วันที่ 7 กันยายน 2445 ถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่มีการประกาศออกใช้ธนบัตร ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยมีการประกาศออกใช้ธนบัตร 5 ชนิดราคาด้วยกันคือ ชนิดราคา 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาท และ 1000 บาท ในโอกาสที่ปี 2545 เป็นปีที่ครบรอบ 100 ปี ของการมีธนบัตรใช้ในประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ชนิดราคา 100 บาท ซึ่งมีการนำออกจ่ายแลกให้แก่ประชาชนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2545 จำนวนที่พิมพ์ออกใช้ 15,000,000 ฉบับ ซึ่งเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นำธนบัตรที่ระลึกฯ รุ่นนี้ที่ยังคงมีเหลือค้างอยู่จัดสรรให้แก่ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ นำไปจ่ายแลกให้กับประชาชนในราคา 100 บาท เท่ากับราคาหน้าธนบัตร ซึ่งจากการติดตามข่าวทางสื่อมวลชนก็ดูเหมือนจะยังไม่ค่อยเพียงพอกับความต้องการของประชาชนในช่วงระยะเวลาที่อยากจะได้เก็บสิ่งสะสมต่าง ๆ ไว้เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นอันหาที่สุดมิได้ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชอย่างนี้ ธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย มีขนาดใหญ่กว่าธนบัตรหมุนเวียนที่ออกใช้ปกติทั่วไปในปัจจุบัน คือ ขนาดความสูง 10.5 เซนติเมตร ความยาว 16.5 เซนติเมตร ซึ่งเป็นขนาดเดียวกันกับธนบัตรแบบ 1 ชนิดราคา 5 บาท ที่มีการประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2445 ภาพประธานด้านหน้าธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดสากล จำนวนพิมพ์ออกใช้ 15,000,000 ฉบับ มีหมวดอักษรและหมายเลขกำกับในธนบัตรตั้งแต่ ๐ ก ๐๐๐๐๐๐๐ จนถึง ๑ ก ๕๐๐๐๐๐๐ ลายมือชื่อในธนบัตร นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นธนบัตรที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับภาพด้านหลังธนบัตรนั้นมีหน้าตาเช่นเดียวกันกับธนบัตรแบบ 1 ชนิดราคา 100 บาท ที่มีการประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2445 ที่เห็นจะเป็นความแตกต่างก็คือในธนบัตรที่ระลึกฯ มีการพิมพ์ข้อความเพิ่มเติมบอกไว้ที่ขอบด้านล่างของธนบัตรว่า “รูปแบบธนบัตรแบบ ๑ ชนิดราคา ๑๐๐ บาท รุ่นแรก ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๔๕” ซึ่งธนบัตรที่ออกใช้ในสมัยแรกนั้นเป็นธนบัตรที่พิมพ์ลวดลายและสีพื้นลงบนกระดาษธนบัตรเพียงด้านเดียว จึงมีชื่อเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่า “ธนบัตรหน้าเดียว”และด้วยความที่ประชาชนคุ้นชินกับการใช้เงินตราที่เป็นโลหะ เมื่อมีการออกใช้ธนบัตรที่เป็นเงินตรากระดาษ ประชาชนก็อาจจะยังไม่มีความเชื่อมั่นพอในมูลค่าของเงินตราที่ทำจากกระดาษเท่ากับเงินตราที่ทำจากโลหะ ธนบัตรที่ออกใช้ในระยะแรกนั้นจึงมีสถานะเหมือนเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินด้วย ดังจะเห็นได้จากข้อความที่ระบุไว้ในธนบัตรว่า “รัฐบาลสยามสัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม” ซึ่งจะแตกต่างจากธนบัตรในปัจจุบันที่จะมีข้อความระบุไว้ว่า “ธนบัตรเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานะของการเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ในธนบัตรที่มีการออกใช้ในระยะแรกนั้น ยังมีการพิมพ์วันเดือนปีบอกไว้บริเวณใต้หมวดอักษรและหมายเลขกำกับในธนบัตร ระบุถึงวันเดือนปีที่เริ่มต้นของหมวดอักษรและหมายเลขของธนบัตรที่สั่งพิมพ์ในแต่ละครั้ง ซึ่งสมัยนั้นยังต้องมีการสั่งพิมพ์ธนบัตรจากบริษัทโทมัสเดอลารูในประเทศอังกฤษ ข้อความที่บอกชนิดราคาของธนบัตรก็มีระบุไว้ถึง 4 ภาษาด้วยกันคือ ภาษาไทย “ร้อยบาท” กับภาษาอังกฤษ “ONE HUNDRED TICALS” ที่อยู่ตรงกลางธนบัตร ภาษาจีนที่อยู่ทางขอบด้านซ้าย และภาษามลายูที่อยู่ด้านขวา ที่บอกให้รู้ว่าเป็นเงินหนึ่งร้อยบาทของประเทศสยาม สำหรับการที่ต้องมีลายมือชื่อของบุคคลปรากฏอยู่ในธนบัตรด้วยนั้น ก็เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 5 ของพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทร์ศก 121 ที่กำหนดให้ในธนบัตรทุกฉบับต้องมีลายมือชื่อของเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และเจ้าพนักงานธนบัตรด้วย โดยให้ตีพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ได้ และให้ใช้ได้เหมือนกับการลงชื่อด้วยลายมือหรือตราตำแหน่ง ซึ่งในธนบัตรที่ออกใช้ครั้งแรกนั้นเป็นลายพระนามของ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เจ้าพนักงานธนบัตร และลายพระนามของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไชยันต์มงคล กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ซึ่งต่อมาแม้ว่ากฎหมายที่ออกในสมัยหลังได้แก่ พระราชบัญญัติเงินตรา พุทธศักราช 2501 จะไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการมีลายมือชื่อของบุคคลในธนบัตรไว้ แต่ในประกาศกระทรวงการคลังเมื่อจะมีการนำออกใช้ธนบัตรแบบใหม่ทุกครั้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังก็ได้อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติเงินตราดังกล่าวประกาศให้มีลายมือชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง และผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ไว้ในธนบัตรที่จะนำออกใช้ด้วย ซึ่งก็เป็นการปฏิบัติที่ได้เห็นต่อเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ในส่วนของลายน้ำที่ปรากฏอยู่ในธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างนั้น จะปรากฏให้เห็นเป็นภาพของไอราพต ซึ่งมองเห็นเป็นรูปช้างสามเศียรในธนบัตร คล้ายกับลายน้ำในธนบัตรที่มีการประกาศออกใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2445 ลักษณะพิเศษอื่นในธนบัตรที่ระลึกฯ ซึ่งพอดูเห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็มีอย่างตัวเลขไทยบอกชนิดราคาที่มุมขวาล่างของด้านหน้าธนบัตรซึ่งมีการพิมพ์ด้วยหมึกชนิดพิเศษที่ทำให้มองเห็นเปลี่ยนสีได้ เมื่อมองปกติโดยทั่วไปก็จะเห็นเป็นสีแดงออกม่วง ๆ แต่เมื่อพลิกธนบัตรเข้าหาแสงสว่างในมุมที่เหมาะสมก็จะเห็นเปลี่ยนสีเป็นสีเขียว หรืออย่างในเส้นใยสีโลหะซึ่งฝังอยู่ในเนื้อกระดาษก์พิมพ์ข้อความเห็นเป็นตัวหนังสือโปร่งใสว่า “๑๐๐ ปี ธนบัตรไทย” เรียงกันอยู่เป็นแถวยาว การจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย เมื่อตอนที่เริ่มออกใช้ในปี 2545 นี้ จำได้ว่ามีการจัดทำปกแผ่นพับสำหรับบรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ จำหน่ายพร้อมกันด้วย ด้านหน้าของปกแผ่นพับเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช คู่กับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์ชุดสากล ดูแล้วก็น่าจะเป็นภาพเดียวกันกับภาพประธานในธนบัตรด้านหน้า ส่วนด้านหลังของปกแผ่นพับเป็นภาพตัวอย่างของธนบัตรแบบต่าง ๆ ที่เคยนำออกใช้มาในช่วง 100 ปี นับตั้งแต่ธนบัตรแบบ 1 เรื่อยมาจนถึงแบบที่ 15 ราคาจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกฯ นั้นคือ 100 บาทตามราคาหน้าธนบัตร ส่วนราคาของปกแผ่นพับในตอนนั้นจำราคาที่แน่นอนไม่ได้แล้ว ดูเหมือนธนบัตรที่ระลึกรุ่นนี้ที่นำออกมาจ่ายแลกให้กับประชาชนผ่านธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2559 ที่ผ่านมานั้น จะเป็นการจ่ายแลกเฉพาะตัวธนบัตรในราคา 100 บาท ไม่มีปกแผ่นพับจำหน่ายพร้อมกันด้วยอย่างตอนที่เปิดจ่ายแลกเมื่อปี 2545 ในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนบัตรไทย ปี 2545 นี้ นอกจากธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ออกธนบัตรที่ระลึกฯ และจัดทำปกแผ่นพับบรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ ดังกล่าวแล้ว ยังได้มีการจัดทำหนังสือชื่อ “๑๐๐ ปี ธนบัตรไทย ๒๔๔๕-๒๕๔๕” เพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสเดียวกันนี้ด้วย เป็นหนังสือปกแข็งขนาดความหนา 448 หน้า พิมพ์สี่สีตลอดทั้งเล่ม มีเนื้อหาตั้งแต่การออกใช้เงินกระดาษของบ้านเราก่นอนห้าที่จะมีธนบัตรออกใช้ เรื่องมาจนถึงเรื่องราวเกี่ยวกับธนบัตรทุกแบบที่เคยมีออกใช้ในบ้านเราตลอดช่วงเวลา 100 ปี นับตั้งแต่มีการออกใช้ธนบัตรเป็นครั้งแรก ดูเหมือนตอนนั้นจะต้องสั่งจองเอาไว้ก่อน ในตัวหนังสือระบุว่าพิมพ์เสร็จเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 แต่ได้รับถึงมือจริงเมื่อไรจำไม่ได้แล้ว เช่นเดียวกับราคาที่จองหนังสือนี้ไว้ก็จำไม่ได้เหมือนกัน จะอาศัยหาดูราคาปกก็ไม่มีการพิมพ์บอกเอาไว้ให้ด้วย ไม่เป็นไร..สำหรับหนังสือดี ๆ สักเล่ม เนื้อหาก็ย่อมมีค่ากว่าราคาเสมอ ชาร |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Keukenhof 10 | ||
![]() |
||
ทิวลิปที่สวนเกอเก็นฮอฟ |
||
View All ![]() |
<< | พฤศจิกายน 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | ||
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 |