ทุกวันนี้ผู้คนเกือบทุกคนมีโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือประจำตัว (บางคนมีมากกว่า 1 เครื่อง) โทรศัพท์มือถือเป็นเสมือนเครื่องคอมพิวเตอร์และกล้องถ่ายรูปขนาดย่อส่วนควบรวมไว้ในอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน สามารถใช้เป็นกล้องในการบันทึกภาพ (ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว) สร้างข่าวสาร และถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารออกสู่สังคมโลกได้อย่างสะดวก จากเหตุปัจจัยนี้จึงส่งเสริมให้สมาชิกของสังคมกลายเป็นผู้สื่อข่าวทั้งรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ตาม ส่งผลให้ยุคสมัยปัจจุบันกลายเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น มีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน ข่าวคลาดเคลื่อน ข่าวลวง ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้มีการผลิต ถ่ายทอดต่อ (Share) และส่งต่อกันทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือระบบส่งข้อความต่างๆ เช่น Facebook, Line, Twitter, WhatsApp ฯลฯ เผยแพร่สู่ชุมชนสู่โลกกว้าง จากหนึ่งไปเป็นสิบ เป็นร้อย เป็นพัน รวดเร็วและกว้างไกลยิ่งกว่าไฟลามทุ่มในหน้าแล้ง แอปพลิเคชันเหล่านี้ว่าไปแล้วก็เป็นเสมือนเครื่องมือของการซุบซิบ (e-Gossip) แห่งยุคสมัย สร้างผลกระทบได้มากกว่าการบอกปากต่อปาก (Word of Mouth) ในยุคดั้งเดิม
ภาพจากอินเทอร์เน็ต
ยิ่งไปกว่านั้น มีบ่อยครั้งที่สื่อมวลชนกระแสหลักใช้ภาพ ข้อมูล หรือความคิดเห็นที่บุคคลแสดงไว้ในสื่อโซเชียล (Social Media) เป็นแหล่งข่าว (Source) ไปนำเสนออีกต่อหนึ่ง ทั้งทางโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์สำนักข่าวอีกต่างหาก! เห็นทีตำรานิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน ต้องทบทวนเรื่องแหล่งข่าว ความน่าเชื่อถือและหลักเกณฑ์การเลือกประเด็นข่าว (News Selection Criteria) กันบ้างแล้วกระมัง? รวมทั้งควรให้ความรู้เรื่องดังกล่าวแก่สังคมด้วยหรือไม่? สมควรบรรจุหลัก “กาลามสูตร” ไว้เป็นส่วนหนึ่งในหลักวิชานิเทศศาสตร์และการเสพข่าวสารของพลเมืองด้วยหรือไม่? มิฉะนั้นแล้วข่าวที่นำเสนอในสื่อต่างๆ (โดยเฉพาะโทรทัศน์ดิจิทัลในประเทศไทย) จะมากด้วยสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องรับรู้ เป็นข่าวที่เรียกว่า “Junk News” โดยวิธีการ “Junk Journalism”!
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
เพื่อปรับตัวรับกับยุคสมัย บางรัฐบาลในอดีต นายกรัฐมนตรีถึงกับมีคำสั่งให้ทุกกระทรวง ทั้งหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามสื่อประเภทต่างๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ปล่อยให้นายกฯ และคณะรัฐมนตรีแก้ปัญหาหรือชี้แจงแต่เพียงลำพัง เพราะยุคสื่อโซเชียลในปัจจุบัน หากไม่ทำความจริงให้ปรากฏ ความน่าเชื่อถือหรือความไว้วางใจรัฐบาลก็จะลดลง (Discredited) รัฐบาลชุดปัจจุบันถึงกับตั้ง “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” (https://antifakenewscenter.com) เพื่อให้เป็นศูนย์รวมข้อเท็จจริงเพื่อป้องกันการแพร่กระจายข่าวปลอมสู่สังคม โดยเฉพาะช่วงต้นปี 2563 นี้ ที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระบาดไปทั่วโลก ทำให้ผู้คนหวั่นวิตกกัน ต่างก็ต้องงดกิจกรรมที่มีผู้คนจำนวนมากเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม แม้สังคมจะอยู่ในสถานการณ์ไม่ปกติ บางคนก็ยังกระหน่ำซ้ำเติมสถานการณ์ความหวั่นวิตกด้วยการการปล่อยข่าวผ่านสื่อโซเชียลว่าพบผู้ติดเชื้อในที่ต่างๆ จนศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมต้องชี้แจงกันวันละหลายข่าว
เกี่ยวกับสังคมไทยยุคปัจจุบันมีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีด้านข่าวสารหรือตัวข่าวสารข้อมูลอย่างไร สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) กล่าวไว้ใน “คนไทย สู่ยุคไอที : ไอที ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา” เห็นว่าควรจะนำมากระตุ้นเตือนสติให้ผู้คนในยุคสมัยปัจจุบัน จึงขอนำความบางส่วนมาถ่ายทอดต่อในบทความนี้ ท่านแบ่งคนในยุคปัจจุบันออกเป็น 4 ประเภท 1. พวกตื่นเต้น คิดว่าเรานี้ทันสมัย ได้เสพข่าวสารที่ใหม่ๆ แปลกๆ มีของใหม่ๆ เข้ามาได้บริโภค แต่สัมผัสกับข่าวสารและเรื่องราวต่างๆ อย่างผิวเผิน เพียงแค่เอามาลือมาเล่าหรือวิพากษ์วิจารณ์ให้สนุกปาก ตื่นเต้นกัน ไม่สืบค้นความจริงด้วยใจเป็นกลาง จึงไม่รู้ความเป็นไปที่แท้จริงและไม่ได้อะไรขึ้นมาเลย นอกจากถูกชักจูงไป ตกอยู่ในกระแส ถูกกระแสพัดพาไหลไปเรื่อยๆ ไม่เป็นตัวของตัวเอง 2. พวกตามทัน พวกนี้ดีกว่าพวกตื่นเต้น คือมีข่าวสารข้อมูลอะไรเกิดขึ้นก็ตามทันหมด เอาใจใส่ติดตาม พวกนี้ก็ภูมิใจว่าเรานี่เก่ง ข่าวเกิดที่ไหนๆ รู้หมด การเมืองที่นั่นเป็นอย่างไร เหตุการณ์แผ่นดินถล่ม แผ่นดินไหว เกิดอีโบล่า อะไรที่ไหนตามข่าวทันหมด ตามทันแต่ไม่รู้ทัน พวกนี้เป็นเยอะ รู้ตามข่าว แต่ไม่เข้าถึงความจริงของมัน เช่น รู้ไม่ทันว่ามันมีคุณมีโทษอย่างไร มีเหตุปัจจัยอย่างไร เบื้องหลังมันเป็นอย่างไร 3. พวกรู้ทัน นอกจากตามทันแล้ว ยังรู้เข้าใจเท่าทันมันด้วยว่ามันเป็นมาอย่างไร มีคุณมีโทษมีข้อดีข้อเสียอย่างไร จะมีท่าทีอย่างไร ให้ได้ประโยชน์โดยไม่ถูกครอบงำ 4. พวกอยู่เหนือมัน พวกนี้ยิ่งกว่ารู้ทันอีก คือขึ้นไปอยู่เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถจัดการกับกระแสได้ คนไหนอยู่ในกระแสก็จะจัดการกับกระแสได้ยาก คนที่อยู่เหนือกระแสจึงจะสามารถจัดการกับกระแสได้ เป็นผู้สามารถใช้การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประโยชน์ และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับข้อมูลแบบเป็นนาย เป็นผู้จัดการ เป็นผู้ใช้มันอย่างแท้จริง สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ฝากไว้เป็นการบ้านว่า “เวลานี้คนในสังคมไทยเราอยู่ในประเภทไหนมาก ขอให้วิเคราะห์สังคมไทยดูว่า เป็นพวกตื่นเต้นแค่ไหน เป็นพวกที่ตามทันแค่ไหน รู้ทันแค่ไหน อยู่เหนือมันแค่ไหน”
อาจจะเป็นเพราะเป็นยุคที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น มีทั้งข่าวจริง ข่าวเท็จ ข่าวบิดเบือน ข่าวคลาดเคลื่อน ข่าวลวง เนื่องในวันมาฆบูชาที่ผ่านมา (8 กุมภาพันธ์ 2563) สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม ถึงกับมีความตอนหนึ่งว่า “...สารัตถะแห่งโอวาทปาติโมกข์นั้น นอกจากเป็นการประทานหัวใจของพระพุทธศาสนา ยังทรงสั่งสอนหลักสำหรับการเผยแผ่พระศาสนาไว้ด้วย มีหลัก 2 ประการแรกว่า การไม่กล่าวร้าย และการไม่ทำร้าย เป็นต้น ทั้งนี้ แม้ผู้สดับพระธรรมเทศนาเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน ล้วนเป็นพระภิกษุบริษัท หากแต่พระธรรมย่อมเป็นของสาธารณะสำหรับทุกชีวิต ที่ควรน้อมนำเข้ามาสู่ตน ไม่จำกัดว่าเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ เพราะฉะนั้น พุทธศาสนิกชนทุกคนจึงพึงน้อมนำหลักการ ‘ไม่กล่าวร้าย ไม่ทำร้าย’ มาเป็นพื้นฐานของการครองตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสภาพสังคมที่เต็มไปด้วยกระแสข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ บิดเบือน หรือยุยง ซึ่งอาจนำไปสู่ความร้าวฉานถึงขั้นประหัตประหารกัน
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
เพื่อจะตอบคำถามของชื่อบทความที่ตั้งไว้ ขอส่งท้ายเรื่องนี้ด้วยข้อคิด 2 ข้อ 1. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) เน้นย้ำเสมอว่า สังคมไทยมักจะแสดงความคิดเห็นไปตามความชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขาดการแสวงหาความรู้ ก่อนจะแสดงความเห็น (เช่นใน “การเสริมสร้างคุณลักษณะเด็กไทย” “นักวิชาการเทศ-ไทย หาความรู้ให้แน่ ใช่แค่คิดเอา” ฯลฯ) ลองนำมาคิดต่อเล่นๆ หากผู้คนในสังคมไทยเห็นข้อมูลข่าวสารในสื่อโซเชียล ก่อนจะรีบกระโจนเข้าสู่การแสดงความเห็น (Comment) ในทันที ทดลองยั้งใจไว้แล้วไปค้นคว้าหาข้อมูลข้อเท็จจริงดูก่อน ถ้าทำได้เช่นว่านี้สังคมเราจะลดการกล่าวร้าย ตัดกระแสข้อมูลข่าวสารเท็จ บิดเบือน หรือยุยง ซึ่งอาจนำไปสู่ความร้าวฉาน ได้สักเพียงใด? 2. แนวปฏิบัติส่วนตัวของผู้เขียนเอง เพื่อจะตัดวงจร และลดการมีส่วนร่วมหรือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างข่าวของผู้อื่น ยึดถือคติว่าในสื่อสังคมออนไลน์ของตัวเอง แม้จะเป็นพื้นที่ส่วนตัว จะเผยแพร่ (โพสต์) เฉพาะเรื่องที่เขียนเอง ถ่ายภาพเอง สร้างสรรค์ขึ้นมาเองเท่านั้น จะไม่โพสต์ ไม่เผยแพร่ต่อ (Share) เรื่องจากจากคนอื่น หรือถ้าจำเป็นจะต้องเผยแพร่ต่อจริงๆ ก็ต้องเป็นเรื่องที่ต้องมีที่ไปที่มา มีอ้างอิง หากทำได้เพียง 2 ข้อนี้ เราน่าจะเปลี่ยนสถานะจาก “ผู้เสพ” เป็น “ผู้สร้างสรรค์” ข้อมูลข่าวสารและน่าจะเป็นเหตุปัจจัยส่งเสริมให้ก้าวไปสู่สังคมอุดมปัญญาได้ไม่มากก็น้อย ใช่หรือไม่?
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
....SaNd...FaNtAsY..... | ||
![]() |
||
"ลายริ้วบนผิวทราย สื่อความหมายแทนภาษา มือไหวแทนใจพา นาฏลีลาน่าภิรมย์" คือกลอนที่ "นิดนรี" บรรยายถึง "SaNd FantAsY" โดย Illana Yahav - ศิลปิน sand animation ชาวอิสราเอล ดนตรีของ Yanni |
||
View All ![]() |
<< | มีนาคม 2020 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 |