วันพุธ ที่ 20 มกราคม 2559
Posted by
อาโป
,
ผู้อ่าน : 2050
, 07:10:38 น.
หมวด : ศาสนา
พิมพ์หน้านี้
โหวต
3 คน
..เวลาสวัสดิ์..
,
bepran
และอีก 1 คนโหวตเรื่องนี้


.

............................................................................................................................................................
โดยในครั้งพุทธกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อครั้งเสด็จไปโปรดพุทธมารดา ได้ยกพระอภิธรรม 7 คัมภีร์เพื่อตอบแทนพระคุณของมารดา จึงเลือกธรรมะแสดงแก่พุทธมารดาฟังที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะเป็นสวรรค์ชั้นกลางๆ เทวดาชั้นต่ำก็สามารถขึ้นไปฟังได้ ชั้นที่สูงกว่าก็ลงมาฟังได้ ทำให้เหล่าเทวดาทั้งหลายได้บรรลุธรรมพร้อมกัน มีพระโสดาบันเป็นเบื้องต่ำ และอนาคามีเป็นเบื้องสูง พุทธมารดาทรงจุติที่สวรรค์ชั้นดุสิต เป็นสวรรค์ชั้นสูงกว่าดาวดึงส์ ใช้เวลาในการแสดง 3 เดือน (1 พรรษา) ปัจจุบันพระสงฆ์จึงใช้ธรรมะหมวดอภิธรรมเป็นบทสวดเนื่องในการสวดอภิธรรมศพ
1.พระสังคิณี กุสะลา ธัมมา ; ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข มากามาวจรกุศลเป็นต้น อกุสะลา ธัมมา ; ธรรมที่เป็นอกุศลให้ผลเป็นทุกข์ มีโลภมูลจิตแปดเป็นต้น อัพ ยากะตา ธัมมา ; ธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นจิตกลางๆ มีอยู่ มีผัสสะเจตนาเป็นต้น กะตะเม ธัมมา กุสะลา ยัสมัง สะมะเย ; ในสมัยใด ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุขย่อมบังเกิดขึ้นอย่างไรบ้าง กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง ; จิตที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข ย่อมนำสัตว์ให้ไปเกิดในกามภพทั้งเจ็ด คือมนุษย์ 1 สวรรค์ 6 อุปปันนัง โหติ ; ย่อมบังเกิดมีแก่ปุถุชนผู้เป็นสามัญชน โสมะนัสสะสะหะคะตัง ; เป็นไปพร้อมกับจิตด้วย ที่เป็นโสมนัสความสุขใจ ญาณะสัมปะยุตตัง ; ประกอบพร้อมด้วยญาณเครื่องรู้คือปัญญา รูปารัม มะณัง วา ; มีจิตยินดีในรูป มีรูปพระพุทธเจ้าเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง สัทธารัมมะณัง วา ; มีจิตยินดีในเสียง มีเสียงท่านแสดงพระสัทธรรมเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง คัน ธารัมมะณัง วา ; มีจิตยินดีในกลิ่นหอม แล้วคิดถึงการกุศล มีพุทธบูชาเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ระสารัมมะณัง วา ; มีจิตยินดีในรสเครื่องบริโภค แล้วยินดีใคร่บริจาคเป็นทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง โผฏฐัพพารัมมะณัง วา ; มีจิตยินดีในอันถูกต้อง แล้วก็คิดให้ทานเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ธัมมารัมมะณัง วา ; มีจิตยินดีในที่เจริญพระสัทธรรมกรรมฐาน มีพุทธานุสสติเป็นต้น เป็นอารมณ์บ้าง ยัง ยัง วา ปะนารัพภะ ; อีกอย่างหนึ่งความปรารภแห่งจิต ก็เกิดขึ้นในอารมณ์ใดๆ ตัสมิง สะมะเย ผัสโส โหติ ; ความกระทบผัสสะแห่งจิต จิตที่เป็นกุศลก็ย่อมบังเกิดขึ้นในสมัยนั้น อะ วิกเขโป โหติ ; อันว่าเอกัคคตาเจตสิกอันแน่แน่วในสันดานก็ย่อมบังเกิดขึ้น เย วา ปะนะ ตัสมิง สะมะเย ; อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายเหล่าใด ก็ย่อมบังเกิดขึ้นในกาลสมัยนั้น อัญ เญปิ อัตถิ ปะฏิจจะสะมุปปันนา ; ธรรมทั้งหลายอาศัยซึ่งจิตทั้งหลายอื่นมีอยู่ แล้วอาศัยกันและกันก็บังเกิดมีขึ้นพร้อม อะรู ปิโน ธัมมา ; เป็นแต่นามธรรมทั้งหลายไม่มีรูป อิ เม ธัมมา กุสะลา ; ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข แก่สัตว์ทั้งหลายแล
2.พระวิภังค์
ปัญจักขันธา ; กองแห่งธรรมชาติทั้งหลายมี 5 ประการ รูปักขันโธ ; รูป 28 มีมหาภูติรูป 4 เป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง เวทะนากขันโธ ; ความเสวยอารมณ์ เป็นสุขและเป็นทุกข์ เป็นโสมนัสและโทมนัส และอุเบกขา เป็นกองอันหนึ่ง สัญญากขันโธ ; ความจำได้หมายรู้ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธัมมารมณ์ อันบังเกิดในจิต เป็นกองอันหนึ่ง สังขารักขันโธ ; เจตสิกธรรม 50 ดวง เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตให้คิดอ่านไปต่างๆ มีบุญเจตสิกเป็นต้นที่ให้สัตว์บังเกิด เป็นกองอันหนึ่ง วิญญาณักขันโธ ; วิญญาณจิต 89 ดวงโดยสังเขป เป็นเครื่องรู้แจ้งวิเศษมีจักขุวิญญาณเป็นต้น เป็นกองอันหนึ่ง ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ ; กองแห่งรูปในปัญจขันธ์ทั้งหลายนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ยัง กิญจิ รูปัง ; รูปอันใดอันหนึ่ง อะตีตานาคะตะปัจ จุปันนัง ; รูปที่เป็นอดีตอันก้าวล่วงไปแล้ว และรูปที่เป็นอนาคตอันยังมาไม่ถึง และรูปที่เป็นปัจจุบันอยู่ อัชฌัตตัง วา ; เป็นรูปภายในหรือ พะ หิทธา วา ; หรือว่าเป็นรูปภายนอก โอฬาริกัง วา ; เป็นรูปอันหยาบหรือ สุขุมัง วา ; หรือว่าเป็นรูปอันละเอียดสุขุม หีนัง วา เป็นรูปอันเลวทรามหรือ ประณีตัง วา ; หรือว่าเป็นรูปอันประณีตบรรจง ยัง ทูเร วา ; เป็นรูปในที่ไกลหรือ สันติเก วา ; หรือว่าเป็นรูปในที่ใกล้ ตะเทกัชฌัง อะภิวัญญูหิตวา ; พระผู้มีพระภาคทรงประมวลเข้ายิ่งแล้วซึ่งรูปนั้นเป็นหมวดเดียวกัน อะภิสังขิปิตวา ; พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่นย่อเข้ายิ่งแล้ว อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ ; กองแห่งรูปธรรมอันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสว่าเป็นรูปขันธ์ แล
3.พระธาตุกถา
สังคะโห ; พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูปเข้าในขันธ์เป็นหมวด 1 อะสังคะโหฯ ; พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งรูปธรรมทั้งหลายเข้าในขันธ์เป็นหมวด 1 สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง ; พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง ; พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์ สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง ; พระพุทธองค์สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันสงเคราะห์แล้ว อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตังฯ ; พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งเจตสิกรูป ด้วยธรรมอันมิได้สงเคราะห์ สัมปะโยโค ; เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบพร้อมกับจิต 55 วิป ปะโยโคฯ ; เจตสิกธรรมทั้งหลายอันประกอบแตกต่างกันกับจิต สัม ปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง ; ประกอบเจตสิกอันต่างกัน ด้วยเจตสิกอันประกอบพร้อมกันเป็นหมวดเดียว วิป ปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง ; ประกอบเจตสิกอันบังเกิดพร้อมกัน ด้วยเจตสิกอันต่างกันเป็นหมวดเดียว อะสังคะหิ ตังฯ ; พระพุทธองค์ไม่สงเคราะห์ซึ่งธรรมอันไม่สมควรสงเคราะห์ให้ระคนกัน
4.พระปุคคะละปัญญัติ
ฉะ ปัญญัตติโย ; ธรรมชาติทั้งหลาย 6 อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ขันธะปัญญัตติ ; กองแห่งรูปและนามเป็นธรรมชาติ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ อายะตะนะปัญ ญัตติ ; บ่อเกิดแห่งตัณหา คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ สัจจะปัญญัตติ ; ของจริงอย่างประเสริฐ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ อิน ทริยะปัญญัตติ ; อินทรีย์ 22 เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ ปุคคะละปัญญัตติ ; บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ กิต ตาวะตา ปุคคะลานัง ; แห่งบุคคลทั้งหลายนี่มีกี่จำพวกเชียวหนอ ปุคคะละปัญญัตติ ; บุคคลที่เป็นธรรมชาติอันบัณฑิตพึงแต่งตั้งบัญญัติไว้ สะ มะยะวิมุตโต ; พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษเป็นสมัยอยู่ มีพระโสดาบันเป็นต้น อะสะมะยะวิมุตโต ; พระอริยบุคคล ผู้มีจิตพ้นวิเศษไม่มีสมัย มีพระอรหันต์เป็นต้น กุปปะธัมโม ; ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมกำเริบสูงไป อะกุปปะธัมโม ; ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ย่อมไม่กำเริบ ปะริหานะธัมโม ; ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมเสื่อมถอยลง อะ ปะริหานะธัมโม ; ฌานที่เป็นเครื่องเผากิเลส อันบุคคลได้สูงขึ้นไปแล้ว ย่อมไม่เสื่อมถอย เจตะนาภัพโพ ; ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ไม่สามารถที่จะรักษาไว้ในสันดาน อะนุรักขะนาภัพโพ ; ฌานที่เป็นเครื่องฆ่ากิเลส อันบุคคลได้แล้ว ก็ตามรักษาไว้ในสันดาน ปุถุช ชะโน ; บุคคลที่มีอาสวะเครื่องย้อมใจ อันหนาแน่นในสันดาน โค ตระภู ; บุคคลที่เจริญในพระกรรมฐานตลอดขึ้นไปถึงโคตรภู ภะ ยูปะระโต ; บุคคลที่เป็นปุถุชน ย่อมมีความกลัวเป็นเบื้องหน้า อะภะยูปะระโต ; พระขีณาสะวะ บุคคลผู้มีความกลัวอันสิ้นแล้ว ภัพพาคะมะโน ; บุคคลผู้มีวาสนาอันแรงกล้า สามารถจะได้มรรคและผลในชาตินั้น อะภัพพาคะมะโน ; บุคคลผู้มีวาสนาอันน้อย ไม่สามารถจะได้รับมรรคผลในชาตินั้น นิยะโต ; บุคคลผู้กระทำซึ่งปัญจอนันตริกรรม มีปิตุฆาตเป็นต้น อะนิยะโต ; บุคคลผู้มีคติปฏิสนธิไม่เที่ยง ย่อมเป็นไปตามยถากรรม ปะฏิปันนะโก ; บุคคลผู้ปฏิบัติมั่นเหมาะในพระกรรมฐาน เพื่อจะได้พระอริยมรรค ผะเลฏฐิโต ; บุคคลผู้ตั้งอยู่ในพระอริยผล มีพระโสดาบันปัตติผลเป็นต้นตามลำดับ อะระหา ; บุคคลผู้ตั่งอยู่ในพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลส อะระหัตตายะ ปะฏิปันโน ; บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อจะให้ถึงพระอรหัตตผล เป็นผู้ควรแล้ว เป็นผู้ไกลแล้วจากกิเลสฯ
5.พระกถา วัตถุ
ปุคคะโล ; มีคำถามว่าสัตว์ว่าบุรุษว่าหญิงว่าชาย อุปะลัพ ภะติ ; อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่านเถิด สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ; โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือ อา มันตา ; มีคำแก้ตอบว่าจริง สัตว์บุคคลหญิงชายมีอยู่ฯ โย ; มีคำถามว่า ปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้นทั้งหลายเหล่าใด สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ; เป็นปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน ตะโต โส ; โดยปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เหล่านั้น ปุ คคะโล ; ว่าเป็นสัตว์บุคคลเป็นหญิงเป็นชาย อุปะ ลัพภะติ ; อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ ; โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้มีอยู่หรือฯ นะ เหวัง วัตตัพเพ ; มีคำแก้ตอบว่า ประเภทของปรมัตถ์มีขันธ์ 5 เป็นต้น เราไม่มีพึงกล่าวเชียวหนอฯ อาชานาหิ นิคคะหัง ; ผู้ถามกล่าวตอบว่า ท่านจงรับเสียเถิด ซึ่งถ้อยคำอันท่านกล่าวแล้วผิด หัญจิ ปุคคะโล ผิแล ; ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย อุ ปะลัพภะติ ; อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ ; โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถอันจริงแท้มิได้แปรผัน เตนะ ; โดยประการอันเรากล่าวแล้วนั้น วะตะ เร ; ดังเรากำหนด ดูก่อนท่านผู้มีหน้าอันเจริญ วัต ตัพเพ โย ; ปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้น อันเราพึงกล่าว สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ; เป็นอรรถอันกระทำในสว่างแจ้งชัด เป็นอรรถอันอุดม ตะโต โส ; โดยปรมัตถธรรมมีประการ 57 มีขันธ์ 5 เป็นต้นเหล่านั้น ปุ คคะโล ; ว่าเป็นสัตว์เป็นบุคคลเป็นหญิงเป็นชาย อุ ปะลัพภะติ ; อันท่านควรรู้ด้วยปัญญา อันบังเกิดในสันดานของท่าน สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติฯ ;โดยปรมัตถ์คืออรรถอันอุดม เป็นอรรถจริงแท้มิได้แปรผันดังนี้ มิจฉา ท่านกล่าวในปัญหาเบื้องต้นกับปัญหาเบื้องปลาย ผิดกันไม่ตรงกันฯ
6.พระยะมะกะ เย เกจิ ; จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด กุสะลา ธัมมา ; ธรรมที่เป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ สัพเพ เต ; จิตแลเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น กุสะลมูลา ; เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ฯ เย วา ปะนะ ; อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น กุ สะลามูลา ; เป็นมูลเป็นที่ตั้งของรากเหง้าแห่งกุศล ให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ สัพเพ เต ธัมมา ; ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น กุ สะลา ; ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ฯ เย เกจิ ; จิตและเจตสิกบางพวกทั้งหลายเหล่าใด กุ สะลา ธัมมา ; ธรรมเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ สัพเพ เต ; จิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น กุสะละมูลเลนะ เอกะมูลา ; เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งแห่งกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตควร สะสมไว้แล้วฯ เย วา ปะนะ ; อีกอย่างหนึ่ง จิตและเจตสิกทั้งหลายเหล่านั้น กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา ; เป็นมูลอันหนึ่งด้วยเป็นมูลเป็นที่ตั้งห่างกุศลให้ผลเป็นสุขอันบัณฑิตควร สะสมไว้ สัพเพ เต ธัมมา ; ธรรมคือจิตและเจตสิกทั้งหลายทั้งปวง กุสะลา ; ชื่อว่าเป็นกุศลให้ผลเป็นสุข อันบัณฑิตควรสะสมไว้ฯ
7.พระมหาปัฏฐาน
เหตุปัจจะโย ; ความไม่โลภไม่โกรธไม่หลงเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดในที่สุข อารัมมะณะปัจจะโย ; อารมณ์ความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อะธิปะติปัจจะโย ; ธรรมที่ชื่อว่าอธิบดี 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อะ นันตะระปัจจะโย ; จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้แจ้งวิเศษในทวารทั้ง 6 เนื่องกันไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด สะมะนันตะระปัจจะโย ; จิตอันกำหนดในวัตถุและรู้วิเศษในทวารทั้ง 6 พร้อมกัน ไม่มีระหว่าง เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด สะหะชา ตะปัจจะโย ; จิตและเจตสิกอันบังเกิดกับดับพร้อม เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อัญญะ มัญญะปัจจะโย ; จิตและเจตสิกค้ำชูซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด นิสสะยะ ปัจจะโย ; จิตและเจตสิกอาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อุปะนิ สสะยะปัจจะโย ; จิตเจตสิกอันเข้าไปใกล้อาศัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ปุเรชา ตะปัจจะโย ; อารมณ์ 5 มีรูปเป็นต้นมากระทบซึ่งจักษุ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ปัจฉาชา ตะปัจจะโย ; จิตและเจตสิกที่บังเกิดภายหลังรูป เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อาเสวะ นะปัจจะโย ; ชะวะนะจิตที่แล่นไปส้องเสพซึ่งอารมณ์ต่อกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด กัมมะ ปัจจะโย ; บุญบาปอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ในที่ดีที่ชั่ว วิปากะปัจจะโย ; และวิเศษแห่งกรรมอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในที่ดีที่ชั่ว อา หาระปัจจะโย ; อาหาร 4 มีผัสสาหารเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อินทริ ยะปัจจะโย ; ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในตา หู จมูก ลิ้น กายใจ เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด ฌานะปัจ จะโย ; ธรรมชาติเครื่องฆ่ากิเลส เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในรูปพรหม มัคคะ ปัจจะโย ; อัฏฐังคิกะมรรคทั้ง 8 มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดในโลกอุดร สัม ปะยุตตะปัจจะโย ; จิตและเจตสิกอันบังเกิดสัมปยุตพร้อมในอารมณ์เดียวกันเป็นเครื่องอาศัยเป็น ปัจจัยให้บังเกิด วิปปะยุตตะปัจจะโย ; รูปธรรมนามธรรมที่แยกต่างกัน มิได้ระคนกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด อัตถิ ปัจจะโย ; รูปธรรมนามธรรมที่ยังไม่ดับ เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิด นัตถิ ปัจจะโย ; เจตสิกที่ดับแล้ว เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้เกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน วิคะตะปัจจะโย ; จิตและเจตสิกที่แยกต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบัน อะวิคะตะปัจจะโยฯ ; จิตและเจตสิกที่ดับและมิได้ต่างกัน เป็นเครื่องอาศัยเป็นปัจจัยให้บังเกิดจิตและเจตสิกในปัจจุบันฯ.
...............................
 มูลที่เป็นเหตุแห่งความหลง
.............................................................

ศีล สมาธิ ปัญญา
....................................................................................................................................................
|