ผลการศึกษาและวิจัย สภาพสถานการณ์ทางด้านสิทธิและเสรีภาพของจังหวัดชายแดนใต้ อาจารย์นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า (ผมเองครับ) แผนกพัฒนาสังคม ภาคสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
สภาพปัญหาในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เป็นเรื่องที่สืบเนื่องจากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ประกอบกับศาสนาและวัฒนธรรมที่หยั่งรากลึกและแตกต่างพิเศษจากภาคอื่นๆ ของประเทศทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ และปรากฏความรุนแรงชัดเจนยิ่งขึ้นในระยะ 3-4 ปีที่ผ่านมา กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประกอบด้วย คนมลายูมุสลิม คนไทยพุทธ และชาติพันธุ์ซาไก โดยองค์ประกอบหลักเป็นคนมลายูนับถือศาสนาอิสลามหรือมลายูมุสลิม (มีคนมลายูที่นับถือศาสนาอื่นบ้างแต่มีจำนวนน้อย) ที่เชื่อว่าเป็นคนดั้งเดิมของท้องถิ่นนี้ ที่อยู่ในพื้นที่มานานกว่า 2,000-3,000 ปี โดยมีอาณาจักรยิ่งใหญ่มาแต่โบราณ ที่รู้จักกันดี เช่น คะดะห์ (เคดะห์) ลังกาสุกะ ศรีวิชัย วาจามาเฮ็ด กาจะมาดอร์ และคนอาหรับเรียกคนมลายูแถบนี้ว่า ยาวอหรือชะวา ทั้งนี้มีหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏชัดเจน คนมลายูมุสลิม หรือคนไทยมุสลิมในภาคใต้ มีความเชื่อและภูมิใจในศักดิ์ศรีของชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ และด้วยพื้นฐานของศาสนาอิสลาม (แปลว่า สันติสุข) ซึ่งมีหลักความเชื่อว่า มนุษย์ทุกคนเกิดจากนบีอาดัม ที่พระเจ้าสร้างขึ้นจากดิน คนทุกคนจึงเสมอกันทั้งหมดตามที่พระเจ้าสร้างมา ไม่มีใครในหมู่ผู้ใดเหนือกว่าชาติพันธุ์ใด ยกเว้นคนที่เคารพพระเจ้า การเอาคนลงเป็นทาสหรือการเลือกปฏิบัติจึงกระทำมิได้ ปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจาก ปัญหาทางด้านศาสนา วัฒนธรรม ภาษา และความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากวัฒนธรรมทางศาสนาที่มีมาช้านาน ประกอบกับภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นอีกหลายเรื่อง ทำให้เกิดช่องว่างทางความเข้าใจและการสื่อสารกับเจ้าหน้าที่รัฐที่มาจากภายนอก คนท้องถิ่นรู้สึกว่าตนต้องประสบปัญหาหลายประการมากกว่าคนพื้นที่อื่นเนื่องจาก ทัศนคติ/เจตคติที่สวนทางกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ โดยประชาชนมีความรู้สึกว่ามีอคติและการดูถูกเหยียดหยามจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและสังคมภายนอก ชาวมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความภูมิใจในชาติพันธุ์ ภาษา และศาสนาของตนที่มีมาเก่าแก่แต่โบราณที่ปรากฏหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร แต่กลับถูกปฏิบัติในลักษณะเป็นคนชายขอบ ไม่ได้รับความเคารพให้เกียรติแม้ในการดำรงชีวิตประจำวันและการประกอบศาสนกิจอย่างเสรีตามวิถีชีวิตอิสลามก็ต้องปรับเข้าสู่กฎเกณฑ์ของบ้านเมืองและกฎหมายที่ไม่สอดคล้อง และไม่เอื้อต่อศาสนาอิสลามที่ตนนับถือ ทั้งๆ ที่กฎหมายของบ้านเมืองน่าจะได้นำวิถีอิสลามประยุกต์เข้าในกฎหมายบ้านเมืองของท้องถิ่น ยิ่งกว่านั้นยังถูกมองเป็นโจร เป็นผู้ก่อความไม่สงบ ทำให้เกิดความหวาดระแวงและเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน ประชาชนไม่เชื่อถือเจ้าหน้าที่รัฐ เพราะเห็นว่าสังคมมุสลิมมักไม่ได้รับความเป็นธรรมจากรัฐ เจ้าหน้าที่ไม่มีเอกภาพ ไม่มีศักยภาพ ขาดความจริงใจ เจ้าหน้าที่รัฐจะทำงานก็เพราะเห็นแก่เงินเดือน ยศศักดิ์ ขาดคุณธรรม ในขณะที่คนในพื้นที่มีจิตสาธารณะเต็มเปี่ยม จิตสำนึกของคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่รัฐห่างไกลกันมาก ประชาชนขาดความไว้วางใจเจ้าหน้าที่ หากประชาชนให้ความร่วมมือก็ไม่แน่ใจว่าจะปลอดภัย ระบบและองค์กรก็พึ่งไม่ได้ ในเรื่องการประกันสิทธิความเสมอภาคตามกฎหมายของทุกคน ประชาชนในพื้นที่มีความเห็นว่า เป็นไปเฉพาะที่เขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่สมบูรณ์ที่สุดที่เคยมีมา แต่สิทธิเหล่านั้นมาไม่ถึงประชาชนในทางปฏิบัติ โดยหลักการทุกคนมีสิทธิตามกฎหมาย แต่ถ้าจะใช้สิทธิต้องพึ่งคนมีอำนาจทำให้สงสัยว่าเป็นความผิดลาดของคนดำเนินการหรืออย่างไร และโดย เฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของคนมลายูยิ่งเป็นคำถามว่า เป็นที่น่าพอใจแล้วหรือยัง รวมถึงสิทธิต่างๆ ดังต่อไปนี้ ก) สิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันในกระบวนการยุติธรรมภายใต้ศาลและองค์กรอื่นเป็นปัญหาที่ละเอียดอ่อนหลายประการ โดยกลไกของรัฐ กระบวนการยุติธรรม ขั้นต้นก่อนขึ้นถึงศาล ในพื้นที่มีศูนย์ดำรงธรรม และศูนย์ยุติธรรมชุมชน แต่ไม่มีข้อมูลให้ประชาชนทราบวิธีการที่จะมาใช้บริการ และมีปัญหาในการสื่อสาร เนื่องจากไม่สามารถพูดภาษาให้เข้าใจกัน (เจ้าหน้าที่พูดภาษากลาง ประชาชนพูดภาษามลายูท้องถิ่น) บางครั้งไปขอความช่วยเหลือเจ้าหน้าที่บอกว่าไม่มีความเป็นธรรมในโลก ประชาชนก็ต้องไปพึ่งมัสยิด ในกระบวนการยุติธรรม ประชาชนเชื่อถือศาล แต่ไม่แน่ใจในตัวตำรวจซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนชั้นต้นของกระบวนการตั้งแต่การตั้งข้อหา การขอหมายจับจากศาล การสอบสวนและการทำสำนวนคดี ชาวบ้านไม่เคยได้รับทราบข้อมูลและไม่เข้าใจขั้นตอนตลอดจนข้อกล่าวหา เนื่องจากปัญหาการสื่อสาร นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและทหารสามารถตรวจค้นบ้านเรือนได้ตลอดเวลาทั้งกลางวันกลางคืน และตรวจค้นได้หลายรอบทั้งโดยวิธีการจู่โจมทั้งในและนอกเครื่องแบบ และใช้วิธีการรื้อค้นอย่างกระจุยกระจาย ในการคุมขังคนมุสลิมในเรือนจำ ก็ให้ผู้ต้องขังใส่กางเกงขาสั้น ซึ่งขัดกับขนบธรรมเนียมที่คนมลายูต้องใส่ผ้าปิดหัวเข่า เป็นต้น ข) สิทธิที่จะได้รับสวัสดิภาพและความคุ้มครองโดยรัฐจากการกระทำรุนแรง คนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความรู้สึกว่าตนได้รับความคุ้มครองอย่างหนาแน่นกว่าคนในพื้นที่อื่นๆ แต่ไม่แน่ใจว่ามีสวัสดิภาพและความปลอดภัย เพราะมีทั้งทหารและตำรวจ รวมทั้งฝ่ายปกครองที่เข้มแข็ง เข้าใจว่าทหารมีไว้ดูแลประเทศ ตำรวจมีไว้ดูแลประชาชน ฝ่ายปกครองกดขี่ ในการจับกุมสอบสวนประชาชน ทั้งตำรวจและทหารจะใช้วิธีการซ้อมและกระทำทารุณ ไม่เพียงแต่ทำร้ายร่างการภายนอก แต่ใช้วิธีใช้ไฟฟ้าช็อตภายในร่างกายโดยเสียบเข้าทางทวารหนัก เด็กและเยาวชนหลายคน แม้จะเป็นนักเรียนนักศึกษาจะถูกติดตามสอดส่องพฤติกรรม ครอบครัวก็ถูกคุกคาม ค) สิทธิทางการเมือง การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง การรับสมัครเลือกตั้งสามารถกระทำได้แต่มีโอกาสน้อยในการเข้าร่วมรัฐบาล การเข้าร่วมในการดำเนินกิจกรรมสาธารณะทำได้ยากลำบาก จากตัวอย่างอิหม่ามของอำเภอไม้แก่น เคยรวมกลุ่มเด็กวัยรุ่นมาร่วมกันทำกิจกรรมด้านศาสนา และสอนศาสนาในเย็นวันศุกร์ก็ถูกตรวจค้น และสั่งให้เลิกทำ ง) สิทธิพลเมืองอื่นๆ ที่เป็นปัญหา คือ เรื่อง 1) สิทธิในการเดินทางออกจากประเทศและกลับคืนเข้าประเทศมีการถูกเพ่งเล็งหากเดินทางไปประเทศเพื่อนบ้านมุสลิมข้างเคียง ทั้งโดยไปเยี่ยมญาติหรือศึกษาเล่าเรียน 2) สิทธิในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออก และ 3) สิทธิในการชุมนุมอย่างสงบและการรวมกลุ่ม ต้องประสบปัญหาตลอดมาทั้งการรวมกลุ่มเยาวชนทำกิจกรรม ผู้นำท้องถิ่นถูกเพ่งเล็ง ถูกจัดเป็นคนรู้มาก หัวหมอ ปราชญ์ชาวบ้านไม่เป็นที่ถูกใจของเจ้าหน้าที่รัฐที่เสียประโยชน์ ผู้นำศาสนาถูกมองเป็นตัวปลุกปั่นยุยง สื่อท้องถิ่น เช่น ผู้จัดรายการวิทยุ ถูกขอให้หยุดจัดรายการ การชุมนุมทางศาสนาถูกขัดขวางทำลาย เช่น กรณีที่มัสยิดกรือเซะ กรณีตากใบ กรณีที่บานา กรณีที่สะบ้าย้อย เป็นต้น จ) สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเห็นว่าในบริบทระดับประเทศ รัฐเข้าแทรกแซงทุกเรื่อง เอาทุนและทรัพยากรไปทำประโยชน์ ขณะที่ชุมชนมุสลิม ถ้าต้องการสิทธิมากขึ้นก็ต้องยอมสูญเสียอัตลักษณ์เพื่อแลกสิทธิ ปัญหาคือ 1) สิทธิในการมีงานทำ เลือกงานได้เสรี มีสภาพการทำงานที่เหมาะสม ได้ค่าจ้างเท่าเทียมยุติธรรมและคุ้มครองสภาพการตกลง มีปัญหาในเรื่องการจะไปทำงานในต่างประเทศ เพราะในประเทศไม่มีบริษัทใดรับจ้าง หางานในพื้นที่หรือพื้นที่ใกล้เคียง บริษัทส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ ซึ่งไกลเกินกว่าจะเดินทางไปติดต่อได้ หากมีบริษัทในพื้นที่จะเป็นประโยชน์ช่วยเหลือได้มาก ในเรื่องสิทธิการมีงานทำนี้เป็นปัญหาต่อไปถึง การใช้และการจัดสรรทรัพยากรเพราะการประกอบอาชีพอิสระ เช่น กสิกรรม กรทำไร่ ทำสวน ทำนา ซึ่งประชาชนเคยอาศัยใช้พื้นที่บางส่วนบนเทือกเขาบูโด ทำสวนยาง สวนผลไม้ ปลูกไม้ผล ลองกอง มังคุด ทุเรียน สะตอ ฯลฯ ออกผลงดงาม แต่เมื่อทางราชการประกาศเป็นเขตอุทยาน ประชาชนก็เสียพื้นที่ทำกิน พื้นที่พรุเคยใช้อาศัยทำนา ปลูกข้าว เมื่อทางราชการโครงการสร้างเขื่อนทำชลประทาน ประชาชนก็ไม่มีที่ทำกิน ประกอบอาชีพไม่ได้ ขาดรายได้เลี้ยงชีพ 2) สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและการดูแลทางการแพทย์ ตลอดจนการประกันสังคมและบริการทางสังคม ในด้านบริการสารธารณสุข ถ้าพูดไทยไม่ชัด ก็จะได้รับบริการไม่ค่อยดีในอำเภอชั้นนอกๆ และโรงพยาบาลควรให้ความสนใจด้านศาสนาในโรงพยาบาลด้วย เช่น พิธีอาซาน (สวดล้างบาปให้ก่อนตาย) เป็นต้น 3) สิทธิในการได้รับการศึกษาและการฝึกอบรม คนมุสลิมใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเห็นว่า ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายด้านการศึกษาอย่างจริงจัง เด็กไม่เรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ 9 ปี ก็ไม่มีการติดตาม ชาวบ้านริมทะเลให้เด็กหยุดเรียนไปทำงานในวันน้ำทะเลขึ้น ครูก็ไม่สามารถจะทำอะไรได้ โรงเรียนทางภาคใต้จะเรียนเพียงครึ่งวันเพราะสถานการณ์ไม่สงบ เด็กจึงได้รับความรู้ไม่เต็มที่เหมือนเด็กในพื้นที่อื่น นอกจากนี้ครูบางคนก็เน้นทำผลงานเพื่อเพิ่มวุฒิและเงินเดือนให้ตนเองมากกว่าการสอนเด็กอย่างจริงจัง 4) สิทธิทางวัฒนธรรม เห็นว่าการรักษาซึ่งเอกลักษณ์วัฒนธรรม ต้องเป็นวัฒนธรรมที่แท้จริง รองแง็ง หรือดิเกฮูลู ไม่ใช่วัฒนธรรมอิสลามแต่เป็นวัฒนธรรมมลายูประยุกต์ ต้องค้นหาวัฒนธรรมที่เป็นวัฒนธรรมอิสลามแท้ เพื่อนำมาเชิดชูอนุรักษ์ต่อไป อย่างไรก็ตาม คนมุสลิม ต้องสูญเสียอัตลักษณ์ไปมาก เพื่อแลกกับสิทธิต่างๆ ในทางบ้านเมือง ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรคำนึงและพิจารณาแก้ไข คนไทยพุทธ เป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องประสบปัญหายากลำบากไปด้วยเพราะต้องอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความหวาดระแวง ต้องระมัดระวังตัวอย่างยิ่งเปรียบเสมือนอยู่ระหว่างเขาควาย ระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับคนมุสลิมตกที่นั่งคับขัน จะต้องพูดจาระวังตัวพลาดไม่ได้ ค่อนข้างหมดหวังในการดำรงชีวิต ไม่ร่วมมือไม่ได้ ตีจากไม่ได้ เพราะครอบครัวเป็นตัวประกัน และต้องทำตามนโยบายรัฐ โดยประวัติศาสตร์ คนไทยพุทธเห็นว่า การปกครองแต่สมัยโบราณก็มีการผลัดกันครอบครองไปมาระหว่างรัฐอิสลามกับอาณาจักรตอนบน อิสลามเคยปกครองภาคใต้ขึ้นไปถึงนครศรีธรรมราช แต่ก็เคยถูกครอบครองด้วยเช่นกัน ผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะ ปัญหาของคนไทยพุทธนอกจากจะต้องเผชิญกับอคติและความหวาดระแวง ยังต้องเผชิญกับปัญหากลายเป็นชนกลุ่มน้อยในพื้นที่ ถูกละเลยสิทธิประสบปัญหาในเรื่องทำกิน พื้นที่ที่เคยอยู่กันมาอย่างสงบสุขร่มเย็นกว่า 200 ปี ทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม มีเรือกสวนไร่นาแถบเทือกเขาบูโดและพรุ ถูกทางการประกาศให้เป็นพื้นที่อุทยาน หมดทางทำกิน ไม้ผลที่ปลูกไว้ ทั้งสวนยาง สะตอ ทุเรียน ลองกอง มังคุด อยู่บนภูเขาไม่สามารถเก็บขายเลี้ยงชีพได้ พรุที่เคยทำนาปลูกข้าวก็ต้องเลิกไป หมดทางทำมาหากินทั้งไทยพุทธและไทยมุสลิม ข้อเสนอแนะ 1. ควรปรับฐานคิด ลบล้างอคติของสังคมที่มองกลุ่มชาติพันธุ์/ชนเผ่าด้วยความดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติในการกดขี่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ก็ควรยืนหยัดในศักดิ์ศรีภูมิใจและรักษาชาติพันธุ์ของตนไว้ 2. การต่อสู้เพื่อสิทธิ เจ้าของปัญหาต้องตระหนักรู้ปัญหาของตนและพูดถึงปัญหาของตนได้อย่างถูกต้องชัดเจน ต้องหาพันธมิตรและสร้างเครือข่ายเชื่อโยงทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ และระดับสากลโลก สร้างพันธมิตรกลุ่มต่างๆ ทั้งกลุ่มสื่อ นักวิชาการ นักกฎหมาย และเปิดประเด็นสัมมนาร่วมกันทำให้เป็นประเด็นสาธารณะโดยการประชุมร่วมกับบุคคลภายนอกให้มากขึ้น 3. ควรมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน มีการปรับแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ใช้หลักนิติธรรมที่ไม่ขัดกับหลักศาสนาปละหลักคุณธรรม ความโปร่างใสและการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยตระหนักในสิทธิและหน้าที่ร่วมกัน ใช้การบริหารจัดการจากภายนอกเท่าที่จำเป็น หากจะออกกฎหมาย กำหนดระเบียบควรมีความพร้อมอย่างแท้จริง และมีความจริงใจในการแก้ปัญหา 4. เปลี่ยนระบบความคิดในการพัฒนา แทนที่จะเข้าไปพัฒนาจากภายนอก ควรเน้นการพัฒนาจากภายใน เสริมสร้างศักยภาพให้คนในพื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ต้องให้กำลังใจกันและกันในหมู่คนพื้นที่ด้วยกันเอง อยู่กันด้วยความรักใคร่สมัครสมาน การคุ้มครองต้องเกิดจากคนภายใน ขณะที่ความช่วยเหลือจากภายนอกสามารถมีได้เพื่ออำนวยความสะดวกให้การพัฒนาบรรลุผล 5. การอนุรักษ์วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ ควรจัดกิจกรรมโดยให้มีผู้แทนชาติพันธุ์ร่วมและเป็นเจ้าภาพในการจัด เปิดโอกาสให้เด็กชนเผ่าได้มีโอกาสแต่งชุดประจำเผ่าไปโรงเรียน หรือทำกิจกรรมด้านวัฒนธรรมได้โดยไม่ถูกล้อเลียนทั้งทางวัฒนธรรมและภาษา 6. ควรส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือของสื่อให้มีส่วนร่วมช่วยแก้ปัญหา โดยเผยแพร่ข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกต้องอย่างกว้างขวาง
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ข้อมูลของผมครับ | ||
![]() |
||
เป็นภาพที่คิดว่า Happy ครับ |
||
View All ![]() |
สุดยอด | ||
![]() |
||
พูดไม่ออกครับ |
||
View All ![]() |
<< | กรกฎาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |