สวัสดี "ชาวตัวหนอน" คะ พอดีว่าคุณ kamolnum ถามถึงคุณ ชาติ กอบจิตติ ขึ้นมา เลยทำให้นึกถึง นวนิยายดีดีอีกเรื่องหนึ่ง "คำพิพากษา" ไม่แปลกใจเลยที่นวนิยายเล่มนี้ได้รับรางวัลซีไรต์ (2525) เพราะสะท้อนความเป็นสังคมได้อย่างชัดเจน แม้ว่าในเนื้อเรื่องที่กล่าวถึงจะดำเนินฉากหลักของ สังคมชนบท สังคมเล็กๆ แต่ในความเป็นจริง ที่เราต้องยอมรับ ก็คือ มันเป็นภาพเล็กที่ขยายคำจำกัดความของ "สังคม" ได้อย่างดีเยี่ยม เพราะไม่ว่าจะอยู่ในสังคมเล็ก สังคมใหญ่ สังคมไหนก็มีสภาพที่ไม่แตกต่าง "เสียงของสังคม" กลายเป็นคำตัดสิน ชี้ถูกผิด คนรอบข้าง ผ่านการมองเห็นเพียงผิวเผิน หรือเป็นเพียงความรู้สึกนึกคิดเอง ตัดสินจากประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเอง โดยไม่คำนึกว่า เรื่องใหม่ที่เราเห็นตรงหน้า อาจไม่เหมือนในสิ่งที่เคยเป็นมา ไม่ซ้ำกับประสบการณ์ที่เราเคยเจอ สั้นๆ ง่ายๆ บางครั้ง เราตัดสินใจทุกอย่างด้วยความฉาบฉวย ตัดสินใจคนจากภายนอก ไม่ได้มองถึงแก่นแท้จากข้างใน โดยส่วนตัวก็ยอมรับว่า บางครั้ง ก็ตัดสินใจเหตุการณ์ตรงหน้าอย่างฉาบฉวยเช่นกัน แต่หยิบ "คำพิพากษา" มาอ่าน ก็ช่วยให้ระลึกได้ว่า เสียงของสังคม ช่างโหดร้ายนัก เราเป็นหนึ่งในเสียงของสังคมนั้นหรือไม่? เราเปลี่ยนบทบาทจากคนธรรมดาเป็น "ผู้พิพากษา" เพื่อนร่วมสังคมอย่างปิดหูไม่ฟังเสียงของเขาหรือไม่? บางที หนังสือ นวนิยายดีดี ใครว่าไร้สาระเสมอไป ช่วยให้เราคิดได้เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับว่า เราจะหยิบสิ่งดีดีในนิยายเหล่านั้นมา "ขบ" ให้แตก และปรับวิธีคิดของเราให้เหมาะสมได้มากน้อยแค่ไหน ทุกวันนี้ มีหลายเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองของเรามากมาย เราในฐานะผู้เสพข่าวจากสื่อต่างๆ จึงต้องวิเคราะห์ข้อมูลให้ถ้วนถี่ อย่าปล่อยให้ข้อมูลอันมากล้น มาแปลงร่างให้เรากลายเป็น "ผู้พิพากษา" ตัดสินคนในสังคมอย่างเลือดเย็น ไร้เหตุและผล ตัดสินเหตุการณ์อย่างไม่เป็นธรรม และหวังผลเพียงความสะใจ โดยไม่ลองเอาใจเขามาใส่ใจเราดูบ้างว่า... ถ้าเราต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เราไม่สามารถเลือกได้ เลือกอยู่ เลือกเกิด เลือกเป็น เราจะดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อสังคมได้ "พิพากษา" ว่า "เราเลว" ไปเสียแล้ว... ข้อมูลจาก www.flowersandpaperbirds.org มูลนิธินกและดอกไม้เพื่อสันติภาพ "คำพิพากษา" วรรณกรรมซีไรต์ ปี 2525 ของ "ชาติ กอบจิตติ" เป็นเรื่องราวของ ฟัก ผู้ที่เคยเป็นบุคคลตัวอย่างในหมู่บ้าน แต่เมื่อพ่อตายก็เกิดข่าวลือว่าเขาไปมีสัมพันธ์ฉันชู้สาวกับ สมทรง ภรรยาใหม่ที่สติไม่ดีของพ่อ จนทำให้เขาถูกสังคมประณาม ไม่มีใครเชื่อว่าเขาเป็นผู้บริสุทธิ์ นอกจากลุงไข่สัปเหร่อซึ่งก็ถูกรังเกียจจากสังคมด้วยเช่นกัน ฟักเริ่มดื่มเหล้าและดื่มมากขึ้นทุกทีเพราะเขาเชื่อว่าเหล้าทำให้เขาลืมความทุกข์ได้ ต่อมาเมื่อเขาขอเบิกเงินที่ฝากครูใหญ่ไว้ เพื่อไปทำบุญกระดูกพ่อของเขา ครูใหญ่กลับปฏิเสธว่าไม่เคยรับฝากเงินของฟักไว้ ฟักจึงออกมาประณามการกระทำครั้งนี้ของครูใหญ่ แต่ไม่มีใครเชื่อเขาเพราะครูใหญ่เป็นผู้มีเกียรติและมีชื่อเสียงในหมู่บ้าน ต่อมาฟักตายเนื่องจากดื่มเหล้ามากเกินไป ชาวบ้านดีใจเมื่อทราบข่าวการตายของเขา จากนั้น พวกชาวบ้านก็ช่วยกันจับสมทรงไปส่งโรงพยาบาลบ้าที่กรุงเทพฯ ศพของฟักถูกใช้ในการทดลองเตาเผาศพอันใหม่ของหมู่บ้าน และการเผาศพของฟักในครั้งนี้ทำให้ครูใหญ่กลายเป็นบุคคลที่น่านับถือยิ่งขึ้น เพราะคนอื่นเห็นว่าแม้ว่าฟักจะประณามและใส่ร้ายครูใหญ่เพียงใด ครูใหญ่ก็ยังเมตตาจัดงานศพให้ จะมีก็แต่ลุงไข่เท่านั้นที่ตระหนักดีว่าครูใหญ่ไม่ใช่คนดี นวนิยายเรื่อง คำพิพากษา ของ ชาติ กอบจิตติ เป็นนวนิยายที่มีการผสานอย่างกลมกลืนระหว่างแนวคิดที่มีลักษณะสากล กับรูปแบบและเนื้อหาที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสังคมไทย โดยเสนอแนวคิดว่า คนในฐานะปัจเจกชนมักจะตกเป็นเหยื่อของความเชื่อ และคำตัดสินของสังคม ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ก็ตาม ส่งผลให้บุคคลอ้างว้างโดดเดี่ยวและทุกข์ทรมาน จนถึงทำร้ายร่างกายและจิตใจในที่สุด ชาติ กอบจิตติ วางโครงสร้างของเรื่องไว้อย่างมีแบบแผน โดยแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ นำเรื่อง ในร่างแหและสู่อิสระ ในส่วนนำเรื่องใช้กลวิธีการนำเสนอภูมิหลังเพื่อจูงใจให้ผู้อ่านติดตาม ในตอนในร่างแหดำเนินด้วยเหตุการณ์ที่เสนอร่างแหรัดรึงชีวิต ตัวเอกในที่สุด ในตอนสู่อิสระ เป็นการเสนอการต่อสู้ของตัวเอกที่หาทางออกไม่ได้ จึงหาทางหนีจากโลกของความเป็นจริง โดยสร้างโลกใหม่ที่เขาคิดว่าเป็นหนทางสู่อิสระ แต่แท้จริงแล้วเป็นทางที่นำไปสู่ความตาย ชาติ กอบจิตติ สามารถลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนต้นกับตอนท้ายเรื่องอย่างมีเอกภาพ ปรัชญาอันเป็นแก่นของนวนิยายเรื่อง คำพิพากษา ชี้ให้เห็นว่าปัจเจกบุคคลนั้นไม่มีอำนาจต่อรองใด ๆ สิ่งแวดล้อมเป็นตัวกำหนดชีวิตมนุษย์ สิ่งแวดล้อมในที่นี้คือสังคมมนุษย์ ฟัก ตัวละครเอกของเรื่องต้องพินาศเพราะผู้อื่น ผู้อื่นที่ร่วมกันสร้างโลกอันเป็นมายาขึ้นมา และบีบเขาให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจของมายานี้ แม้ศาสนาก็ดูเหมือนไม่สามารถตอบคำถามของเขาได้ มันเป็นกรรมเป็นเวร เคยทำเวรกันไว้เมื่อใดเล่า ชีวิตนี้เกิดมาปลาสักตัวไม่เคยฆ่า เงินสักเฟื้องไม่เคยขโมยใคร ลูกเมียใครก็ไม่เคยไปเสพสม พูดจาหลอกลวงก็ไม่เคยเอ่ย สุรายาเมานั้น อย่าว่าแต่กินเลย มองยังไม่อยากมอง ศีลห้าข้อนี้ถือประพฤติมาตลอด แล้วทำไมถึงต้องรับเวรรับกรรม หรือว่าเป็นมาแต่ปางก่อน เขาไม่อยากเชื่อเอาเลย เชื่อแน่เพียงอย่างเดียวว่า เคราะห์กรรม ที่ประสบอยู่นี้มาจากคนอื่นโดยแท้ (คำพิพากษา : หน้า ๕๒) เป็นคำรำพึงของฟักในตอนต้นเรื่อง เมื่อเขายังไม่ยอมแพ้ต่อสิ่งแวดล้อม เขายังไม่ตกเป็นทาสของเมรัย เขาจึงมองโลกได้อย่างแจ่มแจ้ง และความแจ่มแจ้งในการมองโลกนี้ มิได้เสื่อมคลายแม้ว่าในตอนท้ายของชีวิตเขาจะยอมรับผิดบางประการที่ได้ทำไป เสียงกลองระฆังยังดังอยู่ หมายังคงหอนรับโหยหวนอยู่ไม่ขาด เขานึกถึงหมาที่ได้ตีตายไปวันนั้น นึกถึงเวรที่ได้ก่อไว้ ในชั่วชีวิตที่ได้ผ่านมานี้ เขามีบาปติดตัวอยู่สามอย่าง : ฆ่าหมา โกหกหลวงพ่อ ดื่มสุรา ถ้าตายไป เขาคงตกนรกเพราะบาปกรรมอันนี้ แต่ที่คนอื่นได้ก่อกรรมไว้กับเขาเล่า มันมากมายกว่าที่เขาได้ทำไว้เสียอีก และถ้าเป็นจริงเขาคงจะได้เจอกับคนที่รู้จักอีกมากมายในนรก...และเขาจะคอย ชาติ กอบจิตติ สร้างเรื่องได้อย่างมีเอกภาพในแง่ที่ว่าผู้อ่านถูกกำหนดให้มองโลกด้วยทัศนะเดียวกับ ฟัก ในขณะที่สังคมมองฟักว่า เป็นอื่น ผู้อ่านก็อดที่จะเข้าข้างฟักไม่ได้ว่า ผู้อื่นนั่นแหล่ะ เป็นอื่น คือ ต่างไปจากมาตรฐานเรื่องความผิดชอบชั่วดี เพราะ ฟัก เป็นคนนอกก็จริง แต่ คนใน นั้นแม้จะมีจำนวนมากแต่ก็ ฟอนเฟะอยู่ในกิเลสอันโสมม ความโดดเด่นของ "คำพิพากษา" จึงอยู่ที่การมิได้กำหนดให้ครูใหญ่เป็นผู้ร้ายเพียงคนเดียวของเรื่อง ครูใหญ่เป็นเพียง พลังของความชั่วร้าย ที่คนในสังคมยอมรับ ดังนั้น ผู้ร้ายในเรื่องจึงไม่ใช่ครูใหญ่ แต่เป็นคนทั้งหมู่บ้านที่ทำความผิดต่อฟักมากบ้างน้อยบ้างในลักษณะต่าง ๆ กัน หากแต่กลุ่มคนเหล่านั้นยอมให้ครูใหญ่โกงฟัก และยังยอมรับนับถือครูใหญ่ เพราะเกรงกลัวหรือเกรงใจในอำนาจบารมี ลักษณะการเพิกเฉยต่อคนเลว และไม่ปกป้องคนดี เช่นนี้เราจะพบเห็นได้ในสังคมปัจจุบัน การสร้างความขัดแย้งเช่นนี้จึงทำให้คำพิพากษามีลักษณะสมัยใหม่และมีความเป็นสากล |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน | ||
![]() |
||
นวนิยาย "ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน" ของ วินทร์ เลียววาริณ วางจำหน่ายใน พ.ศ. 2537 และได้รางวัลซีไรต์ใน พ.ศ. 2540 ฉบับภาษาอังกฤษให้ชื่อว่า (Democracy, Shaken & Stirred) วางจำหน่าย พ.ศ. 2546 |
||
View All ![]() |
<< | มิถุนายน 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |