*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | พฤษภาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
หากปราศจากพืชพรรณและสัตว์ป่าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งธรรมชาติเสียแล้ว หลังจากอุทยานแห่งชาติ Yellowstone National Park ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ แม้จุดหมายยังคงอยู่ไกลเกินเอื้อม บัดดลที่แสงแรกแห่งขุนเขาทาบทอผืนป่าแก่งกระจานในรุ่งอรุณ สองนักดูนกแห่งบางโอเคเนชั่นก็เริ่มปฏิบัติภารกิจกันต่อ "ปลายทาง"นั้นอยู่ที่พะเนินทุ่ง แต่เรื่องราว "ระหว่างทาง" ก็ไม่อาจเป็นสิ่งที่ละเลยหรือมองข้ามไปเสียได้ จากเส้นทางจากบ้านกร่างแคมป์เป็นต้นไป สภาพป่าดงดิบชื้นเริ่มหนาแน่นมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา จึงเป็นบริเวณที่นักดูนกนิยมกันมาก เพราะมี นกชุกชุม นั่นเอง สามารถเดินดูนกไปได้เรื่อยๆ จนถึงเชิงเขาบริเวณกิโลเมตรที่ 18 บริเวณริมถนนลูกรังและริมห้วย มักพบนกพญาปากกว้างทำรังโหนห้อยอยู่ตามต้นไม้ริมทางในหน้าฤดูผสมพันธุ์ เมื่อผ่านกิโลเมตรที่ 18 ไปแล้ว ถนนจะไต่เพดานขึ้นไปตามความสูงชันของขุนขา เส้นทางส่วนใหญ่ค่อนข้างชันและแคบ มี โค้งหักศอก ให้โชว์ความสามารถของยนตกรรรมและการขับขี่ราว 2-3 โค้ง สภาพถนนตั้งแต่หลักกิโลเมตรที่ 18 ไปจนถึงยอดพะเนินทุ่ง เดิมนั้นลาดยางมะตอยตลอดเส้นทาง แต่จากอายุการใช้งานที่ สมบุกสมบัน สภาพถนนจึงสึกกร่อนและยับเยินด้วยแรงกดทับจากล้อยางของม้าเหล็ก โดยเฉพาะ จากขบวนรถรับจ้างพานักท่องเที่ยวขึ้นจากรีสอร์ทริมแก่งกระจานขึ้นไปชมทะเลหมอกตั้งแต่เช้ามืด ก่อนจะตีกลับลงมาในช่วงสายของวันเดียวกัน ส่วนนักเดินทางที่ขึ้นไปดูนกชมไม้นั้น นับว่าน้อยมาก วันๆหนึ่งแทบจะนับหัวได้
บางช่วงผ่านหุบเหวลึก มองเห็นเรือนยอดไม้เขียวขจีเต็มพรืดอยู่ด้านล่าง อาจเห็น นกแก๊ก (Oriental pied Hornbill) ซึ่งเป็นนกเงือกขนาดเล็ก บินร่อนไปตาตามยอดไม้ กระพือปีกเสียงดึงหึ่งๆ เหมือนเสียงพัดลม ก็เพียงพอที่จะทำให้นักเดินทางลืมความขรุขระของเส้นทางไปได้ชั่วครู่ชั่วยาม มีอารมณ์ชมนกชมไม้ ดูลิงค่างบ่างชะนี ไปตามเรื่องตามราว หากสังเกตุสังกาดีๆ ตามราวป่าข้างทาง จะพบ ค่างแว่นถิ่นใต้ และ ชะนีมือขาว ห้อยโหนหาลูกไม้กินตามคาคบไม้ขนาดใหญ่ได้บ่อยๆ หลายๆครั้ง สุดยอดนักกายกรรม เจ้าถิ่นทั้งสองชนิด ก็กระโจนข้ามถนนไปเกาะกิ่งไม้อีกฝาก สร้างความตื่นเต้นให้นักท่องเที่ยวได้ไม่น้อย ชะนีมือขาว Common gibbon, White-handed gibbon อัน "ชะนีมือขาว" นั้น บางทีก็เรียกว่า ชะนีธรรมดา (Common gibbon, White-handed gibbon) เป็นสัตว์จำพวกลิงไม่มีหางสกุลหนึ่ง จัดเป็นสัตว์ที่มี สถานะใกล้สูญพันธุ์ (EN - Endangered species) มีแขนยาว ขาหลังสั้น นิ้วหัวแม่มือแยกออกจากนิ้วชี้เป็นล่ามลึกลงในฝ่ามือ ทำให้มือมีรูปร่างยาวและแคบใช้ในการกำหรือจับต้นไม้ได้แน่นเหมือนตะขอ ฝ่ามือ ใบหน้าและใบหูมีสีดำ มีขน 2 สี คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ ขนบริเวณหลังมือ เท้าและรอบใบหน้ามีสีขาว อันเป็นที่มาของชื่อ ชะนีมือขาวสามารถอาศัยได้ในป่าหลายประเภท เช่น ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบทั้งชื้นและแล้ง มักเลือกอาศัยบนต้นไม้ที่มีใบรกชัฏ ออกหากินในเวลาเช้าถึงเย็น อาศัยหลับนอนบนต้นไม้ ใช้ต้นไม้ที่เป็นรังนอนหลายตัวภายในอาณาเขตครอบครองของแต่ละครอบครัว ต้นไม้ที่ใช้หลับนอนมักอยู่ใกล้แหล่งอาหาร อาหารหลักได้แก่ ยอดไม้อ่อน, ใบไม้, ผลไม้ รวมทั้งแมลงบางชนิด แต่จะกินผลไม้มากกว่าอาหารชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์อยู่ทางภาคใต้ของจีน, พม่า, ภาคตะวันตกของไทย, ภาคเหนือของลาว, มาเลเซียและเกาะสุมาตรา ค่างแว่นถิ่นใต้ Dusky leaf monkey, Dusky langur, Spectacled langu ส่วน ค่างแว่นถิ่นใต้ (Dusky leaf monkey, Dusky langur, Spectacled langu) ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ชาวโอเคเนชั่นพบเห็นบ่อยมากในทริปนี้ (ยกเว้นคุณเฟื่องที่ไปหยุดอยู่ที่ลำธารสองด้วยข้อจำกัดด้านยานพาหนะ) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกค่าง มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคาม (NT - Near Threatened) วงกลมสีขาวรอบตาเหมือนกับใส่แว่นอันเป็นที่มาของชื่อ ลำตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่วๆไป ค่างโตเต็มวัยมีขนบริเวณด้านหลังสีเทาเข้มเกือบดำ ขนบริเวณด้านข้างใบหน้าบริเวณปลายมือและปลายเท้ามีสีเทาเข้ม โคนขาและโคนแขนด้านนอกเป็นสีเทาจาง ลักษณะสำคัญที่ใช้จำแนกค่างชนิดนี้ คือสีขนหางสีดำ ลูกที่เกิดใหม่สีขนจะเป็นสีทอง กินใบไม้และผลไม้เป็นอาหารหลัก กินแมลงและสัตว์อื่นๆเป็นอาหารเสริม มักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีสมาชิกประมาณ 4-30 ตัว สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลายประเภท ตั้งแต่เทือกเขาสูงจนถึงชายป่าที่ติดริมทะเล กินอาหามากถึงวันละ 2 กิโลกรัม เป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับมนุษย์มากนัก ขี้อายและจะหลบหนีเมื่อพบกับมนุษย์ ขณะที่ออกหากินเป็นฝูง จะมีอยู่ตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เฝ้าคอยระวังภัยโดยนั่งดูเหตุการณ์บนต้นไม้เงียบ ๆ อาศัยอยู่ตามป่าเขาหินปูนที่มีโขดหินสูงชัน พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เชื่อว่าเมื่อเพื่อนๆอ่านมาถึงตรงนี้ อาจมีหยอดคำถามตามาว่า แล้ว"ลิงค่างบ่างชะนี" มีความเหมือนและความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง? ยอมรับสาพภาพโดยตรงว่าไม่ทราบครับ เพราะตอนนี้เป็นเพียงนักดูนก ยังไม่ถึงขั้นไปดูลิงดูค่างดูบ่างดูชะนี แต่พอจะจดจำสำนวนไทยแต่โบราณที่เปรียบเทียบระหว่างคนกับวานรได้สำนวนหนึ่ง นั่นคือ ฝูงลิงค่างบ่างชะนีที่ในป่า จับเอามาฝึกได้ดังใจหมาย ไหนไหนก็ไหนไหนแล้ว แถมให้อีกเล็กน้อยจาก นิราศเมืองแกลง @เสียงลิงค่างบ่างชะนีวะหวีดโหวย ท่านกำหนัน เจ้าของฉายา"แงซายบางโอเค" เมื่อครานอนฟังเสียงลิงค่างบางชะนีร่ำร้องกลางดึก บนยอดพะเนินทุ่ง คงคิดถึงกลอนข้างบนเป็นแน่แท้ ! คุณชายสามหยด ในฐานะพลขับ ขยับเกียร์ต่ำพารถโขยกขึ้นไปตามเส้นทางที่เป็นหลุมบ่อไปเรื่อย นักดูนกมือใหม่มองเส้นทางเบื้องหน้า ส่วนผม ในฐานะผู้โดยสาร ก็มองหานกหาลิงไปตามประสา แต่ไม่กล้าชี้ให้คุณชายสามหยดดูบ่อยนัก เนื่องจากถนนเต็มไปด้วยความโค้งและคดเคี้ยวเหลือเกิน ไม่นานนักก็มาถึงบริเวณกิโลเมตรที่ 26-29 เป็นจุกดูนกที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง เพราะเป็นถิ่นอาศัยของ นกกะลิงหางหนาม ที่ชอบหากินตามป่าข้างทางรวมฝูงเป็น " Bird Wave " รวมกับนกชนิดอื่นๆ เช่น นกกะรางหัวหงอก นกเสือแมลงหัวขาว นกระวังไพรปากแดงสั้น นกพญาปากกว้างหางยาว ฯลฯ ส่วนที่บพบ่อยสุดก็คือ นกมูม ถ้าเป็นช่วงที่มี ดอกไม้ป่าบานสะพรั่ง มักพบนกปลีกล้วย และนกแว่นตาขาว มาเกาะกินน้ำหวาน ลักษณะของระบบนิเวศที่พบนก นอกเหนือจากแหล่งที่อยู่อาศัยทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง เช่น พื้นน้ำ ต้นไม้ ท้องฟ้า ซึ่งเราต่างทราบกันดีอยู่แล้ว ตามแหล่งอาหารก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่เราพบนกได้ไม่ยากนัก Little Spiderhunter นกปลีกล้วยเล็ก Streaked Spiderhunter นกปลีกล้วยลาย ในฤดูกาลที่ต้นไม้ "ผลิดอกออกผล" นักดูนกที่มีประสบการณ์นิยมเลือกไปเฝ้าดูนกตามต้นไม้เหล่านี้ได้ โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการกินอาหารของนก ถ้าสังเกตุให้ดีจะเห็นว่า จงอยปากของนกแตกตางกันไปตามชนิดของอาหารที่นกกิน เช่น นกปลีกล้วย มีจะจงอยปากยาวโค้งชอบกินน้ำหวานจากดอกกล้วยป่า นกปรอด นกโพระดก นกเงือก มีปากค่อนข้างแข็งชอบกินผลไม่สุก เช่น ลูกไทร หรือลูกหว้า นกกินแมลง ชอบโฉบกินแมลงที่มาตอมดอกไม้ หรือกินตัวอ่อนของแมลงตามกิ่งไม้ นกหัวขวาน มีงอยปากที่แหลมยาวและแข็งเหมือนลิ่ม เจาะลำต้นไม้ใหญ่ จนเป็นรูโพรง จงอยปากนกแเก้ว แข็งแรงและงุ้ม เอาไว้ขบกัดเมล็ดพืชเปลือกแข็งให้แตก นกกระเต็น มีปากยาว แข็ง และแหลมคม ... ชอบเกาะตามกิ่งไม้ริมน้ำเพื่อจ้องจับปลา แต่ก็มีนกกระเต็นบางชนิดที่บริโภคสัตว์เลื้อยคลานเป็นอาหาร และ แมลงชนิดต่างๆ เช่น นกกระเต็นอกขาว (White-throated kingfisher) และ นกกระเต็นลาย (Banded Kingfisher) Yellow - bellied Warbler นกกระจ้อยคอขาว Great Hornbill นกกก, นกกาฮัง ลิ้นของนกที่กินน้ำหวานจากดอกไม้ เช่น นกปลีกล้วย นกกินปลี นกแว่นตาขาว และ นกขมิ้นบางชนิด จะมีลิ้นที่สามารถยื่นออกจากปากได้อย่างรวดเร็วและสามารถลอดกลีบของดอกไม้ เพื่อดูดน้ำหวาน และจับแมลงเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ตามดอกไม้ได้ นกในกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะพัฒนาลิ้นให้มีขนบริเวณส่วนปลายเพื่อใช้เลีย และสามารถโค้งงอเป็นหลอดเล็ก ๆ เพื่อทําหน้าที่ดูดน้ำหวานได้ด้วย จะว่าไปแล้วนกฉลาดกว่าคนเราเสียอีก เพราะเลือกกินอาหารที่มีน้าหนักเบาแต่ให้พลังงานสูง เช่น น้ำหวานจากดอกไม้ แมลง หนอน ปลา ผลไม้ และเมล็ดพืชซึ่งมีน้ำหนักเบาแต่ให้พลังงานสูง Buff-breasted babbler นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล Pin-striped Tit Babbler นกกินแมลงอกเหลือง ตรงกิโลเมตรที่ 27 ที่เวิ้งข้างทางให้จอดรถได้ 3-4 คัน เป็นจุดดูนกที่น่าสนใจอีกจุด ใครมาดูนกบนยอดพะเนินทุ่ง ต้องแวะที่นี่กันแทบทุกคน ผมกับคุณชายสามหยดจอดรถบริเวณนี้ในช่วงเช้าตรู่ การดูนกไม่มีพิธีรีตองอะไรมาก เราเดินไปตามถนนค้นหาเป้าหมายตามราวป่าและพงหญ้า คุณชายสามหยดบอกว่า นกทุกชนิดที่นี่เป็นนกใหม่ของเขา ส่วนผมเล็งเป้าไปยังเจ้า กะลิงเขียดหางหนาม และ นกเสือแมลงหัวขาว ซึ่งตัวหลังเป็นชนิดที่ผมยังไม่เคยพบเคยทำความรู้จักมาก่อน ใกล้ๆกับเวิ้งจอดรถ มีทางแยกไปยัง เขาพะเนินทุ่ง ใช้แรงเท้าเดินไปโดยประมาณ 6 ชั่วโมง ต้องข้ามลำห้วยลำธารหลายครั้ง น่าตื่นเต้นทีเดียว ผมยังไม่เคยอาศัยแรงเท้าเดินไปยังยอดพะเนินทุ่ง เอาไว้วันหลังแล้วกัน สำหรับวันนี้ เราชิมลางด้วยการย่ำเข้าไปดูนกแถวปากทางเข้า พบนกกินแมลงหลายชนิด นกขุนแผนหัวแดง รวมไปถึง Bird Wave ที่มีนกหลายชนิดเคลื่อนขบวนหากินไปพร้อมๆกัน ยิ่งเดินลึกเข้าไปมากเท่าใด ยิ่งเจอทากมากขึ้นเท่านั้น ผมจึงสาวเท้าออกมาก่อน เพราะคงไม่เจอเจ้านกเป้าหมายแน่ๆ หากมาเดินดุ่มๆในเทรลนี้ ทิ้งให้เพื่อนนักดูนกมาดเข้มผจญภัยอยู่กับทากเพียงลำพัง Sultan Tit นกติ๊ดสุลต่าน Ashy Bulbul นกปรอดแถบปีกเหลือง Flavescent Bulbul นกปรอดหัวตาขาว Mountain Bulbul นกปรอดภูเขา คณะชาวโอเคที่ขึ้นเขามาในช่วงเช้าวันนี้ อันประกอบด้วย แงซายกำหนัน คุณเจ้าหญิง คุณรัต/นักเดินทางตัวเขื่อง พร้อมผู้ติดตามใกล้ตัว ควบรถปุเลงๆ มาปะหน้ากับสองนักดูนกหนุ่มในบริเวณนี้ แต่เนื่องจากไม่สะดวกที่จะสนทนากัน เนื่องจากยังมีกองคาราวานม้าเหล็กตามหลังมาอีกหลายสิบกัน เราจึงนัดแนะไปรวมศูนย์กันยังลานกางเต้นท์บน พะเนินทุ่ง ในช่วงบ่าย นอกจากเพื่อนพ้องชาวโอเคแล้ว ผมยังพบเพื่อนนักดูนกอีกหลายคนที่หลบลี้หนีหน้าจากเมืองกรุง มุ่งหมายมาดูนกยังแก่งกระจาน-พะเนินทุ่งในช่วงวันหยุดยาว 3 วัน นั่นไม่ใช่ใครที่ไหน ป้าพักจัง และ บล็อกเกอร์เสือจุ่น เจ้าเก่า นักดูนกระดับน้าเรียกพี่อีกคน ในขากลับ ผมยังเจอ บล็อกเกอร์น้าเกรียง เซียนผีเสื้อ และ หมอหม่อง แห่งชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา นับเป็นวันอันคึกคักและพิเศษจริงๆ ถึงแม้จะไม่เจอเจ้านกเป้าหมาย ก็ไม่รู้สึกเสียดงเสียดายแต่อย่างใด (เคยเจอมาแล้วเมื่อปีก่อนโน้น) เพราะผมมี เป้าหมายใหม่ อยู่ในใจ มื้อเที่ยงและมื้อค่ำวันนี้ คงไม่ต้องนั่งซดอาหารญี่ปุ่นอย่างมาม่าอีกเหมือนวันวาน แม้มาม่าจะเป็นอาหารยอดนิยมของนักดูนกเกือบทุกคน แต่ผมก็ "ยอมสละ" ได้ด้วยยินดี เชื่อว่าคุณชายสามหยดคงคิดไม่ต่างไปจากนี้ หน่วยพิทักษ์ป่าเขาพะเนินทุ่ง ตั้งอยู่ตรงกิโลเมตรที่ 30 สูงจากระดับน้ำทะเลเกือบ 1,000 เมตร ทางอุทยานแห่งชาติแก่งกระจานได้จัดสิ่งอำนวยความสะดวกไว้ให้นักเดินทางหลายอย่าง ทั้งลานกางเต้นท์ ห้องน้ำ และร้านอาหาร อากาศที่นี่เย็นสบายตลอดทั้งปี ร้อยละ 90 ของคนที่มาเยือนพะเนินทุ่ง มาชมทะเลหมอกในช่วงเช้า ที่เหลือเป็นเปอร์เซ็นต์ของนักดูนก เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมเป็นป่าดงดิบเขา จึงมีโอกาสพบนกบนภูเขาสูงได้มากขึ้น เช่น นกปรอดหัวตาขาว นกเสือแมลงปีกแดง นกศิวะปีกสีฟ้า นกกะลิงเขียดสีเทา นกแซงแซวหางบ่วงเล็ก นกโพระดกคอสีฟ้า นกปลีกล้วยท้องลาย นกตั้งล้อ นกมูม ฯลฯ ผมสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงการปรากฎตัวของเจ้ากะลิงเขียดหางหนามบริเวณนี้ ได้คำตอบว่า หาดูได้ตามป่ากล้วยรอบๆหน่วยฯ แต่ผมก็หาดูเสียหลายรอบไม่ยักเจอ ถ้าเจอกันง่ายๆ คงไม่ใช่ "นกไฮไล์" ของที่นี่แน่นอน Great Barbet นกตั้งล้อ Blue-throated Barbet นกโพระดกคอสีฟ้า Mountain Imperial Pigeon นกมูม Brown Shrike นกอีเสือสีน้ำตาล หลังจากคลี่เต้น์กางพักแรม และเสร็จสิ้นอาหารมื้อเที่ยงอย่างเอร็ดอร่อย พวกเราเหล่า บล็อกเกอร์โอเคเนชั่น สนทนากันอย่างออกรส อร่อยพอๆกับรสอาหาร สนทนากันอย่างกับไม่เคยคุยกันมาก่อน เป็นอะไรที่แปลกมาก และก็เป็นอย่างนี้เสียทุกที ไม่น่าเชื่อว่าพวกเรารู้จักกันมาเพียงไม่กี่ปีเอง จัดการกาแฟร้อนลงไปนอในท้องเรียบร้อย นักดูนกก็ขอตัวไปทำกิจกรรมต่อ ส่วนนักเดินทน เอ๊ย... นักเดินทาง 3 คน อันประกอบด้วย แงซายแห่งบางโอเค, คุณเจ้าหญิง และผู้ติดตาม ออกปากอยากไปเล่น น้ำตกทอทิพย์ กัน ขณะคุณรัต ขอปักหลักอยู่กับที่ ตระเตรียมอาหารในมื้อค่ำ..ขอขอบคุณมากครับ Pacific Swift นกแอ่นตะโพกขาวแถบกว้าง ขณะก้าวเท้าออกจากค่ายพัก สังเกตุเห็น เหนืิอฟ้าลานกางเต้นท์ นกเล็กๆสีดำบินโฉบเฉีบด้วยความไวปานสายฟ้าแล่บ ประมาณโดยสายตาเปล่า คาดว่าจะเป็น นกแอ่นบ้าน House Swift ยกไบน็อคขึ้นส่องดู โอ้..คิดผิดเสียแล้ว นกบินเร็วมากจนหลุดเฟรมทุกที อย่ากระนั้นเลย ลองเก็บภาพมาให้เซียนนกชันสูตรดูดีกว่า เผื่อเป็นตัวหายาก นกที่ตอนแรกนึกว่าเป็นนกแอ่นบ้าน พอสอบถาม บล็อกเกอร์ plains-wanderer จึงพบว่า เป็น นกแอ่นตะโพกขาวแถบกว้าง (Pacific Swift) เจ้านกแอ่นชนิดนี้ตัวใหญ่กว่านกแอ่นบ้าน ปลายปีกแหลม หางแฉก (เห็นชัดขณะกางเต็มที่) ตะโพกมีแถบโค้งสีขาว คอขาวมีจุดสีคล้ำ ท้องลายขวางสีขาวดำ ถิ่นอาศัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง บริเวณเหนือป่าและใกล้เคียง ที่ราบถึงความสูง 2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล เนื่องจากความที่เป็นนกไม่สวย ตัวเล็กจิ๋ว และบินเร็วมาก จนนักดูนกมักมองข้ามกันไป และมักเกิดความสับสนในการจำแนกระหว่าง นกแอ่น (Swift) กับ นกนางแอ่น (Swallow) ซึ่งผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก เพราะเป็นกลุ่มนกที่ไอเด็นยากมากตามความรู้สึกส่วนตัว แต่ถ้า ใครสนใจเรื่องนก 2 ตระกูลนี้ที่มีรูปแบบการหากินโดยการบินฉวัดเฉวียนจับแมลงกลางอากาศเหมือนกัน ติดตามอ่านได้จากเรื่อง นกนางแอ่น กับ นกแอ่น(ไม่มีนาง) เขียนโดย บล็อกเกอร์ plains-wanderer นั่นเอง จากหน่วยพิทักษ์ป่าพะเนินทุ่งมีถนนพาดยาวอีก 6 กิโลเมตร จนไปสิ้นสุดที่กิโลเมตร 36 อันเป็นปากทางเข้าสู่ น้ำตกทอทิพย์ ช่วงนี้มีจุดชมวิวอยู่หลายจุด มองเห็นผืนป่าดงดิบชื้นของแก่งกระจานขึ้นเบียดเสียดกันแน่นทึบ ทอดตัวยาวไปตามเทือกเขาสลับซับซ้อนสุดสายตา จะว่าไปแล้ว ผมเคยพบนกเงือก 2 ชนิดบริเวณนี้ทั้ง นกกก และ นกเงือกกรามช้าง บินอยู่เหนือผืนป่าเบื้องล่าง และเกาะคอนหากินลูกไม้ตามเรือนยอดพญาไม้ ขับรถเลยจากหน่วยฯมาได้ราว 2 กิโลเมตร เราก็จอดรถเดินดูนกกัน อากาศยามบ่ายวันนี้ค่อนข้างร้อนทีเดียว แดดก็แรงดีไม่มีตก เงยหน้าขึ้นมองฟ้า เห็นฟ้าใสเปรี้ยง ก้มหน้ามองดิน เห็นเป็นดินลูกรังคลุกหิน ทั้งเบื้องบนและเบื้องล่างเหมาะสำหรับการดูนก เหลือก็แต่ฝีมือในการหานกเท่านั้น แน่นอนมันขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ จังหวะ และโอกาส Buff-rumped Woodpeckerod นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง Buff-rumped Woodpeckerod นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง ,ตัวผู้ บนเส้นทางนี้ เราพบ Bird Wave เข้าขบวนหนึ่ง กำลังบินข้ามถนนบริเวณจุดที่เราสัญจร ผมสะกิดให้เพื่อนนักดูนกหนุ่มรู้ตัว พร้อมขยับตัวให้เงียบที่สุดเข้าใกล้จุดเป้าหมาย ในใจผมคิดถึงกะลิงเขียดหางหนาม เพราะนกที่ชอบหากินร่วมกับกลุ่มนกอื่นๆ แต่ที่เห็นใกล้ๆ ไม่ตื่นคน คือ ครอบครัวนกหัวขวานลายตะโพกเหลือง (Buff-rumped Woodpeckerod) ที่ไกลออกไปเป็น นกขุนแผนหัวแดง (Red-headed Trogon) ตามพุ่มไม้ปรากฎ นกกินแมลงหัวสีทอง (Golden Babbler) แต่ไม่เห็นเจ้านกเป้าหมายที่ตามหาอยู่ ไม่ทันไร นกหัวขวานจิ๋วทองลาย (Speckled piculet) ก็บินมาเกาะกิ่งไม้อยู่ตรงหน้า มันไม่ยอมหยุดนิ่ง ขยับตัวเหมือนเล่นกายกรรมไปเรื่อยอันเป็นพฤติกรรมของนกชนิดนี้ อดแปลกใจไม่ได้ ผมไม่เคยเห็นนกหัวขวานลายตะโพกเหลือง ใกล้ชิดขนาดนี้มาก่อน เคยเห็นก็แต่ระยะไกลหรือไม่ก็ยอดไม้ เลยเดาเอาว่า ในจำนวนนกทั้ง 4 ตัวนั้น มี 2 ตัวน่าจะเป็น นกที่โตไม่เต็มวัย ซึ่งกำลังสาละวนอยู่กับการกินหนอนที่อยู่ใต้ใบไม้อย่างเพลิดเพลิน ยังไม่รับรู้ถึงอันตรายของมนุษย์ เรียกว่ายังผ่านโลกมาน้อยก็ได้ เจ้าตัวพ่อกับตัวแม่ เลยไม่กล้าทิ้งลูกไปไหน ผมเดาเอานะครับ อาจจะผิดก็ได้ ลิ้นของนกหัวขวานมีความพิเศษยิ่งนัก เนื่องจากมีลักษณะยาวเรียวและกลม สามารถยื่นออกจากปากได้รวดเร็วทําให้สามารถจับแมลงได้ในระยะไกลหรือจับแมลงที่อยู้ในโพรงไม้และร่องแตกของเปลือกไม่ได้ง่าย Speckled piculet นกหัวขวานจิ๋วทองลาย ช่วงนาทีทองนี้ อยู่กับเราสัก 5 นาที ถือว่า นานพอควรทีเดียว โชคดีที่นักเดินทน เอ๊ย.. นักเดินทางอย่างแงซายกำหนัน คุณเจ้าหญิงและผู้ติดตาม สัญจรมาเห็นเหตุการณ์ด้วยพอดี ครอบครัวนกหัวขวานลายตะโพกเหลือง ก็ไม่หนีไปไหนเสียด้วย "ฉากธรรมชาติ" ฉากนี้ต้องเก็บไว้ใน"ความทรงจำ"สถานเดียว จากประสบการณ์ภาคสนาม ทำให้ผมพอจะทราบว่า นกป่าและสัตว์ป่าทุกชนิดมีระยะที่ยอมให้สิ่งแปลกปลอมนอกธรรมชาติหรือสิ่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เข้าใกล้ได้ในระยะหนึ่ง นกจะไม่บินหนีเหยี่ยวนักล่าที่ร่อนหาเหยื่อบนท้องฟ้าทันที แต่จะคอยสังเกตุว่านักล่ากระชับพื้นที่เข้ามาเพื่อโจมตีหรือไม่ แม้แต่มนุษย์เองซึ่งเป็นสัตว์นักล่าสุดอันตราย นกป่าก็ไม่ได้บินหนีทันที หากไม่อยู่ในระยะใกล้มากเกินกว่าระยะห่างที่นกป่ากำหนดไว้ แน่นอนว่า นกป่าทุกชนิดมี "ระยะห่าง" แตกต่างกันออกไป คงเหมือนกับคนเรากระมัง เมื่อรู้จักกันมากขึ้น ระยะห่างระหว่างคนต่อคนก็สั้นลง ที่เข้ามาทดแทนระยะห่าง คือ มิตรภาพ ! ทะเลหมอกที่พะเนินทุ่ง เหยี่ยวผึ้ง Oriental Honey-buzzard บินฝ่าพยับหมอก หายเข้าไปในป่าใหญ่ นักเดินทางทั้ง 3 คนเดินหน้าต่อ มุ่งหมายสู่ น้ำตกทอทิพย์ ส่วนนักดูนกยังลาดตระเวณอยู่แถวนั้น ไม่นานนัก ผมก็สะกิดคุณชายสามหยด ให้นำรถออกไปรับนักเดินทางเพื่อไปส่งยังปากทางเข้าสู่ตัวน้ำตก เพราะเห็นว่าระยะทางค่อนข้างไกลทีเดียว เกรงว่ากว่าจะถึงปากทางเข้าน้ำตก จะหมดแรงเสียก่อน เรื่องใจนั้นยอมรับว่า "ใจสู้ และใจถึง" กันทุกคน แต่หากเท้ามันไม่ยอมทำตามสมองสั่ง ก็เหลือกำลังจริงๆ ไหนจะต้องเดินจากปากทางไปถึงน้ำตกอีก 4 กิโลเมตร ไป-กลับก็ปาเข้าไป 8 กิโลเมตร ถ้าจะไม่ไหวกันจริงๆ แม้ แงซายกำหนัน จะเป็นนักเดินป่าที่ช่ำชอง แต่นั่นมันก็นานมาแล้ว ตั้งแต่สมัยหนุ่มๆ โน่น พระท่านว่าไว้ สังขารย่อมสึกกร่อนไปตามกาลเวลา...สาธุ ถ้าเดินกันจริงๆ ตามเวลานั้น กว่าจะกลับถึงที่พักก็คงไม่พ้นเที่ยงคืน คิดสาระตะดูแล้ว คุณรัตถ้าจะเตรียมอาหารค่ำไว้เกื้อแน่ๆ จึงสะกิดบอกกล่าวกับคุณชายสามหยด ซึ่งเพื่อนนักดูนกของผมก็พยักหน้ารับ ด้วยเกรงว่ามื้อค่ำของพวกเราจะกลายเป็นรอบมิดไนท์ไปเสีย (ฮา) Red-bearded Bee-eater นกจาบคาเคราแดง เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือแงซายยังมีกำหนัน ใครจะเชื่อว่าน้ำใจระหว่างเพื่อนกับเพื่อน ทำให้เราได้รางวัลพิเศษตอบแทน เรื่องนี้คุณชายสามหยดได้เขียนบอกไปแล้วว่า ได้มีโอกาสเห็น คู่นกจาบคาเคราแดง (Red-bearded Bee-eater) ตัวผู้ตัวเมียกำลังเลี้ยงลูกในโพรงรัง ผมยืนชมอยู่ไม่นานนัก ก็เดินดูนกต่อไปตามถนน จึงได้เห็นนกเงือกขนาดใหญ่อย่าง นกกก (Great hornbill) เพลิดเพลินกับการกินลูกไม้เป็นอาหาร เช้าวันรุ่งขึ้น ก่อนออกสตาร์ทไปดูนก อุ่นเครื่องด้วยการชมทะเลหมอกแห่งพะเนินทุ่ง รอคอยแสงแรกของสุริยาทอทับม่านทิวเทือก ขับไล่รัตติกาลให้อันตรธานหายไป ดุจดั่งทิวเขาคลายเย็นยะเยือก อ้าแขนโอบกอดไออุ่น แสงแรกแห่งวันของแต่ละคนคงไม่เหมือนกันในความรู้สึก แต่ความจริงเบื้องหน้านั้น ฉากตะวันคราเยือนภพ จึงเหนือกว่าคำว่า "งดงาม" ใครไม่เคยเห็น คงไม่รู้ว่า ธรรมชาติมหัศจรรย์ และยิ่งใหญ่เพียงใด การเดินทางมิอาจพรรณาเป็นตัวอักษรได้อย่างหมดจดครบถ้วน ต้องออกไปสัมผัสโลกด้วยตนเอง
ทะเลหมอก พะเนินทุ่ง อช.แก่งกระจาน -------------------- A Whiter Shade Of Pale (Fingerstyle Guitar)
----------------------------- พื้นที่โฆษณา
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |