อาจารย์จิรพร สุเมธีประสิทธิ์
การทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ Corporate Social Responsibility ตามแนวทางบริหารกิจการสมัยใหม่ ไม่ได้มาจากความตั้งใจของกิจการเป็นหลักอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นเรื่องที่มีอิทธิพลมาจากพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองที่เป็นอยู่ในระดับโลกและในระดับพื้นที่ จนส่งผลให้แต่ละกิจการต้องหันมาทบทวนโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์การดำเนินงานของกิจการ เพื่อให้มั่นใจว่า CSR ของกิจการได้พิจารณาอย่างรอบคอบเกี่ยวกับผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม แนวโน้มในอนาคตทำให้เชื่อว่าภาคประชาสังคมมีความคาดหวังว่า (1) กิจการจะมีส่วนในการช่วยดูแล รักษา เยียวยาอนุรักษ์สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง และเน้นผลในเชิงประจักษ์ (2) ผู้บริโภค พนักงานกิจการ กิจการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ภาครัฐจะมีพฤติกรรมในทางบวกและส่งเสริมกิจการในการดำเนินการ CSR พัฒนาดังกล่าวได้ทำให้กิจการต้องยอมรับว่าบทบาทและกิจกรรม CSR ของตนต้องขยายวงกว้างออกไป ไม่ใช่เพื่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการ หากแต่เพื่อสังคมโดยรวมอย่างแท้จริง เพียงแต่บางกิจการสามารถแสวงหาประโยชน์หรือเพิ่มความได้เปรียบในการที่ทำกิจกรรม CSR ตามแนวโน้มดังกล่าวได้อย่างเพียงพอ และมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน แนวโน้มในอนาคตของความคาดหวังต่อการทำกิจกรรมCSR ของกิจการมีประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ประการที่ 1 มาตรฐาน CSR ในระดับสากลมีแนวโน้มที่จะขยับเข้ามาใกล้เคียงกันมากขึ้น ภายหลังจากสภาองค์การ ISO ได้ออกโรงศึกษาและประกาศใช้ ISO 26000 : Social Responsibility ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนเกี่ยวกับแนวโน้มของการที่ทั่วโลกจะอยู่บนมาตรฐานของกิจกรรม CSR ได้ แนวทางปฏิบัติที่เป็นกิจกรรม CSR จึงมีแนวโน้มที่จะใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดใหญ่ กลาง หรือแม้แต่ขนาดเล็ก ประการที่ 2 กิจกรรม CSR มีแนวโน้มจะเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ระดับองค์กรมากขึ้น แต่เดิมกิจกรรม CSR ของหลายกิจการอาจจะเป็นการกำหนดแผนงานจรขึ้นมาเพื่อทำกิจกรรม CSR บางอย่างในแต่ละปีเป็นเรื่องๆ ไป แต่เนื่องจากความสำคัญของ CSR ต่อความยั่งยืนของกิจการในระยะยาว ทำให้กิจการต้องใช้มุมมองใหม่กับ CSR และวางกิจกรรม CSR ไว้ในระดับกลยุทธ์ขององค์กรที่เป้นภาระผูกพันและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่เรื่องของกิจกรรมชั่วครั้งชั่วคราวอีกต่อไป เมื่อ CSR เป็นเรื่องของกลยุทธ์ระดับองค์กร กิจการจึงต้องกำหนดโอกาสทางธุรกิจและโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมจะแทรกกิจกรรม CSR ของกิจการให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหมาะสม ประการที่ 3 กิจกรรม CSR ได้เปลี่ยนวัตถุประสงค์การดำเนินงานจากกิจกรรมหรือความสนใจเสริมเป็นพิเศษสู่กิจกรรมที่เป็นหัวใจหลักของการดำเนินกิจการทุกประเภท และถูกจัดลำดับความสำคัญอยู่ในระดับสูงลำดับต้นๆ ที่มีการกำหนดวงเงินงบประมาณและได้รับการจัดสรรทรัพยากร เวลา บุคลากรมาดำเนินกิจกรรม CSR อย่างชัดเจน ประการที่ 4 การบริหารต้นทุนของการทำกิจกรรม CSR เป็นแนวทางบริหารจัดการเกิดใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาและแยกเป็นการบริหารแนวใหม่ที่เรียกว่า “การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์” หรือ Strategic Cost Management แนวคิดหลักของการบริหารต้นทุนของการทำกิจกรรม CSR คือ หากแทรกกิจกรรม CSR ในกระบวนงาน ภาระงาน และการดำเนินธุรกรรมตามปกติของกิจการได้ ไม่ต้องแยกกิจกรรมออกมาต่างหากและต้องเกิดต้นทุนการดำเนินงานเพิ่มเติม กิจการก็จะสามารถประหยัดต้นทุนของการทำ CSR ได้ ในการดำเนินการบริหารต้นทุนส่วนนี้จะเปลี่ยนจากการเรียก CSR เฉยๆไปเป็น Strategic CSR แทนและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือการสร้างแบรนด์และมูลค่าของกิจการในระยะยาว นอกจากนั้น นอกจากนั้น Strategic CSRได้เพิ่มเป้าหมายของการดำเนินงานออกไปสู่ลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายภายนอกที่อาจจะเป็น (1) ผู้บริโภค (2) ผู้ประกอบการอื่นในห่วงโซ่อุปทาน (3) ผู้ด้อยโอกาส ตกทุกข์ได้ยาก กลุ่มที่ไร้ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ตามลำพัง นอกจากนั้น การบริหารต้นทุนยังขยายไปสู่การบริหารความคุ้มค่าของการลงทุนในกิจกรรม CSR ด้วย ซึ่งทำให้กิจกรรม CSR ต้องกำหนดเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์ของการดำเนินงานให้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการดำเนินกิจกรรม CSR โดยต้องกำหนดเงื่อนไขและเกณฑ์ในการวัดผลการดำเนินงานของ CSR ว่าจะวัดผลลัพธ์ที่เกิดอย่างไร เพื่อที่จะได้รู้ว่าต้นทุนที่ใช้ไปกับกิจกรรมCSRมีผลที่คุ้มค่ามากน้อยเพียงใด วิธีการวัดผลการทำกิจกรรม CSR อาจจะเป็นการวัด (1) ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (2) ผลตอบแทนทางสังคม (3) ผลตอบแทนทางด้านสิ่งแวดล้อม (4) ผลตอบแทนด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการ ประการที่ 5 การทำกิจกรรม CSR ยังมีโอกาสที่จะสร้างนวัตกรรมได้อีก นวัตกรรมของกิจกรรมCSRที่เห็นได้ชัดเจนมากขึ้นในตอนนี้คือคำว่า “ความยั่งยืน” หรือ Sustainability ซึ่งเน้นกิจกรรม CSR ที่ไม่ใช่เรื่องฉาบฉวย ซึ่งอาจจะครอบคลุมถึง (1) กระบวนการจัดหาวัตถุดิบ ปัจจัยนำเข้าสู่กิจการ (2) กระบวนการผลิตหรือแปรรูป (3) กระบวนการกำจัดขยะที่เกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการที่ส่งมอบ (4) กระบวนการนำขยะ ของสูญเปล่าจากกิจการมาสร้างเป็นผลผลิตใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้การทำกิจกรรม CSR อย่างมีนวัตกรรมจำเป็นต้องอาศัยตัวขับเคลื่อนสำคัญคือ (1) ความเป็น Learning Organization (2) โครงสร้างองค์กรหรือ Organizational Structure (3) องค์ประกอบทางสังคมที่เกี่ยวข้อง (4) ปรัชญาในการดำเนินงานอย่างมีจริยธรรมของกิจการ (5) สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่เป็นสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ไม่เกิดภัยพิบัติ วิกฤติการณ์จนกระทบต่อการดำเนินงานโดยรวม ทำให้การดำเนินงานยังอยู่ในภาวะปกติ
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
<< | สิงหาคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | ||||||
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 |