ไม่อยากจะไปรื้อฟื้นว่าเกิดอะไรบางอย่าง "ผิดปกติ" ขึ้นในที่ประชุมคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา ที่ประชุมถกเถียงกันยาวนานกว่าจะออกมาเป็นมติ ให้ใช้หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัลอย่างต่อเนื่องหลังประมูลด้วย ถือเป็นฝีมืออันยอดเยี่ยมของโชเฟอร์ในการเลี้ยวกะทันหันไม่แหกโค้ง พ้นโค้งอันตรายของทีวีดิจิทัลปี 2 ไปได้อย่างหวุดหวิด สืบเนื่องจากสำนักกฎหมายกระจายเสียงและโทรทัศน์ของกสท. ได้สรุปในเอกสารก่อนประชุมของคณะอนุกรรมการฯว่ากสทช. ไม่มีอำนาจหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการซื้อขายหุ้นของบริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ 1998 จำกัด (มหาชน) หรือ SLC ที่เข้าซื้อหุ้นบริษัทเนชั่น มัลติมีเดีย จำกัด (มหาชน) หรือ NMG และยังอ้างว่าไม่ได้กำหนดไว้ในเอกสารประมูลทีวีดิจิทัลให้ผู้รับใบอนุญาตให้ใช้ความถี่หรือผู้ชนะประมูล จะต้องคงคุณสมบัติต่อไปหลังประมูลของการไม่มีผลประโยชน์ร่วมกันของผู้รับอนุญาตใช้คลื่นความถี่ในหมวดหมู่เดียวกัน ขอขอบคุณประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ของกสทช.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณที่เป็นปรมาจารย์ด้านกฎหมาย มีความเห็นในแนวทางให้ยึดหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิทัลต่อเนื่องหลังประมูลด้วย เพื่อให้ยังเป็นไปตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ส่วนที่ 4 การป้องกันการผูกขาด มาตรา 31 เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ครอบงำกิจการในลักษณะที่เป็นการจำกัดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่มาจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายหรือกระทำการอันเป็นการผูกขาดการประกอบกิจการสื่อมวลชนหลายประเภทในเวลาเดียวกัน ห้ามผู้รับใบอนุญาตถือครองธุรกิจในกิจการประเภทเดียวกัน หรือครองสิทธิข้ามสื่อในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ใช้คลื่นความถี่เกินสัดส่วนที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตฝ่าฝืนประกาศของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง คณะกรรมการมีอำนาจสั่งให้ผู้รับใบอนุญาตแก้ไขการฝ่าฝืนนั้นภายในเก้าสิบวัน เพื่อให้การถือครองธุรกิจเป็นไปตามประกาศดังกล่าว มาตรา 32 เพื่อส่งเสริมการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และป้องกันมิให้มีการกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ให้การประกอบกิจการของผู้รับใบอนุญาตอยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันทางการค้าและมาตรการเฉพาะที่คณะกรรมการกำหนดตามลักษณะการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ การกระทำอันเป็นการผูกขาด ลด หรือจำกัดการแข่งขันในการประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ให้หมายความรวมถึงการถือครองธุรกิจในกิจการที่เกี่ยวเนื่องหรือการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ที่ติดตั้งเป็นพิเศษเพื่อรับสัญญาณเสียงหรือภาพในลักษณะที่กีดกันการแข่งขันอย่างเป็นธรรม นอกจากนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมา ยังมีประกาศอีกฉบับของกสทช. ลงราชกิจจานุเบกษาให้มีผลบังคับใช้ ว่าด้วยการกำหนดลักษณะและมาตรการกำกับดูแลการควบรวมกิจการ การถือหุ้นไขว้และการครอบงำกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ประกาศฉบับนี้ถือเป็นการขยายความมาตรา 31-32 ให้กสท.มีอำนาจในการกำกับดูแลกิจการวิทยุและโทรทัศน์ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัลประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ 24 ช่องที่ยังมีประกาศหลักเกณฑ์ช่วงก่อนการประมูลทีวีดิจิทัลว่าด้วย"ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน"หรือ"ผู้ที่เกี่ยวโยงกัน"ที่เข้มข้นมากๆ ลอกแบบมาจากหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เช่น "ผู้ที่เกี่ยวโยงกัน" หมายความถึง ผู้บริหาร,ผู้ถือหุ้นรายใหญ่,ผู้มีอำนาจควบคุม,บุคคลที่จะได้รับการเสนอให้เป็นผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจควบคุม,ผู้ที่เกี่ยวข้องและญาติสนิทของผู้บริหาร,ผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้มีอำนาจควบคุม "ผู้ถือหุ้นรายใหญ่" หมายความว่าผู้ถือหุ้นในผู้ขอรับใบอนุญาตเกินกว่าร้อยละสิบของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของผู้ขอรับใบอนุญาตนั้น การถือหุ้นดังกล่าวให้นับรวมหุ้นที่ถือโดยผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย ประกาศกสทช.ฉบับใหม่ได้ให้นิยามไว้อย่างละเอียดมาก เช่น การควบรวมกิจการ , การครอบงำกิจการ,การถือหุ้นไขว้,ตลาดที่เกี่ยวข้อง,บริษัทใหญ่ , บริษัทย่อย,บริษัทร่วม ฯลฯ หมวด 1 มาตรการกำกับดูแลการควบรวมกิจการและการถือหุ้นไขว้ มาตรการนี้ไม่ได้ห้ามผู้รับใบอนุญาตที่ต้องการควบรวมกิจการกับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น แต่ยื่นคำขออนุญาตล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 60 วันก่อนดำเนินการ แต่จะต้องไม่เข้าข่ายตาม หมวด 2 การครอบงำกิจการโดยบุคคลผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกันที่พูดถึง"บุคคลผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน" ที่หมายความรวมถึงบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับใบอนุญาต ประกาศฉบับนี้ในข้อ 9 บอกไว้ว่ากรณีที่มีเหตุอันควรสงสัย หรือได้รับการร้องเรียนว่าผู้รับใบอนุญาตกระทำการฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้ คณะกรรมการอาจสั่งให้สำนักงานดำเนินการไต่สวนข้อเท็จจริง หรือมอบหมายให้คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจทำหน้าที่ไต่สวนตามกระบวนการที่กำหนด คดีแรกน่าจะเป็นกระบวนการไต่สวนหาข้อสรุปกรณีบริษัท SLC เข้าถือหุ้น NMG 12.27% และ"ผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน"หรือผู้ที่เกี่ยวโยงกันกับ SLC เข้าถือหุ้นหุ้นในบริษัท NMG รวมแล้วอีกมากกว่า 20% รวมแล้วมากกว่า 30 % ว่าจะผิดหรือไม่ ผู้บริหารบริษัท SLC ที่ถือหุ้น 100% ในบริษัท สปริงนิวส์ จำกัดเป็นผู้ถือใบอนุญาตช่องข่าวสปริงนิวส์ พยายามบอกว่าได้เข้าถือหุ้น NMG 12.27%ที่เมื่อทอนสัดส่วนลงไปถึงบริษัทย่อยแล้วไม่ถึง 10% โดยไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ถือใบอนุญาตทีวีดิจิทัลของ NMG คือช่องข่าว Nation TV ที่อยู่ภายใต้บริษัท NBC Next Vision ที่มีบริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น (NBC) ถือหุ้น 100% และบริษัท NBC ถือหุ้นโดย NMG 70% แต่ผู้บริหารบริษัท NMG ให้ข้อมูลกับสาธารณะและกสท.ไปแล้วว่าบริษัท SLC มีความเกี่ยวโยงหรือเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับบริษัท วธน แคปปิตัล จำกัด (มหาชน) หรือ WAT ที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท โพลาริส แคปปิตัล จำกัด (POLAR) และบุคคลอีกหลายคนที่มีความเกี่ยวโยงกันได้เข้ามาถือหุ้น NMG รวมกันทั้ง 3 ส่วนน่าจะเกินกว่า 30% แล้ว ถือว่าเข้าข่ายผิดกฎผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน ตามหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายกสทช. มีความเห็นว่าจำเป็นจะต้องใช้ต่อเนื่อง สำนักงานกสท.ได้นัดหมายคู่กรณีแล้วในวันที่ 10 ก.พ.เชิญตัวแทนบริษัท NMG และ NNV และวันที่ 11 ก.พ.เชิญตัวแทนบริษัท SLC และบริษัท สปริงนิวส์ รวมทั้งจะเชิญตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับคณะกรรมการกำกับดูแลหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์มาสอบถามด้วย คำตัดสินของกสท.จะถือเป็นบรรทัดฐานที่สำคัญ ในอุตสาหกรรมโทรทัศน์ยุคดิจิทัลของไทยที่เข้าสู่ปีที่ 2 ว่าจะเดินหน้าไปใน"ลู่วิ่ง" ที่กำหนดหลักเกณฑ์ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันไว้ก่อนประมูล หรือไม่ต้องมีลู่วิ่งอีกต่อไปและไม่คำนึงถึงมาตรา 31-32 ตามพรบ.ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ ปี 2551 กรณีนี้น่าจะซับซ้อนและซ่อนเงื่อนมีเดิมพันมากกว่ากรณีช่อง 3 ไม่ยอมนำช่อง 3 HD ไปออกคู่ขนาน ที่ไม่ได้สำคัญถึงขนาดชี้เป็นชี้ตายทิศทางอุตสาหกรรมทีวีดิจิทัล |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | กุมภาพันธ์ 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |