อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์ การประเมินคุณค่าของโครงการภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ไม่ใช่อยู่ที่ผลผลิตที่เกิดจากการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นผลงานเชิงประจักษ์ทางกายภาพ เพราะสิ่งนี้ยังไม่ใช่ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ หากแต่ต้องประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดจากผลงานของโครงการ ซึ่งมักจะเกิดภายหลังจากสิ้นสุดโครงการไปแล้ว จึงมักปรากฏว่าไม่มีการดำเนินงานในส่วนของการค้นหาและพิสูจน์ผลลัพธ์ เพราะใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจจึงเน้นการลุยจัดทำโครงการไปข้างหน้า มากกว่าจะมองย้อนหลังไปดูว่าผลงานที่ดำเนินงานไปแล้วเกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายและความคาดหวังหรือไม่ ผลลัพธ์และผลกระทบคืออะไร ผลลัพธ์และผลกระทบในเบื้องต้นก็คือ การที่พิจารณาว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร หากไม่มีการดำเนินโครงการนั้น ๆ หรืออาจจะมองว่าโครงการ/กิจกรรมได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดเกิดขึ้น แต่การพิจารณาผลลัพธ์และผลกระทบในเบื้องต้นอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะยังมีประเด็นอีกหลายประเด็นที่ควรพิจารณาและคำนึงถึง เพราะผลลัพธ์และผลกระทบทั้ง ทางบวกและทางลบ และทั้งทีอยู่ในแผนและอยู่นอกแผน(ความคาดหมาย) นอกจากนั้น ผลลัพธ์และผลกระทบอาจจะเป็นผลที่มาจากการดำเนินงานหลายปี หรือเป็นส่วนหนึ่งของสถานการณ์ ซึ่งอาจจะยากที่จะพิสูจน์ว่าเป็นผลลัพธ์ที่มาจากการดำเนินโครงการ โดยปกติ ผลกระทบมักจะเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ เนื่องจากจะมีกระบวนการที่กิจการใช้ทรัพยากร ได้แก่ บุคลากร เวลา เงิน สินทรัพย์ ชื่อเสียง เพื่อให้เกิดอย่างใดอย่างหนึ่งที่เรียกว่าผลผลิตซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงประจักษ์ในพฤติกรรมเกิดการใช้ประโยชน์ที่เรียกว่า ผลลัพธ์ ผลลัพธ์อาจจะอธิบายได้ว่า เป็นสิ่งที่วัดได้ง่าย(ฮาร์ด) หรือเป็นสิ่งที่วัดได้ยาก(ซอฟท์) เป็นผลต่อขยายจากการเกิดผลผลิตของโครงการ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์และผลกระทบแล้วคนส่วนใหญ่มักสนใจผลลัพธ์มากกว่าผลกระทบ เหตุผลที่ต้องสนใจผลกระทบ ผลกระทบ(Impact) มักจะเป็นสิ่งที่เป็นความแตกต่างอันเนื่องจากผลการดำเนินโครงการ ซึ่งผู้มีส่วนได้เสียมักจะให้ความสนใจ ซึ่งได้แก่ (1) ผู้ใช้บริการ/ลูกค้า/พนักงาน ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องต่างต้องการเห็น สิ่งที่ดี จากการดำเนินโครงการ (2) ผู้ให้เงินงบประมาณดำเนินโครงการ ต้องการเห็นว่า ผลการใช้งบประมาณสร้างความแตกต่างอย่างไรบ้าง (3) ชุมชน ประชาสังคมที่ต้องการดูว่าโครงการ/กิจการ ได้สร้างผลงานทางบวกอย่างไร ความเชื่อมโยงของผลกระทบต่อกิจกรรมและแผน การที่จะวัดผลลัพธ์และผลกระทบได้ จะต้องค้นหาดัชนีชี้วัดที่ดี (Good Indicator) ของสิ่งที่คิดว่าได้ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลง ที่เปรียบเทียบกันได้ วัดได้ สถิติที่จัดเก็บโดยหน่วยงานภาครัฐ มักจะได้รับการยอมรับว่าเป็นดัชนีชี้วัดที่ดี และจัดเก็บโดยหน่วยงานอิสระ ไม่ได้มาจากอิทธิพลกดดันของใคร แต่การจัดทำการสำรวจเองก็อาจจะทำให้ได้ข้อมูลที่แสดงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน หากสามารถแสดงการเปรียบเทียบได้ โดยใช้แนวคิดเดียวกัน และประเด็นคำถามเหมือนกัน ประเด็นสำคัญ อยู่ที่ว่าจะบอกได้อย่างไรว่าผลลัพธ์และผลกระทบนั้น ๆ มาจากผลการดำเนินงานโครงการ เพราะอาจจะมีโครงการอื่นหรือองค์กรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมาย และเป็นเรื่องยากที่จะแยกให้เห็นชัดว่าผลของความเปลี่ยนแปลงที่เกิดมาจากผลงานของใครบ้าง และยังอาจจะต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลบ่งชี้หลายปี การชี้ชัดเกี่ยวกับบริบทของผลลัพธ์และผลกระทบจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่ง การพิจารณาผลลัพธ์และผลกระทบอาจจะทำได้ด้วยการพยายามแยกออกมาเป็นต้นทุน-ผลประโยชน์(Costs and Benefits) ของการพยายามวัดค่าของผลลัพธ์และผลกระทบ ตัวอย่างของต้นทุนที่อาจจะเกิดขึ้น (1) การสำรวจลูกค้า พนักงาน ผู้ดำมีส่วนได้เสีย มีต้นทุนด้านเวลาและเงินงบประมาณดำเนินการ (2) การประชุมหารือเพื่อหาข้อยุติในการวางแผนและการดำเนินงาน เพื่อเตรียมการในประเด็นที่จะต้องพิจารณา การสำรวจหาผลลัพธ์และผลกระทบเป็นกระบวนการที่ใช้เวลาและอาจจะยาวนาน และอาจจะรวมไปถึงการทบทวนแผนธุรกิจหรือแผนกลยุทธ์ (3) ระบบการติดตามและกำกับโครงการในรูปแบบใหม่อาจจะจำเป็นต้องพัฒนาขึ้น และต้องใช้เวลาในการพัฒนา และเมื่อพัฒนาได้แล้ว บุคลากรจะต้องทำความคุ้นเคย ความเข้าใจเพื่อจะใช้งานได้ รวมทั้งต้องการการฝึกอบรม (4) อาจจะต้องพิจารณาข้อมูลที่ได้มา สอบทานคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล การจัดทำรายงาน การจัดเก็บฐานข้อมูล ซึ่งล้วนแต่มีต้นทุนในการดำเนินงาน ส่วนประโยชน์ที่เกิดจากการวัดผลลัพธ์และผลกระทบก็ได้แก่ (1) กิจการจะสามารถเพิ่มความมุ่งเน้นเพ่อนำไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบที่ควรจะเป็น ซึ่งจะให้ข้อมูลประกอบการวางแผนกลยุทธ์ได้ดีขึ้น (2) ผลกระทบทางลบควรจะนำมาพิจารณาและคำนึงถึงอย่างมีธรรมาภิบาลมากกว่าพยายามปกปิดและละเลย (3) ข้อมูลที่ได่จากการวัดผลลัพธ์และผลกระทบ จะช่วยให้เกิดมุมมองและความเข้าใจในส่วนที่เป็นผลต่อสังคม ประชาคม ที่นอกเหนือจากพันธกิจและบทบาทขององค์กรตัวเองแต่เพียงด้านเดียว (4) สามารถใช้ข้อมูลที่ได้ในการสนับสนุนเพื่อของบประมาณได้ดีขึ้น แนวคิดในการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ แนวคิดที่อาจจะนำมาใช้ในการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบอาจจะมีหลายแนวทาง เนื่องจากความแตกต่างของโครงการและส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของโครงการ และขึ้นกับ (1) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในแต่ละโครงการ (2) ทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง (3) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนั้น ผลที่ได้จากการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบอาจจะนำมาวิเคราะห์ได้ 2 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 พิจารณาในลักษณะของโครงการเดียวที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการอื่น แนวทางที่ 2 พิจารณาโดยเปรียบเทียบกับโครงการใกล้เคียงกันเพื่อหา Benchmark เครื่องมือในการวัดผลลัพธ์และผลกระทบ แนวคิดที่อาจจะนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์และผลกระทบที่ตีพิมพ์โดย The New Economics Foundation มีหลายวิธี ได้แก่ (1) ดัชนีชี้วัดผลประกอบการทางสังคมและสภาพแวดล้อม เป็นดัชนีที่เชื่อมโยงกับหลักการของสหกรณ์ (co-operative principles) (2) Eco-Mapping เป็นระบบที่ช่วยให้กิจการสามารถพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ (3) Global Reporting Initiative เป็นระบบที่รายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม (4) Local Multiplier 3 เป็นเครื่องมือที่ใช้ประมาณการผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับชุมชนจากการดำเนินโครงการ (5) Prove it! เป็นเครื่องมือที่แสดงผลกระทบของโครงการต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน (6) Results Based Accountability หรือ Outcomes Based Accountability เป็นกรอบแนวทางในการเชื่อมโยงผลลัพธ์ของโครงการดัชนีชี้วัดประชากรในด้านความจำเป็นทางสังคม (7) Social Accounting and Audit เป็นระบบของการรายงานผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมของโครงการ (8) Social Enterprise Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางการเงิน สังคม และสภาพแวดล้อม (9) Social Return on Investment (SROI) เป็นเครื่องมือวัดผลลัพธ์ที่ใช้แนวคิดของ Cost-Benefit Approach ที่ขยายความออกไปสู่ผลกระทบทางสังคม สภาพแวดล้อมและทางเศรษฐศาสตร์ เพิ่มเติมจากผลตอบแทนทางสังคม (10) Social Value Tookkit เป็นการวัดมูลค่าเพิ่มและเปรียบเทียบกับของการให้บริการ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | สิงหาคม 2011 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 | 31 |