*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | เมษายน 2014 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |
ผมทิ้งอ่างน้ำดินเผาขนาดเล็กในสวนหลังบ้านให้เหือดแห้งอยู่หนึ่งวันเต็มๆ ปล่อยให้เหล่าวิหคสกุณา 3-4 ชนิดพันธุ์ ทั้ง นกปรอดสวน นกปรอดหน้านวล นกกางเขนบ้าน นกกระจิบธรรมดา และ นกอีแพรดแถบอกดำ ที่เคยแวะเวียนมาใช้บริการอ่างน้ำเป็นประจำ ต้องต้องรอคอยความชุ่มฉ่ำของสายน้ำ อย่างผิดหวัง ท่ามกลางอุณหภูมิของฤดูร้อนที่พุ่งสูงปรี๊ด จนร้อนรุ่มไปถึงข้างใน นกเหล่านี้จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันมาดื่มน้ำบ้าง อาบน้ำบ้าง กันอยู่เสมอ ผมแอบมองจากภายในบ้านอย่างมีความสุข และมักเผลอยิ้มทุกครั้งที่เห็นเจ้าปรอดสวน ใช้รูปร่างที่ใหญ่โตกว่านกชนิดอื่นๆ ตัดหน้า มาเล่นน้ำหน้าตาเฉย ทั้งๆที่ เจ้าอีแพรดหรือเจ้าปรอดหน้านวล มาก่อนตั้งนานสองนาน แต่โดยปกติแล้ว หลังจากปรอดสวนใช้บริการอ่างน้ำเสร็จ นกที่มีไซส์รองลงมาก็จะเข้ามาใช้บริการต่อจนถึงขนาดเล็กที่สุด มองดูก็ปรองดองกันดีอยู่เหมือนกันนะครับ หน้าร้อนอย่างนี้ น้ำเป็นสิ่งจำ เป็นอย่างยิ่งสำหรับสัตว์ทุกชนิด ผมไม่เคยปล่อยให้อ่างน้ำว่างเปล่า หมั่นคอยเติมน้ำให้เต็มสม่ำเสมอ ยกเว้นวันหนึ่งเมื่อเร็วๆนี้ที่ผมลืมเสียสนิทใจ (คนเรามักหาข้ออ้างได้เสมอเมื่อรู้สึกว่าทำผิด) ปล่อยให้อ่างเหือดแห้งอยู่หนึ่งวันเต็มๆ เมื่อกลับถึงบ้านในช่วงเย็น จึงรีบเดินไปหลังบ้านเพื่อเติมน้ำในอ่าง เล็กๆ ทันที ยังไม่ทันจะเดินออกมาเจ้าอีแพรดที่คุ้นหน้าคุนตากัน ก็บินโฉบมาเล่นน้ำอย่างไม่ตื่นกลัว ... อย่างรื่นเริง อย่างสนุกสนาน นึกถึงวลีหนึ่งที่มีคนพูดว่า "ไม่ว่าใครจะตายหรือหายไป สุดท้ายโลกก็ยังหมุนต่ออยู่ดี" นกกก (Great Hornbill) เวลาผมเขียนบล็อก มักวาดความรู้สึกลงไปในเรื่องนั้นด้วย ไม่ใช่การระบายอารมณ์ แต่เหมือนการละเลงสีน้ำลงบนแผ่นภาพ แน่นอนว่าชัดเจนบ้าง เบลอบ้าง ขาดทิศทางบ้าง แต่มันก็ทำให้หัวใจได้สั่นไหวเสมอยามเมื่อได้สัมผัส หลายๆครั้ง ผมอ่านแล้วยังรู้สึกได้ถึงความหวานเลี่ยนของตัวอักษรขนาดคนเขียนยังเลี่ยน คนอ่านจะรู้สึกขนาดไหนหนอ นี่กระมังที่เป็นเหตุให้ผมต้องจิบกาแฟดำข้นๆตลอดเวลาเขียนบล็อก มันพอจะแก้เลี่ยนได้มากโขอยู่ ว่ากันตามตรง คนอย่างผม โรงงานผลิตน้ำตาลไม่ชอบอย่างแน่นอน (เขียนอย่างนี้ ไม่ได้ความหมายความว่าในตัวผมมีความหวานมากพอแล้วนะครับ ไม่ใช่อย่างนั้น แค่พอจะมีอยู่บ้างเท่านั้น นิดเดียวจริงๆ ) พูดถึงการจิบกาแฟดำเข้มๆขมๆแล้ว มันก็แปลกดีอยู่เหมือกัน ตอนเสพอรรถรสของเจ้าน้ำสีดำๆ ในช่วงรุ่งอรุณ ยามอยู่ในป่าดงพงไพร รู้สึกถึงความหวานในน้ำกาแฟอย่างชัดแจ้ง อาจเป็นเพราะว่ามีวิวทิศทัศที่เขียวชะอุ่มของแมกไม้และขุนเขา เป็นเหมือนน้ำตาลก็เป็นได้ ใครรู้สึกเหมือนผมบ้าง ...ไม่เชื่อทดลองดูครับ ชะนีมือขาว หรือ ชะนีธรรมดา (Common gibbon, White-handed gibbon) ชะนีมือขาว มีขน 2 สี คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ สีของขนไม่เกี่ยวกับอายุหรือเพศ เวลาคนเราทำอะไรซ้ำๆมักเกิดอาการเลี่ยน หรือเบื่อหน่าย ยกตัวอย่างเช่น มีคนทำไข่เจียวให้กินทุกวันเป็นอาหารเช้า แรกๆก็อร่อยน่ากินดี หลังๆชักไม่อร่อย รู้สึกเลี่ยนขึ้นมาเสียงั้น แต่มีอยู่สิ่งหนึ่งผมไม่เคยมีอาการเลี่ยนเข้ามาเยี่ยมกรายเลย ไม่บอกก็พอจะเดาออกนะครับ นั่นคือ การเข้าป่าไปดูนกนั่นเอง (ถูกต้องคร้าบบ) การเดินชมนกชมไม้ในพงพนา ไม่เคยทำให้ผมเบื่อหรือเลี่ยนแม้แต่ครั้งเดียว แต่ทำให้รู้สึก"ล้าหลัง"มากๆ จริงๆครับ รู้สึกล้าหลังจริงๆ ก็จะไม่ให้เกิดอาการนี้ได้อย่างไรกัน ก็เล่นแบกกล้องและเลนส์ หนักเป็น 3-4 กิโลกรัมเดินท่อมๆดูนกทั้งวัน ตั้งแต่ยามอุษาฟ้าสว่างจนอาทิตย์อัสดง "หลัง"จะไม่"ล้า" ได้ยังไงกัน (ฮา) เรื่องดูนกพูดได้เต็มปากเต็มคำเลยครับว่า ผมไม่ยอมล้าหลังใคร ถ้าว่างใครชวน เป็นไปกับเขาหมดเรียกว่าใจง่ายก็ได้ครับ เฉพาะเรื่องดูนกอย่างเดียวนะ เรื่องอื่นๆผมใจหินมากๆ พอผมไปชวน คุณซูเปอร์บี เอ๊ย...ซูเปอร์บีมาชวนผมไปดูนกที่แก่งกระจาน ผมรีบตกลงทันที กลัวเพื่อนนักดูปักษารุ่นน้องเปลี่ยนใจ งานนี้ คุณชายสามหยด นักส่องนกมาดสไนเปอร์ พลาดครั้งใหญ่ เพราะทันติดงานขึ้นมาเสียนี่ ไม่เป็นไรครับ ดูภาพนกสวยๆในบล็อกนี้เรียกน้ำย่อยไปพลางๆก่อนละกัน เนื่องจากซูเปอร์บี เป็น "นักดูนกมือใหม่ป้ายแดง" ผมจึงต้องหน้าที่เป็นไกด์นำดูนกไปตามระเบียบอาสากำหนดพื้นที่เป้าหมายสำหรับส่องนกส่องผีเสื้อกันตั้งแต่ หน่วยพิทักษ์ป่าบ้านกร่าง ไปจนถึง หน่วยพิทักษ์ป่าพะเนินทุ่ง แน่นอนว่า ในฐานะนักดูนกป้ายแดง ซูเปอร์บีเห็นนกชนิดไหนที่ผมชี้ หรือ ผิวปากให้ดู ก็แทบจะกลายเป็นนกใหม่ไปเสียหมด ที่ต้องใช้วิธีผิวปากนั้น ผมค้นพบว่าเสียงผิวปากทำให้นกไม่ตื่น สามารถเรียกเพื่อนมาดูนกอย่างเงียบๆได้ ถ้าใช้เสียงเรียก นกอาจนึกว่าเป็นคน บินหนีหรือหลบเข้าพุ่มไม้หายจ้อยไปเลยก็เป็นได้ ใครเดินดูนกกับผม จะทราบดีว่า ผมไม่ค่อยพูดเท่าไหร่ ไปเจอนักดูนกแปลกหน้าแปลกตา เห็นผมไม่ค่อยพูดภาษาคน คิดว่าผมเป็นใบ้ไปก็มี ถามว่า ผมไปแก่งกระจานและพะเนินทุ่งปีละหลายครั้ง แล้วจะไปทำไหมกันบ่อยๆ ตอบง่ายครับลองมาเป็นนกดูนกเองแล้วจะเข้าใจความรู้สึกของพวกผม (จริงไหมคุณชายสามหยด) ว่างเป็นไม่ได้ เป็นหยิบกล้องคว้าไบน็อคเข้ารกเข้าพงไปเสียทุกที อย่าว่าแต่การไปแก่งกระจาน มันก็มี"ความหมาย"เป็นพิเศษสำหรับผมทุกครั้ง ผมปรารถนาใคร่เห็นนกตัว หนึ่ง อย่างเต็มตาเต็มใจ...เป็นนกกะลิงเขียดหางหนาม / Ratchet-tailed Treepie ไฮไลท์ของหลักกิโลเมตรที่ 27 ทางขึ้นพะเนินทุ่งนั่นเอง เส้นทางจาก "บ้านกร่าง" จนถึง "พะเนินทุ่ง" เป็นเทรลดูนกที่ได้รับความนิยมสูงสุดแห่งหนึ่งในวงการนักเลงนก เลยก็ว่าได้ ถือเป็นเส้นทางศึกษาและเรียนรู้ทางธรรมชาติชั้นเยี่ยมที่ต้อนรับนักเดินทางมานักต่อนัก ว่ากันว่า "จุดเด่น" ของป่าแก่งกระจานในแง่ของปักษาวิทยานั้น มีนกนานาพันธุ์ให้พบเห็นมากด้วยชนิดและปริมาณ ทั้งนกที่อาศัยตามป่าที่ราบต่ำ ไปจนถึงนกบนภูเขาสูง และนกในป่าดงดิบ ส่วนความโดดเด่นของพะเนินทุ่งนั้น อยู่ที่ความหลากหลายทางชีวภาพ เมื่อพิจารณาจากสภาพทางภูมิศาสตร์แล้ว จะเห็นว่า นกบนยอดพะเนินทุ่งนั้น มีทั้ง "นกเหนือ" และ "นกใต้" เข้ามาอาศัยอยู่รวมกัน เพราะเป็นบริเวณรอยต่อของชีวภูมิศาสตร์ย่อยที่กระจายมาจากทางเหนือ (Sino Himalaya) ขึ้นมาจากทางใต้ (Sundaic) รวมทั้งมาจากทางตะวันตก (Indo Burma) และทางตะวันออก (Indo China) กลายเป็นศูนย์รวมความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย อย่างที่บอกไปแล้ว ผมแค่มาตามดูนกตัวหนึ่งให้เต็มตาเต็มใจ หลังจากเคยเห็นมาแล้วครั้งหนึ่งเพียงเสี้ยวของเวลา แต่ไม่เคยคิดเลยว่า นี่คือ"เป้าหมาย"ที่ต้องพุ่งชนให้ได้ คิดแต่เพียงว่า สิ่งนี้คือ"ความหมาย"ของชีวิต ต่างหากเล่า นกพญาปากกว้างลายเหลือง (Banded Broadbill) นกพญาปากกว้างหางยาว (Long-tailed Broadbill) นกพญาปากกว้างท้องแดง (Black-and-red Broadbill) นกพญาปากกว้างอกสีเงิน (Silver-breasted Broadbill) สำหรับนักดูนกที่ศึกษาพฤติกรรมของนกแล้ว ย่อมรู้ดีว่าช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-มีนาคมของทุกปี เป็นเวลาที่สำคัญของวงจรชีวิตนก เนื่องจากนกส่วนใหญ่ในทวีปเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย ใช้เป็นช่วงเวลาแห่งการผสมพันธุ์ ผมและซูเปอร์บีบังเอิญไปดูนกที่แก่งกระจาน-พะเนินทุ่งในช่วงที่นกจับคู่กันพอดี จึงมีโอกาสพบนกชนิดเดียวกันทั้งตัวผู้และนกตัวเมีย เช่น นกพญาปากกว้างท้องแดง นกพญาปากกว้างลายเหลือง นกพญาปากกว้างหางยาว ฯลฯ ทั้งยังมีโอกาสเห็นพฤติกรรมของนกในวงจรสืบพันธุ์ของมัน เช่น คาบหญ้าไปทำรัง หรือกกไข่ ซึ่งแน่นอนว่าเราหลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปรบกวนมัน (สาธุ) นกจับแมลงสีคล้ำ (Dark-sided Flycatcher) นกเขาลายเล็ก (Little Cuckoo Dove) บทความชื่อ "พฤติกรรมของนก" ของสมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย ระบุว่า ช่วงฤดูผสมพันธุ์เป็นช่วงที่มีความสำคัญกับนกมากที่สุด เพราะเป็นโอกาสที่นกจะได้ผสมพันธุ์และออกลูก เพื่อสืบทอดเผ่าพันธุ์ต่อไป นกแต่ละชนิดต้องมีการเตรียมตัวให้พร้อมเมื่อฤดูผสมพันธุ์มาถึง ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่มีอาหารสมบูรณ์พอสำหรับเลี้ยงดูลูกนกให้รอดชีวิต นกส่วนใหญ่จึงมักวางไข่ในช่วงปลายฤดูแล้งไปจนถึงกลางฤดูฝน เพื่อให้ลูกนกเจริญเติบโตขึ้นมาในช่วงที่มีอาหารสมบูรณ์ แต่นกน้ำจะเลือกผสมพันธุ์กัน ในช่วงปลาย ฤดูฝน เพราะเป็นช่วงฤดูน้ำหลาก มีอาหารอุดมสมบูรณ์สำหรับเลี้ยงลูกนกที่ออกจากรัง แต่ละปีนกต้องผสมพันธุ์อย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ก็มีหลายชนิดที่ผสมพันธุ์มากกว่านั้น ช่วงเวลาในการผสมพันธุ์จะใกล้เคียงกันสำหรับนกชนิดนั้นๆ และนกมักจับคู่ผสมพันธุ์กันในถิ่นเดิมทุกปี แม้นกย้ายถิ่นยัง ต้องบินกลับไปสร้างรังวางไข่ยังถิ่นเดิม เพราะมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการผสมพันธุ์และเลี้ยงลูกนก นกปรอดหัวตาขาว (Flavescent Bulbul) นกโพระดกคอสีฟ้า (Blue-throated Barbet) ชนิดย่อย davisoni นกส่วนใหญ่จับคู่ผสมพันธุ์กับตัวเมียเพียงตัวเดียว บางชนิดจับคู่ด้วยกันตลอดชีวิต เช่น นกกระเรียนแต่บางชนิดตัวผู้ผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัว เช่น ไก่ ซึ่งตรงข้ามกับนกโป่งวิด ที่ตัวเมียจะเป็นฝ่ายผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายตัว แล้วปล่อยให้ตัวผู้ฟักไข่และเลี้ยงลูกตามลำพัง นกได้คู่ผสมพันธุ์แล้ว ก็มาถึงช่วงของการสร้างรัง เพื่อใช้วางไข่และเลี้ยงดูลูกนกให้ปลอดภัยจากศัตรูและสภาพอากาศที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังช่วยให้ความอบอุ่นแก่ไข่และลูกนก นกส่วนใหญ่จะ สร้างรังใหม่ทุกปี แต่มีบางชนิดกลับไปใช้รังเดิม เช่น เหยี่ยวออสเปรคู่เดิมจะกลับไปซ่อมแซมรังเก่าใช้ จนรังมีขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ ตามจำนวนปีที่นกใช้วางไข่ นกบางชนิดก็ไม่สร้างรัง แต่จะวางไข่บนพื้นดินเฉยๆ แล้วทำการฟักไข่ ตรงนั้น เช่น นกตบยุง และมีนกอีกหลายชนิดไม่รู้จักสร้างรัง แต่แอบวางไข่ในรังนกชนิดอื่นๆ เพื่อให้นกนั้น เลี้ยงลูกให้จนโต เช่น นกกาเหว่า นกอีวาบตั๊กแตน เห็นไหมครับว่าการผสมพันธุ์ของนกเป็นพฤติกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่ง หลายเรื่องคาดไม่ถึงอย่างนกที่แอบไปวางไข่ในรังของนกชนิดอื่น เพื่อให้เลี้ยงดูลูกของมัน แบบนี้ก็มีด้วย น่าศึกษาและเรียนรู้มากมาย ดังนั้น ผมสมัครเป็น "นักดูนก" เสียแต่ดีๆ นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง (Buff-rumped Woodpecker) นกปรอดแถบปีกเหลือง (Ashy Bulbul) นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล (Ochraceous Bulbul) หลังจากแวะดูนกมาเรื่อยเปื่อยตั้งแต่หน่วยพิทักษ์ป่าเขาสามยอด มาจนถึงหน่วยพิทักษ์ป่าบ้านกร่าง เราก็ได้ฤกษ์กันข้าวเที่ยงกัน ก็ที่ร้านค้าสวัสดิการของหน่วยนั่นแหละครับ ปะหน้าเจ้าหน้าที่ฯซึ่งคุ้นหน้าคุ้นตากันเป็นอย่างดี ก็เตือนเราว่าให้ระวังช้างป่าที่ออกมากินใกล้กับลานกางเต้นท์ ดังนั้น หลังจากกินข้าวเสร็จสรรพ ผมก็พาซูเปอร์บีไปสำรวจพื้นที่บริเวณลำธารสายเล็กๆ ข้างลานกางเต้นท์ เพราะเป็นทำเลที่พบนกสกุลหัวขวานหลายชนิด นกพญาปากกว้างท้องแดง นกจาบคาเคราเขียว ได้ออกบ่อยๆ เรียกว่า ตาซ้ายมองหานก ตาขวาชำเลืองดูช้างว่าจะมีไหม รู้สึกตื่นเต้นดีจริงๆ พูดกันแบบตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม ทริปดูนกแก่งกระจาน-พะเนินทุ่งรอบนี้ เดินดูนกกันไม่เต็มร้อยเท่าไหร่ เนื่องจากในวันเสาร์ ฝนตกเสียครึ่งวันขณะเดินตามหาเจ้ากะลิงเขียดหางหนาม บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 27 ไม่ใช่แค่โปรยปรายธรรมดา แต่กระหน่ำลงมาอย่างหนัก ทำให้เราตัดสินใจบึ่งรถฝ่ายสายพิรุณขึ้นไปยังพะเนินทุ่ง ม่านหมอกสีขาวคลี่ครอบคลุมผืนป่าหลังฝนตกหนัก เมื่อขึ้นไปถึงพะเนินทุ่ง ฝนยังตามมาสร้างความชุ่มฉ่ำอุราให้เราอย่างหนำใจ ลมกระโชกพัดโฮกฮาก ไม้เล็กไม้น้อยไหวเอนลู่ตามแรงลม ขณะพญาไม้ใหญ่ยืนหยัดท้าทายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ฝนกระหน่ำลงมาได้สักชั่วโมง หมอกสีขาวก็เริ่มแผ่ม่านครอบคลุมยอดพะเนินทุ่ง แม้เป็นภาพที่งดงาม แต่สำหรับนกดูนกแล้วได้แต่นั่งมองม่านหมอกสีขาวตาปริบๆ เพราะแน่นอนแล้วว่าหมดสิทธิ์ดูอีกนั่นเอง เป็นอันว่า เราหาทำเลกางเต้นท์กันตั้งแต่ช่วงบ่าย โชคดีที่เจ้าหน้าที่ฯ อนุญาตเป็นกรณีพิเศษให้ใช้พื้นที่ในศาลาข้างๆด่านกั้นทางขึ้นลง ตรงด้านหน้าหน่วยฯ เป็นจุดกางเตนท์ได้ เนื่องจากเห็นว่าฝนตกหนัก แต่ปรากฎว่าความแรงของลมฝนทำให้ไม่สามารถกางเตนท์ได้ เราต้องหลบเข้าไปนั่งเล่นในรถเสียเกือบชั่วโมงกว่าลมฝนจะสร่างซา ผมบอกกับเพื่อนนักดูนกรุ่นน้องว่า อรุณรุ่งพรุ่งนี้เช้าวันอาทิตย์ ค่อยออกเดินดูนกกัน ถ้าหมอกยังลงจัดหรือฝนหนัก เราก็กลับลงไปปักหลักแถวๆหลักกิโลเมตรที่ 27 บริเวณนี้เป็นเหมือนสามแยกหรือจุดนัดพบ มักเจอ Bird Wave ที่มีเจ้าของเรือนร่างสีดำมีหางคล้ายหนาม รวมฝูงอยู่ด้วยเป็นประจำ นกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Greater Flameback) ,เพศเมีย ทราบกันดีอยู่แล้วว่า อุทยานห่งชาติแก่งกระจานนั้น เป็นแหล่งอาศัยกระจายพันธุ์ของ "นกกะลิงเขียดหางหนาม" เป็นป่าแห่งเดียวของประเทศไทยที่พบนกชนิดนี้ พูดถึงเจ้ากะลิงเขียดหางหนามแล้ว เป็นนกที่ค่อนข้างหายากเอาการอยู่สำหรับนักดูนกขาจร แต่สำหรับขาประจำที่ขึ้นไปพะเนินทุ่งบ่อยๆ โอกาสพบเห็นก็ง่ายขึ้น หากรู้จังหวะ รู้จุด รู้เวลา รู้ถิ่น อาศัยของนก โดย เฉพาะบริเวณกิโลเมตรที่ 26-29 เป็นจุดที่นกชนิดนี้ออกมาหากิน รวมไปถึงดงกล้วยในหุบข้าง ๆ หน่วยพิทักษ์ป่าพะเนินทุ่งด้วย รุ่งเช้า ระหว่างตระเวณดูนกไปมารอบๆพะเนินทุ่ง ก็มีโอกาสพบกับ คุณรุ่งโรจน์ จุกมงคล หรือพี่เอ เจ้าของหนังสือความรู้เรื่องนกหลายเล่ม เลยทักทายกันตามประสาคนคอเดียวกันทั้งการนกและการเมือง คุณรุ่งโรจน์บอกว่า บล็อกเกอร์พี่Supawan ปักหลักดูนกอยู่แถวหลักกิโลเมตรที่ 27 ไม่ได้ขึ้นมาบนพะเนินทุ่งด้วย ช่วง 9 โมงเช้า เราจึงขับรถย้อนลงเขามายังบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 27 อีกครั้ง ณ จุดนี้ ผมยังคงเดินตามหาเจ้ากะลิงเขียดหางหนามอยู่อย่างไม่ลดละเลิก เจอนักดูนกสองหนุ่มสาวเดินถือไบน็อคสวนมา ทั้งสองคนนี้ผมเคยเห็นที่พะเนินทุ่ง ยังไม่ทันเอ่ยปากทักทาย นักดูนกสาวก็พูดขึ้นกับซูเปอร์บีว่า ตะกี้เห็นกะลิงเขียดหางหนามมากับ bird wave มันบินลงมาเกาะตรงกลางทางด้วย ได้ยินเท่านั้นแหละ แม้ใบหน้าผมยังสงบเรียบเฉย มุมปากกระตุกเล็กน้อย แต่ในใจพูดว่า "อั๊ยย่ะ จุด ที่เขาเห็นกะลิงเขียดหางหนาม เราก็เพิ่งเดินผ่านมาเมื่อสัก 5 นาที ปัดโธ่ พลาดอีกแล้ว" ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จยังไม่อยู่ที่นั่นสำหรับผม 5555 อย่างไีรก็ตาม ผมไม่คิดว่า นี่คือความผิดหวังแต่อย่างใด แต่คือเสน่ห์ของการดูนกมากกว่า และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมได้สัมผัสกับ"เสน่ห์"รูปแบบนี้ สารภาพเลยครับว่า เขียนบล็อกมาถึงบรรทัดนี้ ผมนึกอยากไปพะเนินทุ่งขึ้นมาอีกแล้วครับ 5555 ปาดยักษ์ (Giant Treefrog) เหนือฟ้ายังมีฟ้า เหนือวิทยาศาสตร์ยังมีกระยาสารท มาตรแม้นว่าพลาดการได้เห็นเจ้านกถิ่นเดียว แต่ก็กลับได้พบเจ้าสัตว์หายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หนึ่ง นั่นก็คือ "ปาดยักษ์" ตอนแรกผมก็ไม่รู้หรอกครับว่าเป็น ปาดยักษ์ นึกว่าเป็นกบเขียดธรรมดาที่อาศัยอยู่ในป่า แต่พอโยนภาพขึ้นเฟสบุ๊คสอบถามเซียนAmphibians ปรากฎว่า เป็นปาดยักษ์ ดูเหมือนเป็นสัตว์หายาก จึงเข้ากรูเกิลไปหาข้อมูลมาได้ดังนี้ครับ ค้นพบ “ปาดยักษ์” ที่อุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี อาจารย์จุฬาฯ เผยปาดยักษ์เป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกที่กำลังเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบได้ไม่บ่อยนักในประเทศไทย มีรายงานว่าจะพบเฉพาะที่ จ.เพชรบุรี และ จ.ราชบุรี เท่านั้น นอกจากนี้ ยังมีการกระจายอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย ภาคเหนือของเมีย นมาร์ และสาธารณรัฐประชาชนจีน อ.ดร.วิเชฎฐ์ คนซื่อ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เปิดเผยว่า ปาดยักษ์ที่ค้นพบนั้นเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดใหญ่ พบบนยอดเขาที่มีความสูงประมาณ ๙๐๐ เมตรจากระดับน้ำทะเล การค้นพบในครั้งนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่ทำวิจัยกับโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย ( BRT ) ซึ่งเป็นโครงการที่สนับสนุนทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ปาดยักษ์ (Giant Treefrog) ปาดยักษ์มีขนาดความยาวของลำตัวตั้งแต่จมูกจนถึงรูเปิดของทวาร ประมาณ 9 เซนติเมตร ลำตัวมีสีเขียว มีตาขนาดใหญ่ ลำตัวด้านบน ตลอดทั้งช่วงหัว หลังและขาจะมีสีเขียวตองอ่อน ส่วนด้านท้องจะมีสีเทา ด้านข้างของลำตัวมีสีเทาและ ลายสีขาวสลับกระจายทั่วไป ตีนหน้าและตีน หลังมี พังผืดแผ่เต็มการสำรวจในครั้งนี้พบปาดยักษ์จำนวน ๕ ตัว เป็นเพศผู้ ซึ่งปาดชนิดนี้จะมีเสียงดังก้องกังวานมาก เป็นเสียงร้องที่เกิดจากเพศผู้ร้องเรียกเพศเมียในฤดูผสมพันธุ์ คือ ในช่วงต้นฤดูฝน อ.ดร.วิเชฎฐ์ กล่าวต่อไปว่า ถิ่นที่พบปาดยักษ์จะเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื่น อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำใกล้ป่าเบญจพรรณ และมีป่าไผ่เป็นไม้หลัก พฤติกรรมการส่งเสียงเรียกคู่ของปาดยักษ์ ทำให้สันนิษฐานได้ถึงพฤติกรรมใน การสืบพันธุ์ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ของทุกปีเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมเท่านั้น แอ่งน้ำขนาดต่างๆ ในช่วงฤดูฝนเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญสำหรับปาดยักษ์เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในการวางไข่และการเจริญเติบโตของลูกอ๊อด ดังนั้น ในป่าธรรมชาติแม้จะเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ ก็อาจมีความหมายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างที่คาดไม่ถึง ป.ล. ผู้เชี่ยวชาญแจ้งให้ทราบว่า มีรายงานการพบปาดยักษ์ที่ ตาก กาญจนบุรี น่าน เลย ชัยภูมิ และประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี และราชบุรี The Waters and the Wild - Al Petteway
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |