ซึ่งต้องขอแสดงความเสียใจกับผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บด้วยค่ะ โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้แนะวิธีขับขี่รถบนเส้นทางภูเขาที่ปลอดภัยค่ะ คลิกอ่านได้ที่ http://www.thaiemsinfo.com/autopagev4/show_page.php?topic_id=353&auto_id=6&TopicPk= การขับรถสู่เส้นทางที่เป็นภูเขาสูง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือผู้ขับขี่ต้อง“มีสติและไม่ประมาท สมาธิอยู่ที่ถนนและพวงมาลัย” ดูสภาพของเส้นทางสภาพอากาศเป็นอย่างไร มีฝนตกทำให้ถนนเปียกลื่นไหม หมอกลงหนักเบาขนาดไหน จะได้ประเมินว่าต้องขับเร็วหรือช้าขนาดไหน และอีกสิ่งที่ควรทำตลอดการขับขี่คือสังเกต เชื่อฟัง และปฏิบัติตามป้ายหรือเครื่องหมายจราจร ในการขับรถขึ้นเขา สิ่งที่ลำบากที่สุดก็คือการขับแซงรถคันหน้าที่วิ่งช้ากว่า เพราะเส้นทางบนเขามักจะเป็นแบบ 2 เลนและคดเคี้ยวไปมา อีกทั้งมักจะมีสันเขาหรือต้นไม้บดบังการมองเห็น ทำให้การกะระยะเพื่อแซงทำได้ยาก แถมอัตราเร่งของรถเมื่อต้องวิ่งขึ้นทางชันจะช้าลงกว่าการวิ่งบนพื้นราบ ดังนั้นถ้าจะให้แซงได้อย่างปลอดภัย ก็ควรจะเลือกแซงเมื่อมองเห็นทางข้างหน้าได้อย่างชัดเจน เผื่อระยะของรถที่ขับสวนมาให้ไกลมากกว่าตอนวิ่งบนพื้นราบ และควรเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำลงเพื่อให้รถมีกำลังในจังหวะเร่งแซง ส่วนในกรณีที่รถคันหน้ามีขนาดใหญ่อย่างรถบรรทุก ให้ผู้ขับคอยสังเกตสัญญาณไฟเลี้ยวของรถบรรทุก ถ้าเส้นทางข้างหน้าว่างพอจะให้แซงได้ พวกพี่ ๆ รถบรรทุกก็จะเปิดไฟเลี้ยวซ้ายและขับชิดซ้ายเพื่อให้รถเล็กแซงขึ้นไปได้โดย สะดวก แต่ถ้ารถใหญ่เปิดไฟเลี้ยวขวานั้นหมายถึงมีรถสวนมาอย่าเพิ่งแซง (สำหรับเรื่องสัญญาณไฟนี้เป็นธรรมเนียมปฏิบัติไม่ใช่ข้อบังคับทางกฎหมาย)
สำหรับการขับรถลงเขา สิ่งที่ยากที่สุดก็คือการชะลอความเร็วขณะเข้าโค้ง เพราะด้วยแรงโน้มถ่วงจะเป็นตัวที่ทำให้รถมีความเร็วเพิ่มขึ้นเอง จึงทำให้ต้องเหยียบเบรกแรงขึ้นและบ่อยขึ้นกว่าการวิ่งบนพื้นราบ ดังนั้นถ้าคุณใช้แต่เบรกอย่างเดียวในการชะลอความเร็ว ก็จะทำให้เกิดความร้อนสะสมมากจนผ้าเบรกไหม้และลื่น ทำคุณเบรกรถไม่อยู่จนรถอาจจะแหกโค้งตกเขาได้ ดังนั้นเวลาขับรถลงเขาต้องใช้เทคนิคการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงช่วยด้วย
การเปลี่ยนเกียร์ลงต่ำจะช่วยให้รถชะลอความเร็วลงได้ โดยอาศัยแรงต้านทานการหมุนขึ้นในจังหวะอัดของเครื่องยนต์หรือที่เรียกว่า “การเบรกด้วยเครื่องยนต์” (เอ็นจิน เบรก) ซึ่งเป็นการช่วยลดความเร็วรถโดยลดการทำงานของระบบเบรกวิธีเปลี่ยนเกียร์ต่ำ ทำได้ไม่ยาก สำหรับรถเกียร์ธรรมดาจะเห็นผลชัดกว่าเกียร์อัตโนมัติ เพราะรถเกียร์ธรรมดาให้ความฝืดของผ้าคลัตช์เป็นตัวตัดต่อกำลัง จึงส่งแรงขับและแรงต้านการหมุนได้ดีกว่า ผู้ขับเพียงไล่เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงเรื่อย ๆ จากเกียร์ 5 ไปเกียร์ 4 3 2 และ 1ให้เหมาะสมกับความลาดชันของพื้นถนน และสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงก็คือต้องเปลี่ยนเกียร์ให้ เรียบร้อยก่อนถึงโค้ง ซึ่งจะช่วยให้ลดความเร็วขณะลงเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก
ส่วนรถเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งใช้น้ำมันเป็นตัวส่งกำลังขับเคลื่อน ก็สามารถเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงมาเป็นเกียร์ 2 และเกียร์ L เพื่อช่วยลดความเร็วได้เช่นกัน แต่จะให้แรงต้านการหมุนที่น้อยกว่าเกียร์ธรรมดา ผู้ขับจึงยังคงต้องใช้การเหยียบเบรกร่วมด้วยมากกว่า แต่ขอให้เป็นการเหยียบแล้วปล่อยย้ำ ๆ บ่อย ๆ อย่าเหยียบแช่ค้างไว้ เพราะจากเบรกที่ร้อนจัดจะทำให้ผ้าเบรกไหม้ และในบางครั้งถ้าความเร็วรอบของเครื่องยนต์สูงเกินไป สมองกลของเกียร์ก็จะไม่ยอมเปลี่ยนเกียร์ลงให้ โดยเฉพาะเกียร์ L เพราะอาจจะทำให้เกียร์เกิดความเสียหายได้ ดังนั้นผู้ขับจะต้องเหยียบเบรกให้รถลดความเร็วลงให้เหมาะสมก่อนด้วย สมองกลจึงจะยอมเปลี่ยนเป็นลงเป็นเกียร์ L ให้เทคนิคอีกอย่างที่ต้องใช้เวลาขับรถขึ้นลงเขาก็คือการควบคุมพวงมาลัย โดยเฉพาะการขับรถเข้าโค้งต่าง ๆ ถ้าดูแล้วว่าไม่มีรถสวนมา ก็ให้ขับด้วยวิธีที่เรียกว่า“การตัดยอดโค้ง” ซึ่งจะช่วยให้ควบคุมรถเข้าโค้งได้ง่ายขึ้น โดยถ้าเป็นโค้งซ้าย ช่วงที่ก่อนจะถึงโค้งก็ให้เปลี่ยนเลนไปอยู่ช่องขวาก่อน แล้วเล็งดูที่ยอดของโค้งทางซ้าย บังคับรถให้เลี้ยวมาชิดขอบเลนซ้าย จากนั้นก็ปล่อยให้รถบานออกไปทางเลนขวาบ้างนิดหน่อย แล้วค่อย ๆ ดึงรถกลับมาในช่องทางปกติ
ส่วนในโค้งขวาก็ให้อยู่เลนซ้ายไว้ เล็งยอดของโค้งขวาแล้วขับปาดเข้าไปชิดยอดโค้ง ช่วงออกจากโค้งก็ปล่อยให้รถบานออกไปทางช่องซ้ายตามปกติ วิธีนี้จะทำให้การเข้าโค้งง่ายขึ้น เพราะรัศมีในการเข้าโค้งจะมีความกว้างมากขึ้น ช่วยลดแรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางที่จะทำให้รถเข้าโค้งยาก สำหรับทางโค้งรูปตัวเอส (S) ถ้าถนนโล่งไม่มีรถสวนมา ก็ให้วิ่งตัดยอดโค้งเป็นเส้นตรงไปได้เลย แต่ต้องมั่นใจว่าไม่มีรถสวนมา
ในกรณีที่รถเสียการทรงตัวในทางโค้ง อาทิ เวลาเร่งเครื่องเข้าโค้งแล้วรถเกิดอาการท้ายปัด มีวิธีแก้ไขขั้นแรกคืออย่าตกใจ ต้องมีสติ จากนั้นยกเท้าออกจากคันเร่งเพื่อลดกำลังของรถ อย่ากระทืบเบรก ให้ค่อย ๆ แตะเบรกและพร้อมกันนั้นก็ให้หมุนพวงมาลัยไปในทิศทางตรงข้ามกับท้ายรถที่ปัด ออก เมื่อรถกลับมาตั้งลำได้ตรงจึงเหยียบเบรกให้รถช้าลงและพยายามประคองรถให้อยู่ ในช่องทางจนรถหยุด แต่ถ้ารถมีอาการดื้อโค้ง (อาการที่รถเลี้ยวเข้าโค้งไม่ได้ ตัวรถพยายามจะตรงไปข้างหน้าอย่างเดียว ) การแก้ไขอาการหน้าดื้อโค้งจะง่ายกว่าอาการท้ายปัด เพียงผู้ขับยกเท้าออกจากคันเร่งและคืนพวงมาลัยให้ล้อตรง แล้วหมุนพวงมาลัยให้ล้อเลี้ยวไปในทิศทางที่ต้องการจะเลี้ยวไป สลับไปมาอย่างนี้เร็ว ๆ รถก็จะกลับมาอยู่ในการควบคุม (ขอขอบคุณบทความและภาพประกอบโดยคุณ สมฤกษ์ รื่นสัมฤทธิ์ จากเว็บไซด์ข่าวเดลินิวส์ออนไลน์) ขอให้ทุกท่านเดินทางท่องเที่ยวด้วยความเพลิดเพลิน ปลอดภัยตลอดเส้นทางค่ะ |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | มีนาคม 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |