*/
Toys of the Past | ||
![]() |
||
เล่นมากับมือ ทุกชิ้น เลิกเล่นแล้วกะจะเก็บให้ลูกหลานเล่น |
||
View All ![]() |
coffee | ||
![]() |
||
coffee |
||
View All ![]() |
<< | มกราคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | |||||
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
31 |
ก้าวสู่ปีที่ 11 TCDC ประกาศ4 ภารกิจใหม่พร้อมจัดเสวนา “เศรษฐกิจใหม่บนความท้าทาย:New World, New Economy, New Challenge” การก้าวสู่ปีที่ 11 ของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ได้ประกาศความพร้อมในการสร้างโอกาสให้กับนักสร้างสรรค์และผู้ประกอบการ รับศักราชใหม่ของเศรษฐกิจกระแสใหม่ (New Economy)พร้อมจัดงานเสวนาในหัวข้อ“เศรษฐกิจใหม่บนความท้าทาย : New World, New Economy, New Challenge”ดึง 3 ผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 สาขา ร่วมเวที ได้แก่ คุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่ คุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่ คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัด คุณประณิธาน พรประภา ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Asiolaและผู้ก่อตั้งโครงการ Wonderfruit คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัดและคุณประณิธาน พรประภา ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Asiolaและผู้ก่อตั้งโครงการ Wonderfruitพร้อมแถลงข่าว “New TCDC…New Opportunity”ย้ำ 4 ภารกิจหลักของ TCDC ไปสู่อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก คุณอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)เผยว่าในการก้าวสู่ปีที่ 11 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) มีการปรับยุทธศาสตร์องค์กรใหม่ (New TCDC) โดยขยายบทบาทด้านการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคธุรกิจและประเทศ ด้วยการใช้ประโยชน์จากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติการใช้ฐานความรู้ด้านดิจิทัล และความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น “ ปัจจุบันทุกฝ่ายตระหนักดีว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า New Economy มีปัจจัยที่สลับซับซ้อนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) ไม่ใช่เป้าหมายสำคัญในการพัฒนาของประเทศไทยอย่างเดียวแต่รวมถึงประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ที่ต้องทำความเข้าใจกับสภาพแวดล้อมใหม่ของโลกที่เป็นทั้งอุปสรรคและโอกาส ก้าวต่อไปของTCDC ในปีที่ 11จึงต้องขยายบทบาทและก้าวสู่ความเติบโตผ่าน 4 ภารกิจใหม่ ได้แก่ Creative Vision, Creative Center, Creative Business และ Creative Thailand เพื่อทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองในการพัฒนาทุนความคิดสร้างสรรค์(Creative Capital)ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่Creative Economy”โดยมีเป้าหมายว่าภายในปี 2020 ประชาชน 20 ล้านคนจะสามารถเข้าถึงและนำองค์ความรู้สร้างสรรค์ไปใช้เพื่อการพัฒนาธุรกิจและคุณภาพชีวิตได้ “New TCDC…New Opportunity” หรือ 4 ภารกิจใหม่ของ TCDC ประกอบไปด้วย มิติที่ 1 Creative Vision คือการพัฒนายุทธศาสตร์และแนวทางนโยบายต่างๆ ที่จะขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในระดับสากล โดย TCDC จะจัดทำโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Roadmap ของการพัฒนาระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในปัจจัยต่างๆ เพื่อก่อเกิดผลลัพธ์ทางด้านเศรษฐกิจอย่างมีศักยภาพ มิติที่ 2 Creative Centerคือการเป็นผู้พัฒนา “Knowledge and Inspiration” นำเสนอความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ แรงบันดาลใจ ผ่านบริการต่างๆ จากการสร้างช่องทางและแหล่งเรียนรู้ใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็น Digital Platform, TCDC สาขาใหม่, miniTCDCรวมถึง TCDC เจริญกรุง มิติที่ 3 Creative Businessการนำเสนอการสร้างธุรกิจที่เติบโตขึ้น แข็งแรง ภายใต้บริการต่างๆ ทั้งการให้คำปรึกษาแบบเข้มข้น การสร้างเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจรายสาขา งานวิจัยเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจต่างๆ โดย TCDC ส่งเสริมธุรกิจผ่าน 4 แนวทางคือ Consult / Network / Develop/ Support มิติที่ 4 Creative Thailandกับการเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นให้สังคมไทยเกิดการรับรู้ถึงความสำคัญ และเข้าใจกระบวนการนำความคิดสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การแก้ปัญหาและเพิ่มคุณภาพชีวิตในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ (นิตยสารคิด) สื่อดิจิทัล และการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับบุคลากรสร้างสรรค์มากกว่า 14 ล้านคน กระจายโอกาสการเข้าถึงองค์ความรู้ไปยังทุกภูมิภาคของประเทศ รวม 16 จังหวัด ส่งเสริมธุรกิจวัสดุไทยมากกว่า 100 บริษัทให้สามารถจำหน่ายและส่งออกได้ รวมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเป็นทุนในการเพิ่มมูลค่า (Value Creation) ให้กับสินค้าและบริการของไทย โดยสร้างเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและบ่มเพาะผู้ประกอบการรุ่นใหม่ (Creative Startups) มาแล้วมากกว่า 1 แสนคน ส่งผลให้ผู้ประกอบการเหล่านี้สามารถผลิตสินค้า/บริการให้มีราคาเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26.67 มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.19 มีกำไรเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.30 และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.07
ภายในงานนอกจากการนำเสนอ “New TCDC… New Opportunity” 4 ภารกิจของ TCDC แล้ว ยังมีการจัดงานเสวนา “เศรษฐกิจใหม่บนความท้าทาย : New World, New Economy, New Challenge”ขึ้น ณ อาคารไปรษณีย์กลาง บางรักแห่งนี้ เพื่อเป็นการฉายภาพให้เห็นความเชื่อมโยงของเศรษฐกิจกระแสใหม่ในการขับเคลื่อนประเทศ ตลอดจนเป็นการเอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างความคิดสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางความรู้และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ไปพร้อมกับยกระดับขีดความสามารถของธุรกิจสร้างสรรค์ให้เป็นทุนสำคัญ
สำหรับงานเสวนาผู้ร่วมนำ การเสวนาประกอบด้วย 3 ผู้ทรงคุณวุฒิจาก 3 สาขา ได้แก่ คุณปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานอนุกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปเศรษฐกิจกระแสใหม่ ที่จะมากล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกบนแนวทางNew Economy, คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีอีโอ อกริฟู้ด จำกัดที่มากล่าวถึงการปรับตัวของประเทศไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ เพื่อแข่งขันกับนานาประเทศในด้านผลผลิตทางการเกษตร ให้ตอบรับการความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของการลงทุนในธุรกิจเกษตร รวมไปถึงการเปิดพรมแดนของ AEC ที่จะมีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมของสินค้าเกษตรอย่างไร และ คุณประณิธาน พรประภา ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Asiolaและผู้ก่อตั้งโครงการ Wonderfruitที่จะมาแชร์เทรนด์การลงทุนสมัยใหม่ที่ต้อง “ล่า” คนมีความสามารถให้เข้ามาสร้างสินค้าและบริการ ผ่านกลยุทธ์การบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์ให้เติบโตอย่างเต็มรูปแบบท่ามกลางเศรษฐกิจใหม่ รวมถึงการลงทุนสมัยใหม่ว่ามีแนวโน้มอย่างไร และต้องลงทุนอย่างไรเพื่อให้เติบโตทางเศรษฐกิจ
ซึ่งในปัจจุบัน ท่านปฏิบัติหน้าที่พิจารณาศึกษาเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจฐานชีวภาพ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์และเชิงวัฒนธรรม รวมไปถึงการส่งเสริมสนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคม และศึกษาด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมใน 4 ด้าน ได้แก่ ความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันลดความเหลื่อมล้ำดูแลปากท้องของประชาชน และเชื่อมโยงเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ในการนำพาประเทศก้าวไปสู่สากล กล่าวถึงเรื่อง การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก (New World) บน New Economy นโยบายทางเศรษฐกิจกระแสใหม่ที่ดำเนินไปในทิศทางความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ประเทศไทยของเราจะเตรียมตัวอย่างไรและศักยภาพของเราอยู่ที่ไหน
นำเสนอการเสวนาในเรื่อง ธุกรกิจการเกษตร สมัยใหม่จากเรื่องข้าว ประเทศไทยมีการส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก จากความได้เปรียบของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติแต่ประเทศไทยจะปรับตัวด้วยความคิดสร้างสรรค์อย่างไร เพื่อแข่งขันกับนานาประเทศในด้านผลผลิตทางการเกษตร ให้ตอบรับการความเปลี่ยนแปลงของโลกที่ส่งผลกระทบต่ออนาคตของการลงทุนในธุรกิจเกษตรรวมไปถึงการเปิดพรมแดนของ AEC ที่จะมีผลต่อการพัฒนานวัตกรรมของสินค้าเกษตร คุณประณิธาน พรประภาผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Asiolaและผู้ก่อตั้งโครงการWonderfruit กล่าวถึง เทรนด์การลงทุนสมัยใหม่ที่ต้อง “ล่า” คนมีความสามารถให้เข้ามาสร้างสินค้าและบริการผ่านกยุทธ์ การบ่มเพาะทรัพยากรมนุษย์ให้เติบโตอย่างเต็มรูปแบบ ท่ามกลางเศรษฐกิจใหม่ การลงทุนใหม่มีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร แล้วจะต้องลงทุนอย่างไรเพื่อให้เติบโตทางเศรษฐกิจ คุณอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ นำเสนอ “New TCDC…New Opportunity” บน 4 ภารกิจของ TCDC ร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่อนาคต ท่าน้ำสี่พระยา อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก ย่านเจริญกรุง ภารกิจใหม่ทั้ง 4 ด้านของ TCDC เกิดขึ้นพร้อมกับการย้ายสถานที่ตั้งใหม่มาสู่อาคารไปรษณีย์กลางบางรัก ย่านเจริญกรุง ย่านการค้าที่เคยรุ่งเรืองและกำลังแปรสภาพเป็นย่านธุรกิจสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ ด้วยปัจจัยด้านวัฒนธรรมที่เป็นพื้นที่ตั้งของชุมชนต่างถิ่นที่เข้ามาตั้งรกรากและความเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการสร้างสรรค์สำคัญของประเทศ อาทิ โรงงานจิวเวลรี่ ร้านค้าศิลปะและโรงแรมชั้นนำ จึงสามารถดึงดูดให้นักสร้างสรรค์รุ่นใหม่เข้ามาบูรณะอาคารเก่าในย่านเจริญกรุงให้กลายเป็นพื้นที่แสดงงานศิลปะ ร้านอาหารและร้านค้าสมัยใหม่คู่ขนานไปกับร้านค้าและชุมชนดั้งเดิม การย้ายสถานที่ตั้งของ TCDC ไม่เพียงเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวถึงศักยภาพของย่านเจริญกรุงเติบโต แต่ทว่าTCDC ยังร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและกรุงเทพมหานคร รวมทั้งภาคเอกชนและชุมชนผู้อยู่อาศัย ในการจัดทำแผนพัฒนาให้ย่านเจริญกรุงเติบโตเป็นย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ที่มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการบ่มเพาะนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ เป็นแหล่งธุรกิจสร้างสรรค์ที่ช่วยขับเคลื่อนธุรกิจอื่นๆ ในย่านให้เติบโต และเป็นต้นแบบในการพัฒนาพื้นที่อื่นๆ ใน ประเทศไทยต่อไป การพัฒนาเจริญกรุง ย่านแห่งโอกาส การพัฒนาย่านเจริญกรุงให้กลับมาโดดเด่นและเป็นโอกาสของประเทศ มุ่งเป้าหมายไปที่การผสมผสานคุณค่าทางประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วิถีชีวิต และเศรษฐกิจ เพื่อให้เกิดความหลากหลายและชีวิตชีวาบนย่านเจริญกรุง กลไกสำคัญของการสร้างสรรค์ย่านเจริญกรุงใหม่คือ การพัฒนาโครงการ TCDC แห่งใหม่ อันเป็นความร่วมมือของบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด และ TCDC เพื่อร่วมกันพัฒนาอาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก ให้เป็นสัญลักษณ์ของการเชื่อมต่ออดีตสู่อนาคต ผ่านการเติมพลังสร้างสรรค์ด้วยกิจกรรมที่แสดงถึงศักยภาพของกลุ่มนักสร้างสรรค์ นักออกแบบ ธุรกิจของย่าน รวมทั้งโครงการใหม่ๆ ทั้งการพัฒนาพื้นที่ค้าขาย การจัดสรรพื้นที่ประกอบกิจการในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ การเกื้อหนุนการต่อยอดความคิดสู่การพัฒนาเป็นสินค้าและบริการ และการสนับสนุนธุรกิจออนไลน์ เพื่อเชื่อมโยงศักยภาพของกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เข้ากับภาคการผลิต ภาคบริการ และภาคการลงทุน ทั้งหมดนี้เพื่อให้ย่านเจริญกรุง คือ ย่านสร้างสรรค์ที่จะเป็นกลไกและโอกาสใหม่ของเศรษฐกิจไทยได้อย่างแท้จริง นอกไปจากนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ยังร่วมมือกับ TCDC สร้าง“โครงการสร้างสรรค์เจริญกรุง (Co-Create Charoenkrung)” เพื่อพัฒนาพื้นที่ในย่านเจริญกรุง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ต้นแบบของความเจริญทางธุรกิจสร้างสรรค์ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการทางกายภาพ จิตใจ เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านการจัดทำกิจกรรมออกแบบพื้นที่สร้างสรรค์ร่วมกับชุมชนย่านเจริญกรุง และใช้องค์ความรู้การออกแบบบริการในการค้นหาปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สอดคล้องกับชุมชน โดยเริ่มโครงการมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 และจะสิ้นสุดโครงการในเดือนมิถุนายน 2559
ซ้าย ดร.พัชรวีร์ ตันประวัติ หัวหน้าฝ่ายศิลปะและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และ คุณจูเลีย คนขวาของภาพ จากBritish Council
รับประทานข้าวปิ่นโต เมนูอาหารดัง ย่านบางรัก ปิ่นโต เถา ใหม่ จากTCDC จะประกอบด้วยเมนู 4 อย่าง อันได้แก่ Creative Vision, Creative Center, Creative Business และ Creative Thailand เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาทุนความคิดสร้างสรรค์(Creative Capital)ให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่Creative Economy รายงานจาก ไปรษณ่ีย์กลาง บางรัก |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |