*/
หัวโบราณ | ||
![]() |
||
เพลงเพราะๆ จาก Jack Johnson |
||
View All ![]() |
<< | ตุลาคม 2013 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
ปี ค.ศ.๑๙๔๒ กองบัญชาการในสมเด็จพระจักรพรรดิ ณ กรุงโตเกียวตัดสินใจว่า ควรสร้างทางรถไฟข้ามดินแดนส่วนหนึ่งของประเทศสยามและพม่า ด้วยจุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์ที่จะย่นเส้นทางคมนาคมระหว่างกองทัพญี่ปุ่นในอินเดียกับประเทศพม่า ทางรถไฟนี้สร้างโดยเชลยศึกสัมพันธมิตร ทั้งๆที่ตามสนธิสัญญาเจนีวา พวกเขาไม่ควรถูกเกณฑ์ให้สร้างทางรถไฟสายดังกล่าว ญี่ปุ่นมีเจตนาสำคัญคือ สร้างทางรถไฟให้เสร็จทันเวลา เพื่อใช้ต้านทานกองทัพสัมพันธมิตรมิให้รุกเข้าพม่าแม้ต้องสังเวยด้วยชีวิตและทุกขเวทนาเพียงใดก็ไม่มีผล เชลยศึกถูกบังคับเยี่ยงทาส ถูกโบยตี ทรมาน และเข่นฆ่าภายใต้เงื้อมมือผู้คุมชาวญี่ปุ่นและเกาหลี เพื่อให้ทางรถไฟเสร็จตามกำหนดเท่านั้น พวกเขาล้มตายดุจแมลงวัน ทั้งจากโรคภัยไข้เจ็บและขาดอาหาร เชลยฝ่ายสัมพันธมิตร ประมาณ ๖๐,๐๐๐ คน ถูกเกณฑ์ไปทำงานนี้ เสียชีวิตประมาณร้อยละ ๒๐ หรือประมาณ ๑๒,๓๙๙ คน และในส่วนของกุลีแรงงานพลเรือน ประมาณ ๗๐,๐๐๐ - ๙๐,๐๐๐ คนที่สังเวยชีวิตในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายนี้ อีกหลายพันคนต้องทุกข์ทรมานเนื่องจากผลของการกระทำอันโหดร้ายไปชั่วชีวิต คณะเสนาธิการทหารแห่งสมเด็จพระจักรพรรดิ ได้ทางรถไฟดังประสงค์บนความสูญเสีย ชีวิต และความทุกข์ทรมานของเพื่อนมนุษย์จนน่าใจหาย "ทางรถไฟสายมรณะ" ในแต่ละไมล์แลกมาด้วยชีวิตของเชลยฝ่ายสัมพันธมิตร ๖๔ คน และกุลี ๒๔๐ คน พวกเรายืนดู วิดิทัศน์ บอกเล่าเรื่องราวของการก่อสร้าง "ทางรถไฟสายมรณะ" ในพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด อย่างใจจดใจจ่อ ก่อนที่จะเดินดูสิ่งของเครื่องใช้ ในส่วนที่จัดแสดง ภายในพิพิธภัณฑ์ ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ "ช่องเขาขาด"
หลังจากพวกเราชมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายมรณะเรียบร้อยแล้ว ด้านล่างของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ คือของจริง พวกเราจึงไม่รีรอ ที่จะเดินลงบันไดที่สูงชัน ไปชมสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ทอดยาวบอกเล่าเรื่องราวบาดแผลของสงครามที่อยู่เบื่องล่าง
จากด้านหลังของพิพิธภัณฑ์มีบันไดเดินลงไปเส้นทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งมีการปรับแต่งพื้นที่เพื่อให้สามารถเดินชมได้สะดวกขึ้นตั้งแต่บริเวณช่องเขาขาดไปจนถึงสถานีหินตก เป็นทางรถไฟเดิมซึ่งบางช่วงยังเหลือร่องรอยของทางรถไฟ ไม้หมอน และเหล็กสกัดให้เห็น ส่วนบริเวณสะพานหินตกซึ่งสร้างหุบเหวลึกชันไม่เหลือร่องรอยให้เห็นแล้ว ในการก่อสร้างตัวสะพานพังลงมา ๓ ครั้ง กว่าจะสร้างสำเร็จ มีป้ายอธิบายเป็นระยะๆ การเดินไปกลับตลอดระยะใช้เวลาไม่เกิน ๔ ชม.๓๐ นาที แต่สามารถเลือกเดินระยะสั้น จากพิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ใช้เวลาราว ๑ ชม.๓๐ นาที ทางเดินโรยกรวดก้อนใหญ่แบบทางรถไฟทั่วไป สองข้างทางเป็นป่าไผ่และไม้ใหญ่ บรรยากาศร่มรื่น ควรใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าพื้นแข็ง และเตรียมน้ำดื่มไปเองเพราะตลอดทางไม่มีร้านค้าระหว่างทาง "ช่องเขาขาด" หรือ "ช่องไฟนรก" เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่ามีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึงต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่มในเดือนเมษายนปีพ.ศ. ๒๔๘๖ ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำหนดจึงมีช่วงที่เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำงานถึง ๑๘ ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วนใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำงานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง ๑๑ เมตร จนแทบไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำงานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วงเดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำและอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตามเกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำงานตอนกลางคืนด้วยแสงไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุมวูบวาบบนผนังทำให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hellfire Pass (ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย)
อนุสรณ์สถาน...ช่องเขาขาด สร้างอุทิศให้กับเชลยศึก และแรงงานชาวเอเชียที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสและเสียชีวิต ณ ช่องเขาขาดรวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒
ทางรถไฟไปยังพม่า ในเดือนธันวาคม ๒๔๘๔ สงครามเขตแปซิฟิก เริ่มจากการที่ญี่ปุ่น โจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ มลรัฐฮาวายของสหรัฐ และการรุกเข้าสู่มาเลเซียในกลางปี ๒๔๘๕ ทหารญี่ปุ่นดำเนินการสู้รบกับทหารอังกฤษในพม่า โดยมีวัตถุประสงค์สุดท้ายคือการรุกไปสู่อินเดีย แต่การดำรงกองทัพอยู่ในพม่าได้นั้น ญี่ปุ่นจำเป็นต้องใช้เส้นทางการส่งกำลังที่ปลอดภัยมากกว่าเส้นทางเดินเรือทางทะเลระหว่างสิงคโปร์กับย่างกุ้ง ซึ่งมีความล่อแหลมต่อการถูกโจมตี ดังนั้นญี่ปุ่นจึงตัดสินใจสร้างทางรถไฟซึ่งมีความยาวประมาณ ๔๑๕ กิโลเมตรผ่านป่าและภูเขาจากบ้านโป่ง ในประเทศไทย ไปยังตันบูชายัต ในประเทศพม่า
สันติภาพและสภาพในภายหลังสงคราม
หลังจากการก่อสร้างรางรถไฟสายนี้เสร็จสิ้นลง เชลยศึกบางส่วนถูกส่งไปยังสิงคโปร์แต่บางส่วนก็ยังถูกกักไว้ในประเทศไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ จบลง เชลยศึกถูกส่งกลับพร้อมการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม เชลยศึกจำนวนมากฟื้นตัวดีขึ้นอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามจากประสบการณ์ที่ได้พานพบเชลยศึกแทบทุกคนยังคงมีแผลในใจไปตลอดชีวิต เชลยศึกที่เสียชีวิตตามเส้นทางก่อสร้างรางรถไฟนั้น ได้รับการเก็บศพและนำไปทำพิธีฝังศพให้ใหม่ ณ สุสานสงครามเครือจักภพ (Commonwealth War Graves Commission Cemeteries) ที่ตันบูชายัต ประเทศพม่า สุสานช่องไก่และสุสานกาญจนบุรี ส่วนศพเชลยศึกชาวอเมริกันนั้นถูกส่งกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา
การท่องเที่ยว...ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก ถ้าจะเที่ยวให้สนุก ผมว่า ให้ศึกษาข้อมูลการก่อสร้างทางรถไฟสายมรณะแห่งนี้ ในพิพิธภัณฑ์ แห่งความทรงจำ ช่องเขาขาด ก่อน แล้วจะเดินชมและซึมซับบรรยากาศแห่งสงคราม ในอดีต อย่างได้อรรถรสครับ
ขอขอบพระคุณ...ภาพถ่ายบางส่วน จากพี่กอล์ฟ Talay Jai มากครับผม |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |