื่อถือของระบบวัดความนิยมของ OZTAM เป้าหมายสำคัญของ OZTAM คือมีความเป็นอิสระในการจัดทำข้อมูลและยังมีคณะกรรมการด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญของสถานี และภายนอกเพื่อให้มีความแม่นยำที่สุด โดยในปี 2005 ได้เริ่มวัดความนิยมของโทรทัศน์ระบบดิจิทัลภาคพื้นดิน ปี 2010 พัฒนาไปสู่การวัดในรูปแบบ Time Shift Viewing รวมไปถึงการวัดความนิยมและพฤติกรรมการรับชมโทรทัศน์แบบ Multi Screen ที่ถือเป็นแนวโน้มใหม่ของผู้ชมโทรทัศน์ทั่วโลก
ข้อมูลของ OZTAM จะแสดงผลแบบนาทีต่อนาทีตลอด 24 ชั่วโมง, 7 วัน และ 365 วันไม่มีวันหยุด ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้ผลิตรายการแต่ละช่องที่เป็นสมาชิกอยู่ประมาณ 100 ช่อง นำไปพัฒนารายการและวางแผนโฆษณา อย่างไรก็ตาม OZTAM ได้ใช้วิธีการเปิดให้บริษัทวิจัยหลายๆ แห่ง ได้นำเสนอรูปแบบการวิจัยให้พิจารณา ซึ่งแม้ว่าก่อนหน้านั้นบริษัทเนลสันจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ค่อนข้างมาก แต่ OZTAM กลับยังเลือกบริษัทเนลสันให้จัดทำระบบการวัดความนิยม และจัดเก็บข้อมูลภายใต้เงื่อนไขของ OZTAM ซึ่งทำให้สถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้เรทติ้งในแนวทางที่เหมาะสม มากกว่ากำหนดทุกอย่างมาจากบริษัทวิจัยเนลสันฝ่ายเดียว โดยมีตัวแทนสมาคมวิชาชีพโฆษณาเข้ามามีส่วนร่วมสังเกตการณ์ในคณะกรรมการของ OZTAM ความพยายามในการจัดระบบวางระเบียบการวัดความนิยมคนดูโทรทัศน์ในประเทศไทย เพื่อลดอิทธิพลของบริษัทเนลสันเคยเกิดขึ้่นในปี 2544 แต่ไม่ได้มาจากความคิดริเริ่มของสถานีโทรทัศน์แบบออสเตรีเลีย แต่เกิดขึ้นจาก "วรรณี รัตนพล" กรรมการผู้จัดการบริษัทอินิชิเอทีฟมีเดีย-ลินตาส ยักษ์ใหญ่เอเยนซี่โฆษณาในยุคนั้นที่ได้เชิญบริษัทเอเยนซี่และสื่อต่างๆ ไปรับฟังผลการวิจัยความนิยมของคนดูโทรทัศน์ของ 2 บริษัทวิจัยรายใหญ่ คือบริษัทไทเลอร์ เนลสันซอฟเฟรส ที่เป็นบริษัทวิจัยอันดับ 4 ของโลก และ บริษัทวิดีโอรีเสิร์ช ที่เป็นบริษัทวิจัยอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นที่มีความแตกต่างจากผลวิจัยของบริษัทเอซีเนลสันเจ้าเดิม จนกระทั่งนำไปสู่การเปิดให้ยื่นข้อเสนอใหม่ของบริษัทวิจัย ให้กับกลุ่มสมาคมโฆษณาที่ในรอบแรกบริษัท วิดีโอรีเสิร์ช ได้คะแนนมาเป็นอันดับหนึ่งที่สามารถทำได้ตามเงื่อนไขของสมาคมฯมากที่สุด การเคลื่อนไหวครั้งนั้น ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสถานีโทรทัศน์ไอทีวี, ช่อง 9 และ ช่อง 3 แต่ดูเหมือนความแตกแยกภายในกลุ่มเอเยนซี่กันเอง และสถานีโทรทัศน์ช่อง 7 ที่เป็นยักษ์ใหญ่ยังต้องการให้บริษัทเอซีเนลสันเป็นผู้ดำเนินการวัดความนิยมคนดู จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ล้มการประมูลชั่วข้ามคืน แล้วกลับใช้วิธีใหม่ที่ทำให้บริษัทเอซีเนลสันเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกแทน ท่ามกลางความงงงวยของคนนอกวงการและการประท้วงของบริษัท วิดีโอรีเสิร์ชที่เตรียมการลงทุนไว้พร้อมแล้ว บริษัทเอซีเนลสันเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2523 ในชื่อ บริษัทดีมาร์ที่เริ่มด้วยวิธีเดินสำรวจแบบ TV Diary เฉพาะพื้นที่กทม. กับปริมณฑลจากนั้นเปลี่ยนเป็นเครื่อมือวัดมาเรื่อยๆ ในขณะที่บริษัทเอซีเนลสันเองก็มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่มา 2-3 ครั้ง จนปัจจุบันกลายมาเป็นบริษัทเดอะเนลสันที่ยังเป็นบริษัทวิจัยที่เอเยนซี่โฆษณาใช้อ้างอิงซื้อโฆษณาเป็นหลัก และช่องรายการโทรทัศน์จำยอมต้องว่าจ้างบริษัทเดอะเนลสันวัดเรทติ้งให้อย่างไม่มีทางเลือกมากนัก ความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับการจัดระบบเรทติ้งในประเทศไทย ตัวแทนของสมาคมโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งประเทศไทยที่นำโดย ดร.นิพนธ์ นาคสมภพ นายกฯ สมาคม, คุณวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยที่ปัจจุบันยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท IPG Mediabrands และตัวแทนของกลุ่มจานดาวเทียมพีเอสไอที่มีโปรแกรมวัดเรทติ้งบนจานดาวเทียมได้เข้าพบกรรมการกสทช.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษนันท์ เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดระบบวัดเรทติ้งในประเทศไทย ดร.ธวัชชัย รับปากจะลองตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทาง เวลาผ่านมาประมาณ 2 เดือน คำตอบยังล่องลอยอยู่แถวๆ "ซอยสายลม" เพราะดูเหมือนว่าความคิดเห็นในกรรมการกสท. 2-3 คน ยังไม่ลงตัวแตกต่างกันค่อนข้างมาก ดร.ธวัชชัยลังเลจะตั้งคณะทำงานเพราะ พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ ประธานกสท.บอกว่า กสท. ไม่น่าจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวทำเอง แต่อาจจะเข้าไปกำกับดูแลด้วยการออกใบอนุญาตการทำวิจัยเรทติ้ง เพื่อให้เปิดเผยข้อมูลรูปแบบการทำวิจัยหรืออาจจะตั้งงบประมาณสนับสนุนองค์กรวิชาชีพดำเนินการเอง การบ้านกสท.ในเรื่องเรทติ้งใหม่ที่จะมีความสำคัญในระดับชี้เป็นชี้ตายรายใหม่ดิจิทัลทีวี จึงยังไม่มีบทสรุปว่าจะเกิดขึ้นได้หรือไม่ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | สิงหาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |