*/
<< | ธันวาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |
กรุงเทพฯ 10 ต.ค.-นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เดือนกันยายนที่ผ่านมา มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งจำนวน 5,622 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 หรือ 150 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ รวมทั้งสิ้น 18,330 ล้านบาท โดยธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคารทั่วไป อสังหาริมทรัพย์ ขายส่งเครื่องจักร ตัวแทนธุรกิจท่องเที่ยว และขายส่งสินค้าทางเภสัชกรรมและเวชภัณฑ์ โดยคาดว่า การจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ของปี 2556 จะมีจำนวนสูงถึง 70,000 ราย ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์นับแต่มีการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทเป็นต้นมา เป็นผลจากนโยบายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ แต่มีการจดทะเบียนเลิกกิจการเพียง 41 ราย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากไม่ได้มีการดำเนินกิจการ จึงเชื่อว่า ผลกระทบต่อภาคธุรกิจจากปัญหาค่าเงินบาทกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขณะที่ นิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิกกิจการทั่วประเทศในเดือนกันยายน 2556 มีจำนวน 1,450ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 หรือ 68 ราย เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีทุนจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 10.80 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น บริษัทจำกัด 381,796 ราย บริษัทมหาชนจำกัด 1,034 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัดห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 179,097 ราย เพราะหากสถานการณ์รุนแรง และมีน้ำท่วมขังนาน จนเกิดผลกระทบต่อการยื่นจดทะเบียนนิติบุคคจัดตั้งใหม่ หรือการติดต่อกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะนำมาตรการที่เคยช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมเมื่อปี 2554 มาช่วยเหลือ เช่น การผ่อนผันการยื่นงบการเงินประจำปีของธุรกิจที่มีรอบปีบัญชีอยู่ระหว่างเวลาที่เกิดอุทกภัย และผ่อนผันระยะเวลาการยื่นจดทะเบียนนิติบุคคลที่ต้องยื่นภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถยื่นล่าช้าออกไปได้ตามความจำเป็นและสมควร แต่ขณะนี้ ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วม แต่ยังมีผลกระทบต่อการให้บริการของกรมฯ แต่อย่างใด เอกสารประกอบการลงบัญชีที่สูญหาย หรือเสียหาย ซึ่งตามกฎหมายต้องแจ้งภายใน 15 วัน ให้สามารถยื่นล่าช้าได้ และสามารถใช้เป็นหลักฐานกรณีถูกเรียกตรวจสอบบัญชี. -สำนักข่าวไทย ที่มา http://www.mcot.net/site/content?id=5256636f150ba02f7a00001d#.Uq3RidIW0m4
พาณิชย์ เผยยอดจดทะเบียนธุรกิจใหม่พ.ย.ลด 16% ชี้การเมืองกระทบความมั่นใจลงทุน
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัททั่วประเทศเดือนพ.ย.56 ว่า
มีจำนวน 4,397 ราย ลดลง 865 ราย หรือลดลง 16% เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.56 ซึ่งมีจำนวน 5,262 ราย
และลดลง 2,061 ราย หรือลดลง 32% เมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.55 ซึ่งมีจำนวน 6,458 ราย
ส่งผลทำให้ช่วง 11 เดือนแรกปีนี้ (ม.ค.-พ.ย.) มียอดจดทะเบียนทั้งสิ้น 64,396 ราย เพิ่มขึ้น 5,091 ราย
หรือเพิ่มขึ้น 8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนสถิติทั้งปีคาดว่าจะมียอดจดทะเบียนราว 65,000 ราย
จากปีก่อนที่มียอดจด 63,000 ราย แต่ต่ำกว่าเป้าหมายทั้งปีที่ตั้งจะมียอดจดเพิ่ม 70,000 ราย
สำหรับสาเหตุที่ทำให้การจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลในเดือนพ.ย.56 ลดลง เป็นเพราะสถานการณ์ทางการเมือง
ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในการลงทุนทำธุรกิจของผู้ประกอบการ นอกจากนี้
การจดทะเบียนผู้ค้าสลากที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เข้มงวดมาตั้งแต่วันที่ 16 ก.ย.56
ที่ผู้จดทะเบียนต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้านตัวจริง ทำให้การจดทะเบียนลดลง
ส่วนการจดทะเบียนเลิกนิติบุคคลในเดือนพ.ย.56 มีจำนวน 1,783 ราย เมื่อเทียบกับเดือนต.ค.56 เพิ่มขึ้น 202 ราย
หรือเพิ่มขึ้น 13% และเมื่อเทียบกับเดือนพ.ย.55 เพิ่มขึ้น 23 ราย หรือเพิ่มขึ้น 1%
สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการไม่ประกอบกิจการ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจค้าสลาก ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
ขาดทุน และปัญหาอื่นๆ เช่น หุ้นส่วนขัดแย้ง หุ้นส่วนมีปัญหาสุขภาพอีก แต่ยังไม่พบปัญหาการเมืองทำให้จดทะเบียนเลิก
รมช.พาณิชย์ ยังกล่าวถึงแนวโน้มการจดทะเบียนธุรกิจในปี 57 ว่า หากการเมืองเดินตามระบบได้
มีการปฏิบัติตามกติกา และโครงการบริหารจัดการน้ำ 350,000 ล้านบาท
และโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง 2 ล้านล้านบาท
มีความชัดเจนจะทำให้ภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นและมีการจดทะเบียนเพิ่มขึ้น
อีกทั้งในปี 57 เป็นปีสุดท้ายก่อนที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 58
ก็ยิ่งเป็นปัจจัยบวกทำให้ภาคธุรกิจมีการขยายธุรกิจรองรับมากขึ้น
ที่มา : News Center / infoquest
ภาพ : VoiceTV
by Boonyisa 16 ธันวาคม 2556 เวลา 15:53 น. ที่มา http://news.voicetv.co.th/business/91261.html ประโยชน์การจดทะเบียน การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นคือหลักฐานทางการค้า ที่จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าของเรา ทำให้ลูกค้าของเรานั้นสามารถมั่นใจได้ว่าจะได้รับสินค้าและการบริการของเราจริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับร้านค้าออนไลน์ หรือร้านค้าที่มีการส่งของมาให้จากต่างจังหวัด ซึ่งลูกค้าอาจไม่มีโอกาสได้พบหน้าเจ้าของร้านเลย แต่ถ้าพวกเขารับรู้ว่าร้านของเรามี การจดทะเบียนพาณิชย์แล้วก็จะสร้างความน่าเขื่อถือได้มากขึ้น รวมถึงการจดทะเบียนพาณชย์นั้น ยังช่วยให้เราสามารถใช้ประกอบใบ Statement ในการขอกู้ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือหาเงินทุนต่างๆ ได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ประโยชน์ต่อประเทศ การจดทะเบียนพาณิชย์นั้นยังสามารถทำประโยชน์ให้กับประเทศได้จากการที่รัฐบาลสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ ไปจัดทำสถิติของธุรกิจแต่ละประเภทว่ามีจำนวนเท่าไร มีทำเลตั้งอยู่ที่ไหนเป็นส่วนใหญ่ เจ้าของหรือหุ้นส่วนเป็นคนสัญชาติอะไร มีทุนเท่าไร ซึ่งการจัดระเบียบข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้เกิดความสะดวก ในการติดต่อค้าขาย อีกทั้งยังช่วยให้รัฐบาลตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าควรควบคุมและส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจหรือ อุตสาหกรรมประเภทไหนมากกว่า ถึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุดกับคนในประเทศ รวมถึงยังเป็นการช่วยลดงบประมาณ ทั้งด้านการเงินและเวลาในการจัดทำแบบสำรวจที่จะต้องรวบรวมข้อมูลใหม่ๆ อยู่เสมอ
ซึ่งข้อมูลที่ได้เหล่านี้นอกจากจะเป็นผลประโยชน์สำหรับรัฐบาลแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งข้อมูลชั้นดี ในการตรวจดูรายละเอียดข้อมูลทางการค้าต่างๆ เพื่อดูแนวโน้มของธุรกิจว่าในขณะนี้ ธุรกิจใดที่กำลังเป็นที่นิยม และตั้งอยู่ที่ไหนกันเยอะ เพื่อให้คนทั่วไปได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการเริ่มต้นธุรกิจได้ง่ายขึ้น ธุรกิจที่ต้องจดทะเบียน ตามกฏหมายแล้ว ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบบุคคลธรรมดา หรือแบบนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน, บริษัทจำกัด) ถ้ามีประเภท หรือรายละเอียดการทำธุรกิจตรงตามรูปแบบด้านล่างนี้ จำเป็นต้องจดทะเบียนพาณิชย์
ที่มา http://incquity.com/articles/business-registration
การจดทะเบียนพาณิชย์หรือทะเบียนนิติบุคคลการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ คือเมื่อจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแล้ว จะมีสถานะเป็นบุคคลธรรมดากับนิติบุคคล ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดา
ลักษณะของธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
กฎหมายควรรู้สำหรับ SMEs แม้จะเป็นเรื่องน่าปวดหัวสักหน่อยเวลาที่คุณต้องศึกษาและเรียนรู้เรื่องข้อกฎหมายต่างๆ แต่นี่คือความเป็นจริงของวิถีแห่งการเป็นผู้ประกอบการที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราขอแนะนำข้อมูลด้านกฎหมายที่คุณจำเป็นต้องรู้ ภาษีอากรสำหรับธุรกิจ SMEs
กิจการร้านค้าที่จดทะเบียนเป็นทะเบียนพาณิชย์ ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 94 ในครึ่งปีแรก และยื่น ภ.ง.ด. 90 อีกครั้งในครึ่งปีหลัง
ธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด ต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 51 ในปีแรกเพื่อประมาณการรายได้ จากนั้นเมื่อสิ้นปีจะยื่นแบบ ภ.ง.ด. 52 พร้อมทั้งส่งงบดุล และมีการตรวจสอบบัญชี
ถ้าเป็นทเบียนพาณิชย์ที่มีรายได้ทั้งปีไม่ถึง 1,800,000 บาทต่อปีไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่ถ้ามีรายได้เกิน หรือเป็นธุรกิจที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัดและบริษัทจำกัด) ทุกรายต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 01) เพื่อจะสามารถคำนวนภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักภาษีซื้อ
ใบกำหับภาษีเป็นเอกสารที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มต้องทำขึ้นและออกให้ผู้ซื้อทุกครั้ง มีการขายสินค้าหรือมีการรับเงิน หรือในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้า โดยแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการนั้นๆ และระบุจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากผู้ซื้อ โดยต้องส่งมอบใบกำกับภาษีตัวต้นฉบับให้ผู้ซื้อทันทีและ เก็บตัวสำเนาไว้เป็นหลักฐาน รูปแบบใบกำหับภาษีมี 2 แบบ คือ ใบกำกับภาา๊เต็มรูปแบบ และใบกำกับภาษีอย่างย่อ
กฎหมายแรงงาน กฎหมายแรงงานถือเป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ผู้ประกอบการ SMEs ควรต้องทำความเข้าใจ ซึ่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแรงงานที่คุณควรให้ความสนใจ ไดแก่
มีประเด็นสำคัญที่คุณควรรู้คือ หลักเกณในการทำสัญญาจ้าง หน้าที่ของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง การเลิกสัญญาจ้าง
มีการกำหนดคู่สัญญาเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายเจ้าหนี้ ฝ่ายลูกหนี้ กำหนดถึงสิทธิหน้าที่ และการบอกเลิกสัญญา การจ้างลูกจ้างมาทำการงานให้แก่ตนในลักษณะเป็นงานประจำ มีการจ่ายค่าจ้างเป็นรายระยะเวลาที่ชัดเจน และนายจ้างมีอำหนาจบังคับบัญชา ซึ่งถือเป็นการจ้างแรงงานที่ไม่จำเป็นต้องสัญญา เพียงแต่ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงกันก็เกิดสัญญาแล้ว
หน้าที่ของลูกจ้าง - ต้องทำงานด้วยตนเอง ให้คนอื่นมาทำแทนไม่ได้หากนายจ้างไม่ยินยอม - ต้องทำงานตามที่ตนรับรองไว้ได้ โดยเฉพาะลูกจ้างประเภทผู้มีฝีมือพิเศษ - ต้องเชื่อฟังและปฎิบัติตามคำสั่งนายจ้างหากเป็นเรื่องชอบโดยกฎหมาย ต้องซื่อสัตย์ และเก็บรักษาความลัดของนายจ้างได้ หน้าที่ของนายจ้าง - ให้สินจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งกำหนดการจ่ายอยู่ที่ตกลงกันไว้ - ออกหนังสือรับรองผลงาน และระยะเวลาที่ทำงานให้ลูกจ้าง - หากลูกจ้างมาจากถิ่นอื่นและนายจ้างได้ออกค่าเดินทางให้เมื่อการจ้างจบลง นายจ้างก็ควรออกค่าเดินทางกลับให้ด้วย ยกเว้นว่าลูกจ้างได้ทำผิดต่อนายจ้าง
เมื่อคุณจัดตั้งธุรกิจ (ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล) คุณต้องไปขึ้นทะเบียนประกันสังคม นายจ้างและลูกจ้าง ที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่จังหวัดที่กิจการตั้งอยู่ และมีหน้าที่ในการนำส่งเงิน สมทบกองทุนประกันสังคม โดยเงินที่นำส่งแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ในส่วนของลูกจ้าง (ทุกคน) โดยหักนำส่งในอัตราร้อยละ 5 ของเิงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 750 บาท) และในส่วนที่สอง คือส่วนที่นายจ้างต้องจ่ายสมทบเป็นจะนวนเท่ากับจำนวนของเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง ข้อมูลเพิ่มเติดูได้จากเว็บไซต์กระทรวงแรงงาน www.mol.go.th และ เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม www.sso.go.th ที่มา ผมละสงสัยจริงๆ ว่าจะมาแถลงอะไรกันนักหนา เรื่องตัวเลขการจดทะเบียน ดูเหมือนจะโยงเอาเป็นเรื่องการเมืองไปหมด ถ้าการเมืองดี คนจะมาจดทะเบียนจำนวนมาก เพราะเศรษฐกิจจะโต ถ้าไม่ดี คนไม่มาจดทะเบียน หรือจะจดลดลง เขาคงไม่รู้หรอกว่า จดทะเบียนการค้า ไม่ถึง 3 ปี ธนาคารไม่ให้กู้หรอกต้องจดแล้วครบ 3 ปี และมีงบการเงินแสดง ผลประกอบการ 3 ปี ธนาคารถึงจะพิจารณาการให้สินเชื่อ แล้ว ทุนจดทะเบียนละ ไม่กล้าประกาศหรือว่าเขามีเงินมาลงทุน เท่าไหร่ ถึง 1 ล้านบาทหรือไม่ การที่เอาเงินมาลงทุนจะแสดงว่า เขาจะมี idea ในการประกอบธุรกิจระดับไหน บริษัทใหญ่ๆ เปิดบริษัทใหม่เพื่อรองรับการขยายตัว หรือเปิดบริษัทลูกรองรับ ทิ้งเงินทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาทแน่นอน และชำระเต็มจำนวน มีเหมือนกันทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท ชำระแค่ 5 ล้านบาท ถ้าบริษัทมั่นคงจะชำระเต็มจำนวน ยิ่งมีการจดทะเบียนแบบ On - Line เพื่อแสดงตัวตนในการซื้อขายแบบ E- commerce มันก็ทำให้การจดทะเบียนง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้น ค่าจดทะเบียน 50 บาทเองนะ ทำได้แค่นี้เองหรือ ณัฐวุฒิ ....... ค่าใช้จ่ายที่เรียกว่าค่าธรรมเนียมก็ไม่แพงเลย http://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=4981&filename=index แถลงยังแถลงไม่เป็นเลย ........ รมช |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |