หากเราอยากฟังเพลงสักเพลงหนึ่งในตอนนี้ เราแค่หยิบมือถือ แท็บเล็ต เปิดคอมหรือเปิดเว็บด้านมัลติมีเดียขึ้นมา แล้วทำการใส่ชื่อหรือค้นหาเพลงที่ต้องการลงไป ปิดท้ายด้วยการกดเล่นเพงนั้นๆไป แล้วก็ฟังตามอารมณ์ ซึ่งเป็นอะไรที่ง่ายม๊ากมาก พอๆกับปอกกล้วยให้ลิงกินเลย แถมเพลงนั้นก็หาง่ายมากๆ เพราะเดี๋ยวนี้สามารถหาซื้อเป็นไฟล์ดิจิตอลผ่านเแหลงซื้อขายออนไลน์ได้แล้ว หรือจะหาโหลดผ่านระบบดาวน์โหลดของค่ายเพลงต่างๆก็ได้ จะเพลงเต็ม MV หรือ Ringtone ก็ครบครัน บางคนชอบการซื้อแบบเต็มอัลบั้มแบบแผ่น ที่ก็ถือว่าสะดวกพอๆกัน( บางคนเถื่อนๆหน่อยๆก็ลักโหลดฟรีเอานะครับ =_= ) แต่ก่อนที่การฟังเพลงจะง่ายดายเกือบเกินบรรญายแบบนี้่นั้น บรรดาผู้ที่มีอายุ ( ปัจจุบัน ) 20+ ขึ้นไปยังจำกันได้ไหมครับว่าครั้งนึงเคยใช้อะไรในการฟังเพลง ยังจำได้ไหมครับว่าเคยอัด Cover เพลงอะไรใส่เทปไว้จีบสาว ยังจำได้ไหมครับว่าความรู้สึกหมือนเป็นดาวเมื่อพกมันไปตามสถานที่ต่างๆเป็น ยังไงและยังจำได้ไหมว่าครั้งหนึ่งตอ้อนพ่อขอแม่ด้วยความยายามขนาดไหนเพื่อ ให้ได้มาซึ่งอุปกรณ์เล็กๆไม่ใหญ่นามว่า " ซาวน์อเบาท์ "
ผมเชื่อแน่ๆเลยว่าเด็กอายุซัก 16 - 17 หรือน้อยๆลดหลั่นลงไปในปัจจุบันนี้นั้นไม่รู้จักอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า " ซาวน์อเบาท์ " และเชื่อว่าถ้าได้เห็นหน้าตาของซาวน์อเบาท์แล้วไม่บอกถึงความสามารถของมัน นั้นก็คงงงๆกันไปอีก ว่าอิเจ้ากล่องดำๆ หนาๆ หน้าตาพิลึกกึกกือนี่คืิออะไร? กล้องถ่ายรูปหรือ? หรือของเล่นใหม่?
เอาจริงๆผมไม่ทราบแน่ชัดนะครับว่าซาวน์อเบาท์นี่เกิดขึ้นในช่วง พ.ศ ไหนและไม่รู้ว่าจริงๆชื่อ ซาวน์อเบาท์ จะสะกดแบบนี้รึเปล่า แต่เท่าที่เดาๆดูแล้วนั้นน่าจะเกิดขึ้นไม่นานหลังจากที่ " เทปคาสเซ็ท " ถือกำเนิดขึ้ แล้วบริษัท Phillips ก็ยกเอามาทำเป็นแบบพาพาสำหรับงานด้าเพลงในปี 1962 และมีการผลิตเครื่องเล่นแบบตั้งโต๊ะตั้งฐานออกมาให้ใช้สำหรับคนทั่วไปนะครับ
ซาวน์อเบาท์เป็นอุปกรณ์ชนืดหนึ่งที่ใช้สำหรับการอ่านหรือบันทึกข้อมูลบน แถบแม่เหล็กในตลับเทปคาสเซ็ท โดยเฉพาะการฟังเพลงจากตลับเทป ที่ในยุคนั้นนิยมเขียนลงตลับออกมาวางขายเหมือนๆกับยุคนี้ที่วางขายในรูปแบบ แผ่น CD นั่นเองครับ ส่วนหน้าตานั้นก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามหัวติดของนักออกแบบของแต่ละ ยี่ห้อ เช่น Sony Panasoni หรือ aiwa ( อันนี้ไปค้นมาจากกระทู้เก่าพันทิปมาอีกทีนะครับ ) แต่ลักณะหลักๆที่เหมือนกันก็คือ อย่างแรกจะมี่ช่องสำหรับใส่ตลับเทป ภายในจะมีแกนหมุนสำหรับหมุนแกนพันเทปในตลับให้หมุนๆเพื่ออ่านข้อมูล อย่างที่สองคือมีปุ่มคอนโทรลหรือควบคุมหยุด/เดิน อย่างที่สุดท้ยคือจะมีระบบการบันทึกเสียงลงเทปนั้นๆได้ด้วย( อ่อ อีกอย่างคือ ถ้าเป็นรุ่นใหม่ๆจะมีหน้าจอ LCD เล็กๆอยู่ด้วยนะครับ ) นอกจากนั้นก็มีฟีเจอร์และฟังชั่นที่แตกต่างกันออกไปไม่เหมือนกัน เช่น ฟัังชันการกรอเพลงในเทป , การสลับด้านเทปอัตโนมัติ ( เทปคาสเซ็ทจะมี 2 ด้านนนะครับ คือ A และ B แต่ละด้านจะมีเพลงอยู่ ถ้าแบบปกติเมื่อเล่นด้าน A หมดแล้ว ก็ต้องดุึงตลับออกแล้วใส่ด้าน B ลงไปเพื่อเล่นเพลงด้านนี้ต่อ )หรือการฟังวิทยุ FM (จริงๆเป็นฟังชั่นพื้นฐานเลยก็ว่าได้นะครับ ) เป็นต้น
วิธี การใช้นั้นก็ง่ายมากๆครับ ขั้นแรกคุณต้องซื้อเครื่องมาก่อน ( สมัยนั้นราคาอยู่ในหลักพันเลยนะครับถ้ายี่ห้อดีๆหน่อย เช่น Sony หรือราคาในหลักร้อนต้นๆในกรณีของจีนแดง Mad in China แต่ฟังชั่นทพๆก็น้อยตามราคาและตามประสาจีนแดงอ่ะนะครับ ) ตามมาด้วยตลับเทปเพลงท่่ต้องการ ( ซื้อนะครัช ) จากนั้นกดปุ่มเปิดช่องสำหรับเสียบตลับ และเสียบตลับลงไป กดปิดและฟินไปกับเสียงเพลงบรรเลงใจได้เลยครับ แต่!! ในกรณีที่อยากอัดเสียง Cover ของตัวเอง ก็สามารถกดบันทึกเสียงตัวเองลงในเทปได้ แต่นั่นก็ จะทำไห้เพลงในเทปนั้นหายไปด้วยครับ ( อันนี้ไม่ทราบแน่ชัดนะครับว่าหายไปทั้งหมดหรือบางเพลง )
ไอเท็มอย่างหนึ่งที่เหมือนเป็นดั่งกระบอกเสียงของซาวน์อเบาท์ที่ขาดไม่ได้ จริงๆเลยก็คือ " หูฟัง " เป็นอุปกรณ์ที่เราจะใช้เสียบเข้ากับซาวน์อเบาท์ สำหรับฟังเสียงเพลงที่เล่นออกมา ส่วนราคานั้นก็เหมือนๆกับตัวเครื่องครับ มีทั้งแพงและถูก คุณภาพก็แตกต่างกันออกไปตามราคาและยี่ห้อ บางยี่ห้อแพงหน่อยแต่เสียงใสปิ้งกระดิ่งแมว บางยี่ห้อราคาถูกหน่อย คุณภาพเสียงก็ถูกเหมือนกัน แต่ก็ยังพอฟังได้เป็นเพลงล่ะครับ ^_^
ปัญหาหนึ่งทีผู้ใช้ทั้งที่ผ่านซาวน์อเบาท์หรือเครื่องเล่นเทปคาสเซ็ทใหญ่ๆ เบื่อจนชินชาไปแล้วก็คือปัญหา " เทปยืด " อันเกิดจากที่ีเวลาใช้เทปไปนานๆมันก็ดหมือนกับคนเราครับ ยิ่งแก่ชราหนังหูหนังตาหนังหน้าหนังเหนือก็ย่อมยืเหย่อนลงไป เทปเองก็แบบนั้นครับ เวลาเราใช้ไปนานๆ ผ่านการหมุนมาไม่รู้กี่สิบรอบ เทปแม่หลักภายในก็ย่อมหย่อนยานลงไป และเมื่อเกิดแบบนี้ขึ้น...เพลงที่เราฟัีงนั้นจะค่อยๆยืดเยื้อยลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเรารำคาญต้องดึงตลับออกไปไม่เอาอีก
แต่หลังจาก นั้น...หลังจากที่มีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลชนิดใหม่ ที่ใช้ีะบบเลเซอร์ในการเขียนข้อมูล รูปร่างเป็นจานกลมๆบางๆตรงกลางมีรูเล็กๆเหมือนโดนัท ชื่อว่า " CD " พฤติกรรมการบริโภคเพลงก็เปลี่ยนแปลงไป ผู้คนหันไปให้ความสนใจเจ้าแผ่นจานสีรุ้งนี้มากขึ้น ... ค่ายเพลงต่างๆก็หันมาใช้เจ้านี่เป็นผลิตภัณฑ์ในการบรรจุเพลงมากขึ่้น ยอดขายของแผ่น CD ก็มาขึ้น ตามมาด้วยการออกจำหน่ายเครื่องเล่นแผ่น CD ออกมาเกลื้อนกลาด ... ทำให้ซาวน์อเบาท์และเทปคาสเซ็ทก็ตกกระป๋องไปตามธรรมดา และมีน้องใหม่ขึ้นมาแทนที่ในที่สุด ....
ถือเป็นอีกหนึ่งไอเท็มในความทรงจำของหลายๆคนที่เกิิดทั้งและมีโอกาศได้เห็น ได้ใช้ รวมถึงได้มีประสบการณ์แสบๆซ่าๆและความประทับใจมากมายบันทึกเอาไว้ในเทปม้วว นนี้ ที่ปัจจุบันอาจจะยืดเหย่อนจนไม่อาจหยิบออกมาเปิดได้อีก แต่ผมคิดนะครับว่าหลายคนยังคิดถึงวันวานก่อนๆกับซาวน์อเบาท์และเทปคาสเซ็ท บรรจุเพลงโปรดเอาไว้เต็มตลับอยู่ ^_^
ปิดท้ายด้วยภาพตลับเทปเพลงสำหรับดักแก่ใครหลายๆคนหน่อยนะครัช อิอิ ( Picture Credit : talung.gimyong.com )
ส่วน ผมนั้น ได้จับได้ต้องและฟังซาวน์อเบาท์จริงๆเท่าที่จำความได้น่าจะซักช่วงอนุบาล 1 นะครับ ตอนนั้นรู้สึกว่าลูกพี่ลูกน้องกันเอามาเล่นที่บ้านครับ และก็ทิ้งไว้เครื่องนึง ( พังแล้ว =_= ) ยี่ห้อ Panasonic ไม่รู้รุ่น จำได้แค่โลโก้ครับ หุหุ ตัวเครื่องสีดำ อ้วนๆหน่อยๆ มีสายคล้อคองด้วย ด้านหลังมีขาหนีบสำหรับหนีบเข้ากับเอว ตอนนนั้นงงๆเหมือนกันว่ามันคืิอไอ่ไหร่นิ?? จนกระทั่งลูพี่ลูกน้องคนเดิมมาค้างที่บ้านและมีโอกาศได้ฟังผมนี่แบบ โอ้โหววว กล่องร้องเพลงได้ ล้ำมากๆ หลังจากนั้นผมก็พยายามเปิดปิดปิดเปิดเครื่องที่พังนั่นแแหละครับ แต่ทำได้แค่กดปุ่มเปิดฝา ( เพราะมันเป้นระบบออโต้ครับ มีสปริงอยู่ ไม่มีแบตก็เปิดได้ ) แต่ผมก็สุขใจนะครับ แบบว่าตามประสาเด็กอะนะครับ อิอิ หลังจากนั้นหลายปีพี่สาวผมก็ไปเรียนต่อและกลับบ้านมาพร้อมเครื่องเล่น CD พกพา เครื่องแบนๆ กลมๆ สามารถเปิดเพลงจากแผ่น CD ได้ แถมยังมีฟังชั่นล้ำๆมากมาย ( ปัจจุบันนี้หายไปแล้วครับ หุหุ ) นับว่าผมรู้สึกโชคดีเอามากๆเลยครับที่เกิดทันระหว่างยุคของอุปกรณ์ทั้ง 2 ถึงแม้ว่าผมจะอยู่ในยุคค CD มากกว่าหน่อยก็ตาม แต่อย่างน้อยก็รู้สึกดีที่ได้เคยสัมผัสสิงที่เรียก " ซาวน์อเบาท์ " แบบคนอื่นเขา ถึงแม้ว่ามันจะเป็นระยะเวลาสั้นๆและเกือบจะจางหายไปแล้วก็ตามที ^_^ ( เพลง " ช่วงที่ดีดที่สุด " ลอยมาเลยครับ 555+ )
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |