นายธีรยุทธ บุญมี อดีตอาจารย์คณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษวันนี้(26) ระหว่างพิธีมอบรางวัล SVN AWARDS 2554 ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2554 ขององค์กรเครือข่ายเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เอเชีย (ประเทศไทย) หรือ SVN ตอนหนึ่งว่า จะวิพากษ์แบบที่เคยทำในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ เหตุที่หายไปนานเพราะเรื่องสุขภาพเกี่ยวกับหัวใจคือหายใจขัด จึงไม่ได้มาวิจารณ์รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อย่างไรก็ตามขณะนี้เห็นว่า แม้จะผ่านความรุนแรงมาหลายเรื่อง แต่ความขัดแย้งในบ้านเมืองยังไม่คลี่คลาย และก็ยังไม่ถึงจุดที่บ่งชี้ว่าเหตุการณ์คลี่คลาย กลับกันมันเพิ่งปรากฏด้วยซ้ำ ดังนั้นก็คงต้องรอให้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย เพราะหากยังไม่ชัดก็คงจะอคติในการแสดงความเห็นเกินไป หรือกลายเป็นให้ท้ายฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นายธีรยุทธ กล่าวอีกว่า ประเทศไทยเผชิญวิกฤติมามาก อาทิ ตนเอง ก็เจอครั้งแรกเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 ต่อมาคือ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งก็ว่าสถานการณ์รุนแรงแล้ว แต่ก็มาเจอ พฤษภาคม 2553 และขณะนี้ตนมองว่าคนเริ่มตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น ตื่นตัวในการแก้รัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้จะมีสิ่งที่จะตามมา และไม่มีทีท่าว่าจะหายไปจากความตื่นตัวในครั้งนี้ และทั้งหมดมันก็สะท้อนว่าสังคมไม่มีความสามารถที่จะรับมือกับวิกฤติ หากถามว่าเรามีสติปัญญา ในการแก้ปัญหาหรือไม่ ผมคิดว่ามี อาทิ ในช่วงน้ำท่วมเราก็พอจะผ่านปัญหาไปได้ แต่ปัญหาที่มีอยู่กลับไม่มีทางที่จะคลี่คลายปัญหาอื่น โดยเฉพาะความขัดแย้งในระดับรากเหง้าของประเทศ ดังนั้นเราจึงอยู่ในภาวะหนักหน่วงที่สุดในความรู้สึกคนที่ห่วงใยบ้านเมือง นายธีรยุทธ์ กล่าวว่า ปัจจัยส่วนหนึ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง เกิดจากการที่กลุ่มอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่พูดได้ว่าเป็นความขัดแย้งระดับรากหญ้า กับระดับรากความคิด กล่าวคือในรากหญ้านั้น คือกลุ่มที่เป็นคนเสื้อแดง ชื่นชมกับความคิดประชานิยม ที่ต้องการอยากจะเปลี่ยนแปลงกฎหมาย อีกกลุ่มคือรากความคิดเดิม ที่ชื่นชมศรัทธาในสถาบัน ความขัดแย้งในวันนี้จึงไม่ใช่ความขัดแย้งพื้นฐานอีกแล้ว แต่เป็นความขัดแย้งในรากสังคมอย่างแท้จริง และไม่ใช่เรื่องจะบอกแค่ว่าฝ่ายหนึ่งจงรักภักดี อีกฝ่ายไม่ใช่ ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับนักวิชาการเหล่านั้น แต่ไม่ขอพูดในรายละเอียด แต่อยากบอกแง่คิดว่าการเคลื่อนไหวทั้งหมดคงจะสะท้อน และช่วยพัฒนาการ หรือช่วยคลี่คลายให้กับปัญญาชนส่วนหนึ่ง และเชื่อมโยงไปถึงรากหญ้า แต่กับความคิดแบบดั้งเดิม ที่ฝั่งทั้งรากหญ้าและประชาชนทั่วไปที่ยังยึดถือ ก็เป็นเรื่องที่สามารถเคลื่อนตัวไปสู่ความรุนแรงหรือมากกว่าและใหญ่กว่ามหาศาลได้ นายธีรยุทธ์ กล่าว นายธีรยุทธ ย้ำว่าโจทย์สำคัญที่มันเป็นเช่นนี้ เพราะเรามองปัญหาอย่างผิดพลาด คือกลุ่มชนชั้นนำมองเรื่องนี้ผิดพลาด กล่าวคือ 1.ไปมองประชาธิปไตย การเมืองแบบพิมพ์เขียว หรือสำเร็จรูปเหมือนในตำรา พอไม่มีเหมือนในตำราก็โกรธที่ไม่เป็นไปตามอย่างที่ว่า ตนขอบอกว่าระบบการเมืองของทุกประเทศเกิดจากการต่อสู้ของกลุ่มคนในประเทศนั้นๆ มีแผนที่ที่ไม่ซ้ำกัน คงไม่มีประชาธิปไตยใดที่เป็นอุดมคติ แต่จุดสำคัญคือการต่อสู้ของคนในประเทศนั้นๆ ต่อสู้แบบไหนการเมืองก็เป็นแบบนั้น ดังนั้นถ้าพูดชัดๆก็คือว่าถ้าไม่ต่อสู้ สิ่งที่บ่นก็ไม่ถูกต้อง ไม่มีสิทธิ์จะบ่น ดังนั้นต้องทำ 2.ในการปฏิบัตินั้น ไม่ใช่เกิดขึ้นง่ายๆ ลอยๆ แต่กว่าที่คนไทยจะมีเสรีภาพก็ต้องเกิดเหตุการณ์ก่อน อาทิ 14 ตุลาก่อน และแต่ก่อนเราอาจจะวิจารณ์ทหารไม่ได้ หนังสือพิมพ์ที่วิจารณ์ก็ถูกทุบแท่น แต่เหตุ 14 ตุลาฯ ก็ช่วยเปิดเสรีภาพในจุดนี้ นายธีรยุทธ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามเสรีภาพของสังคมไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับชนชั้นกลาง มีเสรีภาพ มีการศึกษา แต่กับกลุ่มอื่นในสังคมอาจจะน้อยหรือไม่เท่าเทียม อาทิ ชาวบ้านอาจจะรู้สึกได้เป็นครั้งคราว ซึ่งคนกลุ่มนี้ก็ต้องการเสรีภาพในรูปแบบต่างกัน อาทิ แม่ค้าที่เป็นเสื้อเหลืองหรือแดงก็ต้องการเสรีภาพ ที่อาจจะไม่ใช่เสรีภาพแบบอุดมคติแบบชนชั้นกลาง นายธีรยุทธ ยังกล่าวอีกว่า ทั้งกรณีปิดสุวรรณภูมิและเผาราชประสงค์ แม้ตัวแทนทุกฝ่ายจะบอกถึงความจำเป็น แต่ผลกระทบสูงมาก และเป็นเรื่องใหญ่ ตรงนี้กลายเป็นข้อกล่าวหาถึง 2 มาตรฐาน ตนเข้าใจความรู้สึกของผู้ชุมนุมดี เพราะตนก็เคยนำการชุมนุม เสี่ยงต่อการถูกจับ และถูกยิงเป้า โดนข้อกล่าวหาต่างๆ ดังนั้นคนที่ชุมนุมคงไม่อยากติดคุก แต่คนจำนวนมากเหล่านั้นก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าได้ทำสิ่งผิดกฎหมาย ถ้าจะแก้ไขในจุดนี้คือระบบของเราต้องดีพอ มีความมุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหา ต้องดำเนินคดีทั้ง 2 ส่วน และรีบด้วย อาทิ ศาลต่างประเทศเคยเร่งทำคดีในช่วงกีฬาโอลิมปิกอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้กระทบกับการแข่งกีฬาโอลิมปิก เพื่อสร้างความมั่นใจ มิเช่นนั้นสิ่งที่ต้องรักษาไว้ก็จะรักษาไมได้ กลายเป็นถูกวิพากษ์ซ้ำเติม "ถ้าผิดจริงและจำเป็น กระบวนการทางศาลต้องตัดสินให้รวดเร็ว ดังนั้นการแทรกแซงศาลในเรื่องจำเป็น และประเด็นที่เกิดประโยชน์ ก็สามารถทำได้ ถ้ารู้จักทำเพื่อแก้ไขปัญหา นายธีรยุทธกล่าว นายธีรยุทธ กล่าวต่อว่า อย่างกรณีมาตรา 7 นักวิชาการส่วนหนึ่งบอกทำไมได้ เพราะเป็นการให้อำนาจพระมหากษัตริย์ยุ่งการเมือง อีกฝ่ายให้มายุ่ง ตนกลับมองว่าปัญหานี้คนร่างไม่ต้องกำหนดไว้ เรื่องแบบนี้เป็นธรรมชาติที่องค์พระประมุขสามารถมาคลี่คลายปัญหาได้อยู่แล้วในทุกประเทศรวมทั้งไทย เช่น 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ ที่สถาบันมาช่วยคลี่คลาย ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ไม่ใช่หลักกฎหมาย สิ่งที่เห็นชัดๆ เรื่องนี้คือการนิรโทษกรรมนักโทษทุกปี เช่นนี้คือการทำให้พระมหากษัตริย์คลี่คลายปัญหาให้อ่อนลง เป็นการปฏิบัติ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือเราแข็งเกินไป เพื่อยืนยันความคิดของตัวเอง เราต้องระวัง นำไปสู่จุดที่พอดีๆ ทุกอย่างมันมาจากการต่อสู้ ไม่มีใครประสิทธิประสาทให้ การต่อสู้ของเราคือคนส่วนหนึ่ง ทั้งที่มาจากทหารและพลเรือน เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดึงอำนาจจากกษัตริย์มาเป็นระบอบที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ หรืออย่าง 14 ตุลา ก็มีประชาชน อย่างไรก็ตามทั้งหมดเกิดจากกลุ่มคนที่มีทุน ขณะที่คนไม่มีธุรกิจก็ไม่มีส่วนร่วม คือถ้าเราอยากจะได้อย่างที่คนต้องการ เราต้องลงทุนทางการเมือง ทางสังคม ทุนทางวัฒนธรรม ศิลปวัฒนธรรม นายธียุทธ กล่าวในที่สุดว่า ประชาธิปไตยบ้านเราอาจมีมุมความขัดแย้ง ตนอยากเสนอว่า ในช่วงหลังจากปี 53 มีแนวคิดประชาธิปไตยที่ถูกเสนอจำนวนหนึ่ง แบ่งเป็น 3 - 4 ส่วน คือ 1.ประชาธิปไตยเชิงเสรีนิยม แบบที่นายอานันท์ ปันยารชุน เสนอ คือเน้นหลัก Good Governance 2.แบบชุมชนนิยม คือ แบบ นพ.ประเวศ วะศี 3.ประชาธิปไตยแบบประชานิยม ซึ่งเป็นแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเสื้อแดง ที่มีนโบายที่เอื้อประโยชน์ของชาวบ้านรากหญ้า และชาวบ้านชอบ แต่อาจส่งผล 4.ประชาธิปไตยแบบกษัตริย์นิยม โดยเอากษัตริย์เป็นศูนย์ของการแก้ปัญหา เป็นทิศทางทั้งหมดของประเทศ ซึ่งตนก็ว่าไม่ใช่ เพราะสถาบันควรจะอยู่ในสถานะที่เหมาะสม ตรงนี้ต้องหาความพอดี เพื่อยุติจากอคติทั้งปวง การปาฐกถาของนายธีรยุทธครั้งนี้ไม่ได้ใส่เสื้อกั๊กตามที่เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัวแต่อย่างใด |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Jasmine & Jk stories | ||
![]() |
||
การเดินทางของจินตนาการ ความรู้และความคิด บนถนนสายดิจิตอล |
||
View All ![]() |
Social Media | ||
![]() |
||
เมื่อโลกทั้งใบพูดจากันด้วยภาษาดิจิตอล สื่อจะก้าวเดินไปอย่างไร นี่มิใช่คำถาม แต่มันเป็นความท้าทาย |
||
View All ![]() |