*/
<< | พฤษภาคม 2009 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ศาสนธรรม คือ คำสั่งสอนนั้น
มีปริยายเป็นอันมาก กล่าวโดยย่อโดยนัยหนึ่งเป็นสองคือ
ธรรมอันเป็น สังขตะ ในที่นี้น่าจะหมายถึงธรรมที่ บุคคลทำอย่างหนึ่ง
อสังขตะ ในที่นี้น่าจะหมายถึงธรรมที่บุคคลไม่ได้ทำอย่างหนึ่ง
สังขตธรรม ธรรมที่บุคคลทำนั้น เมื่อกล่าวโดยทั่วไปก็เป็นส่วนที่ดีที่เป็นกุศลอย่างหนึ่ง เป็นส่วนที่ชั่วเป็นอกุศลอย่างหนึ่ง เป็นส่วนกลาง ๆ ที่เรียกอัพยากฤตอย่างหนึ่ง ธรรมอันใดอันบุคลทำทางกาย
ทางวาจา ทางใจ เป็นไปในทางที่ดีทางที่ชอบ ธรรมอันนั้น ได้ชื่อว่า เป็นกุศล ธรรมอันใดที่บุคคลทำทางกายวาจาใจ เป็นไปในทางชั่วทางผิด
ธรรมอันนั้นได้ชื่อว่าเป็นอกุศล ธรรมอันใดเป็นไปในทางกาย วาจา ใจ อันไม่จัดว่าเป็นดีเป็นชั่วเพราะเป็นวิบาก ธรรมอันนั้นได้ชื่อว่า อัพยากฤต,
ธรรมที่เป็นอัพยากฤตจงยกไว้ ธรรมที่เป็นส่วนกุศล และธรรมที่เป็นส่วนอกุศล ทั้ง ๒ อย่างนี้ไม่ใช่มีที่อื่น มีที่บุคคล เพราะบุคคลทำจึงเกิดขึ้น บุคคลเมื่อแรกเกิดมายังไม่แสดงว่า เป็นคนดีหรือเป็นคนชั่วเพราะยังไม่ได้ทำอะไร ต่อเมื่อบุคคลได้ทำดีอย่างไร ผลที่ดีก็ปรากฏ
ทำชั่วอย่างไร ผลที่ขั่วก็ย่อมปรากฏ เมื่อบุคคลทำกรรมใดประกอบด้วยความดีกรรมอันนั้นเป็นกุศล เมื่อบุคคลทำกรรมใดประกอบด้วยความชั่ว
กรรมอันนั้นก็เป็นอกุศล
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติธรรมอันนั้นที่บุคคล ไม่ใช่บัญญัติที่อื่น เพราะฉะนั้น บุคคลทุก ๆ คนถึงจะเข้าใจว่า ตนเองเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง กับธรรม ธรรมก็ต้องไม่เกี่ยวข้องกับตนนั้นเป็นความเข้าใจผิด เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นคนแล้ว จะพ้นจากธรรมที่ดีและธรรมที่ชั่วนั่นไม่ได้เลย บุคคลต้องทำกิจการ ทางกายบ้าง
ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง ถ้ากิจการนั้นเป็นส่วนดี เป็นกุศลผลก็เผล็ดปรากฏที่บุคคลให้เป็นดี ถ้ากิจการนั้นเป็นส่วนชั่วเป็นอกุศล
ผลก็เผล็ดปรากฏที่บุคคลให้เป็นคนชั่ว เพราะบุคคลทำดีทำชั่วเช่นนี้
ความดีหรือธรรมที่ดี และความชั่วหรือธรรมที่ชั่ว จึงเป็นสังขตธรรม
ธรรมที่บุคคลต้องปรุงต้องแต่งอยู่ตามธรรมดา ตั้งแต่ส่วนหยาบที่เห็นง่าย ๆ และละเอียดขึ้นไปโดยลำดับบุคคลอยากจะเป็นคนดี แต่ไม่ประพฤติธรรมที่ดี ก็เป็นคนดีไปไม่ได้ บุคคลแม้ไม่อยากเป็นคนดี แต่เมื่อประพฤติธรรมที่ดีก็คงเป็นคนดีไปตามธรรมนั้นเอง สังขตธรรมที่เป็นส่วนดีเป็นกุศลนั้น เมื่อแยกออกเป็นภูมิเป็นชั้น
ก็มีประเภทเป็น ๔ คือ
ความดีอันตรงกันข้ามกับความชั่ว,
ที่บุคคลผู้ทำดียังมุ่งยินดีติดอยู่ในกาม ก็เป็นกามาวจรกุศล,
ความดีที่บุคคลทำด้วยมุ่งตั้งใจมั่นในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง,
อันเป็นกัมมัฏฐานจนใจแน่นอนมั่นคง กำจัดความฟุ้งซ่านเสียได้เป็นรูปฌานก็เป็นรูปาวจรกุศล คุณความดีที่บุคคลทำด้วยความตั้งใจมั่นในอารมณ์เดียว อันละเอียด จนกว่าจิตนั้นแน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
เป็นอรูปฌาน ก็เป็นอรูปาวจรกุศล ทั้ง ๓ ประเภทนี้หยาบและละเอียดกว่ากันเป็นชั้น ๆ แต่ถึงเช่นนั้น ก็ชื่อว่าสังขตะธรรมที่บุคคลต้องทำส่วนคุณความดีที่เป็นเครื่องทำลายภพทำลายชาติ ได้แก่อริยมรรคทางดำเนินของพระอริยเจ้า มีองค์ ๘ ประการ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเป็นข้อต้น สัมมาสมาธิ การตั้งใจชอบ เป็นข้อสุดท้าย สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบนั้น ท่านแสดงไว้ว่ารู้ในทุกข์ รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์
รู้ในความดับทุกข์ รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิ
ความเห็นชอบเพียงเท่านี้ดูเหมือนว่า สัมมาทิฏฐิทำจะไม่ยากเท่าไร
เพราะใคร ๆ ได้ศึกษาพระพุทธศาสนาก็ย่อมรู้ว่าเป็นทุกข์
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับทุกข์นี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
แต่นั้นเป็นปริยัติธรรมตามที่ท่านแสดงไว้ ไม่ใช่ความเห็นที่เกิดปรากฏแน่ชัดแก่ใจเองความเห็นอย่างนั้นยังไม่เป็นตัวสัมมาทิฏฐิการพิจารณาอริยสัจ ๔ เพื่อให้เห็นจริงแต่ยังไม่เห็นจริง ยังดับตัณหาไม่ได้
น่าจะเป็นเพียงแต่ทำสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ยังไม่ใช่สัมมาทิฏฐิ ต่อเมื่อสามารถทำสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบแน่ชัดให้ปรากฏขึ้นดับตัณหาได้ไม่ใช่เพียงกำลังพิจารณาจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ก็ต้องอาศัยการทำสัมมาทิฏฐินั้นแหละเป็นปัจจัย คือ ต้องอาศัยการพิจารณาไปให้รู้จักว่า
นี้ทุกข์ นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
การพิจารณาก็ต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียน ถ้าบุคคลไม่ศึกษาเล่าเรียนแล้ว ก็ไม่ได้รู้ธรรมที่เป็นคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า. เพราะฉะนั้น เมื่อกล่าวโดยย่อ การศึกษาเล่าเรียนธรรม เป็นเบื้องต้น
และก็ต้องพิจารณาให้รู้เนื้อความทั่วถึง เมื่อรู้เนื้อความแล้วต้องปฏิบัติตาม
คือต้องพิจารณาให้เห็นจริง จนความจริงปรากฏขึ้น การพิจารณาก็ต้องพิจารณาสิ่งที่ได้ประสบ ก็บุคคลได้ประสบอะไรก่อนและประสบอยู่เสมอ
เมื่อพิจารณาดูก็น่าจะเห็นว่า ประสบกายนี้ก่อน เมื่อประสบกายอันนี้แล้วจึงประสบสิ่งอื่น ๆ อันเนื่องต่อกันไป กายและสิ่งที่มาประสบกายนั้น
ก็ล้วนมีความเกิดขึ้นในเบื้องต้น แล้วก็แปรปรวนไปในที่สุดก็ต้องแตกสลายไปเหมือนกันหมดแม้สิ่งอื่น ๆ และยังคงอยู่ แต่เมื่อกายนี้แตกสลายแล้ว สิ่งเหล่านั้นก็ไม่เกี่ยวของกับกาย เพราะฉะนั้น กายนี้แล
เป็นเบื้องต้นของสิ่งที่ประสบ กายนี้เป็นตัวทุกข์ เมื่อพิจารณาเห็นกายนี้เป็นทุกข์จริง ๆ ปรากฏขึ้น ก็ได้ชื่อว่าเห็นทุกข์เมื่อเห็นทุกข์ตามความจริงแล้ว สิ่งที่มาเกี่ยวข้องกับกาย ก็มาเกี่ยวข้องกับทุกข์นั่นเอง ความดิ้นรนด้วยอำนาจความปรารถนาจะให้กายเป็นอะไรไปต่าง ๆ ก็เท่ากับปรารถนาทุกข์นั้นเองให้เป็นไปต่าง ๆ แม้ดิ้นรนจะให้กายปราศจากสิ่งที่ไม่ชอบ และภพที่ไม่ชอบ ก็เท่ากับดิ้นรนใจเพื่อให้ทุกข์ปราศจากสิ่งที่ไม่ชอบและภพที่ไม่ชอบ ก็ยิ่งเป็นทุกข์ยิ่งขึ้นไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ เมื่อพิจารณาเห็นจริงเช่นนั้นแล้ว ก็อาจบรรเทาละความดิ้นรนใจเพื่อให้ได้ เพื่อให้เป็น เพื่อให้ปราศจากเสียได้ นี้ชื่อว่าเห็นเหตุเกิดทุกข์ และเห็นความดับทุกข์
ความดับทุกข์จะมีได้ก็ต้องอาศัยปัญญาที่พิจารณาเห็นธรรมที่จริง
ตามความเป็นจริงคือเห็นอริยสัจ ๔เหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงแสดงว่า บรรดาสังขตธรรม ธรรมคือธรรมที่บุคคลทำให้เกิดขึ้นทั้งหลายมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นยอดของธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนอสังขตธรรมเมื่อพิจารณาและสันนิษฐานโดยภูมิ
ตั้งแต่เบื้องต่ำขึ้นไป ก็น่าจะได้แก่ตอนหนึ่ง ๆ ของทางที่บรรลุถึง
เช่นทางบ้านนี้ถึงบ้านนั้น จากบ้านนั้นถึงบ้านโน้นต่อ ๆ ไปจนถึงที่สุดบุคคลจะบรรลุถึงตอนหนึ่ง ๆ แห่งทางจนถึงที่สุดได้ ก็เพราะการดำเนิน
ตอนหนึ่ง ๆ แห่งทางนั้น บุคคลไม่ได้ทำ เป็นแต่ดำเนินไปถึง จึงน่าจะได้ชื่อว่า เป็นอสังขตะแต่ว่าเป็นต่อ ๆ กัน ส่วนอสังขตธรรมชนิดที่ไม่มีต่อ ๆ
ไป เป็นธรรมอย่างสูงสุด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าวิราคะ
การปราศจากความติดอยู่ เมื่อไม่ติดอยู่ด้วยประการทั้งปวงจึงเป็นวิราคะคือความพ้นอย่างสูงสุด ในทางพระพุทธศาสนา แต่ว่าธรรมอันสูงสุดนั้นยากที่บุคคลเราจะคิดเห็น แต่ถึงเช่นนั้น เมื่อพิจารณาโดยเทียบเคียงก็พอจะเห็นเค้าได้บ้าง
บุคคลติดอยู่ในส่วนใด หลุดพ้นจากส่วนนั้น ก็เป็นอันหลุดพ้นได้ตอนหนึ่งเช่นบุคคลที่ยังเป็นเด็ก ก็หมกมุ่นติดอยู่ในการเล่นของเด็ก ๆเมื่อรู้สึกว่าการเล่นของเด็กไม่เป็นการดี การชอบอะไรแล้ว ก็เลิกละการเล่นนั้น ๆ เสีย นี้ก็เป็นการหลุดพ้นชั้นหนึ่ง เมื่อพิจารณาเห็นว่า ติดอยู่ในอะไร
และพิจารณาเห็นว่าไม่ดีไม่ชอบจนเห็นแน่นอน ความหลุดพ้นจากสิ่งนั้น ก็ย่อมปรากฏขึ้นเป็นลำดับ ๆ ขึ้นไป ความชั่วอันใดที่บุคคลติดอยู่
บุคคลพิจารณาเห็นความชั่วนั้นว่าเป็นชั่วจริง ๆ แล้ว หลุดพ้นจากความชั่วชั้นหนึ่ง ๆ ก็ได้ชื่อว่าพ้นจากความชั่วเป็นลำดับ ๆ ไป
บุคคลจะพ้นจากความชั่วที่เป็นชั้นสูง ก็ต้องพ้นความชั่วอันเป็นชั้นต่ำขึ้นไปเป็นลำดับ เช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติมาตั้งแต่ก่อนตรัสรู้เป็นตัวอย่างธรรม เมื่อกล่าวโดยย่อโดยนัยหนึ่งเป็นสองประเภท คือสังขตธรรมหนึ่ง อสังขตธรรมหนึ่ง ด้วยประการฉะนี้.
( วชิร. ๖๑๑-๖๑๗ ). |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |