*/
มวลดอกไม้ | ||
![]() |
||
แม้ดอกหญ้าอันต่ำต้อย หากเก็บมาเรียงร้อยมีค่ามหาศาล |
||
View All ![]() |
<< | สิงหาคม 2007 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | |||
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
เสวนาการศึกษา เรื่อง "เด็กไทยได้อะไร..จากการประกันคุณภาพการศึกษา" 25 สิงหาคม 2550 ณ หอประชุมองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จัดโดย คณาจารย์และศิษย์ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขต กระบี่
ผช.ดร.รุ่ง เจนจิต เป็นผู้ดำเนินรายการเสวนา แนะนำวิทยากรหลัก ประกอบด้วย ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา ผอ.สพท.พังงา และ ผอ.สพท.กระบี่ โดยมีตัวแทนศิษย์เก่ารุ่นที่ 1 - 6 รุ่นละ 1 คน ผมได้เข้าร่วมในฐานะตัวแทนรุ่น 5 ดร.สุวัฒน์ เงินฉ่ำ ได้เปิดประเด็นการเสวนา 3 ประเด็น คือ 1. การประกันคุณภาพการศึกษา คือ อะไร ดร. สุวัฒน์ กล่าวว่า การประกันคุณภาพการศึกษา คือ การรับประกันว่าผู้เรียนจะต้องได้รับการการพัฒนาให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 2. ใครได้อะไรจากการประกันคุณภาพการศึกษา ประเด็นนี้ท่านทิ้งไว้ 3. การประกันคุณภาพกระทำอย่างไร ดร.สุวัฒน์ ให้ความเห็นเป็น 3 กรณี คือ 3.1 การพัฒนาคุณภาพตามมาตรฐาน 3.2 การกำกับติดตาม 3.3 การประเมิน ตัวแทน KU.3 ในฐานะผู้ร่วมเสวนา ถามว่า การปฏิรูปการศึกษา กับการประกันคุณภาพการศึกษาสัมพันธ์กันอย่างไร และเด็กได้อะไร ผอ.สพท.พังงา กล่าวโดยขยายความ ข้อ 2 ตามที่ ดร.สุวัฒน์ เปิดประเด็นว่า ตั้งแต่มี พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นับเวลาจนกระทั่งถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 ปี เยาวชนไม่ได้อะไร เพราะเพิ่งมาออกกฎกระทรวง เมื่อ พ.ศ.2546 จากการประเมินผลการประกันคุณภาพภายใน สพท.พังงา โรงเรียนยังขาดคุณภาพ และยังกล่าวอีกว่า การศึกษาภาคบังคับมีประโยชน์ ดั่ง บังคับให้จุดเทียนควรสว่างให้คุ้มค่าเทียน เพราะเด็กเป็นช่วงวัยการศึกษาครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อผ่านล่วงเลยวัยนี้ไป เขาจะมีโอกาสน้อยมากที่จะได้จุดเทียนส่องสว่าง แต่เมื่อจุดแล้วควรให้คุ้มค่าเทียน หมาย ถึง คุณภาพนั่นเอง ยังมีประเด็นสำคัญที่การประกันคุณภาพไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากนักเรียนออกกลางคัน หรือมาเรียนแต่ไม่มีความสุข เพราะบรรยากาศทั้งสถานที่ สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้ จึงเป็นปัญหาเชิงปริมาณ ส่วนปัญหาด้านคุณภาพ สะท้อนจากสังคมที่เด็กมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งไม่สัมพันธ์กับมาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาตรฐานที่ 6 ตัวแทน KU.1 ในฐานะผู้ร่วมเสวนาได้กล่าวถึง ทุนทางสังคม ว่า ประเทศไทยมีทุนทางสังคม ที่มีความแตกต่างจากชาติตะวันตก การนำการประกันคุณภาพ จากนิวซีแลนด์ มาใช้โดยไม่คำนึงถึงบริบทของประเทศไทยทำให้เกิดความอึดอัดต่อผู้ปฏิบัติ ส่งผลให้การรับการประเมินเป็นการจัดฉากเพื่อเอาใจผู้ประเมิน ดังนั้นจะประกันคุณภาพไปทำไม นายอรุณ ผอ.โรงเรียนหมู่บ้านป่าไม้พระราชประสงค์ อ.พระแสง ผู้เข้าร่วมเสวนา ได้ยกมือและขอแสดงความคิดเห็นพอสรุปได้ว่าว่า เห็นด้วยกับ ผอ.สพท.พังงา กล่าวคือ ผู้ประเมินมาดูเฉพาะเอกสารมากกว่าดูที่ตัวเด็ก ซึ่งมาตรฐานผู้เรียนมีถึง 8 มาตรฐาน จึงไม่อยากส่งส่ง SAR หรือแบบรายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา เนื่องจากผลสัมฤทธิ์ตกต่ำ การคิดวิเคราะห์ก็คนละมาตรฐานระหว่างผู้ประเมินกับสถานศึกษา และเมื่อเด็กออกกลางคันก็ไม่สามารถใช้ระเบียบบังคับหรือปรับผู้ปกครองตามที่กฎหมายกำหนด ดร.รุ่ง เจนจิต หันมาถามข้าพเจ้าว่า ว่าไง อุดมพร ฉิมดี (ในฐานะ ตัวแทน KU.5) เมื่อผมกล่าวเรียนวิทยากรและผู้ร่วมอภิปรายเสร็จ ก็บอกว่าขอเสริม ดร.สุวัฒน์ ในประเด็น ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้ความหมายไว้ว่า การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง การบริหารจัดการและการดำเนินกิจการตามภาระกิจของสถานศึกา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการ และโดยอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม แต่สถานศึกษาส่วนใหญ่เข้าใจว่า ประประกันคุณภาพเป็นการเพิ่มภาระ ไม่ใช่หน้าที่ หรือ งานปกติ เมื่อจะมีการประเมิน จึงไม่มีอันต้องสอนนักเรียน จัดสภาพแวดล้อม จัดทำเอกสาร ส่วนบางโรงเรียน มุ่งสอนเด็กจนไม่มีเอกสาร จึงสรุปได้ว่า โรงเรียนมี 2 ด. คือเด็ก กับ กระดาษ ซึ่งสองน่าจะสอดคล้องกัน โดยกระดาษควรเป็นผลมาจากเด็ก โรงเรียนที่ไม่ผ่านการประเมิน บางส่วนมีผลมาจากมุ่งเด็กแต่ไม่มีกระดาษ และโรงเรียนบางส่วนที่ผ่านในเกณฑ์ดี - ดีมาก ผลมาจากกระดาษดีแต่เด็กแย่ อย่างนี้แล้วเด็กจะได้อะไร โรงเรียนที่มุ่งเด็ก เปรียบเสมือนเดินบนหาดทราย เมื่อคลื่นสาดซัดร่องรอยก็หายไป ไม่เหลือ อย่างน้อยควรมีภาพถ่ายกิจกรรม ไว้เป็นหลักฐานการประเมินที่เป็นสภาพจริง ส่วนการที่สถานศึกษามองว่าการประกันคุณภาพเป็นการเพิ่มภาระนั้น ข้าพเจ้า กล่าวว่า จะต้องเริ่มที่วิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ที่มาจากบริบทของสถานศึกษาที่แท้จริง ผ่านการมีส่วนร่วมจากผู้เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ใช่กำหนดวิสัยทัศน์ว่า "กีฬาดี กีฬา เด่น เน้น กีฬา" ซึ่งสัมพันธ์เฉพาะมาตรฐานที่ 7,8 ควรกำหนดวิสัยทัศน์ให้ครอบคลุมถึงคุณภาพและมาตรฐาน และนำตัวบ่งชี้ ไปเป็นพันธกิจหรือกิจกรรม ในแผนงบประมาณประจำปี หรือนำไปบูรณาการกับ หลักสูตรสถานศึกษา แต่สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่ให้ความสำคัญและบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา พวกเป็นเพียง ตุ๊กตา ที่มีให้ครบตามกฎหมาย ผอ.โรงเรียนบางท่านยังเข้าใจบทบาทของตนเองในฐานะเลขานุการคณะกรรมการสถานศึกษาผิด มักทำหน้าที่เป็นประธานเสียเอง ปล่อยให้คณะกรรมการเป็นผู้รับฟังปัญหาและการบริหารจัดการสถานศึกษา หรือความสำเร็จของสถานศึกษา แทนที่จะได้มีบทบาทในฐานะผู้ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วม รับความภาคภูมิใจ จึงเป็นเหตุให้เมื่อโรงเรียน ทำงานผิดพลาดผู้ปกครองเขาต่อต้านได้แค่เพียงย้ายเด็กหนี แม้ว่าจะเพิ่มค่าใช้จ่ายเพิ่มก็ตาม ผลก็คือ โรงเรียนด้วยคุณภาพด้วยการบริหารแบบเดิมๆ โรงเรียนจึงมีขนาดเล็กลง อย่างในปัจจุบัน อีกประการหนึ่ง ครูไทยอ่อนภาษาสื่อสารที่เป็นภาษาเขียน ยิ่งเป็นราบงาน 5 บท ตามแบบรายงานปัจจุบัน ไม่ว่า SAR OUC แผนปฏิบัติราชการ 4 ปี ตลอดจนการรายงานเพื่อขอวิทยฐานะ ผู้บริหารหรือครู ขาดทักษะการรายงาน แม้ว่าหลายคนจบถึงขั้นมหาบัณฑิต ผลการวิจัยของข้าพเจ้าพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา ขาดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงซ้อน (อุดมพร ฉิมดี, 2549. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานีตามการรับรู้ของครู. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.) อาจมีผลสืบเนื่องมาจาก คนไทยเพิ่งมีภาษาเขียนดังเช่น ภาษาบาลี การสืบทอดความรู้ใช้วิธีเล่าสืบต่อกันมา จนกลายเป็นตำนาน พงศาวดาร หรือ นิทาน "ใครจำเก่ง ครูรักเป็นหนักหนา " ดร.รุ่งบอกว่า หมดเวลา (ให้คนละ 5 นาที) ผอ.สพท.กระบี่ กล่าวพอสรุปได้ว่า ผลการประเมินสะท้อนการทำหน้าที่ของโรงเรียน ผู้บริหารและครู กล่าวคือ มาตรฐานผู้เรียนไม่ได้คุณภาพ แต่มาตรฐานครูและผู้บริหารดีเยี่ยม ดังนั้นจึงควรตระหนักในหน้าที่ รวบรวมปัญหา ป้องกันความล้มเหลว และศึกษาบริบทโรงเรียนของตนเองให้ถ่องแท้ ควรกำหนดวิสัยทัศน์ โรงเรียนให้เกี่ยวเนื่องกับคุณภาพและมาตรฐาน เน้นความก้าวหน้า จากฐานของปีที่ผ่านมา ปลูกฝังคุณธรรมเด็กและจรรยาบรรณครู นายจรูญ พันธุ์อุไร รอง ผอ. จากอำเภอ เคียนซา ตัวแทน KU.4 แสดงความคิดเห็นว่า ความผิดพลาดจากการประเมินคุณภาพเรื่องนี้ เกี่ยวพันถึง สพท. สพฐ. จะต้องร่วมรับผิดชอบ ประชาชนควรฟ้องศาลปกครอง ถ้าศาลปกครองไม่รับฟ้อง จะฟ้องศาลไคฟง (ประชด) ตัวแทน KU.1 ศน. สพท.กระบี่ ได้ฝากถึงแนวทางแก้ไขมาตรฐานการศึกษาไปยัง สมศ. ถึงปัญหาการประเมินภายนอก ในฐานะตนเองเคยผ่านการเป็นผู้ประเมินภายนอกมาก่อน ขณะที่นั่งฟัง ตังแทน KU.1 เล่าประสบการณ์โรงเรียนของตนที่เป็นโรงเรียนต้นแบบอยู่นั้น ข้าพเจ้า ได้คิดไปด้วยว่า โรงเรียนควรมีคัมภีร์ อย่างน้อย 3 เล่ม คือ หลักสูตรสถานศึกษา แผนปฏิบัติราชการ 4 ปีที่สามารถนำไปทำแผนประจำปี และแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาที่ผ่านการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสีย เมื่อเขาพูดจบ ผู้ดำเนินการเสวนา ได้ สรุป ความหมาย การประกันคุณภาพไว้ 3 แนวทาง คือ 1. คุณภาพตามมาตรฐาน ( ข้าพเจ้าคิดว่า โรงเรียนจะต้อง พัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้ได้มาตรฐาน ทั้ง 18 มาตรฐาน โดยมีระดับ คุณภาพ ดี - ดีมาก ) 2. คุณภาพตามข้อตกลงระหว่างคู่กรณี ( ข้าพเจ้าตีความว่า เป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการระหว่างหน่วยปฏิบัติกับเจ้าของงบประมาณ) 3. คุณภาพตามความคาดหวังของผู้รับบริการ (ข้าพเจ้า เข้าใจว่า คงเป็น ระดับความพึงพอใจของของผู้รับบริการ ที่แสดงออกด้วยวาจา ผ่านกระบวนการวิจัย หรือแสดงออกโดยพฤติกรรมยอมรับหรือต่อต้าน) ผอ.สพท.พังงา ได้แสดงความคิดเห็น อีกครั้งหนึ่งพอสรุปได้ว่า เด็กเก่งในประเทศไทยมีแค่บางส่วน ที่ไปได้รับรางวัลระดับโลก เด้กกลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนมากมาย ที่มีปัญหาและมีจำนวนมาก คือ เด็กด้อยโอกาส และอีกจำนวนหนึ่ง คือ เด็กพิการ ที่รับรอง โดยรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 49 เมื่อดูความก้าวหน้า ค่าเฉลี่ยมูลรวม มีความก้าวขึ้นทุกปี จนเกือบ แตะ เพดาน 3.00 จาก เต็ม 4 ซึ่งสวนทางกับ การประเมิน ของสมศ. เขาได้กล่าวต่ออีกว่า กระบวนการพัฒนาคุณภาพ 8 ขั้นตอน มุ่งสู่ผลผลิตที่มีคุณภาพ (ขั้นตอนการปฏิรูปการศึกษา) โดยเริ่มจาก โครงสร้าง สารสนเทศ การกระจายอำนาจ การประเมินภายในและภายนอก การงบประมาณ ฯลฯ แต่สพท.ส่วนใหญ่ไม่ทบทวนคุณภาพการจัดการศึกษาของตนเอง อีกทั้งเมื่อได้งบประมาณมาพยายามหาทางว่าจะใช้อย่างไรให้หมด โดยเฉพาะ เดือน สิงหาคม และกันยายน เป็นปลายปีงบประมาณ ยังเป็นการใช้งบประมาณสนองเจ้านาย ระบบการตรวจสอบและการนำผลไปปรับปรุงจึงไม่เกิด แม้แต่ผลการประเมินของ สมศ.และเขาได้ให้ข้อเสนอแนะเอาไว้ โรงเรียนยังไม่ได้นำไปเข้าแผนพัฒนาในปีถัดไป ทั้งนี้ไม่รวมสารสนเทศและบริบทอื่นๆ ผอ.สพท.พังงา กล่าวต่อว่า เงินอุดหนุนรายหัวที่โรงเรียนได้รับจัดสรร ยังใช้ไม่เป็นระบบ นายปารถนา แมนเมือง ศิษย์เก่าที่เข้าร่วมรับฟังการเสวนา ยกมือ และแสดงความคิดเห็นว่า การประกันคุณภาพ เป็นไปอยู่แล้ว โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ใครที่ไม่สามารถเรียนได้ ก็มีอาชีพอื่นรองรับ เช่น กรีดยาง กรรมกร ส่วนคนที่เรียนได้ก็เรียนไปตามความสามารถ ไม่ควรแต่งตัวเลข เป็นผักชีโรยหน้า คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับสถานศึกษาและชุมชน อย่าเป็นไปตามกระแสนักการเมือง แต่ข้าพเจ้าคิดว่า นิสัยคนไทย ใครมาเรือนชาน ต้องต้อนรับ เหล้ายา ปลาปิ้ง ปัดกวาดบ้านให้สะอาด แม้มีผู้เสวนาบางท่านเสนอให้ยุบ สมศ. แต่ข้าพเจ้าคิดว่า การประเมินระหว่างภายในและภายนอกเป็นการถ่วงดุลซึ่งกันและกัน สอดคล้อง ดร.รุ่ง ตอนสรุป ก่อนจบการเสวนา ท่าน ผอ.สพท.กระบี่ ได้สรุปแนวทางการพัฒนาคุณภาพครู ไว้พอสังเขปว่า การที่ครูขอกำหนดตำแหน่งเพื่อเลื่อนวิทยฐานะในขณะนี้นั้น มี 100 กว่า คน ในสพท.กระบี่ แต่เปิดโอกาศให้แสดง นวัตกรรม มีผู้มาแสดง ไม่ถึง 10 คน แสดงให้เห็นว่า คุณภาพของครู ไม่น่าพึงพอใจ อาจส่งผลต่อการประเมินวิทยฐานะได้เช่นกัน 17.00 น . ผู้ดำเนินการอภิปราย ได้ปิดการเสวนา นิสิต KU.รุ่น 7และ8 เจ้าภาพ เรียนเชิญ อ.บรรเทา กิตติศักดิ์ หัวหน้าโครงการปริญญาโท วิทยาเขต กระบี่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบของที่ระลึก แก่ผู้เข้าร่วมอภิปราย ต่อจากนั้น เป็นการเลี่ยงสังสรรค์ ศิษย์ใหม่และเก่า ในชื่อว่า "Home Coming Day" กลางคืน ได้มอบโล่ห๋เกียรติยศ นิสิตและศิษย์เก่าดีเด่นทั้ง 8 รุ่น ตามลำดับ..............
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |