อีกครั้งกับไฮไลท์ประจำสัปดาห์ (20-26 เม.ย. 50) ในกรุงเทพธุรกิจ Bizweek ยังคงนำเสนอประเด็นโลกร้อน (Global Warming อย่างใกล้ชิด ติดตามได้เลยค่ะ โลก "ตื่น"...รับมือหายนะโลกร้อน ภาวะโลกร้อน (Global Warming) กลายเป็นเรื่องที่ทั่วโลกหันมาให้ความสนใจ หลังจากเริ่มเผชิญหน้ากับผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงขึ้นทุกขณะ พายุเฮอร์ริเคนแคทรินา น้ำท่วมหนักในจีนและอินเดีย คลื่นความร้อนรุนแรงในยุโรป ฯลฯ ความถี่ในการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่คร่าชีวิตผู้คนมหาศาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง หายนะ "โลกร้อน" ใกล้ตัวผู้คนมากขึ้นทุกขณะ แม้แต่คนไทยเอง ฤดูร้อนที่ทารุณในปีนี้ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาแล้วว่า "หรือเราจะโดนหางเลขจากหายนะโลกร้อนเข้าให้แล้ว" หรือ กรณีของ "หมอกควัน" ที่ปกคลุมทั่วจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดข้างเคียง ซึ่งเกิดจากการเผาป่าเพื่อเตรียมพื้นที่เกษตรกรรม กิจกรรมหนึ่งที่เร่งเร้าให้เกิดภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อน เกิดจากการเผาไหม้ฟอสซิล ซึ่งเป็นตัวการทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และภาวะเรือนกระจก โดยไปเพิ่มความหนาของชั้นบรรยากาศ ทำให้เกิดการเก็บกับรังสีอินฟราเรด ซึ่งควรจะหลุดออกไปสู่ห้วงอวกาศ ผลที่ตามมา คือ อุณหภูมิของโลก และมหาสมุทรอุ่นขึ้นจนอยู่ในระดับอันตราย นั่นคือที่มาของวิกฤติสภาพแวดล้อม ซึ่งทำให้ภูมิอากาศของโลกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม (Climate Change) รายงานสรุปภาวะโลกร้อนฉบับที่ 2 (ฉบับล่าสุด) ของสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งเผยแพร่เมื่อต้นเดือนเมษายน 2550 ระบุถึงความเสียหายในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นทุกๆ 2-3 องศาเซลเซียสนั้น จะส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของโลกประมาณ 2-3% หรือปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทุกๆ 1 ตันที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ จะสร้างความเสียหายให้กับโลก 300-400 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อคำนวณปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกขึ้นสู่บรรยากาศในปี 2548 ในปริมาณรวม 7,900 ล้านตันแล้ว มูลค่าความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลกจะมีมากถึง 23,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ถึง 3.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ตอนหนึ่งของรายงานชิ้นนี้ ยังบอกด้วยว่า ภายในปี 2080 (พ.ศ.2623) หรือในอีก 73 ปีข้างหน้า ในชั่วชีวิตลูกหลานของเรานี้ จะมีประชากรบนโลก 1,100-3,200 ล้านคน ตกอยู่ในสภาพขาดแคลนน้ำ และประชากรอีก 200-600 ล้านคน จะอยู่ในสภาพอดอยากหิวโหย จะมีคนไร้ที่อยู่อาศัยในอัตรา 2-7 ล้านคนต่อปี จากสภาพน้ำท่วมพื้นที่ชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลกระทบโดยตรงจากภาวะโลกร้อน บนสมมติฐานที่ว่า ถ้าประชากรโลกยังไม่ตั้งรับปัญหา Global Warming รายงานดังกล่าว เป็นรายงานฉบับที่ 2 ที่จัดทำโดยคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงแห่งสหประชาชาติ (IPCC) ซึ่งรวมเอานักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศจากทั่วโลกหลายพันชีวิตมาร่วมศึกษา ทั้งนี้สหประชาชาติ มีแผนที่จะเผยแพร่รายงานภาวะโลกร้อนทั้งหมด 3 ฉบับภายในปีนี้ สำหรับรายงานฉบับแรก ถูกเผยแพร่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งสรุปออกมาว่า กิจกรรมของมนุษย์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิล เช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ กำลังทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ รายงานฉบับแรก ทำนายว่าอุณหภูมิโลกจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 1.8- 4 องศาเซลเซียส ในศตวรรษนี้ (21) ในรายงาน มีการคาดการณ์ว่า โลกจะต้องเผชิญกับฝนตกหนัก ธารน้ำแข็งละลาย ภัยแล้ง และคลื่นความร้อนระดับรุนแรงขึ้น ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นช้าๆ จะเกิดการสูญเสียสัตว์ และพืชบางสายพันธุ์ และการเกิดโรคใหม่ๆ หรือการแพร่ระบาดของโรคในหมู่มนุษย์ที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ โดยมี "มนุษย์" เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ความตื่นตัวในเรื่อง Global Warming ยังเห็นชัดจากความโด่งดังของ หนังสือเรื่อง An Inconvenient Truth : โลกร้อน ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง ซึ่งในเมืองไทย หนังสือเล่มนี้ ติดอันดับหนังสือขายดีที่สุดในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ An Inconvenient Truth เขียนโดย "อัลกอร์ อดีตรองประธานาธิบดีสหรัฐ ซึ่งเป็นการฟ้องด้วยภาพธรรมชาติก่อนและหลัง (Before and After) เผชิญผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอย่างน่าสะพรึงกลัว เช่น การละลายตัวของน้ำแข็งในขั้วโลกเหนือ ,การละลายของธารน้ำแข็งในเทือกเขาแอลป์ ในสวิตเซอร์แลนด์ เทือกเขาคิลิมานจาโร ธารน้ำแข็งคูริคาลิสในเปรู การเกิดพายุทอร์นาโดในสหรัฐอเมริกา ที่ทำลายสถิติในปี 2547 สถิติการเกิดน้ำท่วมรุนแรงในแต่ละทวีป แต่ละทศวรรษ และยังพบว่า ยิ่งเข้าใกล้ทศวรรษปัจจุบันมากเท่าไหร่ สถิติการเกิดน้ำท่วมรุนแรงได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ อีกรูปธรรมที่เห็นได้ชัดว่าทั่วโลกเริ่มตื่นตัวในเรื่องนี้ เมื่อมีการลงนามในพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ของบรรดาประเทศสมาชิก มีผลบังคับใช้เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2549 เพื่อร่วมกันหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ด้วยการเปลี่ยนแปลงการผลิตที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกมาเป็นการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้พลังงานอื่นๆ เพื่อลดการเผาไหม้ เช่น การหันมาใช้พลังงานชีวมวล พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พิธีสารดังกล่าว ยังเสนอแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยการซื้อขายคาร์บอน เครดิต (Carbon Credit) หมายถึง ผู้ประกอบการรายใดที่มีกระบวนการลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยปริมาณก๊าซ ที่สามารถลดได้ จะถูกตีมูลค่าเป็นเครดิต เพื่อนำไปซื้อขายให้กับผู้ประกอบการรายอื่นที่ไม่สามารถลดผลกระทบจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ พิธีสารเกียวโต กำหนดให้ประเทศที่ลงนาม เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา และญี่ปุ่น ฯลฯ ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำกว่าระดับก๊าซที่เป็นมลพิษในปี 2533 โดยเฉลี่ย 5.2% ระหว่างปี 2551-2555 หากผู้ที่ร่วมโครงการไม่สามารถดำเนินการได้ตามข้อกำหนดจะต้องมี "บทปรับ" ในสหภาพยุโรป มีค่าปรับถึงตันละ40 ยูโร ตามแผนการลดมลพิษในระยะที่ 1 (2548-2550) และเพิ่มค่าปรับเป็นตันละ100 ยูโร ตามแผนในระยะที่ 2 (2551-2555) ซึ่งสูงกว่าราคารับซื้อหลายเท่าตัว อย่างไรก็ตาม สำหรับไทยจัดว่าเป็นเพียงการเริ่มต้น เพราะยังไม่มีโรงงานใด ที่ได้รับใบรับรองเพื่อซื้อขายคาร์บอน เครดิต (Certified Emission Reduction-CERs) เมื่อเทียบกับ อินเดีย จีน เวียดนาม เกาหลีใต้ บราซิล และอาร์เจนตินา แม้จะมีโรงงานในไทยจำนวน 19 แห่ง ที่ประสงค์จะขอซื้อขายคาร์บอนเครดิต และผ่านการรับรองจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และคณะรัฐมนตรีแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจรับรองเอกสารประกอบโครงการ (Validation) จากบริษัทตรวจประเมินและรับรองโครงการรายอื่นๆ ยังมีความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจ เกิดขึ้นที่นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ที่เดินหน้ารณรงค์ปลูกจิตสำนึกร่วมแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน โดยจัดโครงการ "Earth Hour" ด้วยการดับไฟฟ้าเป็นเวลา 1 ชั่วโมงในสถานที่สำคัญบางส่วนและเขตชุมชนในนครซิดนีย์ ตั้งแต่เวลา 19.30 น.ของวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งได้รับการสนับสนุนทั้งจากนักธุรกิจและประชาชนเป็นอย่างดี ก่อนจะขยายผลโครงการนี้ไปดำเนินการในเมืองใหญ่ทั่วโลกต่อไป ออสเตรเลียจึงกลายเป็นประเทศแรก ที่ประกาศตัวสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโลกร้อนอย่างเต็มที่ โดยก่อนหน้านี้ได้ประกาศยกเลิกการใช้หลอดไฟฟ้าธรรมดาภายในปี 2553 หันมาใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ประหยัดไฟมากกว่าแทน นอกจากนี้ จอห์น โฮเวิร์ด นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย บอกด้วยว่า ในการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเชียแปซิฟิก (เอเปค) ประจำปีในเดือนกันยายน 2550 ที่ออสเตรเลียเป็นเจ้าภาพ จะหยิบยกปัญหาโลกร้อน มาเป็นประเด็นสำคัญในการประชุม ไม่นับการออกมาแฉรายชื่อบริษัทพลังงานของสหรัฐอเมริกาจำนวน 10 แห่ง ของกลุ่มลงทุนด้านสิ่งแวดล้อม (เซเรส) โดยระบุว่าบริษัทเหล่านี้ไม่เอาใจใส่เพียงพอในการจัดทำแผนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งก็ได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะที่รัฐมิสซิสซิปปี ได้ยื่นฟ้องบริษัทน้ำมันและถ่านหินที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยอ้างว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดพายุเฮอร์ริเคน ที่สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงต่อเมืองนิว ออลีนส์ ไม่นานมานี้บริษัทไมโครซอฟท์ ยังเปิดแถลงข่าวให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่ต้องการประหยัดพลังงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการใช้คอมพิวเตอร์ว่า แทนที่จะใช้สกรีนเซฟเวอร์ ให้เปลี่ยนไปใช้โหมด "ไฮเบอร์เนต" ในวินโดว์ส (เหมือนกับสลีปโหมด ของแมคอินทอช) แทน ซึ่งจะประหยัดพลังงานมากกว่า เรื่อง : กรุงเทพธุรกิจ Bizweek สภาวะโลกร้อน...ใกล้ตัวเรากว่าที่คิด เริ่มจาก อัฟกานิสถาน เคนยา เวียตนาม อินเดีย น้าท่วมในสเปน และเม็กซิโก ความแห้งแล้งในออสเตรเลีย อากาศในจีน อเมริกา (ต้องให้เด็กๆ ออกมาประท้วง) และ...ไทย ส่งท้าย... 22 เมษายน : วันคุ้มครองโลก
ธรรมชาติสร้างคน มีมือมาสองมือ ให้มากับคนเราทุกๆ คน อีกไม่ช้าไม่นาน เราเองคงต้องไป แต่มัน ก็ยังมีโลกใบเก่า ให้โลกเราสวย พวกเรามาช่วยกัน รับรู้ด้วยกัน แล้วทำให้โลกนี้สดใส (ขอบคุณเพลงจาก koalar2003.spaces.live.com)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Bizweek's Grand Opening | ||
![]() |
||
. |
||
View All ![]() |
BizWeek | ||
![]() |
||
ไฮไลท์ ประจำสัปดาห์ มาแล้ววว !! |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 |