การป้องกัน COVID-19 ด้วยยารับประทาน นอกเหนือจากการฉีดวัคซีน ตอนที่ 1
วัคซีนโควิดทุกชนิด ทุกยี่ห้อ ทุกประเทศ ต้องฉีด 2 ครั้ง
1.การฉีดวัคซีนเข็มแรก เป็นการทำให้ร่างกายเห็นแอนติเจนเป้าหมายครั้งแรก ซึ่งคือโปรตีนสไปค์ของไวรัสโควิด ร่างกายจะเริ่มสร้างแอนติบอดีต่อแอนติเจนนั้น โดยเซลล์ที่เรียกว่า B cell แต่จะสร้างแอนติบอดีได้ปริมาณไม่มาก ประสิทธิภาพในการทำงานไม่ดี
2.การได้รับวัคซีนเพียงเข็มเดียว จะเป็นการสร้างแอนติบอดีแบบอ่อนๆ ให้กับร่างกายจับกับไวรัสได้แบบไม่แน่น ไวรัสสามารถหลีกหนีกระบวนการทำงานของแอนติบอดีได้ง่าย มีความเป็นไปได้สูงว่าไวรัสจะเปลี่ยนแปลงตัวเองหนีภูมิดังกล่าวออกไป จนกลายเป็นสายพันธุ์ที่แอนติบอดีจับไม่ได้อีกต่อไป แม้แต่แอนติบอดีที่จะเพิ่มความสามารถในการจับด้วยการฉีดเข็มซ้ำแล้วก็ตาม
3.ถ้าร่างกายได้รับเข็มที่สอง หรือเข็มที่สาม จะถูกกระตุ้นซ้ำ ทำให้สร้างแอนติบอดีออกมามากขึ้น ที่สำคัญความสามารถในการจับกับแอนติเจน หรือตัวไวรัส จะแน่นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อยู่ในระดับ 100-1,000 เท่า โดยทางวิชาการเรียกกระบวนการนี้ว่า “Affinity maturation” ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญ ช่วยให้แอนติบอดีที่กระตุ้นด้วยวัคซีนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4.คิดง่ายๆ ว่า วัคซีนคล้ายๆ กับยาปฏิชีวนะ ถ้าจะใช้ต้องกินให้ครบ มิฉะนั้นเสี่ยงได้เชื้อดื้อยาได้ ถ้าใครได้ฉีดแล้วต้องมั่นใจว่าต้องได้เข็มที่สอง
"ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา" ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ไทยรัฐออนไลน์ 3 ม.ค. 2564 19:01 น. https://www.thairath.co.th/news/local/bangkok/2005665

วัคซีนโควิด 2 ชนิดที่สธ.เตรียมนำเข้ามาฉีดให้คนไทย เป็นวัคซีนชนิดที่สามารถเก็บไว้ในตู้เย็นมาตรฐานที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียส มีประโยชน์มากสำหรับประเทศกำลังพัฒนาซึ่งอาจไม่สามารถเก็บวัคซีนจำนวนมากในอุณหภูมิที่ต่ำเช่น วัคซีนของ Moderna ต้องเก็บไว้ที่ - 20 C และวัคซีนของ Pfizer ที่ - 70 C คือ

1. CoronaVac ของบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ประเทศจีน • เป็นวัคซีนแบบดั้งเดิมคือ Inactivated vaccine จากเชื้อตาย เป็นวัคซีนที่ทำงานโดยใช้อนุภาคของไวรัสที่ถูกฆ่า เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสัมผัสกับไวรัสโดยไม่เสี่ยงต่อการตอบสนองของโรคร้ายแรง • สธ.จะนำวัคซีน 2 แสนโดส เข้ามาไทยในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้อย่างแน่นอน ปลายเดือนมีนาคม อีก 8 แสนโดส และปลายเดือนเมษายน อีก 1 ล้านโดส รวมทั้งหมดเป็น 2 ล้านโดส
ที่มา MATICHON ONLINE https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_2511665 วันที่ 3 มกราคม 2564 - 17:11 น.
ประสิทธิภาพของวัคซีน
การทดลองขั้นปลายในประเทศตุรกี แสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนมีประสิทธิภาพที่ 91.25% • Sinopharm ประกาศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 ว่าเฟสสามการทดลองวัคซีนแสดงให้เห็นว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพ 79% • https://www.bbc.com/news/world-asia-china-55498197 • สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อนุมัติวัคซีน Sinopharm เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมากล่าวว่าวัคซีนนี้ได้ผล 86% ตามผลการทดลองระยะที่สาม • นักวิจัยบราซิล ชี้วัคซีนโควิดจากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ของจีนมีประสิทธิภาพสูงกว่า 50% • แต่ซิโนแวคกลับเรียกร้องให้ระงับการเปิดเผยผลการทดลองทั้งหมดอีกครั้ง ซึ่งส่งผลให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของการทดลอง
ที่มา BBC NEWS โควิด: เรารู้อะไรบ้างเกี่ยวกับวัคซีนโคโรนาไวรัสของจีน https://www.bbc.com/news/world-asia-china-55212787 เผยแพร่ 30 ธันวาคม 2020
2. AZD1222 ของบริษัทแอสตราเซเนกาออกซ์ฟอร์ด (AstraZeneca-Oxford) ประเทศอังกฤษ
• ใช้ไวรัสเวกเตอร์ Ad 5-nCov เป็นตัวนำ โดยตัวไวรัสจะเป็นตัวนำพา RNA เข้าสู่เซลล์มนุษย์ ให้ร่างกายกระตุ้นสร้างแอนติบอดีหรือภูมิต้านทานนั่นเอง • รัฐบาลไทยได้ทำสัญญา 26 ล้านโดส กับบริษัทแอสตราเซเนกา ที่ใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด คาดว่าปลายเดือนพฤษภาคม 2564 นี้ น่าจะได้ฉีดให้กับคนไทย และเจรจากับ “แอสตราเซเนกา” ขอซื้อวัคซีนเพิ่มอีก 26 ล้านโดส รวมเป็น 52 ล้านโดส • เพราะการฉีดวัคซีนโควิดเข้าสู่ร่างกายแต่ละคน ต้องอย่างน้อย 2 โดส เท่ากับว่า จะมีประชากรภายในประเทศไทยได้รับการฉีดวัคซีน 26 ล้านคน
ประสิทธิภาพของวัคซีน
ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ 62% - 90% จากการวิเคราะห์กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 131 คน ในจำนวนผู้เข้าร่วมการทดลองทั้งหมด 24,000 คน พบว่าประสิทธิภาพจากการทดลอง 74.4%

ตอนที่1
- ทำไมวัคซีนโควิดถึงต้องฉีด 2 ครั้ง?
- วัคซีนโควิด 2 ชนิดที่สธ.เตรียมนำเข้ามาฉีดให้คนไทย
- CoronaVac ของบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) ประเทศจีน
- AZD1222 ของบริษัทแอสตราเซเนกาออกซ์ฟอร์ด (AstraZeneca-Oxford) ประเทศอังกฤษ
- เป็นวัคซีนประเภทอะไร? ประสิทธิภาพของวัคซีนเป็นอย่างไร?
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/10/entry-1
ตอนที่ 2
- การเลือกประเภทของวัคซีนและตัดสินใจในการฉีดวัคซีน ต้องพิจารณาจากอะไรบ้าง?
- การศึกษาใช้ยารับประทาน IVM ในการป้องกัน COVID-19
- IVM เป็นยาอะไร? มีคุณสมบัติต่อเชื้อ COVID-19 อย่างไรบ้าง?
- หลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพของ IVM ใน COVID-19 ล่าสุด ณ วันที่ 18 ธันวาคม 2563
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/10/entry-2
ตอนที่ 3
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เน้นย้ำว่าจนถึงปัจจุบันว่า ยังไม่มียาเฉพาะ ที่แนะนำเพื่อรักษาหรือป้องกัน COVID-19
- แล้ว…ใครพูดความจริง? So WHO is telling the Truth?
- รายงานผลการวิเคราะห์ Meta-analysis ทางคลินิก ถึงประสิทธิภาพของ Ivermectin (IVM) ต่อการรักษาติดเชื้อ COVID-19 ล่าสุด เผยแพร่เมื่อวันที่ December 31, 2020
โดย Dr.Andrew Hill ภาควิชาเภสัชวิทยา University of Liverpool (UK) ประเทศอังกฤษ ได้รับการสนับสนุนจากองค์กร Unitaid ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขององค์การอนามัยโลก (WHO)
- สาเหตุที่ทำให้อุตสาหกรรมยาไม่สนใจใช้ IVM ในการรักษา COVID-19
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/10/entry-3
ตอนที่ 4
- ตัวอย่างการต่อสู้กับ COVID-19 ในรัฐเชียปัส (Chiapaz) ประเทศเม็กซิโก ด้วยยา IVM
- แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงจำนวนผู้ป่วย COVID-19 number of cases และจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ที่เสียชีวิต number of deaths หลังมีการรักษาด้วยยา IVM
- ตัวอย่างรัฐอื่นๆ ในหลายๆประเทศทั่วโลก ที่เห็นการเปลี่ยนแปลงหลังจากการรักษาด้วยยา IVM
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/10/entry-4
ตอนที่ 5
- จุดเริ่มต้นพลิกผันของการรักษา COVID-19 ในสหรัฐอเมริกา USA
- หลังจากผู้พิพากษาสั่งให้โรงพยาบาลใช้การรักษาโควิด -19 ด้วยยาทดลอง ผู้ป่วยหญิงฟื้น
- NIH ได้แก้ไขแนวทางการรักษา Ivermectin สำหรับการรักษา COVID-19 ไปเป็นคำแนะนำที่ "ไม่ยอมรับหรือไม่ห้ามและต่อต้าน" “neither for nor against” recommendation
- ยา Ivermectin คือ ตอนนี้เป็นตัวเลือกการรักษาสำหรับแพทย์และผู้สั่งใช้ยา! Ivermectin is Now a Therapeutic Option for Doctors & Prescribers!
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/16/entry-1
ตอนที่ 6
- ใหญ่หรือเล็กไม่สำคัญ สำคัญที่ว่า เอาอยู่หรือไม่
- เปรียบเทียบข้อมูล COVID-19 ระหว่าง 2 ประเทศคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา USA และประเทศสาธารณรัฐโดมินิกัน Dominican Republic
- ต้นเหตุความแตกต่างของจำนวนการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ระหว่าง 2 ประเทศนี้
- นายแพทย์ José NatalioRedondo ในสาธารณรัฐโดมินิกัน เปิดเผยว่า 99.3% ของผู้ป่วยCOVID-19 ที่ได้รับการรักษาIvermectin หายในห้าวัน
- จุดเริ่มต้นพลิกผันของการรักษา COVID-19 ในสหรัฐอเมริกา
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/18/entry-1
ตอนที่ 7
- ตัวเปลี่ยนเกม Game Changer การระบาด COVID-19 ทั่วโลก ฉีดวัคซีน COVID-19 vs. ยารับประทาน Ivermectin ?
- อิสราเอล ติดเชื้อ COVID-19 6.6% หลังฉีดวัคซีนป้องกัน
- มาเลเซียกำลังพัฒนาการทดลองทางคลินิกสำหรับยาสองชนิด คือ Ivermectin (IVM) และ Favipiravir
- อังกฤษ กำลังวางแผนทดลอง COVID-19 ที่ใหญ่ที่สุดใน UK โดยใช้ยา Ivemectin เป็นครั้งแรก
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/24/entry-1
ตอนที่ 8
- โปรโตคอลป้องกัน COVID-19 ด้วยยากิน Ivermectin
- กลุ่มแพทย์พันธมิตรแนวหน้าดูแล COVID-19 ในสหรัฐอเมริกา
- การศึกษาการป้องกัน COVID-19 ด้วยยา Ivermectin (IVM) แบบล่วงหน้า ในบุคคลที่ได้รับสัมผัส Pre-exposure prophylaxis in exposed persons
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/27/entry-1
ตอนที่ 9
- ฉีดวัคซีน COVID-19 ทั่วโลก เข้ายกที่ 2 แล้ว ป่วยน้อยลง ตายมากขึ้น?
- ยากิน Ivermectin ระฆังเพิ่งเริ่มตี
- ประเทศสโลวาเกีย Slovakia อนุมัติการใช้ยาIvermectin ในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้ เป็นเวลาหกเดือน
- ประเทศแอฟริกาใต้ South Africa เพิ่งตัดสินใจยินยอมให้แพทย์ใช้ยา Ivermectin ในการรักษาผู้ป่วย COVID-19 ได้
- ประเทศอังกฤษ กำลังทบทวนให้มีการใช้ยา Ivermectin และ Colchicine ในการรักษาผู้ป่วย COVID-19
- ประเทศซิมบับเวได้อนุมัติการใช้และนำเข้ายา Ivermectin เพื่อรักษาผู้ป่วย COVID-19
- องค์การอนามัยโลก WHO จะพิจารณาตรวจสอบการใช้ Ivermectin สำหรับการรักษา Covid-19 ในไม่ช้านี้
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/28/entry-1
ตอนที่ 10
- เมื่อการป้องกันและรักษาด้วยยาในประเทศอินเดีย (ระบาดอันดับ 2 ของโลก) เห็นผลก่อนการฉีดวัคซีน COVID-19
- ทำไมถึงจบเร็ว คือสิ่งที่ทุกประเทศอยากรู้และกลับมามองอินเดีย
- อะไรคือสาเหตุและความแตกต่างของ 2 ประเทศนี้
- Timeline การพัฒนาวิธีการรักษา COVID-19 ของประเทศอินเดียกันดู
http://oknation.nationtv.tv/blog/dengue/2021/01/30/entry-1
|