*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | กันยายน 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |
การเรียนรู้...ในของขวัญอันน่าอัศจรรย์ที่ธรรมชาติมอบให้กับเรา ต้นฝน...เหล่าบล็อกเกอร์กลุ่มระวังไพรมีทริปเดินทางไปดูนกกันอีกคำรบ การดูนก..เป็นกิจกรรมที่ทำได้ไม่รู้จักเบื่อ ทำไมหลายคนจึงเป็นเช่นนั้น หลังจากปักหลักดูนกที่ป่าชายเลนหงาว ของระนอง มาทั้่งวัน และพักค้างแรมที่บ้านพักอุทยานแห่งชาติหมูเกาะระนอง ซึ่งเป็นอุทยานฯจัดตั้งใหม่ เช้า มืดวันรุ่งขึ้น เราออกจากที่ พักมุ่งหน้าสู่จุดดูนกเป้าหมายถัดไป นั่นคือ ป่าชายเลนหน้าเมืองพังงา ทางหลวงหมายเลข 4 จากระนอง ไปพังงา พาเราลัดเลาะไปเส้นทางที่คดโค้งที่ 2 ข้างทางเต็มไปด้วยบ้านเรือนและป่ายางพาราและปาล์มน้ำมัน อันเป็น พืชเชิงเดี่ยวที่ถูกขึ้นมาทดแทนป่าดิบที่ราบต่ำในภาคใต้ (ขับไปบ่นไป ละเหี่ยใจไป กับการรุกป่ากระทั่งที่สูงอย่างภูเขาลูกหย่อมๆก็ไม่ละเว้น) บางช่วงเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน บางช่วงเคลื่อนตัวผานขุนเขาคดเคี้ยวของอุทยานแห่ง ชาติเขาหลัก-ลำรู่ ขับไป คุยไป บ่นไป ถามเส้นทางกันไป หลายชั่วโมงต่อมา เราก็เข้าเขตเมืองพังงา ซึ่งผมดีใจมากๆ เพราะอดยากปากแห้งกับกาแฟสดที่ยังไม่ได้ตกถึงท้องเลยแม้แต่หยดเดียว ตั้งแต่เหยียบคันเร่งมา 3-4 ชั่วโมง ไม่ใช่ติดกาแฟนะครับ แต่ผมชอบรสชาติต่างหาก ว่าเข้าไปนั่น จัดการกับติ่มซำกับบะหมี่พื้นถิ่นไปชุดใหญ่ จนรู้สึกอิ่มท้องแบบพอดีๆ ไม่ต้องคิดอะไรกันมากครับ นิยามนักดูนกประเภทสามัญชน(ดะ)อย่างเรานั้น เรื่องกินเป็นเรื่องเล็กเรื่องดูนกเป็นเรื่องใหญ่ แต่ถ้าอาหารอร่อยบวกกับเจอนกเยอะแยะ ก็ถือว่าเลิศเลอเพอร์เฟ็กต์ กินให้อิ่ม เพราะกว่าจะมีเวลาว่างมากินกันอีกรอบก็โน่นมื้อเที่ยง คุยกันไปกินกันไป (ไม่รู้หาเรื่องอะไรมาสนทนากันได้ตลอด) แดดชักเริ่มแรงเสียแล้ว อากาศก็ออกจะร้อนขึ้น อย่ากระนั้นเลย เพื่อไม่ให้เนิ่นนานออกไป เวลาไม่คอยท่า นกกาก็ไม่คอยใคร เช็คบิลโดยเร็วแล้วบึ่งรถไปยัง ที่หมายแรก นั่นคือ ป่าชายเลนพื้นเล็กๆ ซึ่งอยู่เยื้่องกับอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา แม้เป็นป่าโกงกางผืนเล็ก ๆ แต่ที่ผ่านมา มีการพบนกหายากหลายชนิดในบริเวณนี้ ถือเป็นจุดดู นกป่าชายเลนที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคใต้เลยก็ว่าได้ จะว่าไปแล้ว การเดินดูนกที่ป่าชายเลนแห่งนี้ กินเวลาไม่นานนัก เนื่องจากพื้นที่ค่อนข้างเล็ก ด้านหน้าของป่าชายเลนเป็นถนนใหญ่ ด้านหลังเป็นชุมชนหมู่บ้านคนที่กำลังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ การดูนกใช้วิธีเดินไปตามเส้นทางจากปากทางเข้าไปจนถึงชุมชนด้านหลัง สองข้างทางมีต้นโกงกางเป็นไม้เด่นที่อวดโชว์รากพ้นน้ำขึ้นมาบนอากาศ นอกจากนั้น ก็มีไม้ประเภทตะบูน แสม ลำพู สอดแทรกแซมเข้ามา บางจุดที่น้ำท่วมไม่ถึงก็ปกคลุมด้วยไม้พื้นล่างอย่างเหงือกปลาหมอและเถาไม้เลื้อยหลายชนิด สายตาและหูของเราทำงานอย่างเต็มที เพราะด้วยสภาพภูมิประเทศที่กลมกลืนระหว้างสีน้ำตาล สีเทา และสีเขียวหากนกไม่ขยับ บิน หรือส่งเสียงร้อง ยากที่จะสแกนหาพิกัดของนกที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ อย่างเจ้านกกินแมลงป่าโกงกาง (White-chested Babbler) นักร้องประจำป่าชายเลน ตัวสีน้ำตาลอ่อนๆ สังเกตุยากมาก สีสันกลมกลืนกับรากโกงกางเหลือเกิน โชคดีที่มันชอบส่งเสียงร้องเวลาออกหากิน แถมยังร้องดังกว่าตัวมันตั้งหลายเท่า เวลามันร้องพลางกระโดดไปมาพลาง ก็ใช้ไบน็อก(กล้องสองตา) จับพิกัดได้ไม่ยากนัก นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher) นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) ชนิดพันธุ์ของนกที่ป่าชายเลนแห่งนี้ รวมไปถึงป่าชายเลนอื่นทางภาคใต้ตอนกลาง แถวระนอง พังงา กระบี่ แทบจะไม่ต่างกันเลย มีทั้งนกที่พบได้โดยทั่วไป พบไม่บ่อย จนถึงนกที่พบค่อนข้างยาก ใครแวะมาดูนกที่นี่ ไม่น่าจะพลาดสำหรับนกหลายๆชนิดเช่น นกกินแมลงป่าโกงกาง (White-chested Babbler) , นกกระเต็นแดง (Ruddy Kingfisher),นกแต้วแล้วป่าโกงกาง (Mangrove Pitta) ,นกกระเต็นใหญ่ปีกสีน้ำตาล (Brown-winged Kingfisher),นกพญาปากกว้างท้องแดง (Black-and-red Broadbill),นกหัวขวานเขียวคอเขียว (Streak-breasted Woodpecker)ฯลฯ และที่หายากหน่อยก็เห็นจะเห็นนกบั้งรอกเล็กท้องแดง (Chestnut-bellied Malkoha)นกในฝันของหลายๆคน นกพญาปากกว้างท้องแดง (Black-and-red Broadbill) บางชนิดสามารถปรับตัวอาศัยอยู่ได้ในป่าหลายชนิด เช่น นกพญาปากกว้างท้องแดง นกบั้งรอกเล็กท้องแดง พบได้ทั้งในป่าดิบ ป่าชายเลน และป่าพรุ เพื่อนนักดูนกบางคนตกใจว่าทำไมถึงพบเจ้าพญาปากกว้างท้องแดงที่ป่าชายเลนด้วย เคยเจอแต่ในป่าดิบอย่างแก่งกระจาน ตาฝาดไปหรือเปล่าเนี่ย ไม่ได้ฝาดแน่ๆ เท่าที่ทราบ นกพญาปากกว้างท้องแดง เป็นนกเพียงชนิดเดียวในกลุ่มญาติพี่น้องของมันที่ทำมาหากินอยู่ในป่าชายเลน และป่าพรุด้วย น่าเสียดายครับ เพื่อนนักดูนกรุ่นพี่ ซึ่งเคยมาเยือนป่าชายเลนผืนหย่อมๆแห่งนี้ เล่าให้ฟังว่า สภาพที่เห็นตอนนี้ (ในวันที่ไปเยือน) มีการขยายเส้นทางให้กว้างขึ้นเป็น 2 เลน เพื่อให้รถยนต์สามารถวิ่งสวนกันได้ เชื่อมจากถนนใหญ่เข้าไปยังชุมชน จากเดิมที่เป็นเส้นทางแคบๆ ยานพาหนะไม่สามารถผ่านได้ แน่นอนว่า ตรงจุดที่ขยายเส้นทางนี้ มีการตัดไม้ออกไปเพื่อขยายเส้นทาง จุดหนึ่งของทางสายนี้ มีการนำอิฐหินทรายมากองไว้ หน้าคลองสายหนึ่ง เพื่อก่อสร้างอะไรสักอย่าง มีป้ายปักไว้ว่าเป็นการดำเนินการของราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งผมสันนิษฐานว่า น่าจะเกี่ยวข้องกับการขยายเส้นทางเพื่อให้รถยนต์วิ่งมาถึงจุดนี้ อาจเป็นท่าเรือเล็กๆ ก็เป็นได้ ผมได้สอบถามเจ้าหน้าที่อุทยานฯ ถึงการก่อสร้างดังกล่าว ปรากฎว่า เขาไม่ทราบเรื่อง น่าแปลกใจจริงๆ ป่าชายเลนผืนเล็กๆแห่งนี้่ เดิมเป็นจุดดูนกใกล้เมืองพังงาอันลือชื่อ ด้วยสวยงามและอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีนกหลากหลายชนิดพันธุ์เข้ามาอาศัย แต่บัดนี้ได้ถูกสิ่งที่มนุษย์เรียกว่า การพัฒนาความเจริญเข้ารุกราน ... หากว่าผมเป็นผู้มีอำนาจ จะสั่งเก็บป่าชายเลนผืนนี้เอาไว้ ดูแลรักษาอย่างดี ปล่อยให้สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้อาศัยอยู่อย่างที่มันควรจะเป็น ...ถือเป็นหนึ่งในความภูมิใจของจังหวัดพังงาที่มีป่าชายเลนที่สมบูรณ์อยู่ใกล้ตัวเมืองเลยทีเดียวก็ว่าได้ (หลังจากนั้นผมไปค้นข้อมูลดูพบว่า ป่าชายเลนของพังงาถูกบุกรุกเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัวกันอย่างมากมาย ไม่ต่างไปจากจังหวัดอื่นๆในประเทศไทย ) เดินดูนกไปดูนกมาวนอยู่ในตามเส้นทางเดิมๆหลายรอบ จนเลยเวลาเที่ยงมาเล็กน้อย ท้องมันจึงเริ่มร้องจ๊อกๆ จึงแว่บออกมาหาข้าวหาปลากินย่านชานเมืองพังงา ได้ปลาหมึกและปลาแห่งคนละหลายห่อ พร้อมน้ำพริกกุ้งเสียบ เป็นเสบียงและของที่ระลึกถึงเมื่อยามกลับบ้าน เสร็จสรรพเรียบร้อยบ่ายคล้อยพอดี ได้เวลาไปดูนกที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา กันแล้ว เล่าให้ฟังสักเล็กน้อยถึงประวัติของอช.อ่าวพังงา ....เมื่อปีงบประมาณ 2517 จังหวัดพังงาได้เสนอพื้นที่บริเวณถ้ำลอด เกาะปันหยี และเขาพิงกัน ให้กรมป่าไม้ดำเนินการจัดตั้งเป็น วนอุทยาน โดยใช้ชื่อว่า "วนอุทยานศรีพังงา " แต่ต่อมากรมป่าไม้ได้ดำเนินการสำรวจบริเวณอ่าวพังงาเพิ่มเติม และดำเนินการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยกำหนด เป็นพระราชกฤษฎีกา ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อเดือนเมษายน 2524 ภายใต้ชื่อว่า " อุทยาน แห่งชาติอ่าวพังงา " มีเนื้อที่ประมาณ 400 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 250,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ ที่อุดมสมบูรณ์คงสภาพ ธรรมชาติดั้งเดิมอยู่เป็นจำนวนมาก นับตั้งแต่เขตอำเภอเมืองพังงา เลียบตามชายฝั่ง จนถึงเขตอำเภอตะกั่วทุ่ง และ พื้นน้ำในท้องทะเลอันดามันมีพื้นที่ กว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาทั้งหมด ซึ่งในร้อยละ 80 ของพื้นที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่ ประมาณ 42 เกาะ เช่น เขาเต่า เกาะพระอาดเฒ่า เกาะมะพร้าว เกาะโบยใหญ่ เกาะรายาหริ่ง เกาะพนัก เกาะห้อง เขาพิงกัน ฯลฯ เมื่อสารถีจอดรถนิ่งสนิม เพื่อนร่วมทางก็หิ้วไบน็อคหิ้วกล้องไปเดินดูนกกัน ก็เดินรอบๆที่ทำการอุทยานแห่งชาตินั่นแหละครับ และไม่ลืมที่จะหิ้วน้ำขวดใหญ่ติดไม้ติดมือไปด้วยอากาศช่วงพฤษภาคมของที่นี่ทำไมมันร้อนเหลือกำลังลาก กว่าจะมีเจอลมพัดมาให้ชื่นใจก็ยากเย็นแสนเข็ญ เป็นพื้นที่อยู่ติดกับชายทะเลและชายฝั่งป่าโกงกาง ไม่น่าจะร้อนขนาด ทำเอาผมหน้าแดงกร่ำเหมือนดื่มด่ำน้ำอมฤตไปหลายถัง เห็นบ่นปอดแป๊ดเรื่องอากาศร้อนอย่างนี้ แต่ผมก็เดินดูนกทำสถิติระยะทางมากกว่าใครนะครับ เรื่องจำแนกนก ผมยอมรับว่ายังเป็นรองพวกเซียนหูทิพย์ แต่เรื่องเดินดูนก บอกตรงๆ ไม่เป็นสองรองใครนะฮ่ะ นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ (Asian Glossy Starling) โตไม่เต็มวัย นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ โตไม่เต็มวัย จิกกินเนื้อลูกหมาก
ตัวทางขวา เป็นตัวโตเต็มวัยของ นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ (Asian Glossy Starling) ลองมาดูกันว่า เราพบนกชนิดไหนกันบ้างที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เด่นๆ ก็มี นกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ เป็นนกที่ผมชอบมากชนิดหนึ่ง เพราะมีตาแดงเข้มปัด ขนลำตัวเหลือบเขียวเป็นมัน ขณะที่นกวัยอ่อน ที่ส่วนหัวและลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมดำ ลำตัวด้านล่างขาวหรือน้ำตาลอ่อน มีลายขีดหนาสีดำ เป็นนกประจำถิ่น พบได้เฉพาะภาคใต้ของประเทศเท่านั้น ถิ่นอาศัยก็ตามป่าชายหาด พื้นที่เกษตรกรรม ใกล้ชุมชนเมือง พบในพื้นที่ราบ เจ้านกเอี้ยงดำปักษ์ใต้ที่อช.อ่าวพังงา มีฝูงใหญ่หลายสิบตัวทีเดียว เรามักพบมันเกาะอยู่ที่ต้นหมาก เพื่อกินเนื้อลูกหมาก ต้องระมัดระวัง ไม่ไปรบกวนนกขณะกำลังกินอาหาร นกนางแอ่นท้องแดง (Rufous-bellied Swallow) นกนางแอ่นท้องแดง ขณะคาบขี้เลนไปซ่อมแซมรัง รังของ นกนางแอ่นท้องแดง (Rufous-bellied Swallow) บนท้องฟ้าเหนือป่าอนุรักษ์แห่งนี้ มีนกนางแอ่นอย่างน้อย 2 ชนิดบินฉวัดเฉวียนโฉลบเฉี่ยวไปมา ชนิดแรก คือ นกนางแอ่นท้องแดง (Rufous-bellied Swallow) นกชนิดนี้เดิมเป็นชนิดย่อย จนเมื่อ 3-4 ปีก่อน ถูก แยกออกมาจากชนิดหลัก นกนางแอ่นลาย ( Striated Swallow) อีกชนิดที่พบได้แก่ นกนางแอ่นแปซิฟิก (Pacific Swallow ) นกประจำถิ่นที่พบมากบริเวณใกล้ทะเลและตามเกาะนอกชายฝั่ง นกนางแอ่นแปซิฟิก (Pacific Swallow ) นกนางแอ่นแปซิฟิกมีลำตัวด้านบนสีน้ำเงินเข้มเหลือบสะท้อนแสง หน้าผากและคอสีส้ม ดูเผินๆคล้ายนกนางแอ่นบ้าน (Barn Swallow)ซึ่งเป็นนกอพยพ ต่างกันตรงที่นกนางแอ่นแปซิฟิกมีสีส้มที่หน้าผากลึกเข้าไปเกือบถึงกลางกระหม่อม ไม่มีแถบสีดำคาดอก เจ้านกหัวขวานเขียวคอเขียว (Streak-breasted Woodpecker) ตัวผู้ นกหัวขวานที่เราพบประจำในทริปนี้ และก็พบที่อช.อ่าวพังงาด้วย คงไม่พ้น เจ้านกหัวขวานเขียวคอเขียว (Streak-breasted Woodpecker) ตัวผู้กระหม่อมและท้ายทอยสีแดง ส่วนตัวเมียเป็นสีดำ หน้าตาคลับคล้ายคู่แฝดอย่าง นกหัวขวานเขียวป่าไผ่ ( Laced Woodpecker) แต่ชนิดหลังพบทางภาคกลาง เหนือ ตะวันตก ตะวันออก และอิ สานแถบริมโขง ไม่พบทางป่าภาคใต้ นกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated Sunbird) อีกชนิดที่พบแวะเวียนมาที่ต้นหมาก ก็คือ เจ้านกกินปลีคอสีน้ำตาล (Brown-throated Sunbird) ข้อมูลจากบล็อกเกอร์ plains-wanderer บอกว่า นกกินปลีคอสีน้ำตาลเป็นหนึ่งในนกไม่กี่ชนิดที่ปรับตัวให้อยู่ในป่าที่ถูกแผ้วถางได้ดี และมีแนวโน้มว่าน่าจะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในอดีตพบเฉพาะที่ราบภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ แต่ปัจจุบันพบได้ทุกภาค การปลูกมะพร้าวในหลายพื้นที่ก็อาจมีส่วนทำให้มันเพิ่มขึ้น เพราะมันโปรดปรานน้ำหวานมะพร้าวมาก หากเจอนกตัวเล็กๆหากินบริเวณดอกมะพร้าว ก็มักจะเป็นเจ้ากินปลีคอสีน้ำตาลนี่แหละครับ มันสามารถใช้ปากที่หนาและสั้น(เมื่อเทียบกับนกกินปลีชนิดอื่น)ง้างกลีบดอกเอื้องหมายนา เพื่อใช้ลิ้นยาวๆของ มันเลียกินน้ำหวานได้ด้วย นกขมิ้นหัวดำใหญ่ (Black-hooded Oriole) พบ 2 พ.ค. 2558 เราโชคดีพบ นกขมิ้นหัวดำใหญ่ (Black-hooded Oriole) ที่อุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาด้วย นกเกาะอยู่บนต้นไทรขนาดใหญ่ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมของป่าชายเลน นกขมิ้นหัวดำใหญ่ เป็นนกประจำถิ่น พบได้ตามป่าเต็งรังที่สมบูรณ์ ผมเองเจอเป็นประจำตามป่าเต็งรังของภาคตะวันตกที่ห้วยขาแข้งและทุ่งใหญ่นเรศวร นอกจากนั้น ยังสามารถพบอาศัยอยู่ในป่าชายเลน ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณ พบได้เกือบทั่วประเทศ ยกเว้นทางภาคใต้ ที่ไม่มีรายงานการพบมานานหลายปีแล้ว ป.ล.หลังจากโพสต์ภาพนกขมิ้นหัวดำใหญ่ที่อช.อ่าวพังงา Ingkayut Sa-ar เจ้าของเพจ ปักษิณนกถิ่นใต้ ให้ข้อมูลสำคัญมาว่า เป็นนกหายากของทางภาคใต้ ในภาคใต้ไม่เคยมีใครถ่ายรูปได้มาก่อน เคยมีหนังสือเล่มหนึ่งบันทึกว่า เรคคอร์ดทั้งหมดในภาคใต้ของไทยกับมาเลเซียรวมกัน มีไม่ถึง 50 เรคคอร์ด ในกระบี่ ไม่มีใครเคยเจอมาตั้งแต่ปี 1993 นกปรอดสีไพลใหญ่ (Olive-winged Bulbul) ไม่แน่ใจว่า เพื่อนร่วมทริปได้เห็นนกปรอดสีไพลใหญ่ ( Olive-winged Bulbul) เหมือนผมไหม นกปรอดสีไพลใหญ่นี่ มีหน้าตาคล้ายนกปรอดสวนที่สุด นอกจากทรวดทรง รูปพรรณสันธาน และขนาดลำตัวที่แทบไม่ต่างกัน แต่นกปรอดสีไพลใหญ่ มีตาสีแดงปากน้ำตาลเข้ม ปีกเขียวไพลแกมเหลืองสมชื่อของมัน เป็นนกที่พบ เฉพาะทางภาคใต้เช่นกัน การเดินดูนกรอบๆที่ทำการอช.อ่าวพังงา ต้องระมัดระวังตัวมากเป็นพิเศษ เนื่องจากพื้นที่อุทยาน มีท่าเรือนำนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังเกาะแก่งต่างๆ จึงมีรถโดยสารและรถนัก ท่องเที่ยวพลุกพล่านวิ่งผ่านเข้าภายในมิได้ขาด ทำให้ขาดอรรถรสเป็นอันมากเวลาเดินชมนกชมไม้ เป็นความรู้สึกส่วนตัวของผมนะครับ ไม่รู้ท่านอื่นคิดอย่างไรกันบ้าง แต่ที่เป็นความรู้สึกส่วนรวมแน่ๆก็คือ เทรลศึกษาธรรมชาติของอุทยานฯที่ผุพัง ก็ควรหางบประมาณมาซ่อมแซมได้แล้วครับ ให้นักท่องเที่ยวได้ใช้เทรลศึกษาธรรมชาติ เดินชมพื้นที่ ป่าชายเลนอันอุดมสมบูรณ์ของที่นี่ ตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอุทยานแห่งชาติ ด้วยเส้นทางที่ทอดยาวสู่จุดหมาย ปลายทางของนักเดินทางไม่ว่าถนนสายนั้น สั้นหรือยาว ตรงหรือคดเคี้ยวเพียงใด ก็ใช่ว่าจะเป็นเป้าหมายที่สมบูรณ์พร้อมเสร็จสรรพ เรื่่องราวที่เกิดขึ้นระหว่างการสัญจร ซุกซ่อนอยู่ริมทาง ทุกก้าวย่างที่ผ่านไป เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด เราอยู่ในโลกเต็มไปด้วยสิ่งสวยงาม มีเสน่ห์ ลึกลับ และมหัศจรรย์ # ตอนแรก ; ป่าชายเลนระนอง เสียงพลิ้วเพรียก...ของหัวใจ ---------------------- The House of the Rising Sun AylluRecords https://www.youtube.com/watch?v=qs2ZNj-5fDc |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |