*/
แมวดาว | ||
![]() |
||
แมวดาว |
||
View All ![]() |
กล้วยไม้กับเพลง นางฟ้าจำแลง | ||
![]() |
||
นางฟ้าจำแลง เพลงของสุนทราภรณ์ |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |
พระราชกรณียกิจทุกประการของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ล้วนทรงทำเพื่อคนไทย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อแก้ปัญหาปากท้อง เพื่อสร้างความสุขที่ยั่งยืน ไม่เพียงแต่เพื่อพสกนิกรของพระองค์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสัตว์ป่าที่ทรงรักและห่วงใย แม้กระทั่งต่างชาติเองยังชื่นชมในพระปรีชาญาณของ "ในหลวง รัชกาลที่ ๙ " นับเป็นความโชคดีของคนไทยที่มี "กษัตริย์" ผู้ซึ่งเป็น "ผู้นำ และ "พ่อ" อย่างแท้จริง เป็นที่ประจักษ์ชัดไปทั่วโลกว่า พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ มีมากมายหลากหลายเรื่องหลายโครงการด้วยกัน แต่มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ผมอ่านแล้วจำได้ไม่มีวันลืม... ครั้งที่ได้มีกระแสพระราชดำรัส เมื่อปี ๒๕๒๒ รับสั่งให้เจ้าหน้าที่ดูแลรักษาอย่าให้มีการลักลอบตัดไม้ ถางป่า ในพื้นที่ป่าต้นน้ำของแม่น้ำเพชรบุรี เพราะจะทำให้เกิดความแห้งแล้ง แม้จะได้มีการให้สัมปทานป่าแปลงนี้ไปบ้างแล้วก็ขอให้เจ้าหน้าที่ ตรวจดูแลการตัดไม้อย่างเข้มขึ้น อย่าให้เป็นการทำลายป่าเกิดขึ้น... โครงการหนึ่งซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือช้างป่า สัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทย ตามแนวพระราชดำริ... "ช้างป่าควรอยู่ในป่า" ต้นแบบแก้ปัญหาความขัดแย้ง "คนกับช้าง" เป็นโครงการที่มีจุดประสงค์ เพื่อให้ช้างสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ในป่าธรรมชาติ ซึ่งเป็นพื้นที่อาศัยดั้งเดิมของสัตว์ป่า ท่ามกลางปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า และการบุกรุกแหล่งที่อยู่อาศัยของสรรพสัตว์ป่า จนเป็นจุดกำเนิดของ "โครงการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่า" ในพื้นที่อช.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธุ์ กว่าจะมาถึงวันนี้ ที่หลายฝ่ายร่วมมือกัน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน องค์กรต่างๆ ผลักดันให้โครงการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อช.กุยบุรี ขับเคลื่อนไปอย่างมีประสิทธิภาพจนถูกยกย่องให้เป็น "กุยบุรีโมเดล" ต้นแบบการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า ที่ดีที่สุดของไทย สภาพพื้นที่โดยทั่วไปของอช.กุยบุรี เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน ทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยไม้เศรษฐกิจ เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ทว่าจากการบุกรุกถากถางเพื่อทำไร่ตลอดช่วงที่ผ่านมาในอดีต ทำให้บางส่วนของพื้นที่อช.กุยบุรี โดยเฉพาะแถบถิ่นริมชายป่า เต็มไปด้วยแปลงไร่สับปะรดผืนใหญ่ เมื่อไร่นาบุกประชิดพื้นที่ป่าอันที่เป็นอยู่อาศัยเดิมของสรรพสัตว์ป่า ปัญหาจึงเกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โขลงช้างป่าเดินหากินเข้าไปเจอไร่สับปะรดซึ่งเป็นถิ่นอาศัยเดิมของมัน ก็จัดการกินเป็นอาหาร คนเห็นช้างเข้ามากินพืชไร่ที่ลงแรงปลูกมากับมือ ก็พยายามหาทางป้องกันและขับไล่ช้างให้พ้นไป สุดท้าย...กลายเป็นเลือดตกยางออกทั้ง ๒ ฝ่าย ที่สูญเสียเลือดเนื้อส่วนใหญ่ก็เป็นสัตว์ป่า... จากกรณีนี้ ต้องย้อนเวลากลับไปในปี ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เมื่อมี ช้างป่าจำนวน ๒ ตัว เสียชีวิตลง เพราะได้รับสารพิษสารเคมี จากการทำแปลงไร่สับปะรด บริเวณพื้นที่บ้านรวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี และช้างป่าจำนวน ๑ ตัว ถูกยิงเสียชีวิตและถูกเผาทิ้งด้วยยางรถยนต์ บริเวณบ้านพุบอน ต.หาดขาม อ.กุยบุรี เนื่องจากช้างป่าเข้ามากินสับปะรดที่ชาวไร่ได้ปลูกไว้ จึงถูกฆ่าตายและมีการเผาไฟทำลายหลักฐาน เหตุการณ์ช้างป่าตายทั้ง ๒ กรณี สื่อต่าง ๆ ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ และหนังสือพิมพ์ ได้กระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวาง ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๔๐ ด้วยสายพระเนตรอันกว้างไกล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ กับแม่ทัพภาคที่ ๑ พลโทวินิจ กระจ่างสนธิ์ ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ให้ดำเนินการตรวจสอบสภาพพื้นที่ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชวินิจฉัยให้แก้ไขปัญหาในพื้นที่ดังกล่าว โดยใช้รูปแบบในการฟื้นฟู เช่นเดียวกับการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบุรี และโครงการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี หลังจากนั้น ด้วยความรัก และความห่วงใย ต่อสัตว์ป่า โดยเฉพาะช้างป่ากุยบุรี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริ เรื่องการอนุรักษ์และพื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรีอีกหลายครั้ง อาทิ @ วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๔๑ - ให้ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกโดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณไปได้มาก - ให้ปลูกสับปะรดที่คุณภาพไม่จำเป็นต้องดีนักสำหรับเป็นอาหารช้างโดยที่ลูกค้าของสับปะรดคือ ช้าง และเพื่อให้คนและช้างสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข ให้ชาวบ้านมาช่วยดูแลพืชอาหารช้างพร้อมทั้งให้ค่าตอบแทนเขาด้วย ถ้าชาวบ้านไม่มีที่พักให้จัดที่พัก อาศัยให้โดยไม่ต้องแพงนักและให้ปลูกผักสวนครัวในพื้นที่ด้วย - ให้สำรวจตรวจสอบพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะทำ ฝายชะลอน้ำ ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความเหมาะสมก็ดำเนินการได้เลย - ให้พัฒนาที่ดินโดยใช้หญ้าแฝก เพราะมีระบบรากยาว ช่วยอุ้มน้ำสร้างความชุ่มชื้นได้มากและจะพัฒนาดินด้วย - ถ้ามีฝนแล้งหรือเกิดน้ำท่วมก็พิจารณาหาแหล่งน้ำสัก ๑ จุด ซึ่งจะใช้น้ำมาเติม ฝายชะลอน้ำ ก็ได้ และเนื่องจากแม่น้ำกุยบุรีเป็นแม่น้ำสายสำคัญ ปัจจุบันมีปริมาณน้ำน้อยและตื้นเขินในฤดูแล้ง ควรมีการสร้างฝายหรือเขื่อนเก็บกักน้ำ รวมถึงการขุดลอก หรือหาแนวทาง แก้ไขโดยวิธีอื่น เพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรและการใช้สอยของราษฎรในบริเวณลุ่มน้ำดังกล่าว @ วันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ - เนื่องจากสัตว์ป่าอยู่ในพื้นที่จำนวนมากโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ในป่าลึก จึงควรมีการปลูกพืชเสริมเพื่อเป็นอาหารของสัตว์ป่า เช่น การปลูกอ้อย สับปะรด หรือพืชอื่น ๆ ที่เหมาะสมโดยทดลองนำพันธุ์พืชขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปโปรยในกลางป่าบริเวณต่าง ๆเพื่อให้เติบโตและ เป็นอาหารของสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะเป็นทฤษฎีใหม่อีกแบบ - ควรพิจารณาจัดหาแหล่งน้ำให้แก่พื้นที่โครงการและนำมาใช้ในการเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม @ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ - ช้างควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างให้เพียงพอการปฏิบัติ คือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย - กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างบ้าง @ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ - เมื่อช้างมีอาหารรับประทานก็จะไม่มารบกวนชาวบ้านและให้นำเมล็ดพันธุ์พืชไปโปรยเพิ่มเติมอีก เพื่อจะได้เป็นอาหารของช้างป่าใน ปีต่อไป @ เมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ - การปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารช้างตามที่ได้ดำเนินการปลูกตามรูปถ่ายที่ส่งให้ทอดพระเนตรนั้นจะไม่ค่อยได้ประโยชน์เพราะปลูกไม่ลึก เข้าไปในป่า ควรปลูกให้ลึกเข้าไปในป่ามาก ๆและปลูกให้กระจาย อย่าปลูกเพียงแห่งเดียว ให้ปลูกหลาย ๆ แห่งการโปรยหว่านทาง อากาศก็เช่นเดียวกัน ให้โปรยหว่านเข้าไปในป่าลึก ๆ และจัดชุดสำรวจด้วยว่าได้ผลหรือไม่ ต้องการให้ช้างหากินอยู่ในป่าลึก ๆก็ควร ทำในป่าลึก ๆ เข้าไป - การจัดทำ ฝายชะลอน้ำ ก็ควรทำในป่าลึกๆ เข้าไป - ทั้งการทำฝายชะลอน้ำ และการปลูกพืชให้ช้างไม่ควรใช้งบประมาณเป็นจำนวนมาก ให้ทหารที่มีหน้าที่ในการลาดตระเวนอยู่แล้ว นำพืชหรือเมล็ดพันธุ์พืชติดตัวไปด้วยและทำการปลูกในขณะลาดตระเวนเข้าไปในป่าลึก เพื่อสนองแนวพระราชดำรัส "คนกับช้าง" สามารถอยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๔๒ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน หน่วยงานราชการ และองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ ได้ริเริ่มกิจกรรมหลายโครงการ และอยู่ระหว่างดำเนินการอีกหลายโครงการ เพื่อสนับสนุนแนวพระราชดำริ "ช้างป่าควรอยู่กับป่า" ทั้งป้องกันการล่าสัตว์ป่า ตัดไม้ การบุกรุกแผ้วทางพื้นที่ป่าไม้ ปรับปรุงแหล่งอาหารและถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติกุยบุรีเป็นหนึ่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่วยงานให้ดำเนินการแก้ปัญหาข้อพิพาทระหว่าง "คนกับช้าง" ในรอยต่อพื้นที่ป่าธรรมชาติและพื้นที่เกษตรกรรม ช่วยกันผลักดันให้เป็น "โครงการต้นแบบเพื่ออนุรักษ์ช้างป่า แบบบูรณาการ" ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนจากทุกภาคส่วน บนฐานข้อมูลทุกมิติทั้งในและนอกประเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดการในระยะยาวอย่างเป็นระบบ สนองแนวพระราชดำริ "ช้างป่าควรอยู่ในป่า" สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่าง "คนกับช้างป่า" มีแนวโน้มว่า จะขยายตัวและมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การหามาตรการที่มีประสิทธิภาพในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว จึงเป็นความท้าทายที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการอนุรักษ์และการจัดการช้างป่าในปัจจุบัน จากรายงานของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช พบว่า มีปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นในพื้นที่อนุรักษ์อย่างน้อย ๒๐ แห่ง อาทิ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน และ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ เป็นต้น ดังนั้น การเพิ่มเติมแหล่งอาหาร (ทำโป่ง) ปรับปรุงถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า และปลูกป่าเสริมธรรมชาติ อันเป็นที่ช่วยจูงใจให้ช้างป่าเข้าอาศัยและหากินในป่าลึก และการเชื่อมต่อแนวเขตปลอดภัยในราชการทหารเข้ากับป่ากุยบุรี ต่อเนื่องถึงป่าใหญ่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จึงน่าจะเป็นวิธีการแก้ปัญหาสถานการณ์ "คนกับช้าง" ได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง "ช้างป่าควรอยู่ในป่า" เมื่อเกือบ ๒๐ ปีก่อน ได้กลายมาเป็นต้นแบบของโครงการอนุรักษ์ช้างป่าและสัตว์ป่าของไทย ภายใต้ชื่อ "โครงการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณป่าสงวนแห่งชาติป่ากุยบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" ถือเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริที่มีระบบจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลให้คนและสัตว์ป่าสามารถอาศัยอยู่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการและดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและส่งเสริมการประกอบอาชีพของราษฎรในพื้นที่โครงการ ดังความตอนหนึ่งในพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่า " …ช้างป่าควรอยู่ในป่า เพียงแต่ต้องทำให้ป่านั้นมีอาหารช้างเพียงพอ การปฏิบัติคือ ให้ไปสร้างอาหารในป่าเป็นแปลงเล็ก ๆ และกระจาย กรณีช้างออกมาที่ชายป่า ต้องให้ความปลอดภัยกับช้างป่า..." "…ช้างป่าเป็นสัตว์ที่พระเจ้าอยู่หัวทรงรัก ทรงห่วงใย พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เพลงพระราชนิพนธ์ "สายฝน" (Falling Rain)
ปัจจุบัน เครือข่ายองค์กรอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี (POWER – Kuiburi)
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |