ย้อนวันวานกลับไปเมื่อ 9 ปีก่อน ในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดทำและออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา โดยเป็นธนบัตรที่ระลึกที่มีลักษณะพิเศษโดดเด่นแตกต่างจากธนบัตรของไทยที่เคยมีออกใช้มาก่อนหน้านับตั้งแต่ปี 2445 ก็คือ ธนบัตรที่ออกใช้ในครั้งนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิดราคา ได้แก่ ชนิดราคา 1 บาท 5 บาท และ 10 บาท โดยธนบัตรทั้ง 3 ชนิดราคานี้รวมอยู่ในกระดาษธนบัตรแผ่นเดียวกันโดยไม่ได้มีการตัดแบ่งให้เป็นฉบับแยกต่างหากออกจากกัน ธนบัตรที่ระลึกฯ ดังกล่าวนี้จึงมีฉายาที่หลายคนใช้เรียกกันว่า “ธนบัตร 16 บาท” ถึงจะมีรูปลักษณะที่แปลกแตกต่างจากธนบัตรที่ออกใช้หมุนเวียนทั่วไป แต่ก็เป็นเงินตราที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายเช่นเดียวกัน ขนาดของธนบัตรโดยรวมมีความกว้าง 14.7 เซนติเมตร และความสูง 22.9 เซนติเมตร ธนบัตรทุกชนิดราคาที่อยู่ในกระดาษธนบัตรแผ่นเดียวกันจะมีหมวดหมายเลขเดียวกันทั้งหมด ด้านหน้าของธนบัตรได้รับการออกแบบให้ดูย้อนยุค ภาพประธานด้านหน้าธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในช่วงที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาต่างกัน โดยมีภาพพระราชพิธีสำคัญในรัชกาลเป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังธนบัตรซึ่งสีพื้นหลักพิมพ์ด้วยสีเหลืองทอง มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเกี่ยวเนื่องกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และพระอัจฉริยภาพ เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์มาเป็นลำดับ โดยมีการจัดวางภาพส่วนใหญ่อยู่ภายในโครงตัวเลขไทย “๙ “ ในเส้นใยสีโลหะที่ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งจากบนลงล่างมีข้อความเป็นตัวอักษรเล็ก ๆ ว่า “๘๐ พรรษา” ลายน้ำในธนบัตรทุกชนิดราคาในฉบับเป็นรูปรัฐธรรมนูญประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า ซึ่งลายน้ำรูปพานรัฐธรรมนูญนี้เคยใช้อยู่ในธนบัตรแบบ 4 ที่ออกใช้เมื่อปี 2481 เรื่อยมา จนกระทั่งเมื่อมีการออกใช้ธนบัตรแบบ 9 รุ่นที่ 5 เมื่อปี 2500 จึงมีการเปลี่ยนลายน้ำเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และได้ใช้ต่อเนื่องมาในธนบัตรหมุนเวียนจนถึงธนบัตรแบบ 16 ซึ่งใช้หมุนเวียนกันอยู่ในปัจจุบันนี้ เมื่อนำธนบัตรไปอยู่ภายใต้แสงเหนือม่วงหรือแสงอัลตราไวโอเลต บริเวณที่เป็นลายน้ำในธนบัตรก็จะปรากฏให้เห็นตัวเลข “๘๐” เป็นสีเหลืองเรืองแสง หมวดอักษรและหมายเลขในธนบัตรซึ่งปกติจะเห็นเป็นสีแดงก็จะเห็นเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินเรืองแสง ในส่วนของเส้นใยสีโลหะก็จะเรืองแสงเป็นสีเหลือง ลายมือชื่อในธนบัตรของ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งปกติจะเห็นเป็นสีดำก็จะเห็นเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองเรืองแสง จริง ๆ แล้วธนบัตรทั้ง 3 ชนิดราคาที่อยู่ติดกันนี้ ได้รับการออกแบบให้มีการแบ่งแยกส่วนตามแต่ละชนิดราคาได้ ก็เลยลองแบ่งแยกส่วนดู ไม่ได้ตัดแบ่งตัวธนบัตรจริง ๆ หรอกเพราะเสียดาย เป็นแค่การลองครอปภาพแยกออกมาเป็นส่วน ๆ ดู อย่างส่วนที่เป็นชนิดราคา 1 บาท ด้านหน้าธนบัตรจะใช้สีน้ำเงินพิมพ์เป็นสีหลัก ภาพประกอบด้านหน้าเป็นภาพการเสด็จออกสีหบัญชร ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท พระบรมมหาราชวัง เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2493 ซึ่งเป็นการเสด็จออก ณ สีหบัญชร เป็นครั้งแรกในรัชกาล ส่วนภาพด้านหลังของธนบัตรส่วนที่เป็นชนิดราคา 1 บาท มีตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2550 อยู่ตรงกลางธนบัตรด้านบน ถัดลงมาด้านล่างเป็นวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง เบื้องซ้ายมีพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะทรงอุ้มพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อทรงพระเยาว์ เบื้องขวามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อทรงพระเยาว์พร้อมด้วยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และภาพพระตำหนักวิลล่าวัฒนา ถัดมาเบื้องขวาสุด ด้านบนมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อทรงพระเยาว์ ถัดลงมาช่วงกลางมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ขณะทรงเล่นปลูกป่า ถัดลงมาอีกมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเมื่อครั้งโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร นิวัตประเทศไทยเมื่อปี 2488 ถัดลงมาล่างสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนที่เป็นชนิดราคา 5 บาท ด้านหน้าธนบัตรจะใช้สีม่วงดำพิมพ์เป็นสีหลัก ภาพประกอบด้านหน้าเป็นภาพการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยกระบวนพยุหยาตราสถลมารค ในพระราชพิธีมหามงคลเนื่องในวโรกาสที่เจริญพระชนมพรรษาครบ 3 รอบพระนักษัตร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2506 ภาพด้านหลังของธนบัตรส่วนที่เป็นชนิดราคา 5 บาท แถวซ้ายสุดด้านบนมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะทรงดนตรี ถัดลงมามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ในพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 และด้านล่างสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะพระราชทานพระราชดำรัสทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและสถานีวิทยุโทรทัศน์เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ในเหตุการณ์การชุมนุมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ แถวที่ 2 จากซ้ายมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี ถัดมาแถวกลางด้านบนสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมพระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อทรงพระเยาว์ ถัดลงมาด้านล่างมีภาพพระราชกรณียกิจ และภาพเครื่องบินทำฝนหลวง แถวที่อยู่เยื้องไปทางเบื้องขวามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่เนื่องในการทรงพระผนวชเมื่อปี 2499 และพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 ขวาสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และพระฉายาสาทิสลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวันราชาภิเษกสมรสเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 เบื้องล่างสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขณะทรงงานจิตรกรรม ส่วนที่เป็นชนิดราคา 10 บาท ด้านหน้าธนบัตรจะใช้สีน้ำตาลพิมพ์เป็นสีหลัก ภาพประกอบด้านหน้าเป็นภาพการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ภาพด้านหลังของธนบัตรส่วนที่เป็นชนิดราคา 10 บาท เริ่มจากด้านซ้ายสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ถัดมาทางขวามือติดกันมีภาพพระราชพิธีสถาปนา เฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี บริเวณช่วงครึ่งล่างของธนบัตรมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขณะทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ และภาพกังหันน้ำชัยพัฒนา บริเวณช่วงกลางธนบัตรด้านบนสุดมีภาพโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช ถัดมาทางขวามือมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประคองสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เบื้องขวาสุดมีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2549 ตอนล่างของพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์มีคำว่า “ทรงพระเจริญ” ธนบัตรที่ระลึกฯ ในโอกาสนี้มีการจัดพิมพ์รวมจำนวนทั้งสิ้น 15,000,000 ฉบับ เป็นธนบัตรที่พิมพ์โดยโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย วันแรกที่มีการจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกฯ ให้แก่ประชาชนคือวันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 โดยมีการจ่ายแลกเป็น 2 รูปแบบ แบบแรกคือไม่ต้องจองล่วงหน้า ไปยืนต่อแถวแลกซื้อได้เลยที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกฯ พร้อมกับปกแผ่นพับสำหรับบรรจุใส่ธนบัตร ในราคาชุดละ 100 บาท โดยรายได้ส่วนต่างจากมูลค่า 16 บาทตามราคาหน้าธนบัตรที่ระลึกฯ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้วได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งธนบัตรที่เปิดให้จ่ายแรกแบบนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 14,000,000 ฉบับ เป็นธนบัตรที่มีหมวดเลขและอักษรกำกับคือ ๙ ธ ทุกฉบับ แต่หมายเลข 7 หลักที่ตามมาจะไม่มีหมายเลขที่ขึ้นต้นด้วยเลข ๙ ดังนั้นคนที่อยากจะได้หมายเลขที่มีเลข ๙ อยู่ข้างหน้าก็คงจะต้องเลือกแลกธนบัตรที่ระลึกฯ ในแบบที่ 2 ซึ่งเป็นการจ่ายแลกราคาชุดละ 300 บาท ซึ่งประกอบด้วยธนบัตรที่ระลึกฯ ปกแผ่นพับสำหรับบรรจุใส่ธนบัตร และบรรจุภัณฑ์ของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เป็นกรอบอะคริลิกที่ออกแบบมาเป็นการเฉพาะสำหรับใช้บรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ ไว้ตั้งแสดง โดยกรอบอะคริลิกที่ว่านี้จะบรรจุใส่มาในถุงผ้าฝ้าย แล้วถุงผ้าฝ้ายก็ใส่มาในกล่องกระดาษลูกฟูกอีกที ธนบัตรที่ระลึกฯ ที่ใช้สำหรับจ่ายแลกพร้อมกับบรรจุภัณฑ์ฯ ดังกล่าวนี้จะมี หมวดเลขและอักษรกำกับคือ ๙ ธ แล้วหมายเลข 7 หลักที่ตามมาก็จะขึ้นต้นด้วยเลข ๙XXXXXX ซึ่งมีอยู่แค่จำนวน 1,000,000 ชุด ถ้าเลือกที่จะแลกซื้อแบบนี้ก็ต้องไปจ่ายเงินจองกันไว้ก่อนล่วงหน้าที่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งทั่วประเทศในช่วงวันที่ 2-31 สิงหาคม 2550 แล้วค่อยไปรับของได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป ตอนที่แกะกรอบอาคริลิกออกมาประกอบ เพิ่งจะได้สังเกตเห็นว่ากระต่าย 2 ตัวที่อยู่ตรงฐานของกรอบอะคริลิกนั้นมีพระนาม สิรินธร ปรากฏอยู่ด้วย ถึงตรงนี้ก็ขอแอบโฆษณาแฝงสักหน่อยว่าถ้าอยากดูรายละเอียดทีละขั้นทีละตอน พร้อมสิ่งที่ควรระมัดระวังเกี่ยวกับการบรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ ในแผ่นพับและบรรจุภัณฑ์กรอบอะคริลิก เพราะมีบางชิ้นส่วนที่บอบบางอาจเสียหายได้ถ้าไม่ยั้งมือ แนะนำให้เข้าไปคลิกอ่านที่ “สี่ตาแนะนำวิธีใส่ธนบัตรที่ระลึก 5 ธันวาคม 2550 ในแผ่นพับและบรรจุภัณฑ์กรอบอะคริลิก” ซึ่งเจ้าลูกชายเขียนโพสต์เอาไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2550 ตอนนั้นอายุเพิ่งจะได้สิบขวบ เป็นลูกไม้ที่แต่ก่อนก็ขยันอ่านขยันเขียนดี เดี๋ยวนี้ขยันแต่เสิร์ชหาของกิน โบราณว่าลูกไม้นั้นหล่นไม่ไกลต้นนักหรอก แต่นึกไม่ออกว่าติดนิสัยใครมาเหมือนกัน ชาร |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Keukenhof 10 | ||
![]() |
||
ทิวลิปที่สวนเกอเก็นฮอฟ |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |