*/
<< | มกราคม 2015 | >> | ||||
อา | จ | อ | พ | พฤ | ศ | ส |
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
วัดพู (The temple of the Mountain) แขวงจำปาสัก สปป.ลาว (2) จากค้นคว้าและขุดหลักฐานต่างๆโดยนักวิชาการทางโบราณคดี พบว่าปราสาทวัดพูถูกสร้างก่อนปราสาทหินนครวัด อาณาจักรขอม ช่วงที่เรียกว่า Pre Angkorian Period ในช่วงศตวรรษที่ 5 และสันณิฐานว่าชาว Chenla กลุ่มนี้อาจเป็นบรรพบุรุษของชาวนครวัด ถือกำเนิด ตามหลักฐานที่ขุดพบในบริเวณอารยะธรรมในแอ่งวัดพู(Valley) กระจายรอบเมืองจำปาสัก ในศตวรรษที่ 2-6 อาณาจักรฟูนานมีอาณาเขตในดินแดนที่เรียกกันว่า อินโดจีน คือเวียตนามไปจด กัมพูชาทางตอนใต้ มีอาณาเขตทั้งดินแดนภายใน( In land) และชายฝั่งทะเล ทำให้มีการติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับภายนอกอย่างกว้างขวาง พบว่าการติดต่อค้าขายกับจีน(ตรงกับยุคราชวงศ์ สุย (Sui) ) อาณาจักรโรมัน และ อินเดีย รอยต่ออารยะธรรมวัดพูกับฮาณาจักรภายนอกเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 5ในสมัย Chenla หรือ Zhenla มีเมืองหลวงอยู่ใกล้ๆกับวัดพูพบการเชื่อมโยงการติดต่อระหว่าอาณาจักรต่างๆ มีหลายประเด็น เช่น มีการขุดพบเหรียญของโรมัน การปกครองแบบการรวมศูนย์อำนาจแบบศักดินา (Chiefman หรือ Vassal) และการถือครองที่ดิน (Fief) แบบจีนโบราณ การยอมรับในอำนาจของส่วนกลางโดยการส่งบรรณาการ การบูชาพระศิวะ พระวิศนุ และพระพรหม ตามทัศนคติฮินดูของอินเดีย
ภาพแกะสลักตรีมูรติ พระศิวะ พระวิศนุ และพระพรหม
การเข้ามามีอิทธิพลของทัศนคติแบบอินเดียในอารยะธรรมลุ่มน้ำโขงนั้นยังไม่อาจชี้ชัดไปมาเป็นไปอย่างไร แต่หลักฐาน ความเชื่อแบบอินเดียโบราณตามปราสาทต่างๆในอารยะธรรมลุ่มน้ำโขงคงมีให้เห็นกระจายทั่วไปในเมืองจำปาสัก การติดต่อภายนอกโดยเฉพาะกับอินเดียผ่านอ่าวเบงกอล มีแนวคิดออกเป็นสองประเด็น คือ ผ่านประเทศไทยผ่านเมืองกระบุรี(คอคอดกระ) ผ่านอ่าวไทยไปยังกัมพูชาตอนใต้ หรือจากอินเดียอ้อมช่องแคบมะละกา ผ่านไทยไปยังกัมพูชาตอนใต้ และเข้าในดินแดนส่วนใน (In land) ลักษณะการปกครองในยุคนั้นเป็นระบบศักดินา และหัวหน้ากลุ่มที่ปกครองตามหัวเมืองเป็นอิสระแต่รวมศูนย์ทางการปกครองแบบหลวมๆด้วยการส่งบรรณาการไปยังศูนย์อำนาจเป็นการยอมรับในอำนาจของเมืองหลวงใหญ่ การปกครองแบบศักดินาจึงมีความอ่อนไหวในการเปลี่ยนแปลงของอำนาจบ่อยครั้ง หัวเมืองบริวารมีโอกาสแข็งข้อ เมื่อศูนย์อำนาจอ่อนแอลงหรือผลัดรัชกาล ความเจริญของอาณาจักรของวัดพูซึ่งแยกตัวออกมาจากอิทธิพลของอาณาจักรฟูนานในช่วงศตวรรษที่ 5 จุดเด่นของวัฒนธรรมวัดพู คือ ความเชื่อในศาสนาฮินดู บูชาพระศิวะ และตรีมูรติ หลักฐานต่างๆอารยะธรรมวัดพูมีอยู่จำนวนมากในพิพิธภัณฑ์ งานแกะสลักสำคัญๆเช่น ศิวะลึงก์ แต่ไม่มีอยู่ปราสาทวัดพู ได้เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์ ป้องกันการสูญหาย คงเหลือปราสาทและองค์ประกอบหลักๆเท่านั้น จบตอน สอง
หินทรายแกะสลักเป็นทวารบาลกรอบประตูทางเข้าปราสาท
|
ถึง บล็อกเกอร์ ทุกท่าน โปรดอ่าน
ด้วยทาง บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) ได้ติดต่อขอความร่วมมือ มายังเว็บไซต์และเว็บบล็อกต่าง ๆ รวมไปถึงเว็บบล็อก OKnation
ห้ามให้มีการเผยแพร่ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ ของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ บนเว็บ blog โดยกำหนดขอบเขตของสิ่งที่ห้ามทำ และสามารถทำได้ ดังนี้
ห้ามทำ - การใส่ผลงานเพลงต้นฉบับให้ฟัง ทั้งแบบควบคุมเพลงได้ หรือซ่อนเป็นพื้นหลัง และทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือ copy code คนอื่นมาใช้ - การเผยแพร่ file ให้ download ทั้งที่อยู่ใน server ของคุณเอง หรือฝากไว้ server คนอื่น สามารถทำได้ - เผยแพร่เนื้อเพลง ต้องระบุชื่อเพลงและชื่อผู้ร้องให้ชัดเจน - การใส่เพลงที่ร้องไว้เอง ต้องระบุชื่อผู้ร้องต้นฉบับให้ชัดเจน จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฎิบัติตาม มิเช่นนั้นทางบริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ฯ จะให้ฝ่ายดูแลลิขสิทธิ์ ดำเนินการเอาผิดกับท่านตามกฎหมายละเมิดลิขสิทธิ์
OKNATION
กฎกติกาการเขียนเรื่องและแสดงความคิดเห็น
1 การเขียน หรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ต้องไม่หมิ่นเหม่ หรือกระทบต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ หรือกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
2. ไม่ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น ส่อเสียด ให้ร้ายผู้อื่นในทางเสียหาย หรือสร้างความแตกแยกในสังคม กับทั้งไม่มีภาพ วิดีโอคลิป หรือถ้อยคำลามก อนาจาร 3. ความขัดแย้งส่วนตัวที่เกิดจากการเขียนเรื่อง แสดงความคิดเห็น หรือในกล่องรับส่งข้อความ (หลังไมค์) ต้องไม่นำมาโพสหรือขยายความต่อในบล็อก และการโพสเรื่องส่วนตัว และการแสดงความคิดเห็น ต้องใช้ภาษาที่สุภาพเท่านั้น 4. พิจารณาเนื้อหาที่จะโพสก่อนเผยแพร่ให้รอบคอบ ว่าจะไม่เป็นการละเมิดกฎหมายใดใด และปิดคอมเมนต์หากจำเป็นโดยเฉพาะเรื่องที่มีเนื้อหาพาดพิงสถาบัน 5.การนำเรื่อง ภาพ หรือคลิปวิดีโอ ที่มิใช่ของตนเองมาลงในบล็อก ควรอ้างอิงแหล่งที่มา และ หลีกเลี่ยงการเผยแพร่สิ่งที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบหรือวิธีการใดก็ตาม 6. เนื้อหาและความคิดเห็นในบล็อก ไม่เกี่ยวข้องกับทีมงานผู้ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ โดยถือเป็นความรับผิดชอบทางกฎหมายเป็นการส่วนตัวของสมาชิก คลิ้กอ่านเงื่อนไขทั้งหมดที่นี่"
OKnation ขอสงวนสิทธิ์ในการปิดบล็อก ลบเนื้อหาและความคิดเห็น ที่ขัดต่อความดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องชี้แจงเหตุผลใดๆ ต่อเจ้าของบล็อกและเจ้าของความคิดเห็นนั้นๆ
|
||
![]() ![]() |