พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ถือว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลและเป็นที่ ที่อยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยวอย่างพัทยา เป็นที่ซึ่งควรจะไปแวะชมเพื่อจะได้รู้จักและรักษ์ทะเล

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ตั้งอยู่บริเวณชั้น 2 ของ อาคารสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล เป็นส่วนที่จัดแสดงให้ในรูปแบบ
ของนิทรรศการ ดังนั้นทรัพยากรที่ใช้ในการจัดแสดงจะเป็นรูปแบบนิทรรศการที่ประกอบด้วยแผ่นข้อมูล ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลที่ทำการเก็บรักษาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น ตัวอย่างที่ดองด้วยน้ำยาฟอร์มาลิน ตัวอย่างแห้ง ตัวอย่างสัตว์สตั๊ฟ เป็นต้น โดยการจัดแสดงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่

ส่วนแรก จัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง
ส่วนที่สอง จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
1. นิทรรศการเรื่องราวของอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตใน โดยให้ความรู้ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กๆที่อาศัยอยู่ในทะเล คือ แพลงก์ตอนซึ่งมีบทบาทสำคัญของห่วงโซ่อาหารในทะเล สาหร่าย และหญ้าทะเล ฟองน้ำ สัตว์ที่มีโพรงลำตัว เช่น ปะการัง ดอกไม้ทะเล แมงกะพรุน เป็นต้น สัตว์จำพวกหนอนทะเล เช่น หนอนตัวแบนหนอนปล้อง หนอนริบบิ้น เป็นต้น สัตว์จำพวกหอย เช่น หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หมึก และหอยงวงช้าง เป็นต้น สัตว์ที่มีข้อปล้องในทะเล เช่น ปู กุ้ง กั้ง และแมงดาทะเล เป็นต้น สัตว์จำพวกคอร์เดทในทะเล เช่น เพรียงหัวหอม แอมฟิออกซัส และสัตว์ทะเลที่มีกระดูกสันหลัง ชนิดต่างๆ ได้แก่ ปลาทะเล โลมา พะยูน เต่าทะเล และจระเข้น้ำเค็ม รวมทั้งเรื่องราวของทะเล และสิ่งมีชีวิตในทะเลยุคดึกดำบรรพ์ เป็นต้น
2. นิทรรศการเรื่องราวของทะเล และระบบนิเวศในทะเล ในส่วนนี้จะกล่าวถึงการแบ่งเขตของทะเล และระบบนิเวศต่างๆในทะเล รวมทั้งพืช และสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ในแต่ละระบบนิเวศ โดยเริ่มตั้งแต่ ระบบนิเวศของป่าชายเลน ระบบนิเวศหาดหิน ระบบนิเวศหาดทราย และหาดโคลน ระบบนิเวศแนวปะการัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
3. นิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อ เป็นส่วนที่จัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ เช่น เป็นแหล่งทำการประมงโดยใช้เครื่องมือประมงทะเล เช่น โป๊ะ และเรือประมงทะเลชนิดต่างๆ เป็นเส้นทางค้าขาย และเดินทางติดต่อกันของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งต้องพบกับอุปสรรคนานาประการจากคลื่น ลม และพายุ จนทำให้เรืออัปปางเกิดเป็นเรื่องราวของการขุดค้น และศึกษาโบราณคดีใต้น้ำเป็นต้น
4. ห้องพิพิธภัณฑ์เปลือกหอย และวิวัฒนาการของหอย ในห้องนี้จะจัดแสดงเกี่ยวกับเปลือกหอยที่พบในทะเลกลุ่มต่างๆ ได้แก่ ลิ่นทะเล หอยฝาเดียว หอยฝาคู่ หอยงวงช้าง และหอยงาช้าง เป็นต้น รวมทั้งนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับหอยแต่ละกลุ่ม วิวัฒนาการของหอยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และการแบ่งกลุ่มของหอยที่มีอยู่ในโลก


"ชายฝั่งทะเลนั้น เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของมนุษย์" เนื่องจากเป็นบริเวณที่มนุษย์ได้มีส่วนสัมพันธ์ ใกล้
ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด และบทบาทสำคัญต่อมนุษย์ในด้านต่างๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทัศนียภาพของทะเล น่าตื่นตาเพลินใจ ทะเลที่มีชายฝั่งทะเลเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ส่งผลทางเศรษฐกิจต่อชุมชนในบริเวณนั้น เรามองเห็นชาวประมงกำลังจับสัตว์ทะเล แสดงให้เห็นว่าชายฝั่งทะเลเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ เมื่อมองลึกลงไป ทรายแต่ละเม็ด หินแต่ละก้อน ก็เป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิต องค์ประกอบทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเหล่านี้ เมื่อรวมกันเข้าก็เป็นระบบนิเวศชายฝั่งทะเลนั้นเอง
ขอบเขตของระบบนิเวศชายฝั่งทะเลนั้น บางครั้งเราก็ไม่สามารถระบุลงไปได้ชัดเจนมากนัก เนื่องจากลักษณะของชายฝั่งแต่ละแห่งอาจจะแตกต่างกันออกไป แต่ในที่นี้ ชายฝั่งทะเลจะหมายถึง ชายหาดที่ติดกับทะเลไปจนถึงบริเวณไหล่ทวีป (continental shelf) ซึ่งบริเวณเหล่านี้นับว่ามีส่วนสัมพันธ์กับมนุษย์อย่างลึกซึ้งมากที่สุด
ระบบนิเวศที่สำคัญ อย่างแรกเลย มีหาดเป็นทราย นั่นคือ ระบบนิเวศหาดทราย ที่มีก้อนหินใหญ่น้อยอยู่เต็มชายหาด สิ่ง
นี้คือ ระบบนิเวศหาดหิน แถวบริเวณเมืองใหม่ ชลบุรี มีชายหาดที่เป็นโคลน เราจะเรียกว่า ระบบนิเวศหาดโคลน ทั้งสามระบบนิเวศนี้จะอยู่ในเขตที่เรียกว่า เขตน้ำขึ้นน้ำลง ในบริเวณปากแม่น้ำที่มีน้ำจืดจากแผ่นดินไหลลงมาบรรจบกับน้ำทะเล ทำให้น้ำในบริเวณนั้นกลายเป็นน้ำกร่อย และมีความอุดมสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ สารอาหารต่างๆ รวมทั้งเกิดการสะสมตัวของหินตะกอนที่ชะล้างมาจากแผ่นดิน มีพรรณไม้นานาชนิดที่ชอบน้ำกร่อย กลายเป็นระบบนิเวศปากแม่น้ำหรือระบบนิเวศป่าชายเลนขึ้นมา ชายฝั่งทะเลบางแห่งมีหญ้าทะเลขึ้นอยู่มากมาย เราจะเรียกว่า ระบบนิเวศแหล่งหญ้าทะเล ตามเกาะต่างๆ ที่มีปะการังเจริญขึ้นอยู่ เราจะเรียกว่า ระบบนิเวศแนวปะการัง จะเห็นได้ว่าการที่เราจะเรียกระบบนิเวศต่างๆ นี้ จะต้องดูองค์ประกอบหลักที่มีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศนั้นๆ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ได้



คณะทัวร์ของเราโดยมี คุณธารทิพย์ มีลักษณะ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรีเป็นหัวหน้าคณะ(คนที่2 จากซ้าย)ได้รับการต้อนรับจากรองผู้อำนวยการ สถาบันฯ คุณ ภัทรพงศ์(เสื้อสีฟ้า นั่งเป็นประธาน)

รองผู้อำนวยการ สถาบันฯ นำชมตู้แสดงสัตว์น้ำขนาดใหญ่ ด้วยทุนสร้างทั้งหมด 69.5 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเสร็จและแสดงในเดือน กรกฎาคม 2552 นี้ คุณธารทิพย์ มีลักษณะ(เสื้อลายชมพู) ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชลบุรี






สนใจข้อมูลและรายละเอียดติดต่อ ...
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ต.แสนสุข อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20131
โทร : 0-3839-1671-3 โทรสาร : 0-3839-1674
e-mail : marinesc@bims.buu.ac.th
แล้ว พบกันอีก
อ่านเรื่องย้อนหลังพันธกิจ..ไทยเที่ยวไทยสะดุดรักเม็ดทรายสายลมแสงแดด...
คลิก!!ที่ลิ้งค์ชื่อเรื่องเพื่อเก็บรายละเอียดและภาพงามๆ
เพลงทะเลijigg.com