เมื่อวันที่ 26 ก.ย. ที่ผ่านมา ผมได้ไปร่วมงานประชุมวิสามัญประจำปี ของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยที่นายกสมาคมคนใหม่"ณัฏฐชัย อักษรดิษฐ์"ได้ขอให้ไปช่วยเสวนาในหัวข้อ "อนาคตของเคเบิลทีวีท้องถิ่น" ผมนำเสนอประเด็นให้สมาคมเคเบิลทีวีฯ ชูธง Road Map เคเบิลทีวีในบริบทใหม่ว่าด้วย "การเปลี่ยนผ่านเคเบิลทีวีแบบอะนาล็อกสู่โครงข่ายดิจิทัล"ที่น่าจะเป็น"ทางรอด" ทางเดียวของเคเบิลทีวีท้องถิ่น ในยุคทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินกำลังเป็นกระแสหลัก ของอุตสาหกรรมโทรทัศน์ในประเทศไทยนับจากนี้เป็นต้นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมองข้ามช็อตไปหลังปี 2561 เมื่อโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบอนาล็อกเกือบทุกช่องจะยุติการออกอากาศ ยกเว้นกรณีช่อง 3 ที่ยังมีอายุสัมปทานแบบอนาล็อกจนถึงวันที่ 24 มีนาคม 2563 ถ้าหากไม่ขอยกเลิกสัมปทานเสียก่อน ระบบโทรทัศน์ของไทยจะเหลือแค่ 3 ระบบคือโทรทัศน์ดิจิทัลที่ใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน,โทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่ผ่านดาวเทียม และโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกทางสายหรือเคเบิลทีวี ที่คงอยู่รอดเฉพาะบนโครงข่ายแบบดิจิทัล "เคเบิลทีวี"แบบบอกรับสมาชิกในประเทศไทยมีทั้งระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งสองประเภทกำลังเผชิญ"วิบากกรรม"จากการเกิดขึ้นของทีวีดิจิทัล 48 ช่อง หากไม่เร่งรีบปรับตัวก็ยากจะอยู่รอดหรือเติบโตได้ ยังดีที่การขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลและการแจกคูปองเพื่อแลกซื้อกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินล่าช้ามาแล้วกว่า 6-7 เดือน ทำให้เคเบิลทีวีทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติยังพอมีเวลาหายใจไปอีกระยะหนึ่ง กว่าโครงข่ายทีวีดิจิทัลจะขยายเต็มพื้นที่อย่างแท้จริงคงจะไม่น้อยกว่าอีก 2-3 ปี เคเบิลทีวีระดับชาติแบบบอกรับสมาชิกน่าจะเหลือ 2 รายใหญ่ที่มีคอนเทนท์พอจะทัดเทียมกันคือทรูวิชั่นส์กับซีทีเอช แต่เท่าที่ทราบทั้งสองรายกำลังเร่งปรับตัวอย่างมากจากผลกระทบของทีวีดิจิทัล แม้ว่าจะสามารถใช้ช่องทีวีดิจิทัล 36 ช่องตามกฎ Must Carry ในการหาสมาชิกเพิ่มเติม แต่แรงจูงใจให้ผู้บริโภคพร้อมจ่ายค่าสมาชิกกำลังลดลงเรื่อยๆ หากเนื้อหาของช่องทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่องน่าจะพร้อมอย่างเต็มรูปแบบในปีหน้า อนาคตของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีระดับชาติทั้งสองรายไม่น่าห่วงมากนัก พอเอาตัวรอดได้จาก "ทุนใหญ่" ที่หนุนหลังอยู่และยังมีเส้นสายในการขอความช่วยเหลือลดหย่อนภาระ จากคณะกรรมการกิจกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) ได้ไม่ยาก แต่เคเบิลทีวีท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วหัวระแหงในทุกจังหวัด และเกือบทุกอำเภอกำลังเผชิญแนวรบรอบด้าน ยิ่งกว่าคลื่นสึนามิที่กำลังถาโถมเข้าฝั่งหลายระลอก ทั้งจากจานดาวเทียมที่มีราคาถูกลงเรื่อยๆ,เคบิลทีวีระดับชาติที่ใช้"จาน KU-Band "มีค่าสมาชิกไม่ต่างจากเคเบิลท้องถิ่นประมาณ 300 บาท, กล่องทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินที่สามารถรับได้ถึง 48 ช่องและที่สำคัญไม่มีค่าสมาชิก,ทีวีบนออนไลน์ทั้งบนอินเทอร์เน็ตและ IPTV,ทีวีบนมือถือที่ผ่านคลื่น 3G ฯลฯ เมื่อ 4-5 ปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นพอจะมีความหวังจากการอุบัติขึ้นของบริษัท เคเบิลไทยโฮลดิ้ง จำกัดหรือ CTH ที่เกิดจากการรวมตัวกันของผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นกว่า 150 รายที่เป็นสมาชิกของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ลงขันกันประมาณ 50 ล้านบาทเพื่อทำ"ธุรกิจแพลทฟอร์มช่องรายการ"เพื่อขายให้กับเคเบิลทีวีท้องถิ่น เป้าหมายเพื่อให้มีช่องรายการเฉพาะที่ไม่อยู่บนจานดาวเทียมและทรูวิชั่นส์ แต่การดำเนินงานของบริษัท CTH ในยุคนั้นไม่ประสบความสำเร็จ อันเนื่องมาจากปัญหาในเชิงโครงสร้างการบริหารทับซ้อนกับคณะกรรมการบริหารสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยที่เป็นองค์กรวิชาชีพที่ไม่แสวงหากำไร แต่บริษัท CTH เป็นบริษัทธุรกิจที่ควรแสวงหากำไรเพื่อแข่งขันให้ได้ แล้วชื่อ"วิชัย ทองแตง"ได้ปรากฏขึ้นมาเสมือนเป็น"อัศวินขี่ม้าขาว" เข้ามากอบกู้สถานะของบริษัท CTH ด้วยเงินเริ่มต้นประมาณ 100 ล้านบาทอัดฉีดเพิ่มทุนเข้ามากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 75 % พร้อมกับ"ความฝันอันสูงสุด"หรือวิสัยทัศน์ที่ยกระดับ CTH ให้เป็นแกนกลางลงทุน เพื่อนำไปสู่โครงข่ายเคเบิลทีวีท้องถิ่นขนาดใหญ่เป็นโครงข่ายเดียว One Network ที่เป็น"ความฝัน"ของเหล่าผู้ประกอบการเคเบิลท้องถิ่นมานานแล้ว ย้อนกลับไปในช่วงก่อนหน้านั้นประมาณ 10 ปีผู้ประกอบการเคเบิลทีวีมีบทเรียนที่หวังว่าคงยังไม่มีใครในวงการเคเบิลทีวีท้องถิ่นลืมไปหมดแล้ว ในการยืนหยัดต่อกรกับ"ยักษ์ใหญ่"กลุ่มยูบีซีที่ปัจจุบันกลายมาเป็น"ทรูวิชั่นส์"ที่ใช้เครื่องมือทางกฎหมายผ่าน"ตำรวจ"ที่เป็นกลไกอำนาจรัฐหลักป้ายข้อหา"เคเบิลทีวีเถื่อน"มีการละเมิดลิขสิทธิ์เข้ากวาดจับตัดสายรื้อสถานีเคเบิล ยูบีซียังได้ใช้บริษัทของพ.ต.ต.รวมนคร ทับทิมธงไชยเป็นตัวแทนในการขายลิขสิทธิ์ช่องรายการให้กับเคเบิลทีวีท้องถิ่น เสมือนเป็นกลยุทธ์"ม้าไม้เมืองทรอย"ขายช่องรายการประมาณ 10 ช่องในราคาไม่แพงนักเพื่อให้สมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นได้ลิ้มลองคุณภาพที่เหนือกว่าช่องรายการของเคเบิลทีวีที่ดึงลงมาจากจานดาวเทียม ในอีกทาง"พ.ต.ต.รวมนคร"ได้ทยอยลงทุนเปิดเคเบิลทีวีท้องถิ่นคู่ขนานในแต่ละพื้นที่เพื่อแย่งลูกค้าตรงๆ จากรายเดิม ในจังหวะเวลานั้นช่องทีวีดาวเทียมเริ่มผุดขึ้น แล้วมาบูมสุดขีดในช่วงปี 2549-54 เกิดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดมากกว่า 200-250 ช่องท่ามกลางสถานการณ์การเมืองที่ร้อนแรงสุดขีด ในขณะที่ผู้บริหารยูบีซีประกาศ"ยกธงขาว"ไม่ให้"พ.ต.ต.รวมนคร"ทำตลาดขายช่องรายการให้อีกต่อไป เคเบิลทีวีท้องถิ่นได้กลายเป็นช่องทางหลักในการนำช่องทีวีดาวเทียมไปออกอากาศซ้ำ เพราะในช่วงนั้นจานดาวเทียมยังโตไม่ทันความต้องการ ในปี 2550 สมาชิกเคเบิลทีวีท้องถิ่นรวมกันไม่น้อยกว่า 2.5 ล้านครัวเรือน แต่จานดาวเทียมในปีนั้นไม่น่าจะเกิน 1 ล้านจาน สำนักงานของเคเบิลทีวีท้องถิ่นทุกแห่ง"หัวกระไดไม่แห้ง" ผู้บริหารระดับสูงของทีวีดาวเทียมที่ปัจจุบันส่วนใหญ่ผันตัวเองมาสู่ช่องทีวีดิจิทัล ต่างแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนเอาอกเอาใจ เจ้าของเคเบิลทีวีท้องถิ่น สมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ก็มีการรวมตัวกันเข้มแข็งต่อสู้จนมีสถานะที่ยืนในกฎหมายใหม่ และได้รับการยอมรับจากสังคมมากขึ้นในฐานะสื่อท้องถิ่นที่มีความสำคัญมากๆ ช่องหมายเลขต้นๆ ของเคเบิลทีวีท้องถิ่นมีความหมายมากกลายเป็นขุมทองของช่องทีวีดาวเทียม จนกระทั่งต้องมีข้อตกลงในการจัดหมวดหมู่เรียงช่องในรายใหญ่ๆ ใครต่อใครแย่งกันเอาอกเอาใจเจ้าของเคเบิลทีวีท้องถิ่น ส่งศิลปินนักร้องดาราในสังกัดไปช่วยเดินสายสัญจรกันอย่างคึกคักมากๆ เจ้าของเคเบิลทีวีรายใหญ่ๆ ที่ยึดกุมอำนาจอยู่ในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยล้วนแต่พูดกัน "เสียงดัง"มาก จนไม่ค่อย"ได้ยิน"เสียงร้องขอของเจ้าของช่องทีวีดาวเทียมที่เป็น"ทุนใหญ่"ที่หลายรายยอมลดศักดิ์ศรีลง เพื่อขอให้เคเบิลทีวีท้องถิ่นนำช่องทีวีดาวเทียมที่เร่งเปิดหลายช่องพร้อมๆ กันไปออกอากาศให้ครบทุกช่อง "ช่วงโลกสวย"ของธุรกิจเคเบิลทีวีท้องถิ่นเกิดขึ้นเพียง 3-4 ปีเท่านั้น เมื่อจานดาวเทียมทั้ง C-Band และ KU-Band ขยายตัวอย่างรวดเร็วเพียงแค่ไม่กี่ปีได้เติมโตขึ้นจากประมาณ 1 ล้านจานกลายเป็นมากกว่า 7-8 ล้านจานในช่วงปี 2550-2555 ความหอมหวนของเคเบิลทีวีท้องถิ่นเริ่มโรยรา กิจกรรมสัญจรของสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเริ่มไร้สีสันร่อยหรอเหลือผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมรายย่อมๆ ไปร่วมงาน แทบไม่เห็นผู้บริหารระดับสูงของช่องทีวีดาวเทียมไปร่วมงาน ยิ่งในช่วง"วิชัย ทองแตง"ได้เข้ามากอบกู้บริษัทเคเบิลไทยโฮลดิ้ง (CTH) แล้วไม่นานนักชนะประมูลลิขสิทธิ์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษได้ หลังจากยึดกุมอำนาจในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยอย่างเบ็ดเสร็จ ความสัมพันธ์แบบน้ำพึ่งเรือ-เสือพึงป่าระหว่างผู้ประกอบการในสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย กับผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมแทบจะขาดสะบั้นลงโดยสิ้นเชิง ผู้บริหาร CTH ที่มีอำนาจเหนือสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทยมอง"ช่องทีวีดาวเทียม"เป็นเชิงธุรกิจล้วนๆ ที่จะต้องคิดค่าใช้จ่ายในการอยู่บนแพลตฟอร์มของจานดาวเทียม CTH ผู้ประกอบการเคเบิลทีวีท้องถิ่นเกิดความแตกแยกอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนระหว่างกลุ่มเอา CTH กับกลุ่มไม่เอา CTH เกิดกลุ่มสมัชชาเคเบิลทีวียั่งยืนที่ประกาศ"ชักธงรบ"ไม่เอา CTH ที่มีเงื่อนไขในการเข้ากลุ่มแล้วลงทุนเปลี่ยนโครงข่ายเป็นดิจิทัลแลกกับหุ้น 60% ในขณะที่กลุ่มทีวีดาวเทียมก็หมางเมินเบนเข็มไปสู่แพลตฟอร์มทีวีดาวเทียมอย่างจริงจังเมื่อจานดาวเทียมจนกลายเป็นช่องทางหลักแทนเคเบิลทีวีท้องถิ่นไปแล้ว ห้วงเวลานั้นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฯได้ออกแผนแม่บทกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2555-2559) เน้นหนักกิจการใช้คลื่นความถี่เพื่อจัดสรรคลื่นไปสู่ทีวีดิจิทัล ธุรกิจเคเบิลทีวีท้องถิ่นแทบไร้สถานะที่ยืนชัดๆ หรือแทบไม่อยู่ในสายตาของกสท.เลย ประกาศหลายๆ ฉบับได้กลายเป็นภาระหนักทำให้หลังแอ่นในการประกอบกิจการเคเบิลทีวีท้องถิ่นท่ามกลาง"ขาลง"ที่มีคลื่นสึนามิหลายๆ ลูกสาดซัดเข้าฝั่งเป็นระลอกๆ ทางเลือก-ทางรอดของอุตสาหกรรมเคเบิลทีวีท้องถิ่นจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กันยายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |