ลองตรวจสอบแนวรบทีวีดิจิทัล 24 ช่อง นับตั้งแต่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์(กสท.) ออกใบอนุญาติอายุ 15 ปีให้แล้วตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย. 2557 ยังเหลืออีก 5-6 ช่องที่ออกอากาศแบบเปิดไม่เต็มผัง กลุ่มอัมรินทร์ 1 ช่อง HD กับกลุ่มแกรมมี่ 1 ช่องSD ยังเปิดหน้าไพ่แค่ให้เห็นโลโก้ช่องเท่านั้นที่ประกาศแล้วว่าจะเปิดเต็มผัง 24 พ.ค.ที่เป็นวันสุดท้ายที่กสท.กำหนดให้ออกอากาศหลังให้ใบอนุญาต ในขณะที่กลุ่มช่อง 3 ที่ตั้งใจประมูลได้มากที่สุด 3 ช่องที่ดูเหมือนมีความพร้อมมากที่สุด กลับเปิดผังออกมาแค่ 1 ใน 3 ออกอากาศตั้งแต่เวลา 16.00-24.00 น.ไป จนวันที่ 1 มิ.ย.จะเพิ่มเวลาออกอากาศไปอีก แล้วเต็มผัง 1 ต.ค. แล้วผู้บริหารของกลุ่มช่อง 3 ยังประกาศชัดเจนว่าช่อง 3 ระบบอะนาล็อกจะไม่ออกอากาศคู่ขนานในช่องดิจิทัลแบบ HD ที่ประมูลได้ โดยจะยืนหยัดออกอากาศแบบอะนาล็อกตามสิทธิ์สัมปทานสิ้นสุดเดือนมี.ค. 2563 แล้วจะนำผังรายการของช่อง 3 อะนาล็อกไปรวมกับช่อง 33 HD ในอนาคตเป็นช่องเดียวกัน คู่แข่งขันของช่อง 3 บนระบบอะนาล็อกอย่างช่อง 7 กลับเลือกออกอากาศคู่ขนานบนระบบดิจิทัลช่อง 35 HD และช่อง 9 อะนาล็อกที่เดิมลังเลๆว่าจะออกอากาศคู่ขนานบนระบบดิจิทัลช่อง 30 HD หรือไม่ก็ชัดเจนแล้วว่าคู่ขนาน ส่วนช่อง 5 , ช่อง 11 และไทยพีบีเอสได้รับใบอนุญาติออกอากาศแบบดิจิทัล ด้วยใบอนุญาติโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ เท่ากับว่าปัจจุบันช่อง 3 ระบบอะนาล็อกได้กลายเป็นโทรทัศน์ฟรีทีวีช่องเดียวที่ไม่สามารถรับชมได้ จากกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลแบบ DVB-T2 ที่มี 24 ช่องธุรกิจที่มี 2 ช่องอะนาล็อกออกอากาศคู่ขนานกับอีก 3 ช่องสาธารณะที่ออกคู่ขนานระบบอะนาล็อกด้วย รวมจำนวนช่องดิจิทัล 27 ช่องแล้ว การปรับตัวของช่องฟรีทีวี 6 ช่องแบบอะนาล็อกที่มีแนวทางแตกต่างกัน น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งต่อห้วงเวลาการเปลี่ยนผ่าน จากระบบอะนาล็อกสู่ดิจิทัลว่าจะใช้เวลาวันสุดท้ายเมื่อไหร่ กสท.ตั้งเป้าจะให้การเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อกสู่ดิจิทัลเสร็จสิ้นภายในปี 2561 หรืออีกประมาณ 5 ปี แต่ถ้าช่อง 3 ยังยืนยันสิทธิ์ตามสัมปทานแบบอะนาล็อกกับบริษัทอสมท.จะยุติการออกอากาศระบบอะนาล็อกสิ้นเดือนมี.ค. 2563 นั่นหมายความว่าบริษัทอสมท.จะต้องคงระบบอากาศแบบอะนาล็อกไปจนวันสุดท้ายตามสัญญา มิเช่นนั้นบริษัทอสมท.อาจจะถูกช่อง 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายไม่ปฏิบัติตามสัญญาได้ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสน่าจะเป็นสถานีแรกที่จะยุติการออกอากาศแบบอะนาล็อกภายในไม่เกิน 3 ปีเพื่อแลกกับใบอนุญาติทีวีดิจิทัลแบบสาธารณะช่องเด็กและเยาวชน โดยตามแผนของไทยพีบีเอสจะทะยอยยุติการออกอากาศแบบอะนาล็อกเป็นโซนๆตามการขยายตัวของโครงข่ายในแต่ละพื้นที่ สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ที่ได้สิทธิ์ใบอนุญาติทีวีดิจิทัลแบบสาธารณะประเภท 2 เพื่อความมั่นคงที่ไม่มี"ต้นทุนประมูล" แต่ยังไม่ชัดเจนว่าช่อง 5 ปัจจุบันที่ยังมีสิทธิ์ออกอากาศแบบอะนาล็อกไปอีก 5 ปี จะถือโอกาสปรับผังให้เป็นไปตามเกณฑ์ทีวีดิจิทัลสาธารณะของกสท.หรือไม่ หากยึดตามประกาศทีวีสาธารณะของกสท. ช่อง 5 อะนาล็อกจะไม่สามารถยกผังทั้งช่องไปเป็นช่อง 1 HD ได้ เพราะเงื่อนไขใบอนุญาตทีวีสาธารณะประเภท 2 เพื่อความมั่นคงจะต้องปรับผังให้มีรายการข่าวและสาระไม่น้อยกว่า 70 % ,ลดเวลาโฆษณาจากเฉลี่ยชั่วโมงละ 10 นาทีเหลือ 8 นาทีและใบอนุญาตในระยะแรกแค่ 4 ปี แต่ดูเหมือนว่าผู้บริหารช่อง 5 ยังไม่ได้ตระหนักถึง"วิบากกรรมอะนาล็อก"ที่แบกรับไว้สักเท่าไหร่ แต่กลับยอมรับชะตากรรมของช่อง 5 ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล 24 ช่องในเชิงรายได้โฆษณาจะหดหายไปอย่างรวดเร็วและยังไม่ได้เตรียมการใดๆในการเปิดช่อง 1 สาธารณะแบบ HD ที่ได้รับอนุญาตแบบไม่ต้องประมูลมาแล้ว แม้ว่ากสท.ได้ออกแบบระบบทีวีดิจิทัลให้ช่อง 5 ได้รับใบอนุญาตโครงข่าย Multiplexer 2 โครงข่ายที่ให้บริการได้ถึง 14 ช่องจะทำให้ช่อง 5 มีรายได้จากค่าเช่าโครงข่ายรวมกันปีละประมาณ 1,400 ล้านบาท มองตัวเลขแล้วน่าจะมาทดแทนรายได้โฆษณาจากช่อง 5 ที่ยอมรับสภาพว่าไม่อยู่ในสภาพแข่งขันได้ , ผู้ผลิตรายการชั้นดีที่มีช่องดิจิทัลเองก็คงจะค่อยๆถอยออกจากช่อง 5 ฯลฯ ผู้ผลิต 3 รายใหญ่ที่ผลิตรายการแม่เหล็กสร้างเรทติ้งให้กับช่อง 5 มายาวนาน แล้วไปประมูลช่องทีวีดิจิทัลได้คือกลุ่มเวิร์คพอยต์ 1 ช่อง ,กลุ่มแกรมมี่ 2 ช่องและกลุ่ม 3Aมาร์เก็ตติ้ง 1 ช่อง ย่อมจะจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดไปทุ่มเทผลิตรายการให้ช่องตัวเองอย่างแน่นอนภายในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ แม้ว่ายังมีผู้ผลิตรายใหญ่อีก 2-3 รายอย่างกลุ่มเจเอสแอล,กลุ่มกันตนา ฯลฯอยู่ในผังของช่อง 5 ในช่วงเวลาไพร์มไทม์ แต่ผู้ผลิตรายการเหล่านี้เป็นที่หมายปองจากช่องทีวีดิจิทัลต่างๆได้เชื้อเชิญไปร่วมผลิตหรือว่าจ้างให้ผลิตรายการลงผังทุกรายแล้ว สภาพการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ช่อง 5 อะนาล็อกจะไม่ใช่ทางเลือกแรกของผู้ผลิตรายการระดับคุณภาพอีกต่อไปแล้ว ผู้บริหารช่อง 5 อาจจะต้องเปลี่ยนไปเอาอกเอาใจผู้ผลิตรายการระดับแม่เหล็ก แทนการนั่งรอให้ผู้ผลิตรายการมาขอเข้าพบเพื่อนำเสนอรายการลงผังในแต่ละไตรมาส เช่นเดียวกับคลื่นวิทยุนับร้อยคลื่นของกองทัพบกที่เคยเป็นขุมทรัพย์ใหญ่ ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาผู้ใหญ่ในกองทัพต้องขอร้องให้ผู้ผลิตรายการไม่คืนเวลาสถานีและยอมลดค่าเช่าสถานีลง ยิ่งหากผู้บริหารช่อง 5 ยังไม่ฉวยโอกาสรักษา"จุดแข็ง"การออกอากาศแบบอะนาล็อกที่เข้าถึงทุกครัวเรือนไทยไว้ในอีก 5 ปีข้างหน้าไว้ให้นานที่สุด เช่น คุณภาพรายการ , หยุดภาวะสมองไหลของบุคลากรหน้าจอ ฯลฯ รายการเด่นๆที่เรียกเรทติ้งในช่อง 5 ที่เคยต่อกรกับช่อง 3 และช่อง 7 ได้หลายรายการไม่หลงเหลือแล้ว ช่อง 5 ก็จะต้องเจอวิบากกรรมที่น่าจะมาเร็วกว่าที่คาดไว้ค่อนข้างแน่นอน เมื่อมองดูแนวโน้มอัตราค่าโฆษณาของช่อง 5 ที่ตกต่ำลงเรื่อยๆตั้งแต่เกิดผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและการเมืองปลายปีที่แล้ว จนเริ่มเห็นได้ชัดเมื่อผลประมูลทีวีดิจิทัลเสร็จสิ้นลง ทำให้มีผู้ผลิตรายการหลายรายเริ่มถอดใจคืนเวลาเพราะอัตราค่าโฆษณาต่ำมากใกล้เคียงกับช่องทีวีดาวเทียมบางช่อง แล้วหลายรายได้รับการทาบทามให้ไปผลิตรายการป้อนช่องดิจิทัลที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า หากสภาพการบริหารงานของช่อง 5 ยังเรื่อยๆมาเรียงๆเป็นระบบราชการเช่นเดิมและผู้บริหารยังไม่ได้ตระหนักถึงสภาพการแข่งขันอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นมาแล้วจากทีวีดิจิทัล 24 ช่องที่เริ่มออกอากาศแล้ว คาดการณ์ได้ว่ารายได้โฆษณาและค่าเช่าเวลาของช่อง 5 น่าจะเหือดหายไปอย่างรวดเร็วมากกว่า 50 % ภายใน 1-2 ปีจากที่เคยทำรายได้ให้กองทัพบกอย่างเป็นกอบเป็นกำมานานกว่า 40-50 ปี งบโฆษณาเหล่านี้จะไหลไปยังช่องทีวีดิจิทัลที่เคยเป็นผู้ผลิตรายการหลักในช่อง 5 นั่นเอง รายได้หลักของช่อง 5 อีกช่องทางที่มาจากค่าสัมปทานช่อง 7 ประมาณปีละ 150 ล้านบาทจะสิ้นสุดในอีก 5 ปีข้างหน้าในปี 2561 ที่ยังไม่แน่ชัดว่าช่อง 7 จะใช้สิทธิ์ตามอายุสัญญาสัมปทานแบบเต็มที่เช่นเดียวกับช่อง 3 หรือไม่ โดยที่ผ่านมาช่อง 7 ยินยอมลดอายุสัมปทานจาก 9 ปีเหลือ 5 ปีเพื่อให้ช่อง 5 ได้ใบอนุญาติโครงข่ายเพิ่มอีก 1 โครงข่าย ซึ่งเป็นที่แน่ชัดว่ากลยุทธ์ทีวีดิจิทัลของช่อง 7 ตรงกันข้ามกับช่อง 3 โดยสิ้นเชิง ช่อง 7 เลือกเดินหน้าเต็มตัวสู่ทีวีดิจิทัลอย่างไม่ลังเลวางหมากหลายชั้นแบบช่อง 3 ที่กำลังอยู่ในสภาพกิ้งกือตกท่อเสียมากกว่า ช่อง 7 ยกรายการทั้งช่องมาออกอากาศคู่ขนานดิจิทัลในช่องหมายเลข 35 HD ที่เสมือนการส่งสัญญาณว่าช่อง 7 พร้อมจะขอเลิกสัญญาสัมปทานกับช่อง 5 เร็วกว่ากำหนด หากสัดส่วนผู้ชมดิจิทัลทดแทนอะนาล็อกได้ถึงระดับหนึ่งก็ไม่ความจำเป็นต้องไปจ่ายค่าสัมปทานอีกปีละ 150 ล้านบาท นอกจากนี้แล้วผู้บริหารช่อง 5 คงจะต้องเตรียมตัวตอบคำถามการนำช่อง 5 อะนาล็อกไปออกอากาศในช่อง 1 ดิจิทัลสาธารณะแบบยกทั้งผังได้หรือไม่ แม้ว่าผู้บริหารช่อง 5 จะให้คำนิยามรายการข่าวและสาระที่ทำอยู่ในปัจจุบันถึงเกณฑ์อย่างน้อย 70 % แต่ดูเหมือนว่าเอ็นจีโอสื่อกำลังจับตามองสัดส่วนรายการข่าวและสาระกับบันเทิงน่าจะอยู่ในระดับ 50/50 เท่านั้นไม่ใช่ 70/30 แต่อย่างใด หากช่อง 5 จะต้องเดินหน้าช่อง 1 ทีวีดิจิทัลสาธารณะประเภท 2 เพิ่มอีก 1 ช่องแบบเต็มรูปแบบ เพื่อทำให้ผังรายการมีความแตกต่างจากช่อง 5 ปัจจุบัน น่าจะไม่ใช่เรื่องง่ายๆเหมือนในอดีตที่ช่อง 5 ปล่อยให้ผู้ผลิตรายการมาแย่งกันเช่าเวลาอีกแล้ว เพราะผู้ผลิตรายการรายเล็กรายน้อยที่เคยแย่งไปลงผังช่อง 5 ปัจจุบันมีทางเลือกช่องทีวีดิจิทัลอีก 24 ช่องที่มีกำลังเงินว่าจ้างในรูปแบบผลิตรายการมากกว่าหรือใช้สูตรแบ่งเวลา ( Time Sharing )มากกว่า ตำแหน่ง"ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 5" คนต่อไปคงไม่ค่อยมีใครอยากมานั่งบริหารเต็มตัวที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว ในอดีตตำแหน่ง"ผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 "เป็นตำแหน่งที่แย่งชิงกันและมักมาคู่กับ"ผู้บัญชาการทหารบก"ที่จะต้องเป็นคนเลือกเอง เป็นเพื่อนที่รู้ใจมานั่งในตำแหน่งนี้ทุกครั้ง วิบากกรรมอะนาล็อกกับช่อง 5 มาเร็วกว่าที่คาดคิดไว้ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | พฤษภาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |