ปี 2554 เป็นปีมหามงคลอีกปีหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 ซึ่งได้มีพระราชพิธีสำคัญคือพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ตลอดทั้งปีได้มีการจัดงานทั้งรัฐพิธีและราษฎรพิธีต่าง ๆ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ในโอกาสดังกล่าวนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้จัดพิมพ์และออกใช้ธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ชนิดราคา 100 บาท สำหรับการออกธนบัตรที่ระลึกในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาในช่วงพระชนมพรรษาต่าง ๆ นั้น ครั้งนี้นับว่าเป็นครั้งที่ 4 โดยย้อนหลังไปพบว่าได้เคยมีการออกธนบัตรที่ระลึกในโอกาสสำคัญนี้มาแล้ว 3 ครั้ง ซึ่งได้เคยนำรูปและเรื่องมาเล่าถึงเป็นลำดับไปแล้ว โดยครั้งแรกเมื่อปี 2530 เป็นการออกบัตรธนาคารเนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษาหกสิบบริบูรณ์ 5 ธันวาคม 2530 (คลิกอ่าน) เป็นบัตรธนาคารชนิดราคา 60 บาท ซึ่งบัตรธนาคารนั้นก็มีสถานะเป็นเงินตราตามกฎหมายเช่นเดียวกับธนบัตร ต่อมาในปี 2542 ได้มีการออกธนบัตรที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542 (คลิกอ่าน) และในปี 2550 ได้มีการออกธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (คลิกอ่าน) สำหรับธนบัตรที่ระลึกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นี้ เป็นธนบัตรชนิดราคา 100 บาท พิมพ์ออกใช้จำนวน 9,999,999 ฉบับ โดยธนบัตรทุกฉบับจะมีเลข ๙ นําหน้าหมวดอักษรไทย ธ หรือ ธะ และหมวดอักษรโรมัน K หรือ King เพื่อให้มีความความหมายถึงพระมหากษัตริย์ ตามด้วยเลขหมาย จำนวน 7 หลัก เริ่มตั้งแต่ ๙ธ (K) ๐๐๐๐๐๐๑ จนถึง ๙ธ (K) ๙๙๙๙๙๙๙ เนื้อกระดาษธนบัตรเป็นสีเหลืองอ่อน ขนาดของธนบัตรมีความกว้าง 8.40 เซนติเมตร และยาว 16.20 เซนติเมตร ลายมือชื่อในธนบัตร นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ออกจ่ายแลกให้แก่ประชาชนเป็นวันแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2554 โดยเมื่อช่วงปลายเดือนตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา ก็ได้มีการนำธนบัตรที่ระลึกฯ ที่ออกครั้งนี้ซึ่งยังคงมีเหลือค้างอยู่ออกจ่ายแลกให้แก่ประชาชนผ่านธนาคารออมสินและธนาคารพาณิชย์บางแห่ง เข้าใจว่าจนถึงปัจจุบันน่าจะจ่ายแลกออกสู่มือประชาชนจนหมดจำนวนที่พิมพ์ออกใช้แล้ว ภาพประธานด้านหน้าธนบัตรเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ เบื้องหลังเป็นลายรัศมีสีน้ําตาลซึ่งบริเวณดังกล่าวนี้เมื่อพลิกเอียงกับแสงสว่างในมุมที่เหมาะสม จะมองเห็นลายพื้นซึ่งพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษสีเหลือบทอง เบื้องซ้ายผนึกดวงฟอยล์สีเงินรูปวงกลมภายในมีอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. เบื้องขวาเป็นตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ดวงฟอยล์สีเงินรูปวงกลมซึ่งภายในมีอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. นี้ เมื่อพลิกเอียงไปมาจะเห็นเปลี่ยนสีและสะท้อนแสงวาววับ บริเวณขอบโดยรอบดวงฟอยล์มีพระปรมาภิไธย “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” เป็นตัวอักษรขนาดเล็กจิ๋วเรียงติดต่อกัน จะดูให้เห็นชัดเจนคงจะต้องใช้แว่นขยายช่วย บริเวณเบื้องซ้ายของผนึกดวงฟอยล์เป็นลายน้ำซึ่งเมื่อยกขึ้นส่องกับแสงสว่างจะเห็นอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ โดยลายน้ำส่วนที่เป็นอักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. จะมีความโปร่งแสงเป็นพิเศษ สิ่งต่อต้านการปลอมแปลงที่นำมาใช้ในการพิมพ์ธนบัตรที่ระลึกในครั้งนี้ซึ่งต้องนับว่าเป็นครั้งแรกที่มีการนำมาใช้ในการพิมพ์ธนบัตรของบ้านเราก็คือ ตัวเลข “100” บอกชนิดราคาซึ่งอยู่มุมบนด้านซ้ายของหน้าธนบัตรนั้น มีการใช้หมึกพิมพ์ชนิดพิเศษสีทองเหลือบเขียว หากพลิกธนบัตรขึ้นและลงก็จะเห็นแถบแนวนอนสีทองซึ่งอยู่ภายในตัวเลข 100 นี้ ขยับเลื่อนขึ้นลงตามแนวตั้งได้ สำหรับเส้นแถบสีโลหะที่ฝังอยู่ในเนื้อกระดาษภายในจะมีตัวเลข “100” ขนาดเล็กจิ๋วเรียงอยู่เป็นแถว สามารถอ่านเห็นได้เมื่อยกธนบัตรขึ้นส่องดูกับแสงสว่างและสายตายังดีอยู่ ซึ่งเส้นแถบสีโลหะนี้เมื่อนำไปอยู่ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงก็จะเห็นเรืองแสงเป็นสีเขียว เมื่อนำธนบัตรไปอยู่ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตหรือแสงเหนือม่วงก็จะเห็นเส้นใยเรืองแสงที่โรยใส่ไว้ในเนื้อกระดาษเป็นเส้นเล็ก ๆ สีน้ําเงิน แดง และเหลือง บางคนก็เรียกเส้นนี้ว่าเส้นหนวดแมว บริเวณที่เป็นลายน้ํานั้นพิมพ์ไว้ด้วยหมึกพิมพ์พิเศษ ซึ่งมองไม่เห็นในแสงธรรมชาติ แต่ภายใต้แสงเหนือม่วงจะปรากฏให้เห็นเป็นภาพดอกพุดตานสีเขียวเรืองแสง หมวดอักษรและหมายเลขในธนบัตรซึ่งปกติจะเห็นเป็นสีแดง ภายใต้แสงเหนือม่วงจะเห็นเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำเงินเรืองแสง เช่นเดียวกันกับลายมือชื่อของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งปกติจะเห็นเป็นสีดำ ภายใต้แสงเหนือม่วงก็จะเห็นเปลี่ยนสีเป็นสีเขียวอมเหลืองเรืองแสง สำหรับด้านหลังธนบัตรภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโครงการอ่างเก็บน้ำแม่เริมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลบ้านเป้า อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีภาพประกอบเป็นภาพพระราชกรณียกิจและภาพที่แสดงถึงพระอัจฉริยภาพในด้านต่าง ๆ อาทิ พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงเป่าแซกโซโฟน พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ทรงปลูกหญ้าแฝก ภาพเครื่องบินปฏิบัติการฝนหลวงด้วยเทคนิคการโจมตีเมฆฝนแบบซูเปอร์แซนด์วิช ภาพกังหันน้ำชัยพัฒนา และภาพเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก บริเวณตอนกลางของด้านหลังธนบัตรเป็นภาพภายในพระที่นั่งอนันตสมาคม ส่วนบริเวณมุมล่างด้านขวาใต้ตัวเลขไทย ๑๐๐ บอกชนิดราคา มีข้อความว่า “ที่ระลึกเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔” ในการจ่ายแลกธนบัตรที่ระลึกฯ ในครั้งนี้เมื่อปี 2554 นั้น พอจะจำได้ว่าไม่ได้เป็นการจ่ายแลกเฉพาะตัวธนบัตรซึ่งมีราคาหน้าธนบัตร 100 บาท แต่มีการจ่ายแลก 2 แบบคือ แบบแรกเป็นการจ่ายแลกธนบัตรพร้อมกับปกแผ่นพับสำหรับบรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ กับแบบที่สองเป็นการจ่ายแลกธนบัตรและปกแผ่นพับพร้อมกับบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ ไว้ตั้งแสดง โดยมีการเปิดให้ประชาชนไปสั่งจองล่วงหน้าที่ทุกสาขาของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554 แล้วไปรับธนบัตรและปกแผ่นพับหรือพร้อมบรรจุภัณฑ์ที่สั่งจองไว้ได้ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2554 สำหรับราคาจ่ายแลกธนบัตรพร้อมกับปกแผ่นพับนั้นอยู่ที่ชุดละ 200 บาท ซึ่งรายได้จากการจ่ายแลกหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยได้นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่วนการจ่ายแลกธนบัตรและปกแผ่นพับพร้อมกับบรรจุภัณฑ์สำหรับบรรจุใส่ธนบัตรที่ระลึกฯ ไว้ตั้งแสดง ซึ่งเป็นกล่องดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรรจุใส่มาในกระเป๋าผ้า ราคาจ่ายแลกชุดละ 500 บาท ซึ่งรายได้จากการจําหน่ายบรรจุภัณฑ์หลังหักค่าใช้จ่ายนั้นธนาคารแห่งประเทศไทยได้มอบให้แก่่มูลนิธิชัยพัฒนา โดยที่ฐานกล่องดนตรีด้านหน้าจะสลักข้อความไว้ว่า “The Celebrations of His Majesty the King’s 84 th Birthday on December 5, 2011” เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2559 ยังเห็นมีคนขายธนบัตรที่ระลึกฯ รุ่นนี้ พร้อมกับปกแผ่นพับ กล่องดนตรี และกระเป๋าผ้า อยู่ที่ประมาณ 1,600 – 1,700 บาท ถึงตอนนี้ก็คงจะหาซื้อแบบครบชุดอย่างนี้ยากแล้ว แต่ยังเห็นมีกล่องดนตรีขายกันอยู่ โดด ๆ ประมาณ 500 บาท โดยไม่มีธนบัตรและกระเป๋าผ้า ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นของดั้งเดิมหรือจะเป็นของที่ทำขึ้นใหม่ เมื่อช่วงต้นเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมาจำได้ว่าตอนไปเดินงานกาชาดก็เหมือนจะได้เห็นว่ามีกล่องดนตรีแบบที่ว่านี้ขายอยู่แค่ราคา 30 บาทเอง พอดีมีไว้อยู่ชุดหนึ่งแล้วก็เลยไม่ได้สนใจซื้อหามาเก็บเติมเอาไว้อีก เพราะแค่ชุดที่มีอยู่พอเอากล่องดนตรีออกใส่ธนบัตรตั้งไว้ในตู้โชว์แล้ว กระเป๋าผ้าที่ใส่มายังต้องเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เก็บเอาไว้เฉย ๆ ก็ไม่รู้ว่าจะเอาของ”สะสม” ไปหาวางแทรกของ”สั่งสม” ไว้ได้อีกที่ตรงไหน !!! ชาร |
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |
Keukenhof 10 | ||
![]() |
||
ทิวลิปที่สวนเกอเก็นฮอฟ |
||
View All ![]() |
<< | ธันวาคม 2016 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |